วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เขียนให้คิด
เขียนให้คิด

เขียนให้คิด

เฉลิมชัย ยอดมาลัย
วันอาทิตย์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 02.00 น.
เปลี่ยนตราพระเกี้ยวโดยพลการ ละเมิด พ.ร.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดูทั้งหมด

  •  

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีรากเหง้าความเป็นมามาจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน เมื่อครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานไชยศรี ในเขตพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.2442 แล้วต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 วัตถุประสงค์ของโรงเรียนนี้คือผลิตบุคลากรเพื่อให้รับราชการ โดยในยุคนั้นจำเป็นต้องตระเตรียมข้าราชการจำนวนมาก หลังจากทรงมีพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ. 2425

ครั้นต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชเจ้า
ที่ทรงต้องการให้สยามมีสถาบันอุดมศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2453 แล้วในกาลต่อมา เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นเป็นลำดับ ประชาชนมีความต้องการเล่าเรียนศึกษาในขั้นที่สูงขึ้น เพื่อให้สามารถนำวิชาการความรู้ไปประกอบสัมมาชีพต่างๆ ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2459 เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติยศแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อให้การศึกษาระดับสูงของสยามมีความมั่นคง ก้าวหน้า ขยายออกไปมากยิ่งขึ้น 


โดยในครั้งแรกเริ่มสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ปวงราษฎรร่วมกันบริจาคเงินได้ที่จากการเรี่ยไรเพื่อนำไปสร้างพระบรมรูปทรงม้า โดยมีเงินเหลืออยู่ 982,672.47 บาท โดยทรงมีพระบรมราชานุญาตให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ก่อสร้างอาคารเรียนและตึกบัญชาการบนที่ดินพระคลังข้างที่ พื้นที่ทั้งหมด 1,309 ไร่ ในเขตอำเภอปทุมวันโดยเงินที่เหลือจากการสร้างอาคาร ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปใช้เพื่อบำรุงกิจการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อไป 

จากวันวานนานโพ้นจวบจนบัดนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง เพราะได้รับการทำนุบำรุงเป็นอย่างดีจากสาธารณชน ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะได้ร่ำเรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือไม่ก็ตาม แต่ด้วยความจงรักภักดี และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทำให้สาธารณชนต่างร่วมใจรักษาและสนับสนุนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสืบเนื่องมา

เมื่อพูดถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิ่งสำคัญนอกเหนือจากพระนามจุฬาลงกรณ์แล้ว ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ พระเกี้ยว

พระเกี้ยวคือตราสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตราพระเกี้ยวนี้ถือเป็นตราประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น
การอัญเชิญตราพระเกี้ยวมาเป็นตราประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นการแสดงออกถึงความระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระองค์ท่าน และที่สำคัญคือตราพระเกี้ยวคือตราพระราชทานที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์จากพระเกี้ยวเป็นตราสัญลักษณ์อื่นใด จึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากเป็นตราพระราชทานเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกเสียจากได้ขอพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ แล้วได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้

ดังนั้น ใครผู้ใดก็ตามที่ใช้อำนาจโดยพลการกระทำการเปลี่ยนแปลง ดัดแปลง ตัดแต่ง ต่อเติมตราสัญลักษณ์พระเกี้ยวให้เป็นรูปแบบอื่น หรือดูแล้วเสมือนหรือคล้ายพระเกี้ยว แต่ทว่าไม่คงความเป็นพระเกี้ยวโดยแท้จริงไว้ นับได้ว่าเป็นการกระที่น่าจะขัดต่อพระราชบัญญัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและยังแสดงให้เห็นชัดว่าไม่ถวายความเคารพต่อพระผู้ทรงพระราชทานกำเนิดแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างชัดเจน

ขอย้อนไปกล่าวถึงความสำคัญของพระเกี้ยวอีกครั้งหนึ่ง พระเกี้ยวคือศิราภรณ์ของพระราชวงศ์ชั้นสูงระดับพระราชโอรส พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ และเมื่อกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แล้วตราพระเกี้ยว คือ พิจิตรเลขาประจำพระองค์ 

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ จุฬาลงกรณ์ อันมีความหมายว่าเครื่องประดับพระเศียร หรือจุลมงกุฎ

อนึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศสยาม หรือประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีรากเหง้าดั่งเดิมและถือกำเนิดด้วยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดังนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยคือ พระเกี้ยว

เมื่อดูความจากพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ในหมวด 1 บททั่วไป มาตรา 7 ระบุว่าให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐานขี้นเพื่อเป็นพระอนุสาวรีย์สมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์ที่จะบุกเบิก แสวงหา และเป็นคลังความรู้ ให้การศึกษา ส่งเสริม ประยุกต์และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง สร้างบัณฑิตวิจัย เป็นแหล่งรวมสติ ปัญญา และบริการทางวิชาการแก่สังคม รวมทั้งสืบสานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยมุ่งหวังให้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยมีคุณธรรมกำกับความรู้ เพียบพร้อมด้วยสติปัญญาและจริยธรรม ใฝ่รู้ กอปรด้วยวิจารณญาณ จิตใจเสียสละ และความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม

ในหมวดแปด บทกำหนดโทษ ระบุในมาตรา 70 ว่า ผู้ใด 

(1) ปลอม หรือทำเลียบแบบซึ่งตราหรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยหรือส่วนงานของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะทำเป็นสีใด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ 

(2) ใช้ตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย หรือส่วนงานของมหาวิทยาลัยปลอมหรือซึ่งทำเลียนแบบ หรือ

(3) ใช้ หรือทำให้ปรากฏซึ่งตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย หรือส่วนงานของมหาวิทยาลัยที่วัตถุหรือสินค้าใดๆ โดยฝ่าฝืนมาตรา 67วรรค 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น เมื่อพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากพระเกี้ยวเป็นตราเสมือนพระเกี้ยว อันเกิดมาจากโครงการ Re-Branding CHULA จึงทำให้เกิดคำถามว่า การกระทำใดๆ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว เป็นสิ่งที่กระทำได้หรือ แล้วถ้ายิ่งเป็นการกระทำโดยไม่สอดคล้องตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีคำถามว่าสามารถเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โดยพลการหรือ ผู้กระทำการ
โดยพลการคือผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช่หรือไม่ 

ประเด็นนี้ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำไมจึงปล่อยให้เรื่องไม่บังควรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พระเกี้ยวเป็นตราเสมือนพระเกี้ยว และการปล่อยให้นิสิตรายหนึ่งจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ นำพระเกี้ยวไปกระทำการหยามเกียรติ และเหตุใดจึงปล่อยให้องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปลี่ยนตราพระเกี้ยวเป็นรูปว่าวจุฬา 

คำถามคือ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสำนึกในความรับผิดชอบต่อเกียรติยศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบ้างหรือไม่

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:51 น. จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
13:42 น. สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
13:39 น. วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
13:35 น. (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!
13:31 น. ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ '4 Element บ้านวาทินวณิช'
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง
‘หนีดีกว่า’อวสาน‘ตระกูลชิน’
สองพ่อลูกลุยกรรม
ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล

วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

สมศักดิ์ศรีสาวบุรีรัมย์! 'ลิซ่า ลลิษา'โชว์สกิลเทพตำส้มตำปลาร้า ดันอาหารไทยสู่สายตาชาวโลก

'ญี่ปุ่น'แผ่นดินไหวทะลุ1,000ครั้ง! แถลงการณ์ฉุกเฉินสั่งปชช.เตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อ

(คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!

  • Breaking News
  • จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
  • สุดโรแมนติก! \'โปรต้า\'คุกเข่าขอ\'ครูเบียร์\'แต่งงานริมทะเล สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
  • วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
  • (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!! (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!
  • ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ \'4 Element บ้านวาทินวณิช\' ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ '4 Element บ้านวาทินวณิช'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ทายาท (อสูร) การเมืองไทย

ทายาท (อสูร) การเมืองไทย

29 มิ.ย. 2568

อยู่เพื่อทำลายประเทศไทย

อยู่เพื่อทำลายประเทศไทย

22 มิ.ย. 2568

แพทองธาร : ความเจริญ-ความวิบัติของประเทศไทย

แพทองธาร : ความเจริญ-ความวิบัติของประเทศไทย

15 มิ.ย. 2568

อย่ารักชาติแบบศาสตราจารย์ไร้สาระบางจำพวก

อย่ารักชาติแบบศาสตราจารย์ไร้สาระบางจำพวก

8 มิ.ย. 2568

งบประมาณฯ ผลาญชาติ???

งบประมาณฯ ผลาญชาติ???

1 มิ.ย. 2568

แพทองธารไปอังกฤษ ไปพบยิ่งลักษณ์???

แพทองธารไปอังกฤษ ไปพบยิ่งลักษณ์???

25 พ.ค. 2568

ทิดแย้ม ไร่ขิง ปัญหาบนยอดภูเขาน้ำแข็ง

ทิดแย้ม ไร่ขิง ปัญหาบนยอดภูเขาน้ำแข็ง

18 พ.ค. 2568

บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย

บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved