วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน
รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

จักรพงษ์ เมษพันธุ์
วันอาทิตย์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
ตรวจสุขภาพการเงินด้วยตัวเอง

ดูทั้งหมด

  •  

สุขภาพการเงินไม่ต่างอะไรจากสุขภาพร่างกาย ที่คนเราต้องหมั่นตรวจสอบเป็นประจำ เพื่อคอยติดตามว่าสถานะการเงินของเราเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดี มีอะไรต้องปรับปรุงแก้ไข และที่สำคัญมันสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงิน และสนับสนุนเป้าหมายชีวิตของเราได้แค่ไหน

ในแต่ละปีตัวผมเองก็จะตรวจสุขภาพการเงินของตัวเองด้วยตัวชี้วัด 4 ตัวสำคัญ ดังต่อไปนี้ครับ


1.อัตราส่วนการออมและการลงทุน

อัตราส่วนนี้เป็นตัวบอกว่า เราแบ่งเงินไปสะสมเพื่ออนาคตมากน้อยแค่ไหน ระดับที่ดีและมีผลต่อความมั่งคั่งในอนาคต ก็คือ มากกว่า 10% ขึ้นไป ถือว่าเป็นอัตราที่ดี

วิธีวัดก็ไม่ยากครับ ลองเอาเงินที่เราตัดไปออมหรือลงทุนในแต่ละเดือน อาทิ เงินฝาก ประกัน หรือกองทุนต่างๆ (รวมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย) บวกกันทั้งหมดแล้วหารด้วยรายได้รวมต่อเดือน หรือจะคิดทีเดียวทั้งปีก็ได้แล้วคูณด้วย 100 เพื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์

เช่น นายจักรพงษ์ มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน หักสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกเดือน 5% (1,500 บาท) และหักซื้อกองทุน RMF ทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท แบบนี้นายจักรพงษ์ ก็จะมีอัตราส่วนการออมเท่ากับ 15% ซึ่งถือว่า ดี

2.อัตราส่วนเงินชำระคืนหนี้

อัตราส่วนนี้เป็นอัตราส่วนที่คอยเตือนเราว่า เรากำลังมีหนี้สินเกินตัวไปหรือเปล่า โดยอธิบายว่าหากเราหาเงินในแต่ละเดือนได้ 100 บาทเราต้องนำเงินรายได้นี้ไปจ่ายหนี้สินทั้งสิ้นกี่บาท ซึ่งอัตราส่วนเงินชำระหนี้ที่ดี ไม่ควรเกิน 40%

วิธีวัดก็ให้นำรายจ่ายหนี้ทั้งหมดในแต่ละเดือน ไม่ว่าจะเป็นเงินผ่อนบ้าน เงินผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต ผ่อนสินเชื่อต่างๆ รวมกัน แล้วหารด้วยรายได้ต่อเดือน แล้วคูณด้วย 100 เพื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์

ตัวอย่างเช่น นายจักรพงษ์ มีรายได้ 30,000 บาท มีภาระผ่อนหนี้บ้าน 9,000 บาท แล้วก็ผ่อนสินเชื่อสหกรณ์ออมทรัพย์ 3,000 บาท แบบนี้นายจักรพงษ์ก็จะมีอัตราส่วนเงินชำระคืนหนี้เท่ากับ 40% อันนี้ถือว่ายังพอไหว แต่ต้องระวัง ไม่ควรสร้างหนี้เพิ่มไปกว่านี้

3.ระดับเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

อัตราส่วนนี้ คือ สิ่งที่บอกว่าชีวิตเราพร้อมรับมือกับเรื่องไม่คาดฝันโดยเฉพาะเรื่องของการสูญเสียรายได้มากแค่ไหน ที่ดีแล้วคนเรามีอัตราส่วนนี้เกิน 6 ซึ่งแปลความหมายได้ว่า หากตกงานหรือไม่มีรายได้เข้ามาเลย เราจะยังสามารถดำรงชีวิตอยู่แบบไม่เดือดร้อนเรื่องเงินได้อีกอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ได้มาก แต่ทำให้ชีวิตเราพอมีเวลาคิด เวลาตัดสินใจเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ได้

วิธีวัดอัตราส่วนนี้ ทำได้โดยการรวบรวมมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่องทั้งหมด อาทิ เงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงินกองทุนรวมตราสารหนี้ ทองคำ ฯลฯ บวกกันทั้งหมด แล้วหารด้วยค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือน ได้ตัวเลขออกมาเท่าไหร่ก็เท่านั้น ไม่ต้องทำเป็นเปอร์เซ็นต์

ที่ต้องเลือกสินทรัพย์สภาพคล่อง เพราะหากเราตกงาน หรือขาดรายได้ เราต้องการเงินสดเข้ามือเร็ว ซึ่งสินทรัพย์สภาพคล่อง คือ สินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินสดได้เร็ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้ดูแต่ความคล่องตัวอย่างเดียว ต้องดูเรื่องของความผันผวนของมูลค่าด้วย อย่างเช่นหุ้น หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น กลุ่มนี้ก็มีสภาพคล่องที่ดี แต่เนื่องจากมูลค่ามีความขึ้น-ลง จึงไม่เหมาะที่จะนับเป็นเงินสำรอง (เหมาะกับสะสมความมั่งคั่งมากกว่า)

ตัวอย่างเช่น นายจักรพงษ์ มีเงินสดฝากไว้ในธนาคาร 100,000 บาท มีสลากออมสิน 20,000 บาท มีกองทุนรวมตลาดเงิน 30,000 บาท ถ้านายจักรพงษ์มีรายจ่ายต่อเดือน 25,000 บาท แบบนี้จะถือว่านายจักรพงษ์ มีอัตราส่วนเงินสำรองเท่ากับ 6 เดือนซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

4.ความมั่งคั่งสุทธิ

ตัวชี้วัดตรวจวัดสุขภาพการเงินตัวสุดท้าย คือ ความมั่งคั่งสุทธิ (Net Worth) หรือทรัพย์สินสุทธิ ตัวชี้วัดนี้จะบอกมูลค่าทรัพย์สินที่ปลอดภาระของเรา ซึ่งแสดงถึงความมั่งคั่งที่แท้จริงของเราได้เป็นอย่างดีโดยปกติความมั่งคั่งสุทธิที่ดี คือ มีค่าเป็นบวก และจะดีมากขึ้น ถ้าบวกเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี

วิธีวัดก็ง่ายๆ ให้เรารวบรวมรายการทรัพย์สินและหนี้สินมาหักลบกัน เช่น หากนายจักรพงษ์ รวมรวบรายการทรัพย์สินแล้วพบว่ามีมูลค่าทรัพย์สินรวม 3,000,000 บาท และเมื่อรวบรวมรายการหนี้ในชื่อตัว ก็พบว่ามีอยู่ 2,000,000 บาท

กรณีแบบนี้ นายจักรพงษ์ก็จะมีความมั่งคั่งสุทธิเท่ากับ 1,000,000 บาท ซึ่งถือว่าดี และถ้าปีต่อไปบวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะถือว่ายิ่งดีมาก

จะสังเกตว่าทั้ง 4 ตัวชี้วัดที่ผมเล่าให้ฟังข้างต้น ไม่ได้มีวิธีคิดวิธีการคำนวณที่ยุ่งยากเลย แถมเมื่อคิดคำนวณออกมาได้แล้ว ก็จะช่วยทำให้เราวางแผนการเงิน หรือคอยติดตามระมัดระวังทั้งการใช้จ่ายและการออมการลงทุนได้เป็นอย่างดี

โดยปกติผมจะตรวจวัดสุขภาพการเงินตัวเองในช่วงเริ่มต้นปีใหม่ทำไปพร้อมๆ กับการวางแผนการเงินและภาษี รวมถึงมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของเงินตัวเอง และผมเองก็อยากให้ทุกท่านนำตัวชี้วัดสุขภาพการเงินนี้ ไปลองใช้ดูในทุกๆ ต้นปี เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นการเงินที่ดี

แต่หากใครยังไม่เคยลองวัด ไม่เคยลองทำ ผมแนะนำว่าเริ่มต้นครั้งแรกวันนี้เลยครับ ไม่ต้องรอให้ถึงปีใหม่

#โค้ชหนุ่ม #TheMoneyCoachTH

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
10:19 น. เกินจะต้าน! ลูกยางไทยแพ้มะกันเนชันส์ลีกวีค 3
10:11 น. ข่าวดี! หยุด 2 วัน'อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา' ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 61 ด่าน
09:57 น. แฉซ้ำ‘หลวงพ่อมหาน้อย’เปิดสำนักสาขา 2 ตั้งพระคู่ใจบวชแค่ 2 พรรษาได้เป็นพระครูดูแล
09:55 น. สุดหดหู่! แม่แท้ๆชวนลูกชายป่วยโรคปอด'เปิดบัญชีม้า'มุดท่อระบายน้ำกลับไทย
09:52 น. ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! 'ชานน สัมพันธารักษ์'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน
ดูทั้งหมด
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ปราชญ์ สามสี'ผ่าเกมตระกูล'ชินวัตร-ฮุน' ทำไมคนหนึ่งเงียบ อีกคนดิ้น ที่แท้!!
‘สม รังสี’เปิดไทม์ไลน์แฉ‘แรงจูงใจ’เบื้องหลัง‘ฮุน เซน’เล่นเกมกฎหมายถอดสัญชาติกัมพูชา
ดูทั้งหมด
‘อนุทิน VS แพทองธาร’เรื่อง‘กาสิโน’
ประชาธิปไตยมักถูกท้าทายอยู่เสมอ
ไร้เพื่อน?
บุคคลแนวหน้า : 10 กรกฎาคม 2568
รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู คือ ตัวถ่วงประเทศไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เกินจะต้าน! ลูกยางไทยแพ้มะกันเนชันส์ลีกวีค 3

ข่าวดี! หยุด 2 วัน'อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา' ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 61 ด่าน

สุขสันต์วันเกิด 'หมูเด้ง' ครบรอบ 1 ขวบ เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ชมฟรี

ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568

'นิธิพัฒน์'ซัดเจ็บ! 'นักการเมืองสันดานเสีย' หวังประโยชน์ส่วนตน ทำชาติป่วน

  • Breaking News
  • เกินจะต้าน! ลูกยางไทยแพ้มะกันเนชันส์ลีกวีค 3 เกินจะต้าน! ลูกยางไทยแพ้มะกันเนชันส์ลีกวีค 3
  • ข่าวดี! หยุด 2 วัน\'อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา\' ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง  รวม 61 ด่าน ข่าวดี! หยุด 2 วัน'อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา' ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 61 ด่าน
  • แฉซ้ำ‘หลวงพ่อมหาน้อย’เปิดสำนักสาขา 2 ตั้งพระคู่ใจบวชแค่ 2 พรรษาได้เป็นพระครูดูแล แฉซ้ำ‘หลวงพ่อมหาน้อย’เปิดสำนักสาขา 2 ตั้งพระคู่ใจบวชแค่ 2 พรรษาได้เป็นพระครูดูแล
  • สุดหดหู่! แม่แท้ๆชวนลูกชายป่วยโรคปอด\'เปิดบัญชีม้า\'มุดท่อระบายน้ำกลับไทย สุดหดหู่! แม่แท้ๆชวนลูกชายป่วยโรคปอด'เปิดบัญชีม้า'มุดท่อระบายน้ำกลับไทย
  • ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! \'ชานน สัมพันธารักษ์\'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! 'ชานน สัมพันธารักษ์'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

‘จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ’ ตั้งโต๊ะคุยชีวิตกว่าจะมีวันนี้ที่ Money Freedom กับโค้ชหนุ่ม Money Coach และคุณเผ่า Jitta

‘จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ’ ตั้งโต๊ะคุยชีวิตกว่าจะมีวันนี้ที่ Money Freedom กับโค้ชหนุ่ม Money Coach และคุณเผ่า Jitta

6 ก.ค. 2568

ยุคนี้ ‘ขยันเลอะเทอะไม่ได้’ ต้องโฟกัส พัฒนาให้เร็วขึ้นเสมอ เตรียมพร้อมก่อนเริ่มงาน #CTC2025  โดยโค้ชหนุ่ม Money Coach

ยุคนี้ ‘ขยันเลอะเทอะไม่ได้’ ต้องโฟกัส พัฒนาให้เร็วขึ้นเสมอ เตรียมพร้อมก่อนเริ่มงาน #CTC2025 โดยโค้ชหนุ่ม Money Coach

29 มิ.ย. 2568

อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง...

อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง...

22 มิ.ย. 2568

ชอบ-ถนัด-สามารถ สูตรสร้างอาชีพเสริม

ชอบ-ถนัด-สามารถ สูตรสร้างอาชีพเสริม

15 มิ.ย. 2568

จัดการเงินออมครอบครัวให้ดี ชีวิตมีสุข

จัดการเงินออมครอบครัวให้ดี ชีวิตมีสุข

1 มิ.ย. 2568

อย่าฝากชีวิตไว้กับรายได้ในอนาคต

อย่าฝากชีวิตไว้กับรายได้ในอนาคต

25 พ.ค. 2568

อสังหาริมทรัพย์: เรียนรู้-ลงมือทำ-สำเร็จ

อสังหาริมทรัพย์: เรียนรู้-ลงมือทำ-สำเร็จ

18 พ.ค. 2568

“เปลี่ยน” เพื่อชีวิตการเงินที่ดีกว่า

“เปลี่ยน” เพื่อชีวิตการเงินที่ดีกว่า

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved