วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...สุภัจจา อังค์สุวรรณ
ลงมือสู้โกง โดย...สุภัจจา อังค์สุวรรณ

ลงมือสู้โกง โดย...สุภัจจา อังค์สุวรรณ

สุภัจจา อังค์สุวรรณ
วันพุธ ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563, 02.00 น.
ถอดรหัสเครื่องมือ ‘We The Students’ ออกแบบอย่างไรให้ ‘เสียง’ ของนักเรียนมีความหมาย

ดูทั้งหมด

  •  

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา บทความภายใต้คอลัมน์ “ลงมือ สู้โกง”ได้เขียนถึงข้อค้นพบจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมธรรมาภิบาลในโรงเรียนที่น่าสนใจไว้หลายตอน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการออกแบบและการทดลองต้นแบบเครื่องมือการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันของเยาวชน ภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2 ดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยจะขอชวนผู้อ่านมาถอดรหัสกระบวนการวิจัยในการออกแบบเครื่องมือ “We The Students” ที่ถูกพูดถึงในบทความหลายตอนที่ผ่านมา โดยเครื่องมือนี้จะช่วยส่งเสริมบทบาทของกลุ่ม “นักเรียน” ในการป้องกันคอร์รัปชันได้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทีมวิจัยให้ความสำคัญเนื่องจากมีศักยภาพสูงในการสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในรั้วโรงเรียน แต่ในความเป็นจริงกลุ่มนักเรียนส่วนใหญ่กลับมีโอกาสในการมีส่วนร่วมทำงานกับโรงเรียนของพวกเขาเองน้อยมาก

ทีมวิจัยได้ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า การมีเครื่องมือหรือพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือทำจริงและหยิบยกปัญหาใกล้ตัวที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขามาแก้ไข ก่อนจะขยับไปสู่ปัญหาคอร์รัปชันนอกรั้วโรงเรียน จะช่วยสร้างจิตสำนึกในการทำงานเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่สำคัญในอนาคตได้ โดยแนวทางการปลูกฝังรูปแบบนี้เป็นที่นิยมในหลายประเทศ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำหน้าที่สนับสนุนเครื่องมือและทรัพยากรในการต้านโกงเพื่อให้นักเรียนได้เข้าร่วมการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการลงมือทำงานร่วมกับโรงเรียนและชุมชนของเขาตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการออกแบบพื้นที่หรือโครงการที่ดำเนินการโดยนักเรียนเอง ซึ่งส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่มและสร้างความตระหนักรู้ในการต่อต้านคอร์รัปชันได้ดีกว่าการปลูกฝังผ่านการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว


โจทย์วิจัยนี้จึงมีความท้าทายอยู่ที่ว่า เราจะออกแบบเครื่องมือสำหรับนักเรียนด้วยวิธีใดที่จะทำให้พวกเขามีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องมือนี้ไปกับเราตั้งแต่ต้นทางเหมือนกับแนวทางของโครงการที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ เช่น Check My School, Development Check, Integrity Club และ School Management Committees ที่ดึงเอากลุ่มนักเรียนเข้ามาร่วมคิด ร่วมทำอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เครื่องมือได้รับการยอมรับจากกลุ่มนักเรียน ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัยจึงได้นำกระบวนการ design thinking มาใช้เพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของนักเรียน โดยหัวใจสำคัญของกระบวนการอยู่ที่ “นักเรียน” และ “การแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์” เน้นทำความเข้าใจว่าพวกเขาต้องการอะไรและนำมุมมองที่ได้มาออกแบบเครื่องมือที่พัฒนาจากล่างขึ้นบน (bottom-up research) วิธีการนี้จึงน่าจะตอบโจทย์ของงานวิจัยได้ โดยทีมวิจัยทำหน้าที่เป็นเพียงพี่เลี้ยงผ่านกระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งมีกระบวนการวิจัยที่นำมาถอดรหัสได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 เริ่มต้นจากการรวบรวม pain points ที่สำคัญของนักเรียนที่ทำให้การต่อต้านการคอร์รัปชันไม่มีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการ “empathize” ผ่านการฝังตัวในทวิตเตอร์กว่า 5 เดือน รวมถึงการพูดคุยและทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย พบว่า นักเรียนมีความต้องการทำงานร่วมกับโรงเรียนในการ feedback ปัญหา แต่มีข้อจำกัด 3 ด้าน คือ การขาดการเข้าถึงข้อมูลเปิดของโรงเรียน ขาดกลไกการมีส่วนร่วมปฏิบัติ และขาดพื้นที่ในการร่วมมือ ทำให้การมีส่วนร่วมยังไม่ได้รับการยอมรับจากโรงเรียน โดยเฉพาะประเด็นการตรวจสอบคุณภาพของโรงเรียนที่ตอนนี้ยังเป็นเรื่องของโรงเรียนมากกว่าการทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดกระแสการเคลื่อนไหวและติดแฮชแท็กเพื่อรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นกว่าร้อยโรงเรียน เรียกร้องให้นักเรียนเข้ามามีบทบาทในการกำกับติดตามปัญหา เช่น #รร.มัธยมชื่อดังย่านฝั่งธน #รร.ดังย่านบางกะปิ #รร.มัธยมหลังเขา แฮชแท็กเหล่านี้สะท้อนว่านักเรียนมีความพร้อมในการลงมือทำแต่ยังขาดโอกาสและพื้นที่ในการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน คุณครูและผู้บริหารภายในรั้วโรงเรียนของพวกเขา

ขั้นที่ 2 ทำการระบุปัญหาของนักเรียนที่พบร่วมกันด้วยกระบวนการ “define” และหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการ “ideate” ซึ่งจากการวิเคราะห์ pain points และระดมความเห็นกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ได้ไอเดียมาออกแบบเครื่องมือ “We The Students” โดยเป็นการผนวกเอาจุดเด่นของพื้นที่ออนไลน์และออฟไลน์มาทดลองสร้างพื้นที่ทำงานร่วมกันภายใต้กระบวนการ “OPEN-JOIN-LEARN” ที่มีทั้งกิจกรรมในรั้วโรงเรียนและการเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ โดย “OPEN” ช่วยลดข้อจำกัดด้านการเข้าถึงข้อมูลด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลเปิดของโรงเรียนและออกแบบให้เข้าใจง่าย ตอบโจทย์ในการติดตามการทำงานของโรงเรียนได้ เช่น งบประมาณโรงเรียน “JOIN” ช่วยสร้างกลไกการมีส่วนร่วมสำรวจคุณภาพการให้บริการของโรงเรียนและสร้างเกณฑ์มาตรฐานการประเมินเพื่อสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียนได้จริง และ “LEARN” ช่วยเปิดพื้นที่ให้นักเรียนร่วมทดลองใช้กลไกดังกล่าวและผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างนักเรียนและโรงเรียน ซึ่งเครื่องมือนี้มี Key หลักอยู่ที่การส่งเสริมบทบาทของนักเรียนว่าเขาสามารถตรวจสอบโรงเรียนได้ผ่านเครื่องมือการสำรวจ และให้พื้นที่ในการร่วมมือแก้ปัญหาของนักเรียนและครู

ขั้นที่ 3 ทำการออกแบบ prototype และนำไปทดสอบเพื่อเก็บรวบรวมผลลัพธ์และทำการวิเคราะห์ผลการใช้งานเครื่องมือที่มาจากการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยได้นำกิจกรรม “School Through Our Eyes” และเครื่องมือ “We The Students” ไปทดลองกับกลุ่มโรงเรียนเป้าหมายเพื่อประเมินประสิทธิภาพของกลไกสำรวจที่ได้ออกแบบไว้และการจัดทำข้อมูลเปิดของโรงเรียนเป้าหมาย ผลจากการทดลองร่วมกับนักเรียน คุณครูและผู้บริหารโรงเรียน ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดย prototype สามารถใช้งานได้จริงและเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย ซึ่งกลุ่มนักเรียนที่เข้าร่วมก็มาด้วยความเต็มใจเพราะต้องการให้โรงเรียนมีการพัฒนา ส่วนคุณครูและผู้บริหารก็ได้รับ feedback ทั้งทางบวกและทางลบเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด พิสูจน์ได้จากปัญหาที่ถูกสำรวจผ่านเครื่องมือของเราได้รับการแก้ไขจริงโดยโรงเรียนดังนั้น เครื่องมือของเราจึงแสดงให้เห็นว่าทั้งโรงเรียนและนักเรียนพร้อมที่จะทำงานร่วมกันหากมีพื้นที่หรือเครื่องมือที่เหมาะสมมาเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน รวมถึงการออกแบบเครื่องมือภายใต้กระบวนการ “OPEN-JOIN-LEARN” ช่วยให้การมีส่วนร่วมของนักเรียนมีคุณภาพมากขึ้นจากการเข้าถึงข้อมูลเปิดเกี่ยวกับโรงเรียนที่ถูกเรียบเรียงให้อยู่ในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้งานและการสร้างช่องทางให้นักเรียนรายงานปัญหาคุณภาพการให้บริการของโรงเรียนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และร่วมประเมินความพึงพอใจได้ ทำให้เครื่องมือนี้เป็น “กระบอกเสียง”ให้กับนักเรียนอย่างแท้จริง รวมถึงนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างมีส่วนร่วมของหน่วยงานทีเกี่ยวข้องและประชาชนที่สนใจ

3 ขั้นตอนที่ผู้เขียนได้นำเสนอไปนั้น เป็นการถอดรหัสกระบวนการออกแบบเครื่องมือ “We The Students” ที่เป็นต้นแบบของเครื่องมือป้องกันปัญหาคอร์รัปชันของนักเรียน โดยได้นำเอากระบวนการ design thinking มาใช้ซึ่งจัดเป็นกระบวนการใหม่ที่นำมาใช้ในงานวิจัยด้านการแก้ปัญหาคอร์รัปชันเพื่อให้ได้แนวทางการออกแบบเครื่องมือที่ตอบโจทย์มากที่สุดและเกิดการใช้งานจริงในกลุ่มเป้าหมาย โดยในระยะต่อไป ทีมวิจัยคาดหวังว่าเครื่องมือนี้จะถูกผลักดันให้นำไปใช้จริงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในรูปแบบของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการประเมินคุณภาพของโรงเรียนควบคู่ไปกับการประเมินเชิงปริมาณของภาครัฐหรือนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในหลักสูตรต้านโกงเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง รวมถึงเป็นเครื่องมือให้กับนักเรียนที่ต้องการมีส่วนร่วมบริหารจัดการโรงเรียนแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร สามารถเข้าไปพูดคุยกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ค We The Students Thailand และร่วมติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการเพื่อสร้างสังคมที่เอื้อให้“เสียง” ของนักเรียนทุกคนมีความหมายอย่างแท้จริง

สุภัจจา อังศ์สุวรรณ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:19 น. ย้ายค่ายเบอร์เดิม! 'ธีรศิลป์'เปิดตัวร่วมทัพแบงค็อก
15:18 น. 'มดดำ คชาภา'โพสต์ให้กำลังใจ'อุ๊งอิ๊งค์' ลั่นไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นจะอยู่ข้างๆเสมอ
15:10 น. 'ภูมิธรรม'ปัดตอบรักษาการนายกฯ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ลั่นรอถวายสัตย์ปฏิญาณก่อน
15:05 น. 'อิ๊งค์'น้อมรับคำสั่งศาล พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ยันทำเพื่อรักษาอธิปไตย
14:52 น. 'ทิดอาชว์'ยังล่องหน! ตอบยากยังอยู่ในไทย หรือหลบหนีช่องทางธรรมชาติ
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568

'มดดำ คชาภา'โพสต์ให้กำลังใจ'อุ๊งอิ๊งค์' ลั่นไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นจะอยู่ข้างๆเสมอ

(คลิป) 'อนุทิน' เย้ย! ครม.ใหม่ พท. ปูดแหลกเบื้องหลัง!!

ย้ายค่ายเบอร์เดิม! 'ธีรศิลป์'เปิดตัวร่วมทัพแบงค็อก

'ภูมิธรรม'ปัดตอบรักษาการนายกฯ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ลั่นรอถวายสัตย์ปฏิญาณก่อน

'ทิดอาชว์'ยังล่องหน! ตอบยากยังอยู่ในไทย หรือหลบหนีช่องทางธรรมชาติ

  • Breaking News
  • ย้ายค่ายเบอร์เดิม! \'ธีรศิลป์\'เปิดตัวร่วมทัพแบงค็อก ย้ายค่ายเบอร์เดิม! 'ธีรศิลป์'เปิดตัวร่วมทัพแบงค็อก
  • \'มดดำ คชาภา\'โพสต์ให้กำลังใจ\'อุ๊งอิ๊งค์\' ลั่นไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นจะอยู่ข้างๆเสมอ 'มดดำ คชาภา'โพสต์ให้กำลังใจ'อุ๊งอิ๊งค์' ลั่นไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นจะอยู่ข้างๆเสมอ
  • \'ภูมิธรรม\'ปัดตอบรักษาการนายกฯ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ลั่นรอถวายสัตย์ปฏิญาณก่อน 'ภูมิธรรม'ปัดตอบรักษาการนายกฯ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ลั่นรอถวายสัตย์ปฏิญาณก่อน
  • \'อิ๊งค์\'น้อมรับคำสั่งศาล พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ยันทำเพื่อรักษาอธิปไตย 'อิ๊งค์'น้อมรับคำสั่งศาล พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ยันทำเพื่อรักษาอธิปไตย
  • \'ทิดอาชว์\'ยังล่องหน! ตอบยากยังอยู่ในไทย หรือหลบหนีช่องทางธรรมชาติ 'ทิดอาชว์'ยังล่องหน! ตอบยากยังอยู่ในไทย หรือหลบหนีช่องทางธรรมชาติ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

สำรวจผลงานไทย 12 ชิ้น ดัน Rookies เดบิวต์สู่วงการต้านโกง

สำรวจผลงานไทย 12 ชิ้น ดัน Rookies เดบิวต์สู่วงการต้านโกง

31 ม.ค. 2567

‘สนุกเล่น สนุกทำ’วิธีปลูกฝังการต้านโกงฉบับวัยรุ่นฟันน้ำนม

‘สนุกเล่น สนุกทำ’วิธีปลูกฝังการต้านโกงฉบับวัยรุ่นฟันน้ำนม

11 ม.ค. 2566

บรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืน (SDGs) และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วย ‘การลดคอร์รัปชัน’

บรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืน (SDGs) และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วย ‘การลดคอร์รัปชัน’

13 ก.ค. 2565

เส้นทางสู่สวนสาธารณะแห่งการมีส่วนร่วมของคนกรุงเทพฯ

เส้นทางสู่สวนสาธารณะแห่งการมีส่วนร่วมของคนกรุงเทพฯ

9 ก.พ. 2565

Fight Like a Mom: เมื่อพลเมืองแม่ลุกขึ้นมาต้านโกง

Fight Like a Mom: เมื่อพลเมืองแม่ลุกขึ้นมาต้านโกง

11 ส.ค. 2564

ความหวัง บนโลกที่ (ยัง) มีคอร์รัปชัน

ความหวัง บนโลกที่ (ยัง) มีคอร์รัปชัน

17 ก.พ. 2564

ถอดรหัสเครื่องมือ ‘We The Students’ ออกแบบอย่างไรให้ ‘เสียง’ ของนักเรียนมีความหมาย

ถอดรหัสเครื่องมือ ‘We The Students’ ออกแบบอย่างไรให้ ‘เสียง’ ของนักเรียนมีความหมาย

17 มิ.ย. 2563

‘ความมั่นคง’ กับ ‘ความเป็นส่วนตัว’ บนเวทีของการต่อต้านคอร์รัปชัน

‘ความมั่นคง’ กับ ‘ความเป็นส่วนตัว’ บนเวทีของการต่อต้านคอร์รัปชัน

11 ธ.ค. 2562

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved