วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...สุภัจจา อังค์สุวรรณ
ลงมือสู้โกง โดย...สุภัจจา อังค์สุวรรณ

ลงมือสู้โกง โดย...สุภัจจา อังค์สุวรรณ

สุภัจจา อังค์สุวรรณ
วันพุธ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
บรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืน (SDGs) และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วย ‘การลดคอร์รัปชัน’

ดูทั้งหมด

  •  

ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 เป็นช่วงเวลาสำคัญประจำปีของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในระดับโลก โดยหลายประเทศทั่วโลกได้เข้าร่วมการประชุมเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development) หรือ HLPF ที่มีเป้าหมายเพื่อติดตามและทบทวนความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 โดยในที่ประชุมจะร่วมกันพิจารณาความท้าทายใหม่ๆ และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกิดขึ้นใหม่ รวมถึงเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมมีเวทีที่เท่าเทียมกับภาครัฐในการตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมาต่อแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายต่างๆ ทำให้ข้อเสนอแนะที่ได้จากเวที HLPF
มีความสดใหม่ สอดรับกับสถานการณ์ท้าทายที่นานาประเทศต้องเร่งดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันในปี 2030 โดยแต่ละปีจะมีธีมและประเด็นเป้าหมายที่มุ่งเน้นแตกต่างกันไป ในปีนี้ดำเนินการภายใต้หัวข้อ“การฟื้นฟูศักยภาพให้กลับมาเข้มแข็งจากโควิด-19 และผลักดันการขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ไปสู่วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030”

ผู้เขียนในฐานะนักวิจัยที่ติดตามการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยมาตลอด รู้สึกตื่นเต้นกับการประชุม HLPF ในทุกๆ ปี เพราะเราจะได้เห็นความก้าวหน้าในการผลักดันเป้าหมายและตัวอย่างความสำเร็จของแต่ละประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสามารถนำมาเป็นBest Practice ให้กับประเทศไทยได้ อย่างไรก็ดี ในบทความนี้คงจะไม่ได้รายงานผลของเวที HLPF 2565 เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการประชุม แต่ประเด็นในปีนี้ยังคงเป็นประเด็นต่อเนื่องจากปี 2564 ที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จึงขอชวนผู้อ่านทุกท่าน มาร่วมกันทบทวนประเด็นสำคัญจากข้อเสนอแนะของเวที HLPF ในปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวแทนจากทั่วโลกได้ส่งสัญญาณสำคัญเพื่อเร่งฟื้นฟูผลกระทบจากโควิด-19 ไว้หลายเรื่อง เช่นยุติความยากจนและความหิวโหย ลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมมากขึ้น โดยประเด็นเร่งด่วนเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 คือ เป้าหมายที่ 16 ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ ถึงแม้ว่าจะเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญมากต่อภาพรวมการดำเนินงานแต่ก็มีความยากในการนำไปปฏิบัติจริง เพราะเป้าประสงค์ภายใต้เป้าหมายที่ 16 มีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับระบบการเมือง รูปแบบการปกครองและการบริหารงานของรัฐบาล เห็นได้จากผลสำรวจของสาธารณชนในหลายประเทศ พบว่าประชาชนไม่ได้ตระหนักถึงบทบาทของเป้าหมายเท่าที่ควร ซึ่งอาจมาจากการที่รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญด้วย ทำให้ขาดกลไกภาคประชาชนในการติดตามเป้าหมาย รวมถึงในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา องค์กร Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ได้ประเมินความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของแต่ละประเทศ พบว่าเป้าหมายที่ 16 ในภาพรวมของทุกภูมิภาคอยู่ในสถานะท้าทายมาก และไม่มีความคืบหน้า


ผู้เขียนจึงอยากนำเสนอวิสัยทัศน์ของเป้าหมายที่ 16 ซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายอื่นๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายที่มีประสิทธิภาพเป็นแกนหลักในการดำเนินงาน และต้องเกิดการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิผล ผ่านสถาบันของรัฐที่มีความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน ดังนั้น เป้าหมายดังกล่าวจึงเป็นรากฐานของความสำเร็จที่ยั่งยืนของทุกเป้าหมาย และถูกยกเป็นประเด็นสำคัญเฉพาะด้านที่ต้องเร่งดำเนินการบนเวที HLPF อีกด้วย โดยได้เรียกร้องให้นานาประเทศร่วมกันสร้างสังคมที่มีสันติสุข มีความเท่าเทียม และมีความครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการกำหนดให้มีการเชื่อมโยงเป้าหมาย 4 ด้านนี้ไว้ด้วยกัน ได้แก่ เป้าหมายที่ 3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) เป้าหมายที่ 10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) เป้าหมายที่ 16 (ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง) และเป้าหมายที่ 17 (หุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) เพราะการบรรลุเป้าหมายที่ 16 นั้นหมายถึง การที่แต่ละประเทศมีกลไกตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชัน และมีการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม การสร้างหลักประกันด้านสุขภาพ และการคุ้มครองทางสังคมกับทุกคนอย่างทั่วถึง เพราะสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันภายใต้สถานการณ์ของโควิด-19 ยิ่งส่งผลให้มีอัตราการติดต่อโรคที่สูงขึ้นอันมาจากการผูกขาดยาและวัคซีน และการขาดหลักประกันสุขภาพในการเข้าถึงการรักษาของประชากรกลุ่มเปราะบาง

สอดคล้องกับที่ Ghada Waly ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานสหประชาชาติ (UN) ได้เน้นย้ำถึงผลกระทบของการทุจริตในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายประเทศสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลที่สามารถนำไปสร้างความคุ้มครองทางสังคมให้กับประชาชน ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันโรคที่จำเป็นและบริการทางสังคมหรือความช่วยเหลือจากรัฐในช่วงวิกฤต โดยได้คาดการณ์ว่าการทุจริต การติดสินบน การหลีกเลี่ยงภาษี และการเงินที่ผิดกฎหมาย
ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสูญเสียรายได้ประมาณ 1.26 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สามารถพัฒนาประเทศได้เป็นเวลาอย่างน้อย 6 ปี นอกจากนี้ การทุจริตคอร์รัปชันยังส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายอื่นๆ เช่น การทุจริตในโรงพยาบาลส่งผลต่อเป้าหมายที่ 3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) การทุจริตในภาคการศึกษาส่งผลต่อเป้าหมายที่ 4 (การศึกษาที่มีคุณภาพ) รวมถึงยังส่งผลต่อเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงบริการที่ดำเนินการโดยรัฐ เช่น น้ำสะอาด หรือแหล่งพลังงานราคาถูกอีกด้วย

จากผลกระทบที่เกิดขึ้น ผู้นำที่ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่างเห็นตรงกันว่าการทุจริตคอร์รัปชันส่งผลกระทบต่องบประมาณโดยรวมของประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยตรง ที่สำคัญยังเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 เช่น เกิดความไม่มั่นคงภายในประเทศ ประชาชนเผชิญกับความยากจนและความหิวโหย ขาดโอกาสในการมีความเป็นอยู่ที่ดี มีการจ้างงานที่น้อยลง ความไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม และภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการลดการทุจริตคอร์รัปชันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการภายใต้เป้าหมายที่ 16 โดยกำหนดเป้าหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันไว้ในเป้าประสงค์ที่ 16.5 (ลดการทุจริตและรับสินบน) ผ่านตัวชี้วัดที่ 16.5.1 สัดส่วนของบุคคลที่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีการให้สินบนหรือถูกเรียกสินบน และตัวชี้วัดที่ 16.5.2 สัดส่วนขององค์กรธุรกิจที่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีการให้สินบน หรือถูกเรียกสินบน โดยใช้ตัวชี้วัดจากการประเมินของ UNODC และ World Bank อย่างไรก็ตาม Matthew Jenkins นักวิจัยจากองค์กรโปร่งใสนานาชาติ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงแนวทางการติดตามความคืบหน้าในการลดปัญหาการคอร์รัปชันภายใต้เป้าประสงค์ที่ 16.5 ซึ่งระบุเป้าหมายเพื่อลดการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ แต่ตัวชี้วัดกลับมุ่งเน้นไปที่การติดสินบนในภาคราชการเท่านั้น โดยไม่ครอบคลุมการทุจริตทางการเมือง การฟอกเงินและการล็อบบี้ ซึ่งเป็นปัญหาคอร์รัปชันเชิงนโยบายที่สร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับประเทศและประชาชน ทำให้การใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวอาจไม่สะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์ในประเทศ

ในประเด็นนี้ สหประชาชาติและองค์กรโปร่งใสนานาชาติเองก็ได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ ปรับปรุงตัวชี้วัดให้มีความครอบคลุม เฉพาะเจาะจง เพื่อให้การรวบรวมข้อมูลและการกำกับดูแลเป้าหมายสะท้อนถึงข้อกังวลและสถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นจริงในประเทศ รวมถึงสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล เพื่อสร้างความโปร่งใสและสร้างความไว้วางใจในการได้มาซึ่งข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการประเมินเชิงลึกที่นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายหรือมาตรการในการแก้ปัญหาได้ทันที อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวัดผลความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเทียบเคียงกับตัวชี้วัดระดับโลกได้ เช่น ประเทศอินโดนีเซียได้เพิ่มตัวชี้วัดที่จัดทำขึ้นในประเทศเพื่อติดตามเป้าประสงค์ที่ 16.5 เช่น ดัชนีประเมินพฤติกรรมสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ดัชนีประสบการณ์การทุจริตคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะในภาคท้องถิ่น ดัชนีการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการทุจริต และประเทศอังกฤษได้เพิ่มตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลและการรายงานการทุจริต เช่น สัดส่วนของเจ้าหน้าที่อาวุโสและสมาชิกรัฐสภาที่เปิดเผยผลประโยชน์ทางการเงิน สัดส่วนของผู้รายงานเรื่องสินบน และการมีกลไกแจ้งความคดีทุจริตสำหรับประชาชนโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ประเทศไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสถานการณ์คอร์รัปชันให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้

นอกจากนี้ องค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ได้มีข้อเสนอแนะให้นานาประเทศขับเคลื่อนเป้าประสงค์ 4 ด้านภายใต้เป้าหมายที่ 16 ไปพร้อมๆ กัน ในลักษณะของการบูรณาการตัวชี้วัดย่อยที่มีเป้าหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ได้แก่ เป้าประสงค์ที่ 16.4 ลดการลักลอบค้าอาวุธ ฟอกเงิน และต่อสู้กับองค์กรอาชญากรรม เป้าประสงค์ที่ 16.5 ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ เป้าประสงค์ที่ 16.6 พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป้าประสงค์ที่ 16.10 การเข้าถึงข้อมูลและการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป้าประสงค์เหล่านี้เปรียบเหมือนภาพในฝันของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศที่บรรลุเป้าหมายที่ 16 ได้สำเร็จ ดังนั้น การทำภาพฝันนี้ให้เป็นจริง จึงไม่สามารถชี้วัดได้ด้วยเป้าประสงค์ที่ 16.5 เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนในเป้าหมายอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะการลดการคอร์รัปชันต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ คือการมีสถาบันที่เข้มแข็ง โปร่งใส ตรวจสอบได้ การมีธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐ การออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายร่วมกัน และการมีกลไกภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ซึ่งทั้งหมดสะท้อนอยู่ในเป้าประสงค์ 4 ข้อที่ระบุไว้ข้างต้น

สำหรับประเทศไทย เมื่อพิจารณาความท้าทายที่เกิดขึ้นในการขับเคลื่อนเป้าประสงค์ที่ 16 ในช่วงที่ผ่านมา ค่าเป้าหมายยังคงอยู่ในสถานะความท้าทายมากและไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะมียุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และมีหน่วยงานทั้งรัฐ เอกชนและประชาสังคมที่ทำงานเรื่องเสริมสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันอยู่มากแล้ว แต่ยังขาดการสนับสนุนอย่างเป็นระบบในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันโดยที่ผ่านมา มุ่งเน้นไปที่การลดการทุจริตในระดับเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่าการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในสถาบันหลัก อีกทั้ง ยังขาดความร่วมมือและประสานข้อมูลกันอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นได้จากการที่ภาครัฐยังไม่มีฐานข้อมูลหรือตัวชี้วัดที่สมบูรณ์เพียงพอที่จะใช้ประเมินแต่ละเป้าประสงค์ตามเป้าหมายที่ 16 รวมถึงขาดตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันในประเทศไทย และการสร้างช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมประเมินความเสี่ยง

ดังนั้น ในอีกไม่ถึงสิบปีข้างหน้า หากประเทศไทยต้องการบรรลุเป้าหมายตามที่ระบุไว้ในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 จำเป็นต้องขับเคลื่อนเป้าหมายในลักษณะของการเชื่อมโยงตัวชี้วัดย่อย ที่เกื้อกูลกัน (Synergy) ระหว่างเป้าหมายการลดทุจริตคอร์รัปชันและองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ การสร้างหลักประกันการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน การเคารพสิทธิมนุษยชน การมีหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิผลในทุกระดับ การมีสถาบันที่โปร่งใสมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้ และการเข้าถึงข้อมูลเปิดที่สำคัญของประชาชน อันเป็นแนวทางที่มีประสิทธิผลในการต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างยั่งยืน และส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายอื่นๆ ให้บรรลุผลสำเร็จได้ในคราวเดียวกันโดยไม่ทิ้งประเด็นสำคัญ หรือประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการคอร์รัปชันไว้ข้างหลัง

 

สุภัจจา อังค์สุวรรณ Hand Social enterprise

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:21 น. 'ภูมิธรรม-ทวี'ลุ้นต่อ! ศาล รธน. รอความเห็น-เอกสาร กกต.ปม สว. ฟ้องแทรกแซงสอบฮั้ว
15:19 น. ย้ายค่ายเบอร์เดิม! 'ธีรศิลป์'เปิดตัวร่วมทัพแบงค็อก
15:18 น. 'มดดำ คชาภา'โพสต์ซึ้งให้กำลังใจ'อุ๊งอิ๊งค์' ลั่นไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นจะอยู่ข้างๆน้องเสมอ
15:10 น. 'ภูมิธรรม'ปัดตอบรักษาการนายกฯ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ลั่นรอถวายสัตย์ปฏิญาณก่อน
15:05 น. 'อิ๊งค์'น้อมรับคำสั่งศาล พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ยันทำเพื่อรักษาอธิปไตย
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568

'ภูมิธรรม-ทวี'ลุ้นต่อ! ศาล รธน. รอความเห็น-เอกสาร กกต.ปม สว. ฟ้องแทรกแซงสอบฮั้ว

(คลิป) 'อนุทิน' เย้ย! ครม.ใหม่ พท. ปูดแหลกเบื้องหลัง!!

'มดดำ คชาภา'โพสต์ซึ้งให้กำลังใจ'อุ๊งอิ๊งค์' ลั่นไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นจะอยู่ข้างๆน้องเสมอ

ย้ายค่ายเบอร์เดิม! 'ธีรศิลป์'เปิดตัวร่วมทัพแบงค็อก

'ภูมิธรรม'ปัดตอบรักษาการนายกฯ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ลั่นรอถวายสัตย์ปฏิญาณก่อน

  • Breaking News
  • \'ภูมิธรรม-ทวี\'ลุ้นต่อ! ศาล รธน. รอความเห็น-เอกสาร กกต.ปม สว. ฟ้องแทรกแซงสอบฮั้ว 'ภูมิธรรม-ทวี'ลุ้นต่อ! ศาล รธน. รอความเห็น-เอกสาร กกต.ปม สว. ฟ้องแทรกแซงสอบฮั้ว
  • ย้ายค่ายเบอร์เดิม! \'ธีรศิลป์\'เปิดตัวร่วมทัพแบงค็อก ย้ายค่ายเบอร์เดิม! 'ธีรศิลป์'เปิดตัวร่วมทัพแบงค็อก
  • \'มดดำ คชาภา\'โพสต์ซึ้งให้กำลังใจ\'อุ๊งอิ๊งค์\' ลั่นไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นจะอยู่ข้างๆน้องเสมอ 'มดดำ คชาภา'โพสต์ซึ้งให้กำลังใจ'อุ๊งอิ๊งค์' ลั่นไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นจะอยู่ข้างๆน้องเสมอ
  • \'ภูมิธรรม\'ปัดตอบรักษาการนายกฯ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ลั่นรอถวายสัตย์ปฏิญาณก่อน 'ภูมิธรรม'ปัดตอบรักษาการนายกฯ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ลั่นรอถวายสัตย์ปฏิญาณก่อน
  • \'อิ๊งค์\'น้อมรับคำสั่งศาล พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ยันทำเพื่อรักษาอธิปไตย 'อิ๊งค์'น้อมรับคำสั่งศาล พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ยันทำเพื่อรักษาอธิปไตย
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

สำรวจผลงานไทย 12 ชิ้น ดัน Rookies เดบิวต์สู่วงการต้านโกง

สำรวจผลงานไทย 12 ชิ้น ดัน Rookies เดบิวต์สู่วงการต้านโกง

31 ม.ค. 2567

‘สนุกเล่น สนุกทำ’วิธีปลูกฝังการต้านโกงฉบับวัยรุ่นฟันน้ำนม

‘สนุกเล่น สนุกทำ’วิธีปลูกฝังการต้านโกงฉบับวัยรุ่นฟันน้ำนม

11 ม.ค. 2566

บรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืน (SDGs) และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วย ‘การลดคอร์รัปชัน’

บรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืน (SDGs) และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วย ‘การลดคอร์รัปชัน’

13 ก.ค. 2565

เส้นทางสู่สวนสาธารณะแห่งการมีส่วนร่วมของคนกรุงเทพฯ

เส้นทางสู่สวนสาธารณะแห่งการมีส่วนร่วมของคนกรุงเทพฯ

9 ก.พ. 2565

Fight Like a Mom: เมื่อพลเมืองแม่ลุกขึ้นมาต้านโกง

Fight Like a Mom: เมื่อพลเมืองแม่ลุกขึ้นมาต้านโกง

11 ส.ค. 2564

ความหวัง บนโลกที่ (ยัง) มีคอร์รัปชัน

ความหวัง บนโลกที่ (ยัง) มีคอร์รัปชัน

17 ก.พ. 2564

ถอดรหัสเครื่องมือ ‘We The Students’ ออกแบบอย่างไรให้ ‘เสียง’ ของนักเรียนมีความหมาย

ถอดรหัสเครื่องมือ ‘We The Students’ ออกแบบอย่างไรให้ ‘เสียง’ ของนักเรียนมีความหมาย

17 มิ.ย. 2563

‘ความมั่นคง’ กับ ‘ความเป็นส่วนตัว’ บนเวทีของการต่อต้านคอร์รัปชัน

‘ความมั่นคง’ กับ ‘ความเป็นส่วนตัว’ บนเวทีของการต่อต้านคอร์รัปชัน

11 ธ.ค. 2562

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved