วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...ณัฐภัทร เนียวกุล
ลงมือสู้โกง โดย...ณัฐภัทร เนียวกุล

ลงมือสู้โกง โดย...ณัฐภัทร เนียวกุล

ณัฐภัทร เนียวกุล
วันพุธ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 02.00 น.
แก้ปัญหาลงคะแนนแทนเพื่อน ด้วยการเปิดเผยข้อมูล

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อหลายวันก่อนในช่วงหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ก็มีข่าวว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติบางท่านที่ “ตัว” ไม่ได้อยู่ในห้องประชุม แต่กลับมีการแสดงตนและลงมติจากท่านเหล่านั้น คนที่ออกมาให้ข้อมูลเรื่องนี้เป็นอดีต สส. ที่เข้าไปประชุมในสภาและได้ไปเห็นผลการลงมติซึ่งสภาผู้แทนราษฎรพิมพ์ลงบน “กระดาษ” แปะกระดานไว้ ทำให้เรื่องราวเปิดเผยออกมา ถึงแม้ว่าล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 นั้นจะไม่โมษะ แต่ก็ต้องกลับไปลงมติใหม่ในวาระ 2 และวาระ 3 การกระทำดังกล่าวของท่าน สส. บางท่านนั้น ทำให้กระบวนการงบประมาณซึ่งล่าช้าอยู่แล้วต้องเสียเวลาเพิ่มเข้าไปเพื่อทำให้กระบวนการนั้นถูกต้องตามกฎหมาย จริงๆ แล้วหนทางป้องกันปัญหานี้ไม่ยากหากท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชน ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสุจริต แต่หากจำเป็นต้องกำหนดแนวทางป้องกันปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน คงต้องเพิ่มช่องทางในการตรวจสอบและติดตามการทำงานของท่าน สส.ให้ประชาชนคนธรรมดาอย่างเราๆเข้าถึงข้อมูลภาครัฐให้ง่ายและสะดวกขึ้น

การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐอาจเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัติ (หรือเรียกง่ายๆ ว่าข้อมูลการทำงานของ สส. และ สว.) เพราะทางหนึ่งเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ผ่านการออกกฎหมายที่มีความสำคัญหรือการนำปัญหาไปสู่เวทีสำหรับการหาทางออกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การให้ประชาชนได้รับรู้ว่าท่านเหล่านั้นกำลังทำอะไร แก้ถูกปัญหาและแก้ได้อย่างตรงจุดหรือไม่ ลงมติในเรื่องต่างๆ อย่างไร ผ่านช่องทางที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายและตรวจสอบได้อย่างสะดวกอย่างแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ ถือเป็นความรับผิดชอบต่อความไว้วางใจที่มาจากคะแนนเสียงที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้มาเป็นตัวแทน และรับผิดชอบต่อเงินเดือนที่มาจากภาษีของประชาชนในอีกทางหนึ่ง และยังเป็นการสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นกับการเมืองที่หลายคนมองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างปัญหาคอร์รัปชันให้สังคมไทย


การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐโดยเฉพาะข้อมูลการทำงานของ สส. และ สว. ทำได้ง่ายมากขึ้นกว่าในอดีตเพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน หลายประเทศมีเว็บไซต์ที่ทำโดยรัฐสภาของประเทศนั้นๆ หรือองค์กรภาคประชาสังคมที่ติดตามและตรวจสอบการทำหน้าที่ของผู้แทนปวงชน เช่น ประเทศอังกฤษ มีการรวบรวมข้อมูลของ สส. แต่ละท่าน โดยมีรายละเอียดตั้งแต่ข้อมูลประวัติพื้นฐาน พรรคการเมืองที่สังกัด สถิติการเข้าประชุมสภา ตำแหน่งในอดีตและปัจจุบัน ไปจนถึงข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น ผ่านกฎหมายหรือเสนอกฎหมายไปแล้วกี่ฉบับ มีรายละเอียดการลงมติในเรื่องต่างๆ และการลงมติแต่ละครั้งขัดแย้งหรือสอดคล้องกับแนวทางที่พรรคตัวเองสังกัด มีการอภิปรายกี่ครั้งในเรื่องอะไรบ้าง มาปรากฏตัวครั้งสุดท้ายที่สภาเมื่อไหร่ ด้วยข้อมูลรายละเอียดที่มีการจะทำให้เห็นได้ว่า สส. ท่านนั้นมีความสนใจหรือเชี่ยวชาญในด้านไหนเป็นพิเศษ ได้รับเงินบริจาคสำหรับการเลือกตั้งจากใครบ้างและใช้ไปเท่าไหร่ เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในฐานะ สส. ด้วยงบประมาณเท่าไหร่ ใครสนับสนุน ไปประเทศอะไรและไปทำอะไร (ชวนท่านผู้อ่านเข้าไปลองเล่นได้ที่เว็บไซต์ theyworkforyou.com และ publicwhip.org.uk)

ตัวอย่างอีกหนึ่งประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา ที่ได้เริ่มจัดทำเว็บไซต์ govtrack.us ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการทำงานของรัฐสภาสหรัฐ (U.S. Congress) ได้ง่ายขึ้น เพราะเลือกดูข้อมูลได้หลายมุมมอง เช่น มองจากการทำงานของ สส. หรือ สว. รายบุคคลว่าเกี่ยวข้องกับกรรมาธิการชุดไหนบ้าง เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับใด (ทั้งอภิปรายและลงมติ)และลงมติเรื่องอะไรไปบ้าง หรือสามารถดูข้อมูลจากมุมของกฎหมายต่างๆ ว่าขณะนี้ในสภามีกฎหมายอะไรอยู่ค้างอยู่ในกระบวนการทางนิติบัญญัติ มีรายละเอียดเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้เสนอ และกฎหมายฉบับไหนกำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้เว็บไซต์บ้าง โดยประชาชนสามารถตั้งค่าเพิ่มรับการแจ้งเตือนมีกฎหมายฉบับนั้นๆ ที่เราสนใจมีความเคลื่อนไหว

ประเด็นหนึ่งที่ govtrack.us ทำได้น่าสนใจ (และเหมาะอย่างยิ่งกับประเทศไทยในขณะนี้) คือ การทำงานในชั้นกรรมาธิการ เพราะมีรายละเอียดของกรรมาธิการแต่ละชุด เช่น สส. คนไหนเป็นกรรมาธิการเรื่องอะไร กรรมาธิการกำลังแก้ไขปัญหาเรื่องอะไรอยู่ (หรือทะเลาะเรื่องอะไรกันอยู่) และแก้ไปถึงไหนแล้ว และยังมีฟังก์ชั่นให้ประชาชนได้กดติดตาม สส. หรือ กฎหมายที่เราสนใจเป็นการเฉพาะอีกด้วย เช่น เราอยากรู้ว่า สส.บ้านเรากำลังทำงานอย่างไร ก็จะได้รับข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงกับ สส. ท่านนั้นๆ

ย้อนกลับมามองประเทศไทย น่ายินดีที่รัฐสภาไทยก็ได้เริ่มการเปิดเผยข้อมูลไปบ้างแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ทันสมัยเท่ากับประเทศอื่นๆ อาจเพราะประเทศไทยว่างเว้นจากการมีตัวแทนที่มีจากการเลือกตั้งมาหลายปี แต่หากท่านผู้อ่านลองเข้าเว็บไซต์www.parliament.go.th ก็จะพบกับรายละเอียดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระการประชุม รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละครั้ง ร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างกระบวนการทางนิติบัญญัติ และแม้จะมีบันทึกการลงคะแนนเปิดเผยไว้แต่ก็อยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF ที่สแกนเข้าไป ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านหรือค้นหาข้อความที่ปรากฏได้ (เพราะคอมพิวเตอร์มองเป็นรูปภาพรูปภาพหนึ่งที่ไม่ปรากฏตัวอักษร) เมื่อท่านผู้อ่านได้ลองใช้งานดูก็อาจจะพบว่ามีความซับซ้อนในการเข้าถึงข้อมูลอยู่บ้างและยังไม่ปรากฏว่ามีการรวบรวมผลการทำหน้าที่ของ สส. หรือ สว. รายบุคคล ดังที่หลายเว็บไซต์ในต่างประเทศจัดทำไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้นของประชาชน

ข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่มีความน่าสนใจแต่ยังไม่เคยเห็นการเปิดเผยจากรัฐสภาไทย เพราะมีการใช้งบประมาณถึงปีละกว่า 221 ล้านบาท คือ รายชื่อของผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ข้อมูลงบประมาณจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่เปิดเผยบนเว็บไซต์รัฐสภา แต่ก็อยู่ในรูปแบบ PDF ที่สแกนเป็นรูปภาพเช่นเคย) เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน สามารถแต่งตั้ง ผู้เชี่ยวชาญได้ 1 คน ผู้ชำนาญการได้ 2 คน ผู้ช่วยดำเนินงานได้ถึง 5 คน รวมแล้ว 8 คน (เงินเดือนรวมทั้ง 8 คนอยู่ที่ 114,000 บาท) หลายครั้งที่สังคมตั้งคำถามว่าคนเหล่านี้เป็นใคร เป็นคนในครอบครัวหรือไม่ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้กับ สส.ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่า?

ความน่ายินดีอีกประการหนึ่ง คือ การที่มีประชาชนคนธรรมดาอย่างเราๆ เริ่มลุกขึ้นมาทำเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลของรัฐสภา อย่าง elect.in.th ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลการทำงานของ สส. ให้ประชาชนดูง่าย เข้าใจง่าย เพราะนอกจากจะมีประวัติและผลการลงมติของ สส. ละท่านในรายประเด็นแล้ว ยังมีข้อมูลการตำแหน่งในกรรมาธิการ และได้มีการนำข้อมูลบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินซึ่งได้ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มาเปิดเผยควบคู่ด้วย ถือเป็นการลดความซับซ้อน
ในการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายตามแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันมารวมอยู่ในที่เดียวเพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ

ผมหวังว่าจากตัวอย่างของต่างประเทศ และเรื่องราวทั้งหมดที่ได้เล่ามาจนถึงบรรทัดนี้ จะเป็นแรงกระตุ้นให้หน่วยงานอย่างรัฐสภาไทยและสมาชิกรัฐสภาเป็นต้นแบบในการแสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อประชาชน ไปจนถึงการเสริมสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นด้วยการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและได้มาตรฐานสากล รวมถึงนำตัวอย่างในต่างประเทศมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาช่องทางการเข้าถึงและสร้างความใกล้ชิดกับประชาชน ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้ประชาชนใช้งานง่ายเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบการทำงานของผู้แทนของเราได้ง่ายขึ้น เพื่อรับผิดชอบต่อคะแนนเสียงที่พวกท่านๆ ได้เคยขอไว้ตอนหาเสียงที่ผ่านมา

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
12:09 น. ‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน
12:03 น. เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช.
11:48 น. ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68
11:30 น. แก่นแท้ของการบวชในพระพุทธศาสนา สู่ความหลุดพ้น หรือเพียงแค่โลกียวิสัย?
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

จับ 3 พ่อค้าชาวกัมพูชาลอบข้ามแดนกลางดึก คาดพิษเศรษฐกิจชายแดนทำค้าขายไม่ได้

'ธรรมนัส'เผย ความพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง ชูนโยบายเพื่อคนฐานราก

  • Breaking News
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
  • ‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน ‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน
  • เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช. เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช.
  • ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68 ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68
  • แก่นแท้ของการบวชในพระพุทธศาสนา สู่ความหลุดพ้น หรือเพียงแค่โลกียวิสัย? แก่นแท้ของการบวชในพระพุทธศาสนา สู่ความหลุดพ้น หรือเพียงแค่โลกียวิสัย?
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

MOU ก้าวไกล – คอร์รัปชันไทยไม่เหมือนเดิม?

MOU ก้าวไกล – คอร์รัปชันไทยไม่เหมือนเดิม?

31 พ.ค. 2566

เพิ่มคะแนน CPI...เดินหน้าแบบถอยหลัง ?

เพิ่มคะแนน CPI...เดินหน้าแบบถอยหลัง ?

28 ธ.ค. 2565

ข้อมูล คนดี และความโปร่งใส

ข้อมูล คนดี และความโปร่งใส

29 มิ.ย. 2565

เราจะทำตามสัญญา...ได้สักเรื่องไหมนะ?

เราจะทำตามสัญญา...ได้สักเรื่องไหมนะ?

26 ม.ค. 2565

ประเทศนี้ขับเคลื่อนด้วยคำด่า?

ประเทศนี้ขับเคลื่อนด้วยคำด่า?

30 มิ.ย. 2564

อยากโปร่งใสแต่ไม่อยากเปิดเผย

อยากโปร่งใสแต่ไม่อยากเปิดเผย

14 เม.ย. 2564

‘กรุงเทพฯ ชีวิตที่ขมุกขมัว’

‘กรุงเทพฯ ชีวิตที่ขมุกขมัว’

3 ก.พ. 2564

ภาครัฐสอบตก ความโปร่งใส

ภาครัฐสอบตก ความโปร่งใส

30 ก.ย. 2563

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved