วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
‘สิทธิ’ในการมี‘ที่อยู่อาศัย’ ทำอย่างไรไทยเข้าถึงถ้วนหน้า

ดูทั้งหมด

  •  

“กว่า 5 ล้านคน ที่ไม่มีที่อยู่ คนส่วนนี้จะเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย เป็นคนกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ที่อพยพย้ายที่อยู่เข้ามา คนไร้บ้าน ส่วนใหญ่จะมีอายุมากกว่า 51-60 ปี ในปัจจุบันต้องเรียนว่า 51-60 ปี สมัยก่อนตอนผมเด็กๆ เราจะพูดถึงผู้สูงอายุ แต่วันนี้พอตัวเองเข้าสู่ครึ่งศตวรรษ ก็รู้สึกว่า 50-60 ปี มันไม่แก่อย่างที่คิด แล้วบวกกับที่ประเทศไทยของเรามีจำนวนคนเกิดใหม่น้อยลงๆ และคนไทยมีอายุยืนมากขึ้น มีสุขภาพดีมากขึ้น วันนี้สังคมไทยของเรากลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ไปแล้ว”

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวในงานสัมมนา “The Visual Talk Home & Hope #คนไทยต้องมีบ้าน” ฉายภาพสถานการณ์ปัญหาที่สัมพันธ์กันระหว่าง “การมีบ้าน” กับ “โครงสร้างประชากร” ที่ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) ซึ่งไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุราวร้อยละ 19-20 ของประชากรทั้งประเทศ อันเป็นขั้นกว่าของสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 7-14 ของประชากรทั้งประเทศ


นอกจากการไม่มีบ้านแล้ว “การเข้าถึงบ้าน (หรือที่อยู่อาศัย) ที่มีคุณภาพในราคาเอื้อมถึงได้” ก็เป็นปัญหาเช่นกัน อาทิ การพัฒนาเศรษฐกิจ แหล่งงานกระจุกอยู่ในเมืองใหญ่ ส่งผลให้เกิดคลื่นผู้อพยพจากชนบทเข้ามาหางานทำในเมือง เช่น กรุงเทพฯ ที่ปัจจุบันมีประชากรอาศัย 12-13 ล้านคน และยังไม่รู้จะเข้ามาเพิ่มอีกเท่าไร แต่หลายคนที่เข้ามาก็ต้องอยู่อาศัยในพื้นที่แออัดและมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ได้มาตรฐาน

ยังมี “ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change)” ที่เป็นความท้าทายใหม่ วราวุธ ยกตัวอย่างช่วงต้นปี 2566 ช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ กรุงเทพฯ อุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส ร้อนแบบไม่เคยเป็นมาก่อน ขณะที่โอกาสเจอน้ำท่วมก็สูงขึ้นจากฝนตกและระดับน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งเป็นผลมาจากน้ำแข็งขั้วโลกทั้งเหนือและใต้ละลาย หรืออย่างเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา ช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นข้ามพนังกั้นน้ำเข้าท่วมบ้านเรือนสองฝั่งแม่น้ำ การออกแบบบ้านจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย

“เมื่อก่อนเราสร้างบ้าน สร้างเพิงเอาสังกะสีมากันเอาไว้ วันนี้อากาศร้อน 50 องศา ท่านยังจะใช้สังกะสีแผ่นเดิมคลุมหลังคาได้อยู่หรือเปล่า? ท่านจะทำให้บ้านของท่านกลายเป็นเตาอบไปหรือไม่? คนที่เป็นผู้สูงอายุ คนพิการ อยู่ภายใต้แผ่นสังกะสีแผ่นเดียว ภาคกลางอุณหภูมิ 50 องศานั้นมันจะมีผลอย่างไรกับสุขภาพ หรือว่าอยู่ดีๆ น้ำมันท่วมขึ้นมา การสร้างบ้านท่านจะต้องระมัดระวังเหตุปัจจัยต่างๆ เหล่านี้” วราวุธ กล่าว

ส่วนคำถามที่ว่า “รัฐบาลสามารถควบคุมราคาที่อยู่อาศัยได้หรือไม่?” วราวุธ ยกเรื่องราวสมัยบริหารทีมฟุตบอล ซึ่งสิ่งที่ต้องเจอคือค่าตัวนักเตะที่แพงมาก โดยในต่างประเทศก็ไม่ต่างกัน นำไปสู่การออกมาตรการกำหนดเพดานค่าเหนื่อยของนักฟุตบอล แต่ความเป็นจริงคือ แม้สโมสรจ่ายค่าตัวนักเตะตามที่กฎหมายกำหนดในบัญชี แต่ก็มีการไปจ่ายในช่องทางอื่นๆ นอกบัญชีเพิ่มอีก บ้านก็เช่นกัน สมมุติวันนี้รัฐบาลบอกห้ามราคาเกิน 2 ล้านบาท แต่หากมีความต้องการ (Demand) เดี๋ยวก็จะมีค่าพรีเมียม ค่านั่น-ค่านี่ต่างๆ นานาเพิ่มเข้ามา สุดท้ายก็เกิน 2 ล้านบาทอยู่ดี

“ดังนั้นวันนี้หนึ่งในประเด็นที่สำคัญคือจะทำอย่างไรที่จะลดความเหลื่อมล้ำตรงนี้ ทำให้ไม่ต้องมีการจ่ายเพิ่มแล้วถ้าหากกำหนดราคาออกมาแล้วมันจ่ายตามนั้นจริงๆ อันนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย แต่พอพูดถึงภาคเอกชน เราคงไม่สามารถไปควบคุมได้ว่าราคาตลาดควรจะอยู่เท่าไร-อย่างไร ในภาคเอกชนการซื้อ-ขายตามราคาตลาดนั้น มันเป็นกลไกอสังหาริมทรัพย์ของตลาดอยู่แล้ว” รมว.พม. กล่าว

ขณะที่ สิทธิพล ชูประจง มูลนิธิกระจกเงา กล่าวถึงคน 2 กลุ่ม คือ 1.คนไร้บ้าน หมายถึงคนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ มีต้นทุนชีวิตต่ำ ไม่สามารถนำต้นทุนนั้นไปสู่การมีบ้านหรือที่พักอาศัยที่มั่นคงได้ กับ 2.คนจนเมือง หมายถึงคนที่แม้จะมีบ้านหรือที่อยู่อาศัย แต่ก็ไม่อาจเรียกสถานที่นั้นว่าที่อยู่อาศัยได้เต็มปาก เช่น เป็นห้องพักขนาด 2x2 เมตร การเข้า-ออกต้องใช้วิธีแทรกตัว ซึ่งเป็น “ห้องเช่าในห้องเช่า” คือเป็นห้องพักขนาดมาตรฐานแต่ถูกซอยแบ่งพื้นที่ให้เล็กลงอีกเพื่อรองรับผู้เช่าได้มากขึ้น เป็นต้น

ทั้งนี้ “สำหรับคนจน โอกาสของการมีบ้านเท่ากับศูนย์” จากปัจจัย 1.รายได้ต่ำ ใช้ได้เพียงวันต่อวันซึ่งแม้แต่จะให้ครบวันก็ยังลำบาก จึงไม่ต้องคิดถึงเรื่องการออมเงินเพื่อนำไปสู่การหาที่อยู่อาศัยที่ดีกว่าปัจจุบัน 2.ไม่มีเครดิตกู้เงิน อย่าว่าแต่จะไปกู้กับธนาคาร แม้กระทั่งคนปล่อยเงินกู้นอกระบบก็ไม่อยากให้กู้เพราะไม่รู้ว่าจะได้เงินคืนหรือไม่ และ 3.เข้าไม่ถึงที่อยู่อาศัยที่รัฐจัดให้แม้จะมีโครงการแต่ก็จะมีคนจนเมืองกลุ่มที่เข้าไม่ถึง

“มีเคสหนึ่ง ลุงอายุ 82 ปี แกเช่าบ้านอยู่แถวคลองเตย สิ่งที่เกิดขึ้นคือพอแกเข้ามาทำจ้างวานข้า (โครงการที่มูลนิธิกระจกเงา หางานให้คนไร้บ้านและคนจนเมืองทำเพื่อจะได้มีรายได้เลี้ยงตนเอง) แล้วแกก็เก็บเงิน แกเข้ามาทำตั้งแต่ปี 2563 พอปี 2565 แกสามารถซื้อบ้านเป็นของตัวเองได้ในเงินแสนกว่าบาท แต่แค่ตัวบ้านไม่รวมที่ดินเพราะที่ดินเป็นของราชการ สิ่งที่แกต้องอดทนในตอนที่แกสูงอายุ แกไม่ได้ทำแค่จ้างวานข้าอย่างเดียว แกออกไปโบกธง เคยเห็นไหม? โบกธงตามโครงการต่างๆ คือคนไม่มีบ้านนะ คืออาชีพของคนไร้บ้าน คนที่ไปโบกธงส่วนใหญ่คือคนไร้บ้าน คืออาชีพของคนไร้บ้านที่โบกธงเพื่อให้คนไปซื้อบ้าน” สิทธิพล กล่าว

ด้าน ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและนักลงทุน กล่าวถึงระบบ “คะแนนเครดิต (Credit Score)” ที่อาจเป็น “ทางออก” ให้กับทุกคนในการเข้าถึงโอกาสในชีวิตที่มากขึ้นซึ่งรวมถึงการมีบ้านโดยปัจจุบันที่ใช้กันจะมีเฉพาะข้อมูลการกู้เงินและการชำระหนี้ต่างๆ แต่จริงๆ สามารถทำได้มากกว่านั้น เช่น ข้อมูลการออมเงิน หากออมอย่างสม่ำเสมอก็สะท้อนถึงการมีวินัย หรือการจ่ายภาษีอย่างครบถ้วน หรือแม้แต่ไปจนถึงการประกอบคุณงามความดีต่างๆ เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ ทำให้คนดีเข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้มากขึ้น

“ในต่างประเทศ เครดิตเหล่านี้ทำอะไรได้บ้าง? 1.ทำประกันได้ถูกลง คุณเป็นคนดี มีวินัย รับผิดชอบต้นทุนค่าประกันคุณถูกลง 2.คุณจะเช่าบ้าน คนที่มีเครดิตดีจะได้รับเลือกให้เช่าก่อนคนที่เครดิตไม่ดี 3.ดอกเบี้ย คิดในมุมแบงก์ อยากปล่อยกู้ใจจะขาด ผมกล้าพูดเลย แต่สิ่งที่แบงก์กังวลคือจะได้เงินต้นกลับคืนมาหรือเปล่า ถ้าเราไม่มีประวัติ ไม่มีข้อมูลให้เขารู้เลยว่าเราเป็นคนดีหรือไม่ดี ในมุมของแบงก์นี่มันเสี่ยงมากๆ ให้เงินไปได้กลับมาหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือไม่พอดอกเบี้ยต้องสูงขึ้นด้วย ดอกเบี้ยที่เขาให้เรามันสะท้อนความเสี่ยง
ในตัวเรา” ชัชวาลย์ กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
07:35 น. ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

ไม่พบข้อมูลเดินทาง! คาด'อดีตเจ้าคุณอาชว์'ยังอยู่ในไทย มีคนให้ที่พักพิง

  • Breaking News
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
  • ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved