วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ /

วันจันทร์ ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 02.00 น.
มารู้จักยารับประทานชนิดเม็ด รักษาโรคโควิด-19 กันเถอะ

ดูทั้งหมด

  •  

การเปิดประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเรื่องนี้ไว้เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 กำหนดให้การฉีดวัคซีนโควิดเป็นวาระแห่งชาติ โดยกล่าวว่าในช่วงระยะเวลา 120 วัน หลังจากวันนั้น จะเร่งระดมฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 ให้กับประชาชน ให้ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากร เพื่อทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ จนทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคนี้ได้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าทำได้ใกล้เคียงเป้าหมาย ถึงแม้จะมีการระบาดเป็นคลัสเตอร์ในบางจังหวัดหลงเหลืออยู่บ้าง แต่จำนวนผู้ป่วยใหม่แต่ละวันและผู้เสียชีวิตก็ลดน้อยลงตามลำดับ ทำให้รัฐบาลตัดสินใจเปิดประเทศตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้

โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำให้เกิดการสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นรายได้สำคัญของประเทศเดินทางเข้าประเทศได้ 3 รูปแบบ โดยแบบแรกนั้นไม่ต้องมีการกักตัว ที่เรียกว่า Test and Go แบบที่ 2 กักตัวใน Sandbox 7 วัน และแบบที่ 3 Quarantine กักตัวในที่พักที่ถูกกำหนดไว้ 7-10 วันแล้วแต่กรณี ตามเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน  หลังจากนั้นจึงเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ 14 จังหวัดที่กำหนดไว้ได้  ซึ่งเมื่อนับถึงวันนี้มีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเดินทางเข้ามาแล้วมากกว่า 1 หมื่นราย และมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่าจะเข้ามามากขึ้นตามลำดับ โดยจำนวนนักท่องเที่ยว 5 อันดับแรกมาจากสหรัฐอเมริกา  เยอรมนี สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์


เมื่อหันกลับมาดูจำนวนของประชากรไทยและต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจนถึงปัจจุบันนี้  ปรากฏว่า มีจำนวนมากกว่า 80 ล้านโดสแล้ว โดยได้รับการฉีดเป็นเข็มที่ 1 ประมาณ 44 ล้านโดส หรือประมาณ 62 เปอร์เซ็นต์ เข็มที่ 2 ประมาณ 34 ล้านโดส หรือประมาณ 47 เปอร์เซ็นต์ และเข็มที่ 3 หรือเข็มกระตุ้นประมาณ 2.6 ล้านโดส และมีผู้ป่วยรวมแล้วทั้งสิ้น 1.97 ล้านราย เสียชีวิต 1.97 หมื่นราย  คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 1 เปอร์เซ็นต์  จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลงมาแตะระดับ 7 พันรายต่อวัน เสียชีวิตประมาณวันละ 50-70 ราย

ขณะนี้จำนวนวัคซีนทุกชนิดที่มีอยู่ในประเทศไทยรวมทั้งที่มีการจัดหาโดยองค์กรหรือภาคเอกชนมาเป็นวัคซีนทางเลือกนั้น  มีจำนวนอย่างเพียงพอต่อการที่จะระดมฉีดวัคซีนให้ได้เกินกว่าวันละ 800,000 ราย ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนการฉีดที่สูงมาก โดยการฉีดนั้นได้กระจายไปในทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มด่านหน้า กลุ่มเสี่ยง 608 และกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชนอายุ 12-17 ปี และกลุ่มประชากรทั่วไป ซึ่งปรากฏว่าทำได้ดีมาก ยกเว้นในกลุ่มของสตรีมีครรภ์เกินกว่า 12 สัปดาห์ เพียงกลุ่มเดียวที่จำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดยังน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเกิดความเชื่อมั่นว่าภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสเกินกว่าเป้า 70 เปอร์เซ็นต์ และอาจจะขึ้นไปถึงระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ก็ได้ 

เป้าหมายของการฉีดวัคซีนทั่วโลกในขณะนี้ คือการลดการติดเชื้อ ลดอาการป่วยที่รุนแรงและลดการ
เสียชีวิต แต่ถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนจะได้มีการกระจายไปในพื้นที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากพอสมควรแล้ว รวมทั้งวัคซีนที่ถูกผลิตออกมาแต่ละชนิดก็มีประสิทธิภาพในการที่จะลดอัตราการติดเชื้อ อาการป่วยรุนแรง และการเสียชีวิตที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่ทั่วโลกก็ยังมีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นอยู่มากพอสมควร ซึ่งขณะนี้มีมากกว่า 250 ล้านรายแล้ว  โดยมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากกว่า 5 ล้านราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเมืองไทยถึง 1 เท่าตัว ทำให้เกิดความพยายามของวงการแพทย์ที่จะพัฒนายาที่ใช้รักษาโรคนี้ที่จะลดอัตราอาการที่รุนแรงและเสียชีวิตให้มากขึ้นกว่าเดิม และหากเป็นยารับประทานชนิดเม็ดได้ ก็จะเกิดความสะดวกในการรักษา โดยผู้ป่วยที่มีอาการน้อยและปานกลางจะไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ดีมาก

กระแสข่าวเรื่องการทดลองใช้ยารับประทานชนิดเม็ดที่มีชื่อว่า โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ซึ่งถูกพัฒนาและผลิตขึ้นโดยบริษัทเมอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อว่าเมอร์ค ชาร์พ แอนด์ โดมห์ ในประเทศอื่นๆ  ร่วมกับบริษัทริดจ์แบ็ค ไบโอเธราพิวติกส์ ว่าให้ผลการรักษาที่ดี โดยจากการทดลองศึกษาเปรียบเทียบในกลุ่มตัวอย่าง ในผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อแล้วจากการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR มีอาการป่วยน้อยถึงปานกลาง และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการของโรคที่รุนแรงอย่างน้อยหนึ่งอย่างเช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วน เป็นต้น 

โดยให้ได้รับยาขนาด 800 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งทานวันละ 2 ครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง  เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 5 วัน โดยผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มเป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน COVID มาก่อน  พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาโมลนูพิราเวียร์มีอัตราการลดลงของอาการรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อถึง 29 วันไม่มีผู้ป่วยรายใดผู้ได้รับยานี้เสียชีวิตเลย ซึ่งกระแสข่าวดังกล่าวถือว่าเป็นรื่องที่ดีมาก

จากผลการทดลองศึกษานี้  ทำให้ขณะนี้ยาโมลนูพิราเวียร์ได้ผ่านการพิจารณาโดยองค์กรกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพของอังกฤษที่เรียกว่า MHRA ได้ให้การรับรองให้ใช้ยาตัวนี้ในสภาวะฉุกเฉินได้แล้วในประเทศอังกฤษตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ นับเป็นประเทศแรกของโลก โดยให้ใช้ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป  และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ก็น่าจะได้รับการรับรองจากองค์กรในลักษณะเดียวกันของกลุ่มประเทศ EU และอื่นๆ  รวมทั้งองค์การอาหารและยา หรือ FDA ของประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ซึ่งจะทำให้มีการใช้ยาตัวนี้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

หลายท่านที่เคยได้ยินชื่อของยาตัวนี้อาจจะคิดว่าเป็นยาใหม่ ซึ่งถูกพัฒนามาเพื่อการรักษาโรคโควิด-19 โดยเฉพาะ  แต่ความจริงยาโมลนูพิราเวียร์นี้ ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่มาก่อน  โดยเป็นผลิตผลของอนุพันธ์ของ N4 hydroxycytidine ของนิวคลีโอไซด์สังเคราะห์ และออกฤทธิ์ต้านไวรัส โดยการนำข้อผิดพลาดในการคัดลอกระหว่างการจำลองแบบของ RNA มาทำให้เกิดการยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส พบว่ายานี้ยังมีฤทธิ์ต่อต้านไวรัสโคโรนาอื่นๆ เช่น SARS, MERS และ SARS-CoV-2 โดยเป็นยาที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเอมอรี่  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ก่อนที่ต่อมาจะถูกซื้อสิทธิบัตรโดยบริษัทริดจ์แบ็ค ไบโอเธราพิวติกส์

ขณะนี้บริษัทเมอร์คได้นำยาตัวนี้ไปทดลองใช้ ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในรูปแบบของ MOVe-OUT trial ในภาวะเสี่ยง โดยคาดว่าจะผลิตยาเพื่อการทดลองรักษาถึง 10 ล้านคอร์สภายในปี 2021 และจะใช้ยาจำนวนมากกว่านี้ในโครงการดังกล่าวในปี 2022 ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก มากกว่า 170 สถานที่ และจะมีจำนวนผู้ร่วมทดลองมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลของการรักษาที่ชัดเจนต่อไป โดยในส่วนของทวีปเอเชียจะมีเพียงประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และไต้หวันเท่านั้นที่เข้าร่วมการทดลอง  และยังจะได้มีการนำไปทดลองในรูปแบบของ MOVe- AHEAD trial ในภาวะเสี่ยงในบางประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาการใช้ยาตัวนี้นอกจากในการรักษาแล้ว ยังศึกษาในเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากผู้ที่มีอาการแล้วไม่ให้ไปติดผู้อื่น  ซึ่งหากพบว่ามีประสิทธิภาพดังกล่าว  ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการระงับการติดเชื้อภายในครอบครัว

บริษัทเมอร์ค ซึ่งตั้งมานานมากกว่า 130 ปีแล้ว ได้มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการที่จะเป็นผู้ที่จะดำเนินการที่จะรักษาชีวิตและสร้างสุขภาพที่ดีขึ้นของประชากรทั่วโลก จึงได้สานเจตนารมณ์นี้โดยการที่จะอนุญาตให้บริษัทผลิตยาที่มีคุณภาพในประเทศอื่นๆ จำนวน 105 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่ธนาคารโลกได้ระบุว่า เป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง ได้รับสิทธิบัตรชั่วคราวในการผลิตยา โมลนูพิราเวียร์นี้ได้ ซึ่งจะทำให้ราคาของยานี้ต่อ 1 คอร์สของการรักษา คือการรับประทานยาวันละ 800 มิลลิกรัม  โดยแบ่งเป็นเช้าและเย็น ห่างกัน 12 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 วัน  รวมเป็นยา 40 เม็ด ที่ปกติราคาขายอยู่ที่คอร์สละ 715 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 24,000 บาท มีราคาลดลงมา เหลือเพียงประมาณ 20 ดอลลาร์หรือประมาณ 660 บาท เท่านั้น

น่าเสียดาย ที่เมื่อมีการประกาศรายชื่อของประเทศที่จะได้รับการอนุญาตให้ผลิตยาตัวนี้ในโรงงานผลิตของประเทศได้เองโดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าสิทธิบัตร ปรากฏว่า ในทวีปเอเชีย มีประเทศหลายประเทศที่ได้รับอนุญาต เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไต้หวัน ลาว แต่ไม่มีรายชื่อของประเทศไทย

ซึ่งทำให้ประเทศของเรา หากจะต้องซื้อยาตัวนี้จากผู้ผลิตก็จะต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเรื่องการจัดซื้อยานี้กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาแล้วว่าควรจะจัดซื้อยานี้มาเพื่อให้ผู้ป่วยของเราได้มีโอกาสใช้ด้วยเช่นกัน โดยได้มีการนำเสนอของบประมาณ  และจากการประชุมล่าสุดของคณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติให้จัดซื้อในเบื้องต้นจำนวน 50,000 คอร์สก่อน โดยการจัดซื้อนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อยาตัวนี้ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในสภาวะฉุกเฉินได้โดยองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วเท่านั้น  ซึ่งคาดว่าน่าจะจัดซื้อได้ภายในเดือนธันวาคมนี้

ไม่เพียงแต่บริษัทเมอร์คเท่านั้นที่ได้พัฒนายาชนิดเม็ดรับประทานเพื่อใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ยังมีบริษัทอื่นๆ ในหลายประเทศที่ได้พยายามพัฒนายารับประทานชนิดเม็ดนี้เช่นเดียวกัน และข่าวล่าสุดคือบริษัทไฟเซอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้พัฒนายารับประทานเพื่อใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ได้แล้ว  และพบว่าเมื่อนำมาทดลองรักษาผู้ป่วย ยาที่ถูกพัฒนาขึ้นที่มีชื่อว่า Paxlovid สามารถจะช่วยยับยั้งอาการรุนแรงที่ต้องนอนโรงพยาบาลและเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ได้ถึง 89 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนับว่าดีมาก โดยได้มีการแถลงเรื่องนี้เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้เอง โดยยาดังกล่าวถูกทดลองศึกษาด้วยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการและได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อแล้ว โดยกลุ่มหนึ่งได้รับยาจริง ส่วนอีกกลุ่มได้รับยาหลอก  เป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่เกิน 3 วัน และยังพบว่าเมื่อทดลองใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการมาแล้ว 5 วัน ผลของการรักษาก็ยังดีมากเช่นเดียวกัน ซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าวทำให้ขณะนี้ FDA  กำลังเร่งพิจารณาเพื่อจะอนุญาตให้มีการใช้ยานี้ในสภาวะฉุกเฉินได้เร็วขึ้นเช่นเดียวกัน

การค้นพบยาที่ใช้รักษาและลดอาการรุนแรงจนเข้าโรงพยาบาล หรือการเสียชีวิตได้นั้น ถือเป็นการค้นพบที่สำคัญยิ่ง สามารถจะเรียกยาดังกล่าวได้ว่า Game changer  ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ที่เริ่มมีอาการ และอาการยังไม่รุนแรง สามารถจะได้รับการรักษาที่บ้านและหายได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งในการที่จะช่วยให้ประชากรของโลกนี้ หลุดพ้นจากภยันตรายอันใหญ่หลวงที่เกิดจากโรคร้ายนี้มาเป็นระยะเวลา 2 ปีเศษ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดำเนินชีวิต ตามแนวชีวิตวิถีใหม่ และการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดซึ่งก็เชื่อว่าจะถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญในการจะป้องกันไม่ให้เกิดโรค  และยังคงเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ตลอดไป

นายแพทย์ปิยะ เนตรวิเชียร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:20 น. 'อ.ไชยันต์' ถาม 'ไอติม' จริยธรรมการเมือง ควรใช้ได้แค่ไหน? ชี้ไม่ยื่นอภิปราย 'อิ๊งค์' อาจเสียโอกาสปชช.
16:10 น. กองทัพเมียนมา สูญเสียเครื่องบินรบ13 ลำ นักบินพลีชีพ 43 นาย
16:08 น. ‘หมอวี’แนะรัฐบาลถอนร่าง‘เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ’ ชี้ประเทศมีปัญหาที่ต้องรีบทำอีกเยอะ
16:01 น. หมดศรัทธารัฐบาล!‘IFDโพล’เปิดผลสำรวจปชช.หนุน‘ยุบสภา’ ตั้ง‘รัฐบาลแห่งชาติ’
15:55 น. 'ลิณธิภรณ์'น้อมรับดราม่าสะกดคำผิด บอกมีปัญหาสุขภาพ ทำพูดสั่งการโทรศัพท์เพี้ยน
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ดูทั้งหมด
ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ
ธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ของไทย
กลัวเลือกตั้ง?
บุคคลแนวหน้า : 4 กรกฎาคม 2568
ดวงพิฆาตสองพ่อลูก‘ทักษิณ-แพทองธาร’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กองทัพเมียนมา สูญเสียเครื่องบินรบ13 ลำ นักบินพลีชีพ 43 นาย

‘หมอวี’แนะรัฐบาลถอนร่าง‘เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ’ ชี้ประเทศมีปัญหาที่ต้องรีบทำอีกเยอะ

เปลี่ยนใจแล้ว! หนุ่มใหญ่ถูกหลอกขาย'ตุ๊กตายาง' บอกอายลูกหลานไม่แจ้งความแล้ว

GC ผนึกกำลัง TPBI Group ยกระดับการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยวัสดุเพื่อโลกอนาคตอย่างยั่งยืน

ทั่วโลกจับตาวันพรุ่งนี้! คำทำนายจาก'นอสตราดามุสญี่ปุ่น' เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่จากรอยแยกใต้ทะเล

'ลิณธิภรณ์'น้อมรับดราม่าสะกดคำผิด บอกมีปัญหาสุขภาพ ทำพูดสั่งการโทรศัพท์เพี้ยน

  • Breaking News
  • \'อ.ไชยันต์\' ถาม \'ไอติม\' จริยธรรมการเมือง ควรใช้ได้แค่ไหน? ชี้ไม่ยื่นอภิปราย \'อิ๊งค์\' อาจเสียโอกาสปชช. 'อ.ไชยันต์' ถาม 'ไอติม' จริยธรรมการเมือง ควรใช้ได้แค่ไหน? ชี้ไม่ยื่นอภิปราย 'อิ๊งค์' อาจเสียโอกาสปชช.
  • กองทัพเมียนมา สูญเสียเครื่องบินรบ13 ลำ นักบินพลีชีพ 43 นาย กองทัพเมียนมา สูญเสียเครื่องบินรบ13 ลำ นักบินพลีชีพ 43 นาย
  • ‘หมอวี’แนะรัฐบาลถอนร่าง‘เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ’ ชี้ประเทศมีปัญหาที่ต้องรีบทำอีกเยอะ ‘หมอวี’แนะรัฐบาลถอนร่าง‘เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ’ ชี้ประเทศมีปัญหาที่ต้องรีบทำอีกเยอะ
  • หมดศรัทธารัฐบาล!‘IFDโพล’เปิดผลสำรวจปชช.หนุน‘ยุบสภา’ ตั้ง‘รัฐบาลแห่งชาติ’ หมดศรัทธารัฐบาล!‘IFDโพล’เปิดผลสำรวจปชช.หนุน‘ยุบสภา’ ตั้ง‘รัฐบาลแห่งชาติ’
  • \'ลิณธิภรณ์\'น้อมรับดราม่าสะกดคำผิด บอกมีปัญหาสุขภาพ ทำพูดสั่งการโทรศัพท์เพี้ยน 'ลิณธิภรณ์'น้อมรับดราม่าสะกดคำผิด บอกมีปัญหาสุขภาพ ทำพูดสั่งการโทรศัพท์เพี้ยน
ดูทั้งหมด
Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved