วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
ขอรัฐแก้หนี้นอกระบบให้ถึงราก

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เกิดเหตุเศร้าสลด“ฆ่ายกครัว 3 ศพ” ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ เมื่อชายผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวเกิดความเครียดเพราะเป็นหนี้จากการไปค้ำประกันให้บุคคลอื่น ซ้ำร้ายภรรยายังถูกมิจฉาชีพเงินกู้ หลอกให้โอนเงินไปอีก 1.7 ล้านบาท เพื่อที่จะได้รับเงินกู้ จึงลงมือสังหารภรรยาและลูกอีก 2 คน ก่อนจะพยายามฆ่าตัวตายตามไปแต่ยังไม่ทันสิ้นใจก็ได้รับการช่วยเหลือจากอาสากู้ภัยเสียก่อน ถึงกระนั้นก็บาดเจ็บอาการก็สาหัส

และต้องบอกว่า “เงินกู้ทิพย์ (ที่ไม่มีเงินให้กู้แถมยังต้องเสียเงินตัวเองให้มิจฉาชีพอีกต่างหาก)” เรื่องนี้ไม่ใช่ปรากฏเป็นข่าวครั้งแรก ย้อนไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ จ.นนทบุรี ตำรวจได้เข้าช่วยเหลือหญิงรายหนึ่งที่กำลังจะกระโดดสะพานฆ่าตัวตาย ซึ่งเจ้าตัวได้ให้การว่า ไปติดต่อกู้เงินจากโฆษณาที่ประกาศในอินเตอร์เนต โดยต้องการเงิน 1.5 แสนบาท แต่เมื่อติดต่อไปกลับถูกบอกให้โอนเงินไปให้ผู้ให้กู้ 8,000 บาทก่อน ซึ่งก็หลงเชื่อโอนไป จึงเกิดความเครียด โดยเหตุผลที่อยากกู้เงินเพราะต้องการทุนไปค้าขาย ไถ่มอเตอร์ไซค์ที่ติดจำนำ และซื้อชุดนักเรียนให้ลูก


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยแจ้งเตือนประชาชนผ่านบทความ “กู้ออนไลน์...ต้องรู้ทันโจร”แบ่งประเภทผู้ให้บริการเงินกู้ไว้ 3 ประเภท คือ1.เงินกู้ในระบบ ให้เงินกู้ในอัตราเต็มจำนวน และคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ไม่เกินกฎหมายกำหนด 2.เงินกู้นอกระบบ มักให้เงินกู้ไม่เต็มจำนวน ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน แต่เมื่อคืนเงินกู้ต้องจ่ายเต็มจำนวนบวกกับดอกเบี้ยหรือค่าปรับที่สูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด มีวิธีการติดตามทวงถามหนี้แบบข่มขู่คุกคาม หรือหากเป็นการกู้ผ่านระบบออนไลน์ ก็จะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นที่อนุญาตให้นายทุนเงินกู้เข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ นำไปสู่การไล่ติดตามทวงถามหนี้กับใครก็ตามที่มีรายชื่ออยู่ในโทรศัพท์ของผู้กู้

และ 3.มิจฉาชีพ ไม่มีการให้กู้เงินจริง แต่จะโฆษณาชวนเชื่อบนพื้นที่ออนไลน์ เมื่อมีผู้ติดต่อไปเพื่อขอกู้เงินจะถูกโน้มน้าวให้โอนเงินไปให้ก่อน เช่น อ้างว่าเป็นค่าค้ำประกัน โดยบอกว่าจะคืนให้พร้อมกับเงินกู้ หากหลงกลโอนไปมิจฉาชีพก็จะอ้างให้เหยื่อโอนเพิ่มอีกเรื่อยๆ เช่น อ้างว่าโอนเงินไม่ได้เพราะเหยื่อกรอกเลขที่บัญชีผิด มีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขเอกสารเพื่อปลดล็อก หรือต้องจ่ายค่าลัดคิวจึงจะได้เงินเร็วขึ้น หากเหยื่อเริ่มรู้ทันก็จะถูกบล็อก ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้อีก ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ https://www.bot.or.th ของ ธปท. ในหมวด “บริการจาก ธปท.” ได้จัดทำหัวข้อ “เช็คแอปเงินกู้” เพื่อให้เข้าไปตรวจสอบได้ว่า ผู้โฆษณาให้กู้เงินนั้นเป็นผู้ให้กู้จริงและถูกกฎหมายหรือไม่

เรื่องการปราบปรามมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินแลกกับการกู้เงินก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่หากมองให้ลึกลงไป “หนี้นอกระบบ” คือปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาทุกยุคสมัย ถึงขนาดที่มอเตอร์ไซค์บางรุ่นถูกเรียกอย่างล้อเลียนว่าเป็นรถเก็บเงินกู้ เพราะเป็นที่ยอดนิยมของกลุ่มนักทวงหนี้ที่แต่งกายคลุมด้วยเสื้อแจ๊กเกต กางเกงยีนส์และสวมหวกกันน็อกแบบเต็มใบ มักพบเห็นได้ตามตลาดเพราะพ่อค้า-แม่ค้าคือคนกลุ่มใหญ่ที่กู้เงินจากแหล่งเหล่านี้ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏเป็นข่าวว่ามีการใช้ความรุนแรงทำร้ายร่างกาย-ทำลายทรัพย์สินหากลูกหนี้จ่ายช้าหรือจ่ายไม่ครบตามที่ตกลงกัน

กระทั่งเมื่อมาถึงยุคออนไลน์ที่แทบทุกกิจกรรมในชีวิตทำบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน เงินกู้นอกระบบก็เข้ามาให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น โดยยังคง Concept“กู้ง่าย (แต่ดอกมหาโหด)” ไว้เหมือนเดิม ดังล่าสุดเมื่อต้นเดือนกันยายน 2566 มีรายงานข่าวจาก จ.นครพนม แม่ค้ารายหนึ่งได้ไปใช้บริการเงินกู้นอกระบบผ่านแอปพลิเคชั่นหลายเจ้า เนื่องจากค้าขายแล้วเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน จึงใช้วิธี “กู้เจ้าหนึ่งไปโปะอีกเจ้าหนึ่ง” จนในที่สุดเป็นหนี้สูงถึง 2.6 ล้านบาท และถูกติดตามให้ชำระต้นรวมดอกวันละประมาณ 1.5 แสนบาท

“แม้ภาครัฐจะระดมสรรพกำลังเพื่อปราบปรามผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบ แต่ก็เหมือนเป็นสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น” เช่น วันนี้ตำรวจเข้าจับกุมนาย A ในความผิดฐานปล่อยเงินกู้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และใช้วิธีการติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่วันต่อๆ ไป นาย B, นาง C ฯลฯก็พร้อมจะเข้ามาเป็นนายทุนเงินกู้รายใหม่ “ตราบใดที่ความต้องการ (Demand) ยังมี ก็พร้อมมีคนตอบสนอง (Supply) เป็นธรรมดา” ปัญหาหนี้นอกระบบจึงไม่เคยหายไปจากสังคมไทย หรืออาจจะไม่แม้แต่สถานการณ์เบาบางลง

เพราะ “ต้นตอของปัญหาหนี้นอกระบบคือการที่คนไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบ” โดยผู้ที่จะไปกู้เงินกับสถาบันการเงิน (เช่น ธนาคาร) จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (เช่น ที่ดิน-อาคาร) มีเอกสารแสดงรายได้อย่างต่อเนื่อง (เช่น เอกสารการได้รับเงินเดือน, หนังสือรับรองเงินเดือนจากองค์กรต้นสังกัดในการทำงาน) หรือมีบุคคลค้ำประกัน (เช่น ข้าราชการระดับกลางถึงระดับสูง)ซึ่งแม้จะเข้าใจได้ว่าสถาบันการเงินต้องคัดกรองความเสี่ยงหนี้เสีย แต่ก็ทำให้คนหาเช้ากินค่ำไม่สามารถเข้าถึง จึงต้องไปพึ่งเงินกู้นอกระบบ (และบางส่วนก็ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพเงินกู้ทิพย์)

และต้องบอกว่า “คนไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ” ตามรายงาน “การสำรวจแรงงานนอกระบบ”ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยแพร่ทุกปี โดยฉบับล่าสุด (พ.ศ.2565) ระบุว่า ประชากรวัยทำงาน (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) มีคนทำงานประมาณ 39.5 ล้านคน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นแรงงานในระบบราว 19.3 ล้านคน และนอกระบบราว 20.2 ล้านคน ขณะที่อาชีพที่แรงงานนอกระบบนิยมทำมากที่สุด อันดับ 1 เกษตรกร (เกือบ 11.2 ล้านคน) อันดับ 2 ค้าขายหรือรับซ่อมยานพาหนะ(ราว 3.4 ล้านคน) อันดับ 3 ที่พักแรมและบริการอาหาร (กว่า 1.7 ล้านคน) ซึ่งปัญหาของแรงงานนอกระบบคือรายได้ไม่แน่นอน และไม่มีหลักฐานครบตามเงื่อนไขของการขอสินเชื่อในระบบ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา มีอย่างน้อย 3 พรรคที่ชูนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ คือ “พรรคชาติพัฒนากล้า” เมื่อครั้งที่ กรณ์ จาติกวณิช ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค (ลาออกเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2566) เสนอให้ใช้ระบบ “เครดิต สกอร์ (Credit Score)” ข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ มาประกอบการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ ลดแรงบีบคั้นจนต้องไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ,

“พรรคไทยสร้างไทย” ซึ่งมีนโยบาย “กองทุนประชาชนเพื่อคนตัวเล็ก” โดยหัวหน้าพรรค คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เคยอธิบายแนวคิดนี้ ว่า กองทุนนี้ไม่ต้องมีการค้ำประกัน ติดหนี้อย่างอื่น ติดเครดิตบูโรก็กู้ได้ ให้กู้ตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท ตราบใดที่กู้แล้วไม่เบี้ยวหนี้-ไม่โกงรัฐ ก็สามารถใช้บัตรหนี้ไปกู้เงินเวลาเดือดร้อนได้ตลอดชีวิต เรื่องนี้สามารถทำได้และใช้เงินไม่มาก เพราะเอาเข้าจริงคนรายได้น้อยก็ไม่ได้กู้เงินจำนวนมาก รวมถึง “พรรคภูมิใจไทย” ที่มีนโยบาย “เงินกู้ฉุกเฉิน 5 หมื่นบาท” โดยหัวหน้าพรรค อนุทิน ชาญวีรกูลระบุว่า ผ่อนชำระคืนวันละ 150 บาท เป็นเวลา 365 วัน คิดเป็นเงินต้นรวมดอกเบี้ย 54,750 บาท ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในอัตราที่สามารถผ่อนใช้คืนได้

คงต้องฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ที่เน้นย้ำเรื่อง “เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาปากท้องประชาชน” รวมถึง สส.ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย เพราะหากประชาชนยังคงอยู่กับหนี้นอกระบบดอกเบี้ยโหดต้องหาเงินมาหมุนโปะไม่จบสิ้น ก็ยากที่จะลืมตาอ้าปาก
ยกระดับชีวิตตนเองและครอบครัวให้ดีขึ้นได้!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:41 น. แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ
15:40 น. 'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน
15:35 น. สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ
15:20 น. ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา
15:14 น. 'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน

แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ

เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว

วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี

  • Breaking News
  • แอดมิทด่วน! \'เอ๊ะ จิรากร\'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ
  • \'อนุสรณ์\'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน 'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน
  • สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ
  • ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย  3 อำเภอในยะลา ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา
  • \'ทวี\'เผย\'กกต.\'ประสาน\'ดีเอสไอ\'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว 'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

‘สวนสัตว์มนุษย์’ บาดแผลยุคอาณานิคม

‘สวนสัตว์มนุษย์’ บาดแผลยุคอาณานิคม

3 พ.ค. 2568

สร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

สร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

26 เม.ย. 2568

ประชากรโลก2พันล้านคน ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม

ประชากรโลก2พันล้านคน ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม

19 เม.ย. 2568

เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายเดิม แม้จะยกเลิก-แก้ไขไปแล้ว

เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายเดิม แม้จะยกเลิก-แก้ไขไปแล้ว

12 เม.ย. 2568

ระวัง‘ปาร์ตี้โฟม-ไฟรั่ว’ ภัยอันตรายช่วงสงกรานต์

ระวัง‘ปาร์ตี้โฟม-ไฟรั่ว’ ภัยอันตรายช่วงสงกรานต์

5 เม.ย. 2568

‘ทุนโต-เทคโนโลยีก้าวไปไว’  แต่‘กลไกกำกับดูแล’ตามไม่ทัน

‘ทุนโต-เทคโนโลยีก้าวไปไว’ แต่‘กลไกกำกับดูแล’ตามไม่ทัน

29 มี.ค. 2568

สังคมไทยเริ่มตื่นตัว  สิทธิ‘ผู้ต้องหา-นักโทษ’

สังคมไทยเริ่มตื่นตัว สิทธิ‘ผู้ต้องหา-นักโทษ’

22 มี.ค. 2568

ระดมนักวิชาการไทย  รับมือ‘ทรัมป์2.0’เขย่าโลก

ระดมนักวิชาการไทย รับมือ‘ทรัมป์2.0’เขย่าโลก

15 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved