สวัสดี หลานสาว ที่รักของปู่
l ในวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งในชีวิตของคนคนหนึ่ง ในสังคมไทย
ได้เห็นหลาน ใส่ชุดสุดสวย มีรอยยิ้มแห่งความสุข ใบหน้าเอิบอิ่มหลานสุข มีผลกลับให้ พ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนมิตรที่มาร่วมงานมีความสุขและปลื้มปีติไปด้วย
ปู่ ขอแสดงความยินดี ต่อหลานและคู่รักของหลาน
@ ขอบคุณ สำหรับการจัดงานแต่งงานขึ้นในวันนี้และได้เชิญให้“ปู่จิ๊บ” มากล่าวในงานสำคัญนี้
l ปู่มีความสุขมากที่สุดวันหนึ่ง
เป็นความสุข ที่เกิดจากการเห็นหลาน มีความสุข พ่อแม่และญาติพี่น้อง เพื่อนมิตร มาร่วมงานอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาด้วยความรัก และความสุขปู่ปรารถนาจะได้เห็น “หลานทั้งสอง มีความสุข” ทั้งวันนี้ “วันแต่งงาน” คือ วันเริ่มต้นสร้าง “ความเป็นครอบครัวที่มีความสุข” และปรารถนาจะเห็น “หลานทั้งสอง มีความสุขตลอดไป” จนถือไม้เท้ายอดทองกระบอกยอดเพชร
l คำกล่าว....ที่ “ปู่” จะกล่าวต่อไปนี้
มีวัตถุประสงค์ ตามที่ได้ยกมากล่าวข้างต้น คือ “การที่หลานทั้งสอง จะครองรัก ร่วมกันสร้างครอบครัวที่มีความรักความสุข ความอบอุ่น”ไปอย่างต่อเนื่องตลอดกาล
หลานทั้งสอง (มิใช่คนใดคนหนึ่ง) จะร่วมใจกันสร้างได้อย่างไร?
l ท่านผู้มีเกียรติญาติมิตรและคนใกล้ชิดชอบพอกันที่มาร่วมงานแห่งความสุข ที่รักทั้งหลาย
ผู้ที่มาร่วมงานของ “คู่บ่าวสาว” คงมีความรัก และความปรารถนาดีต่อ “คู่บ่าวสาว” และพ่อแม่ของเขาและเธอและคงได้เขียน “คำอวยพร” ลงในสมุดแห่งความรักของคู่บ่าวสาว ที่จัดวางไว้หน้างานแล้วผู้คนที่มีมากมาย หลากหลาย ทั้งรุ่นแก่ รุ่นผู้ใหญ่ และ วัยรุ่นคนหนุ่มสาว พร้อมกับเด็กเล็กที่น่ารักคงแสดงถึง “คู่บ่าวสาว และพ่อแม่ฯ” เป็นคนดี มีน้ำจิตไมตรีต่อเพื่อนมิตร ได้ในส่วนหนึ่ง
มองไปรอบๆ ตัว และอาหารคาวหวาน ที่จัดหลากหลาย เอร็ดอร่อยบรรยากาศช่างเต็มไปด้วยความอบอุ่นและความสุขโดยเฉพาะ “ภาพของเจ้าสาวเจ้าบ่าว และวีดิทัศน์ที่ได้จัดทำขึ้น มาฉายให้ผู้มาร่วมงาน” ที่แสดงถึงความทันสมัย ที่สอดคล้องกับยุคสมัย ที่มักจัดทำด้วยตัวเองของคู่บ่าวสาว จะมีหรือไม่มี เป็นเพียงตัวประกอบของงาน สิ่งสำคัญที่สุด คือ “ตัวหลานและเจ้าบ่าว”
@ กล่าวสำหรับ “ปู่จิ๊บ” ที่ผ่านงานแต่งงานมา
ทั้งสมัยเด็กที่ได้ไปร่วมงานของญาติมิตรผู้ใหญ่ และสำหรับครอบครัว คือ “งานแต่งงานของพี่สาวคนโต” งานแต่งงานของตัวเอง น้องสาวพี่ชาย และน้องชาย ในยุคนั้น จัดกันง่ายๆ และมีรูปแบบที่เฉพาะตามยุคสมัยของคนรุ่นนั้น
สำหรับรุ่นลูกๆ ลูกชายคนเล็ก แต่งงานก่อน โดยจัดงานที่“โรงพยาบาลสงฆ์” ที่เป็นไปแบบเรียบง่าย ซึ่งน่าสนใจไม่น้อยลูกชายคนโต ได้แต่งงาน ที่สมาคมธรรมศาสตร์ งามดูพลี เป็นงานที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบผู้มาร่วมงาน จำนวนไม่น้อย ทั้งญาติของทั้งสองฝ่าย ผู้ใหญ่และเพื่อนพ้องน้องพี่มิตรสหายของพ่อแม่และเพื่อนๆ ของลูกๆ ของที่ระลึกที่มอบให้ “ผู้มาร่วมงาน”มีหลากหลาย โดยเฉพาะหนังสือที่มีหลายประเภทและที่โดดเด่น คือ “ผู้ใหญ่ที่มาเป็นเจ้าภาพในงาน” คือ “ท่านอานันท์ ปันยารชุน” และ “ผู้เป็นพ่อ” ได้ขึ้นไปกล่าว “ความรู้สึก และคำขอบคุณ ต่อผู้มาร่วมงาน”
l ปู่จิ๊บ ขอนำเอาความปรารถนาดีของแขกผู้เกียรติและญาติสนิทมิตรสหายที่มาร่วมงาน ที่ “ทั้งหมด ๑๐๐% ปรารถนาให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวครองรักกันด้วยความรักและความสุข” ตลอดไป แต่อยากจะกล่าวถึง “แนวคิดและหลักการใหญ่สำคัญ” ที่จะสามารถบรรลุผลตามปรารถนาได้จริง
-ตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาว ยังถือว่า “ยังไม่มีประสบการณ์”
-ส่วนพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย มีบ้าง แต่มักมีไม่ครบ
-โดยมักจะได้ไปเจอกับปัญหาโอกาสอุปสรรค หลังจากแต่งงานไปแล้วจึงจะมีประสบการณ์ด้วยตนเอง
-สังคมไทยและโลก และตำรับตำรา ที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้ ถึงมีบ้างแต่ก็มีไม่สมบูรณ์ อาจจะเพราะ “คิดกันเองว่า” เจ้าบ่าวเจ้าสาวคงจะสามารถเดินทางไปบนเส้นทางสำคัญของชีวิตนี้ได้เองซึ่งไม่แน่นอน ยิ่งโดยเฉพาะ ในสมัยนี้ ยุคนี้ “ปัญหาการหย่าร้างกัน และปัญหาการครองเรือนไป อย่างไม่มีความสุขมากนัก”
l ฉะนั้น ปู่จิ๊บ ขอเวลาหน่อย ในการกล่าวถึงเรื่องนี้
จากการเห็นความสำคัญอย่างยิ่งของ “การครองคู่ ในชีวิตแต่งงาน” จึงได้ศึกษาเรียนรู้ ด้วย “สติปัญญา ความจริง” ของชีวิตของคนหลากหลายได้ประเด็นที่สำคัญที่จะได้นำเสนอ เพื่อแลกเปลี่ยนกันกับผู้มีเกียรติทั้งหลายฯ ดังนี้ :
๑. การแต่งงาน คืออะไร ?
การแต่งงาน เป็นพิธีการซึ่งบุคคลสองคนรวมเข้ากันเป็นหนึ่งในการสมรสหรือสถาบันที่คล้ายกัน ประเพณีและจารีตประเพณีแตกต่างกันมากตามวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา ประเทศ และชนชั้นทางสังคม พิธีการแต่งงานส่วนมากเกี่ยวข้องกับ การแลกเปลี่ยนคำสาบานแต่งงานโดยคู่สมรสการมอบของขวัญ (ของถวาย แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน สิ่งที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ ดอกไม้ เงิน) และการประกาศการแต่งงานสาธารณะโดยผู้มีอำนาจหรือผู้นำ คู่สมรสมักสวมชุดแต่งงานพิเศษ และมักตามด้วยงานเลี้ยงแต่งงาน (wedding reception)
@ กล่าวง่ายๆ คือ “การรวม ๒ (เจ้าบ่าวเจ้าสาว) ให้เป็น๑ เดียวกัน จากการที่ คน ๒ คน มีความเป็นอิสระ มาสร้างพันธะผูกพันร่วมกันเป็นครอบครัวเดียวกัน
๒. หัวใจของการสร้างครอบครัว
“ให้รัก ให้เกียรติ ความเชื่อใจ และความเคารพกัน” “ความรัก การเรียนรู้ สร้างความเข้าใจและความสุขร่วมกัน พัฒนา แก้ไขปรับปรุงไปตลอดเส้นทาง
ต้องศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และปรับปรุง นิสัยหรือข้ออ่อนของแต่ละฝ่าย ทั้งทำโดยร่วมกัน โดย มีฝ่ายที่มีความเป็นผู้ใหญ่มากกว่า เป็นตัวหลักซึ่งจะต้องเริ่มทำ ตั้งแต่เริ่มต้น “การเป็นครอบครัว” อย่าปล่อยทิ้งไว้ยาวนาน จะเป็นการสะสม และแก้ไขยาก คือ กายและใจพร้อม ทั้ง“เจ้าสาวและเจ้าบ่าว” ด้วยรัก เข้าใจ เชื่อมั่น และเคารพไว้ใจกัน รวมทั้งการจริงใจ และเชื่อใจกันที่จะเดินก้าวไปด้วยกัน ด้วยความรู้ สติปัญญาความจริงของชีวิตมนุษย์ฝ่าฟันทุกข์ อุปสรรค ก้าวไปสู่ ความสุขความสำเร็จร่วมกัน ด้วยรัก ผูกพันกันไป ตลอดเส้นทางของชีวิต
๓. การปรับตัว ให้เข้ากันได้ ด้วยใจรักต่อกัน ของคู่บ่าวสาว โดยปกติทั่วไป ช่วงของความรัก และจนถึงวันแต่งงาน ทั้งหญิงและชาย มักจะพยายามเอาเอกเอาใจกัน และพูดถึงเรื่องดีๆ งามๆ ซึ่งเป็นเรื่องดีแต่“ส่วนใหญ่” มักไม่ได้แสดงตัวตนและความรู้สึกที่แท้จริงของตนออกมาทั้งหมดด้วยมีความเกรงอกเกรงใจกัน จึงเก็บ “ความคิดและอารมณ์ความรู้สึกในข้ออ่อนของตนไว้” แต่ในวันแต่งงาน ซึ่งพูดกันว่า “เป็นวันสุดยอดของความรัก ที่ได้มาถึงจุดนี้ได้”
ความจริง “วันแต่งงาน” เป็นวันเริ่มต้น ของการสร้างความรักที่แท้จริงและการร่วมกันสร้างครอบครัว และหลังจากวันแต่งงาน จะมีอีกช่วงหนึ่งที่เป็นสุดยอดของความรักอีกครั้งหนึ่งในการ “ฮันนีมูน HONEY MOON”
แต่หลังจากการใช้ชีวิตที่เป็นจริง หลังจากนั้น ความเป็นจริงจะปรากฏ อารมณ์ความรู้สึกของทั้งสองฝ่าย จะเริ่มแสดงออกแน่นอน มีทั้ง จุดแข็ง แต่ก็จะมีจุดอ่อนของกันและกัน โผล่ออกมา ซึ่งเราจักต้องเรียนรู้พัฒนาตนเอง และปรับตัวเข้าหากัน ในการที่จะก่อให้เกิดความสุขของครอบครัวความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ ความแตกต่างกัน : เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตมนุษย์ การปรับตัว เข้าหากัน สร้างสิ่งที่งดงาม ให้แก่กันและกัน เป็นคุณสมบัติของมนุษย์ที่สามารถทำได้ โดยใช้หลัก “ในข้อ ๒”
๔. การปรับตัวให้เข้ากับพ่อแม่ญาติพี่น้องของอีกฝ่าย โดยต้องเป็นตัวของตนเอง มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องอยู่กันและอาศัยการช่วยเหลือพึ่งพากัน ในการอยู่ได้อย่างมีความสุขในสังคม และส่วนที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตและวงศ์ตระกูล คือ “พ่อแม่และญาติพี่น้องของอีกฝ่ายหนึ่ง”
เรารักกัน : เราต้องรัก พ่อแม่พี่น้อง ญาติมิตร ของกันและกันด้วย แต่แน่นอนว่า “มิใช่ทั้งหมด” เพราะอาจจะมีบางส่วนบางเรื่อง มีความเห็นต่าง หมายความว่า “เราต้องมีความจริงใจ และเคารพ ต่อญาติพี่น้องของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย และในเรื่องนี้จะรวมไปถึง “เพื่อนมิตร” ของแต่ละฝ่ายด้วย โดยเฉพาะส่วนที่เป็นเพื่อนมิตร และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในหน้าที่การงาน หรือคนในหมู่บ้านเดียวกัน ฯลฯ
๕. ชีวิตของแต่ละคนมีทั้งความอิสระ การผูกพัน และความรับผิดชอบ
การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของกันและกัน ต้องมี และพูดกันให้เข้าใจอย่างชัดเจน เช่น การดูแลลูก ค่าใช้จ่ายของครอบครัว เรื่องการเงิน การออม เรื่องมรดก ฯลฯ
เรื่องการเงิน เริ่มมีการเสนอและทำกันมากขึ้น คือ
-เงินที่เป็นส่วนรวมกัน ในการใช้จ่ายและสร้างครอบครัว
-เงินที่เป็นอิสระ ที่แต่ละฝ่ายสามารถใช้จ่ายได้ (แต่ต้องไม่สร้างภาระ หรือความเดือดร้อนต่อครอบครัว)
๖. ต้องทำงานของแต่ละคน ด้วยความรัก เอาจริงทุ่มเท ให้เกิดผลดีต่อตนเอง ครอบครัวและส่วนร่วม
๗. การมีลูกที่ดี มีคุณธรรม แข็งแรง สืบทอดวงศ์ตระกูล :พ่อแม่ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ และเข้าใจ อีกทั้งไม่ใส่ใจ ฯลฯ
ขอกล่าวถึงบางประเด็น
(๑) การมีบุตร ทั้งพ่อแม่ต้องวางแผนและทำความเข้าใจให้ถูกต้องเช่น พ่อแม่ต้องอยู่ในสภาพที่พร้อม ที่สำคัญ คือ “อสุจิ และไข่” แข็งแรง สมบูรณ์
(๒) การเลี้ยงลูก ต้อง ถ่ายทอดสิ่งที่ดีงามให้กับลูก รวมทั้งการเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งลูกจะจดจำไปตลอดช่วงที่พ่อแม่ขัดแย้งหรือทะเลาะกัน หรือการพูดจาว่าร้าย หรือกล่าวสิ่งที่ไม่ดีต่อกัน ต้องไม่กล่าวต่อหน้าลูก เพราะลูกจะรับเอาไปใส่ และติดในใจของตน
(๓) อย่าเอาลูกมาเป็นเครื่องมือ เป็นพวก เพื่อว่าอีกฝ่ายหนึ่ง หรือสอนลูกให้เกลียดอีกฝ่ายหนึ่ง
(๔) ต้องรักลูกอย่างเท่าเทียมกัน ฯลฯ
๘. กรณีมีหลาน : ปู่ย่าตายาย ต้องเข้าใจ “บทบาทหน้าที่ของตน” คือ
ลูกของใคร : ผู้นั้นมีหน้าที่
ลูกของเรา : เราดูแล
แต่ลูกของลูก(หลาน) : ลูก จะเป็นผู้ดูแล และตัดสินใจ
๙. เรื่องที่ควรพูดต้องเป็นเรื่องดีและเสริมความรัก และที่ไม่ควรพูดคือเรื่องที่สร้างความขัดแย้ง หรือทำลาย ลดความรู้สึกที่ดีต่อกัน เรื่องข้ออ่อน ข้อบกพร่องผิดพลาด ต้องใช้เวลา ในการสร้างความเข้าใจ และแก้ไขปรับปรุง
๑๐. การมีเวลาอยู่ร่วมกัน การพักผ่อนหย่อนใจ เป็นความจำเป็นในการดำรงชีวิตครอบครัว
๑๑. การให้ความสำคัญต่อสุขภาพของตนเอง และครอบครัว การรักษาป้องกัน และออกกำลังกายประจำ
๑๒. ฯลฯ
l เรื่องสำคัญใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง คือ “ความผิด และความผิดพลาด”ของครอบครัว (สามีภรรยา)
หลักการสำคัญที่สุดคือ
“ไม่มีความผิด หรือ ความผิดพลาดใด” ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งใหญ่ ถึงขั้น ต้องเลิกหรือหย่าร้างกัน
แต่เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดพลาดใหญ่ จะต้องสำนึกในความผิด ขอโทษ ปรับปรุงแก้ไข และไม่ทำผิดอีกหลักการสำคัญคือ ไม่มีใครหรือฝ่ายใด มีความสมบูรณ์พร้อม หรือไม่เคยทำผิดมาก่อนเลย และความผิดพลาดอาจจะมีสาเหตุจากศาสนา ประเพณี ความคิดความเชื่อของคนในสังคมนั้นๆ แม้จะสำคัญมากเพียงใดก็ตาม ก็เป็นเรื่องของปัจจัยภายนอก
ญาติพี่น้อง สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น ต่อความขัดแย้งใหญ่ได้
แต่ “การตัดสินใจสุดท้าย” ต้องเป็นเรื่องของครอบครัว คือ สามีและภรรยาการพูดถึงความผิดของกันและกัน หรือของอีกฝ่ายหนึ่งต้องพูดและคิด ด้วยสติปัญญา และใช้เวลาที่สงบ มีบรรยากาศที่ดี ในการคุยกันในเรื่องนี้
l สวัสดี หลานสาวที่รักของปู่ และแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานวันอันเป็นมงคลนี้
ต้องขอสรุปลงท้าย ด้วยความรัก ความขอบคุณ ที่ได้ให้เกียรติให้ความรักต่อหลานสาวในการมาร่วมงานอันเป็นมงคลในวันนี้
ความจริง การขอบคุณที่ดี มีคุณค่าและความหมายต่อ แขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย คือ “ตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาว”
การใช้ชีวิตคู่ ร่วมรัก ร่วมกันสร้างครอบครัวที่งดงาม มีความสุขเป็นอีกครอบครัวหนึ่งของสังคมที่จะช่วยเติมเต็ม ความสุขและความรัก ในสังคมใหญ่ คือ ประเทศไทย หวังว่า “หลานทั้งสองที่เป็นเจ้าบ่าวเจ้าสาว” ที่เป็นพระเอกและนางเอก ในวันนี้จะได้ร่วมกันสร้างสรรค์ ครอบครัวของทั้งสองให้มีความสุข ซึ่งจะทำให้ “พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนมิตร และแขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย” มีความสุขที่แท้จริง
ด้วยรัก และปรารถนาดี ต่อหลานทั้งสอง
ปู่จิ๊บ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี