วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...สุภัจจา อังค์สุวรรณ
ลงมือสู้โกง โดย...สุภัจจา อังค์สุวรรณ

ลงมือสู้โกง โดย...สุภัจจา อังค์สุวรรณ

สุภัจจา อังค์สุวรรณ
วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 02.00 น.
เส้นทางสู่สวนสาธารณะแห่งการมีส่วนร่วมของคนกรุงเทพฯ

ดูทั้งหมด

  •  

ในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯ ได้รับของขวัญชิ้นใหญ่ มูลค่ากว่า 980 ล้านบาท จากผู้ว่าฯกทม.ในรูปแบบ“โครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี” สวนสาธารณะคลองแห่งแรกของไทยที่พลิกฟื้นคลองจากเดิมที่ทำหน้าที่ระบายน้ำเพียงอย่างเดียวให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งเพื่อให้คนกรุงเทพฯ ได้ใช้พักผ่อนหย่อนใจและยังช่วยแก้ปัญหาน้ำเสียในระยะยาวอีกด้วย โดยหน่วยงานกทม. ได้เปิดพื้นที่ช่วงที่ 2 บริเวณถนนสาทรถึงซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7รวมระยะทาง 200 เมตร จากทั้งหมด 5 ช่วงให้ประชาชนได้ทดลองใช้งานเมื่อปลายปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันก็มีเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ จำนวนมากในสื่อสังคมออนไลน์ที่ตั้งคำถามกับความคุ้มค่าของโครงการในหลายแง่มุม ซึ่งทางเพจเฟซบุ๊ค The Qallout (https://www.facebook.com/TheQallout/) ได้ทำการรวบรวมประเด็นที่หลายฝ่ายได้ตั้งคำถามไว้ในโพสต์ “คลองช่องนนทรี 980 ล้านบาทของขวัญปีใหม่ที่ประชาชนไม่ได้เลือก” สรุปสั้นๆ ได้ว่าส่วนใหญ่ตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการใช้งบประมาณของโครงการ เนื่องจากมีการนำเงินงบกลางของหน่วยงานกทม. (เงินสำรองจ่ายทั่วไป) มาใช้พัฒนาโครงการจึงอยากให้มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการโดยละเอียด เพื่อให้เกิดการตรวจสอบความคุ้มค่าของงบประมาณที่ตั้งไว้เปรียบเทียบกับประโยชน์ที่คนกรุงเทพฯ จะได้รับจริง รวมถึงข้อสงสัยต่อกระบวนการ EIA และการรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ ซึ่งคนในพื้นที่สะท้อนว่าส่วนใหญ่ได้แค่รับรู้แต่ไม่ได้มีส่วนร่วม เป็นต้น

จากการติดตามประเด็นนี้มาตลอด ผู้เขียนเห็นว่า ประเด็นสำคัญที่ทำให้คนกรุงเทพฯ จับตามองโครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีเพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณจำนวนมากจากภาษีของคนกรุงเทพฯ แต่การเปิดเผยข้อมูลโครงการต่อสาธารณชนยังทำได้ไม่ดีพอ ทำให้เกิดความสงสัยในที่มาที่ไปของโครงการว่ามีความโปร่งใสหรือไม่ ประกอบกับโครงการได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวนมาก ทั้งที่คนกรุงเทพฯ ต่างรู้ดีว่ายังมีปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกมากที่ควรเร่งแก้ไข ซึ่งผู้เขียนขอยกตัวอย่างข้อมูลจากเว็บไซต์ Bangkok Budgeting ที่ให้คนกรุงเทพฯ ร่วมกันให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ โดยได้ผลสรุปว่าปัญหา 3 อันดับแรกที่คนกรุงเทพฯ อยากให้นำงบประมาณมาใช้เพื่อแก้ปัญหามากที่สุด ได้แก่ 1.) จัดการปัญหาทางเท้าทางข้าม 2.) จัดระเบียบผังเมืองให้เหมาะสม และ 3.) จัดการการจราจรติดขัด (ข้อมูล ณ วันที่ 4 ม.ค. 2565) ประกอบกับข้อมูลโพสต์จากเพจเฟซบุ๊คของทีมพี่หมีเอก บางรักต้องก้าวไกล (https://www.facebook.com/Ekkarat.It/) ที่ชวนให้ผู้ติดตามช่วยกันจับตาดูการทำงานของโครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีได้มีคนเข้ามาแสดงความเห็นในทำนองเดียวกันว่าก่อนจะทำสวนสาธารณะคลองแห่งแรก ควรปรับปรุงเรื่องน้ำเสีย รถติด ปรับพื้นถนนให้เรียบตลอดจนแก้ปัญหาฟุตปาธ และทางเท้าก่อน จากข้อมูลนี้ สะท้อนให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการจัดสรรงบประมาณไปกับโครงการดังกล่าว และต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณในการแก้ปัญหาเพื่อตอบโจทย์สิ่งที่คนกรุงเทพฯ เดือดร้อนจริงๆ


ด้วยเหตุนี้ หลายเมืองใหญ่ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมจัดสรรงบประมาณจากภาษีของประชาชนร่วมกับรัฐบาล เราจึงได้เห็นการนำ “กระบวนการงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting)” มาใช้ในหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ สกอตแลนด์ บราซิล และชิลีเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในการเข้าถึงทรัพยากร และมีส่วนตัดสินใจจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในฐานะผู้เสียภาษีทางตรงและทางอ้อม เพื่อพัฒนาโครงการในแบบที่ประชาชนต้องการ เพราะบางเรื่องฝ่ายบริหารที่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องงบประมาณอาจไม่มีความเชี่ยวชาญเท่าคนในพื้นที่ ทำให้ไม่ทราบข้อดีและข้อเสียแบบที่คนในพื้นที่หรือในชุมชนรับรู้ ดังนั้น การทำงานควบคู่กันไปในลักษณะของความร่วมมือจากบนลงล่าง (ภาครัฐนำ) และล่างขึ้นบน (ชุมชนนำ) จึงน่าจะช่วยปิดช่องว่างนี้ได้

โครงการที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม คือ “โครงการ ¡En mi Barrio, Yo decido! (In my neighbourhood, I decide!)” ของเมืองเพนาโลเลนประเทศชิลี โดยได้เปิดกว้างให้ผู้คนในเมืองมีส่วนร่วมจัดสรรงบประมาณของท้องถิ่นร่วมกับเทศบาลผ่านการนำเสนอโครงการ และร่วมโหวตโครงการที่ถูกใจ เพื่อตัดสินใจว่าปีนี้เมืองควรเอาเงินไปลงทุนกับโครงการอะไร ส่งผลให้ท้องถิ่นสามารถปรับปรุงการให้บริการสาธารณะของเมืองและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยได้จริง โดยในปีพ.ศ. 2562 ได้มีการจัดกระบวนการงบประมาณแบบมีส่วนร่วมขึ้นสำหรับแผนพัฒนาปี พ.ศ. 2563-2564 ทำให้เทศบาลได้ข้อเสนอโครงการมากถึง 169 โครงการ และผ่านการร่วมหารืออย่างเข้มข้นในระดับชุมชนและการโหวตขั้นสุดท้ายร่วมกันจากผู้คนในเมือง จนเหลือเพียง 10 โครงการที่คุ้มค่ากับภาษีของประชาชนมากที่สุด ซึ่งโครงการที่ผ่านการโหวตมุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และพื้นที่สาธารณะที่คำนึงถึงความปลอดภัย (Secure) การเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง(Inclusive) และส่งเสริมความหลากหลายในการใช้งาน (Diversity)ของผู้คนในเมือง ทำให้ไม่เกิดการกระจุกตัวของโครงการพัฒนาในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เหมือนกับโครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีที่มีคำถามถึงความเหมาะสมในการเลือกพื้นที่ย่านสาทรที่มีการลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เพียงพอในระดับหนึ่งแล้ว และมีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรสูงกว่าเขตอื่นในกรุงเทพฯ เป็นต้น นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้คนในเมืองเข้ามามีส่วนร่วมนำเสนอโครงการ ย่อมทำให้เกิดความหลากหลายของโครงการพัฒนาที่ตอบสนองปัญหา หรือความต้องการของประชาชนได้ทั่วถึงมากกว่าโครงการที่จัดทำโดยท้องถิ่นฝ่ายเดียว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกระบวนการแบบสั่งการลงมาตามแผนหรือนโยบาย (ภาครัฐนำ) มากกว่าการระดมความเห็นผ่านแนวทางการพัฒนาจากล่างขึ้นบน (ชุมชนนำ)

อย่างไรก็ดี คนกรุงเทพฯ ยังมีข่าวดีให้ชื่นใจอยู่บ้าง เพราะถึงแม้เราจะยังไม่มีกระบวนการงบประมาณแบบมีส่วนร่วม แต่เรายังมีกลุ่มพลเมืองดีที่ช่วยตั้งคำถาม และติดตามโครงการที่มาจากภาษีประชาชน เพื่อให้เม็ดเงินที่ถูกใช้ไปเป็นประโยชน์สูงสุด และยังมีกลุ่มพลเมืองดีที่ลงมือสร้างสวนสาธารณะให้กับคนกรุงเทพฯ ชื่อว่า “We!park” กลุ่มนี้ขับเคลื่อนด้วยเครือข่ายภาคีพัฒนาเมือง ซึ่งมองว่านโยบายที่ผ่านมาของภาครัฐในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเน้นใช้ระบบบนลงล่าง (ภาครัฐนำ) ไม่ได้ผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ผลลัพธ์จึงออกมาเป็นสนามกีฬาคอนกรีต หรือสวนที่ขาดการออกแบบเพื่อให้เกิดกิจกรรมการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งการปรับปรุงพื้นที่ในรูปแบบนี้อาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกใจคนกรุงเทพฯ และแน่นอนว่าอาจไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้ไป จึงทำให้ We!park ดำเนินงานภายใต้ความเชื่อที่ว่า “พื้นที่สาธารณะสีเขียวต้องจับต้องได้ และตอบสนองความต้องการของทุกคนจริงๆ” สำหรับเป้าหมายและกระบวนการของ We!park มีความคล้ายคลึงกับโครงการ ¡En mi Barrio, Yo decido! ที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอนของการพัฒนาโครงการ โดยเริ่มจากการร่วมกันหาพื้นที่ว่างที่ไม่ถูกใช้ประโยชน์ เช่น พื้นที่ใต้ทางด่วน พื้นที่ใต้สะพานจนถึงพื้นที่รกร้างซึ่งเจ้าของพื้นที่ยินดีมอบให้เป็นสาธารณประโยชน์ หลังจากนั้น จะมีการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของพื้นที่กับผู้อยู่อาศัยในพื้นที่โดยรอบ ภายใต้กระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน (Participatory Design) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และสำรวจความต้องการของชุมชนก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนกับโครงการ ซึ่งกว่าจะผ่านไปจนถึงขั้นของการก่อสร้างได้ ต้องมีการประชุมระดมความคิดเห็น และนำเสนอแบบต่อสาธารณะมากกว่าสิบครั้ง เพราะการก่อสร้างสวนสาธารณะนี้ไม่ได้ใช้เม็ดเงินจากภาษีประชาชนอย่างเดียว แต่เปิดให้ประชาชนร่วมระดมทุนเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของสวนนี้ร่วมกันผ่านแพลตฟอร์มเทใจดอทคอมด้วย (https://taejai.com/th/d/we-create-park/)

สวนสาธารณะที่ดำเนินการโดย We!park จึงมีจุดเด่นอยู่ที่“กระบวนการคิดและทำอย่างโปร่งใส เน้นการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนและเปิดเผยข้อมูลโครงการสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง” โดยสร้างการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ร่วมหาพื้นที่พัฒนา ร่วมคิดและออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานจริง ร่วมทำผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม ร่วมลงทุนผ่านการระดมทุนสนับสนุนโดยเทใจ และร่วมดูแลบริหารจัดการ นอกจากนี้ยังพบว่า We!park ได้เปิดเผยข้อมูลโครงการผ่านเว็บไซต์ wepark.co (https://wepark.co/) โดยได้เผยแพร่ผลการวิเคราะห์พื้นที่ก่อนการพัฒนาโครงการ เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการสร้างสวนสาธารณะ และเปิดเผยข้อมูลกระบวนการทำงานอย่างโปร่งใสด้วยการระบุกิจกรรมการมีส่วนร่วมตลอดทั้งโครงการรวมถึงระบุแผนการใช้เงินโดยละเอียดเพื่อให้สามารถตรวจสอบงบประมาณได้ อันเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อเงินบริจาคของประชาชน ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการของ We!park ทำให้คนกรุงเทพฯเห็นถึงความเป็นไปได้ในการสร้างโมเดลการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องรอการพัฒนาจากภาครัฐฝ่ายเดียว ปัจจุบัน มีสวนสาธารณะขนาดย่อมที่อยู่ระหว่างการพัฒนา จำนวน 4 พื้นที่ โดยเปิดใช้งานไปแล้วหนึ่งแห่งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2564ชื่อว่า “สวนชุมชนโชฎึก” ย่านตลาดน้อย ฝั่งติดคลองผดุงกรุงเกษม

จากการติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่ม We!park ทำให้ผู้เขียนเห็นถึงการให้คุณค่าต่อหลักการเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ในการบริหารจัดการโครงการที่มาจากการใช้เงินภาษีและเงินบริจาคของประชาชน แม้ว่าเป็นเพียงโครงการสร้างสวนสาธารณะขนาดย่อมที่ใช้งบประมาณไม่ถึงร้อยล้านบาท แต่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการโครงการไม่ได้เล็กตามวงเงินเลย กลับเปิดโอกาสให้ประชาชนและคนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนา จึงเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับโครงการพัฒนาสวนสาธารณะของกรุงเทพฯ ในอนาคต ควรเปลี่ยนวิธีการมีส่วนร่วมใหม่เพื่อให้สวนสาธารณะถูกออกแบบจากความต้องการของคนในพื้นที่ และเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้ความเห็น กำหนดพื้นที่ และประเภทของสวนสาธารณะที่อยากได้ก่อนที่จะมีการจัดสรรงบประมาณอย่างเป็นทางการ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมกำกับ ติดตาม และร่วมลงมือพัฒนาโครงการกับหน่วยงานท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดด้วย

สำหรับโครงการสวนสาธารณะช่องนนทรี ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ผู้เขียนจึงคาดหวังให้ผู้รับผิดชอบโครงการทำหน้าที่ภายใต้หลักการพื้นฐานของการพัฒนาโครงการสาธารณะของภาครัฐที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐานความโปร่งใสตามหลักสากล (Open Contractingand Public Procurement: OGP) โดย หนึ่ง “ต้องเปิดเผยข้อมูลสัญญาโครงการ” สอง “ต้องสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำกับติดตามการส่งมอบโครงการ” และสาม “ต้องส่งเสริมความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ” นั่นหมายถึงการออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อคลายความสงสัยของประชาชน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคนกรุงเทพฯ ว่าภาษีที่เสียไปนั้นถูกใช้อย่างคุ้มค่า โปร่งใส และปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน หากผู้อ่านท่านใดมีเวลา ก็อย่าลืมแวะไปเยี่ยมชมของขวัญชิ้นใหญ่จากผู้ว่าฯกทม. และช่วยกันติดตามความคืบหน้าของโครงการที่คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการทั้งโครงการได้ในเดือนส.ค. พ.ศ. 2565

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
06:00 น. ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน
06:00 น. ‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’
06:00 น. ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา
06:00 น. ‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้
06:00 น. เปิดวาร์ป ‘โบนัส ณัฐวัฒน์’ที่จะมาขโมยซีนทุกไทม์ไลน์
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รวบเขมรลอบเข้าเมือง! ซิมเถื่อน200เบอร์-เงินแสนในมือ คาดโยงแก๊งอาชญากรข้ามชาติ!

ศาลสั่งคุก 3 ปีไม่รอลงอาญา 2 ผู้ต้องหาแก๊งเถื่อน ลอบขุดดิน‘ร่อนทอง’อุทยานฯทองผาภูมิ

ล่าตัวลูกชายโหด! โมโหแทนแม่ ยิงเจ้าหนี้ทวงเงินหน้าบ้าน

จยย.เฉี่ยวรถยนต์ ร่างลอยกระแทกขอบปูนหมดสติ ยื้อไม่ไหวเสียชีวิต

แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน

(คลิป) จับตา! 1 ก.ค. ศาลรัฐธรรมนูญ 'อุ๊งอิ๊งค์' พ้นเก้าอี้ 'นายกฯ'

  • Breaking News
  • ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน
  • ‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’ ‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’
  • ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา
  • ‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้ ‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้
  • เปิดวาร์ป ‘โบนัส ณัฐวัฒน์’ที่จะมาขโมยซีนทุกไทม์ไลน์ เปิดวาร์ป ‘โบนัส ณัฐวัฒน์’ที่จะมาขโมยซีนทุกไทม์ไลน์
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

สำรวจผลงานไทย 12 ชิ้น ดัน Rookies เดบิวต์สู่วงการต้านโกง

สำรวจผลงานไทย 12 ชิ้น ดัน Rookies เดบิวต์สู่วงการต้านโกง

31 ม.ค. 2567

‘สนุกเล่น สนุกทำ’วิธีปลูกฝังการต้านโกงฉบับวัยรุ่นฟันน้ำนม

‘สนุกเล่น สนุกทำ’วิธีปลูกฝังการต้านโกงฉบับวัยรุ่นฟันน้ำนม

11 ม.ค. 2566

บรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืน (SDGs) และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วย ‘การลดคอร์รัปชัน’

บรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืน (SDGs) และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วย ‘การลดคอร์รัปชัน’

13 ก.ค. 2565

เส้นทางสู่สวนสาธารณะแห่งการมีส่วนร่วมของคนกรุงเทพฯ

เส้นทางสู่สวนสาธารณะแห่งการมีส่วนร่วมของคนกรุงเทพฯ

9 ก.พ. 2565

Fight Like a Mom: เมื่อพลเมืองแม่ลุกขึ้นมาต้านโกง

Fight Like a Mom: เมื่อพลเมืองแม่ลุกขึ้นมาต้านโกง

11 ส.ค. 2564

ความหวัง บนโลกที่ (ยัง) มีคอร์รัปชัน

ความหวัง บนโลกที่ (ยัง) มีคอร์รัปชัน

17 ก.พ. 2564

ถอดรหัสเครื่องมือ ‘We The Students’ ออกแบบอย่างไรให้ ‘เสียง’ ของนักเรียนมีความหมาย

ถอดรหัสเครื่องมือ ‘We The Students’ ออกแบบอย่างไรให้ ‘เสียง’ ของนักเรียนมีความหมาย

17 มิ.ย. 2563

‘ความมั่นคง’ กับ ‘ความเป็นส่วนตัว’ บนเวทีของการต่อต้านคอร์รัปชัน

‘ความมั่นคง’ กับ ‘ความเป็นส่วนตัว’ บนเวทีของการต่อต้านคอร์รัปชัน

11 ธ.ค. 2562

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved