วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / โลกการค้า
โลกการค้า

โลกการค้า

วันพฤหัสบดี ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ...รัฐต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด

ดูทั้งหมด

  •  

nn ปี 2568 นับเป็นปีที่ชาวนาไทยเผชิญแรงกดดันอย่างหนักหน่วงอีกครั้งจากภาวะที่ราคารับซื้อข้าวปรับลดลงจากแรงกดดันของผลผลิตข้าวในปี 2567 ที่ผ่านมาสูงขึ้นถึง 34 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ราว 2 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งหากมองตามกลไกราคาแล้วผลผลิตที่เพิ่มขึ้นบนความต้องการบริโภคที่ทรงตัวย่อมสร้างแรงกดดันให้ราคามีทิศทางที่ปรับลด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลผลิตข้าวนาปรังที่มีการเก็บเกี่ยวในช่วงไตรมาสที่ 4 มากกว่า 80% เมื่อเจอแรงกดดันของการบริโภคที่ค่อนข้างคงที่และผลผลิตส่วนเกินไม่สามารถระบายออกไปตลาดโลกได้ง่ายจากราคาข้าวไทยที่สูงกว่าประเทศผู้ส่งออกอื่น รวมถึงแรงกดดันจากการที่อินเดียเริ่มกลับมาส่งออก ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 3 เดือนล่าสุด (พฤศจิกายน 2567-มกราคม 2568) ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่า0.59 ล้านตัน สร้างแรงกดให้ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่มีความชื้น 15% รับซื้อ ณ ที่นา ณ สิ้นเดือนมกราคม ปรับลดลงเมื่อเทียบกับ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ไปแล้วกว่าตันละ 1,400 บาท หรือลดลงแล้วกว่า 13% บนสถานการณ์รุนแรงขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปรังเริ่มเข้ามาสร้างแรงกดดันจากภาวะที่ผลผลิตล้นกว่าความต้องการเพิ่มเติม ส่งผลให้ราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้าที่มีความชื้น 15% ปรับลดลงจนเหลือที่ราคาราว 8,000-8,800 บาทต่อตันหรือปรับลดลงจากราคา ณ สิ้นไตรมาส 3 แล้วกว่า 17.0% - 24.5% (ลดลง 1,800-2,600 บาทต่อตัน)

การที่ราคาข้าวปรับลดลงจากราว 1.8-2.6 บาทต่อกิโลกรัม แม้อาจดูไม่มากแต่หากมองย้อนไปยังสถานการณ์ที่บีบรัดของชาวนาที่ทาง ttb analytics ได้ทำการประเมินต้นทุนการเพาะปลูกในปี 2567 พบว่า ต้นทุนข้าวเปลือกตกอยู่ที่ราว 7,800-8,900 บาทต่อตัน (ในกรณีที่เกษตรกรมีต้นทุนค่าเช่านาและเครื่องจักรกลทางการเกษตร) ซึ่งบนสถานการณ์ราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้าที่มีความชื้น 15% ที่ 8,000- 8,800 บาทต่อตัน และคาดว่าสถานการณ์ในเดือนมีนาคมอาจรุนแรงมากกว่านี้จากผลผลิตข้าวนาปรังที่จะเข้ามาเติมแรงกดดันราคาข้าวส่งผลให้ชาวนาไทยในปี 2568 มีแนวโน้มเผชิญภาวะขาดทุนที่สูง


ดังนั้น ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ภาครัฐควรเตรียมออกนโยบายเพื่อช่วยเหลือชาวนาไทย โดยในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวแห่งชาติ (นบข.) มีการพิจารณามาตรการช่วยเหลือด้านราคาข้าวนาปรังปีการผลิต 2568 จากมติของ คณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาด 3 มาตรการ ประกอบด้วย 1.โครงการชะลอและเก็บข้าว เพื่อช่วยลดปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดในช่วงเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ราคาข้าวเปลือกทรงตัวได้ดีขึ้น 2.โครงการชดเชยดอกเบี้ยสำหรับผู้ประกอบการที่เก็บสต๊อก โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือดอกเบี้ยในอัตรา 6% แก่ผู้ประกอบการที่เก็บสต๊อกข้าวในช่วง 2-6 เดือน 3.โครงการเปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือก โดยรัฐจะสนับสนุนค่าบริหารจัดการ 500 บาทต่อตัน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางจำหน่ายผลผลิตในราคาที่เหมาะสม

ทั้งนี้ ttb analytics มองมาตรการดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดเป็นเพียงการชะลอราคาไม่ให้ลดลงราคาข้าวอย่างรวดเร็วจากภาวะผลผลิตที่เกินความต้องการ โดยปัญหาเหล่านี้ก็ยังคงจะต้องเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆโดยเฉพาะช่วงที่มีผลผลิตข้าวสูง ซึ่งจะเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทางภาครัฐควรหามาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอีก

ดังนั้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องบูรณาการร่วมกันแก้ปัญหาตั้งแต่ภาครัฐไปถึงชาวนา ดังต่อไปนี้ 1.ภาครัฐควรจัดตั้งกองทุนเพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูก เช่น เพื่อลดค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าพันธุ์ข้าว รวมถึงจัดหาสินค้าราคาต้นทุนให้เกษตรกรเช่าใช้ในราคาที่ต่ำลง เช่น เครื่องจักรกลทางการเกษตร หรือสินค้าราคาต้นทุนที่ใช้ในการแปรรูปสินค้า เช่น โรงสีชุมชน ที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรแปรรูปสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายที่สามารถตอบสนองความต้องการการบริโภคของภาคครัวเรือนได้โดยตรง หรืออาจเข้าเป็นตัวกลางในการรับซื้อเพื่อลดอำนาจผูกขาดผู้ประกอบการที่อาจกดราคาช่วงผลผลิตเยอะเนื่องจากชาวนาไม่มีที่เก็บผลผลิต และนำข้าวมาแปรรูปเพื่อให้ประชาชนในราคาที่ไม่ได้บวกจากต้นทุนมากนักซึ่งสามารถช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนได้อีกทางหนึ่ง

2.ภาครัฐควรให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่เกษตรกรเพิ่มเติม เพื่อให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเพาะปลูกมากขึ้น เช่น การทำเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกให้มากขึ้นผ่านระบบที่มีความแม่นยำสูง (Precision Agriculture) จะทำให้สามารถช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ลดปริมาณการใช้ยาปราบศัตรูพืชได้ เนื่องจากตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ที่ชี้ว่าผลผลิตข้าวเฉลี่ยของไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย เวียดนาม และจีน ถึง 13%, 48% และ 52% ตามลำดับ รวมถึงการทำเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย 7% ลดการใช้น้ำได้ 4% และลดการใช้ยาฆ่าแมลงได้ 9% รวมถึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เพื่อปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ข้าวไทยให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในการเพาะปลูก

3.ภาครัฐควรบูรณการกับภาคเอกชนเพื่อช่วยพัฒนาสินค้าแปรรูปจากข้าว เนื่องจากปัจจุบันข้าวไทยส่วนใหญ่ใช้บริโภคในมื้ออาหารหลัก ส่งผลให้ปริมาณการบริโภคในประเทศแต่ละปีไม่สามารถเพิ่มได้มากนัก และย่อมเกิดปัญหาในทุกๆ ครั้ง เมื่อผลผลิตข้าวที่ได้เยอะกว่าที่ต้องการ ดังนั้น การเน้นด้านงานวิจัยและพัฒนาอาหาร (Research and Development)
จึงเป็นการต่อยอดให้เกิดการบริโภคเพิ่มเติมลดข้อจำกัดที่ข้าวจะถูกใช้บริโภคเพียงในมื้ออาหารได้

4.ชาวนาควรเร่งพัฒนาตนเองและเปิดรับเทคโนโลยีการเพาะปลูกใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ และต้องพัฒนาตนเป็นผู้ประกอบการที่เชื่อว่าการทำการเกษตร คือ การทำธุรกิจที่อาจประสบภาวะขาดทุน จึงอาจไม่ใช่เรื่องที่ภาครัฐต้องมีงบประมาณช่วยเหลือทุกครั้งที่มีปัญหา ซึ่งหากชาวนาตระหนักถึงความเป็นผู้ประกอบการ การวางแผนการเพาะปลูกอาจช่วยลดภาวะการขาดทุน เช่น การหันไปจับตลาดเฉพาะกลุ่มในบางโอกาสที่คาดการณ์ว่าอุปทานส่วนเกิน เช่น การหันมาเพาะปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ตอบโจทย์กระแสคนรักสุขภาพในปัจจุบัน และมีราคาขายข้าวเปลือกสูงกว่าข้าวทั่วไปที่ประมาณ 20-50% ก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

กล่าวโดยสรุป ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำของชาวนาไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เผชิญในทุกยุคสมัย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การแก้ไขแต่ละครั้งเป็นเหมือนยาแก้ปวดที่บรรเทาอาการเจ็บได้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในสถานการณ์ปี 2568 นี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่สถานการณ์หลายด้านสุมแรงกดดันกับชาวนาอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นที่หวังว่าวิกฤตครั้งนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกภาคส่วนมาร่วมมือกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง จริงใจและร่วมรับผิดชอบ เพื่อให้ปัญหาที่เกิดกับชาวนาลดหายไปได้ในระยะยาว

** ttb analytics **

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:52 น. ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! 'ชานน สัมพันธารักษ์'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน
09:38 น. ถ้าผมไม่เxือก แล้วใครจะเxือก! วาทะ 'ทักษิณ' จุดเดือด 'นักข่าวอาวุโส' ลั่นดูถูกคนไทยเกินรับไหว
09:25 น. ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก
09:15 น. 'กอบศักดิ์' ฟันธง 'ภาษีทรัมป์' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่
09:06 น. รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง 'ก๊ก อาน'
ดูทั้งหมด
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ปราชญ์ สามสี'ผ่าเกมตระกูล'ชินวัตร-ฮุน' ทำไมคนหนึ่งเงียบ อีกคนดิ้น ที่แท้!!
‘สม รังสี’เปิดไทม์ไลน์แฉ‘แรงจูงใจ’เบื้องหลัง‘ฮุน เซน’เล่นเกมกฎหมายถอดสัญชาติกัมพูชา
ดูทั้งหมด
‘อนุทิน VS แพทองธาร’เรื่อง‘กาสิโน’
ประชาธิปไตยมักถูกท้าทายอยู่เสมอ
ไร้เพื่อน?
บุคคลแนวหน้า : 10 กรกฎาคม 2568
รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู คือ ตัวถ่วงประเทศไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568

'นิธิพัฒน์'ซัดเจ็บ! 'นักการเมืองสันดานเสีย' หวังประโยชน์ส่วนตน ทำชาติป่วน

'แพรรี่'เทศน์พระเอี่ยวสีกา สึกออกมาก็แค่ตาแก่คนหนึ่ง สีกาก็ร้ายไปเป็นเปรตแน่นอน

'ทรัมป์'ร่อนจดหมายภาษีอีก8ประเทศ 'บราซิล'อ่วมเจอรีดภาษีนำเข้า50%เซ่นปม'โบลโซนาโร'

'สมเด็จฮุน เซน'กลัวมากถ้า'คนไทย'จะรักตนเอง แซะเจ็บไทยควรโฟกัสผู้นำตัวเองดีกว่า

  • Breaking News
  • ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! \'ชานน สัมพันธารักษ์\'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! 'ชานน สัมพันธารักษ์'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน
  • ถ้าผมไม่เxือก แล้วใครจะเxือก! วาทะ \'ทักษิณ\' จุดเดือด \'นักข่าวอาวุโส\' ลั่นดูถูกคนไทยเกินรับไหว ถ้าผมไม่เxือก แล้วใครจะเxือก! วาทะ 'ทักษิณ' จุดเดือด 'นักข่าวอาวุโส' ลั่นดูถูกคนไทยเกินรับไหว
  • ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก
  • \'กอบศักดิ์\' ฟันธง \'ภาษีทรัมป์\' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่ 'กอบศักดิ์' ฟันธง 'ภาษีทรัมป์' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่
  • รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง \'ก๊ก อาน\' รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง 'ก๊ก อาน'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

โลกการค้า 10 กรกฏาคม 2568

โลกการค้า 10 กรกฏาคม 2568

10 ก.ค. 2568

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

3 ก.ค. 2568

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

26 มิ.ย. 2568

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

19 มิ.ย. 2568

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว  การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

12 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

5 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

29 พ.ค. 2568

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

22 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved