วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / พบหมอ...มศว
พบหมอ...มศว

พบหมอ...มศว

พบหมอ...มศว
วันศุกร์ ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559, 06.00 น.
ภาวะตาบอดสีคืออะไร ‘What is color blindness? (ตอนที่ 1)

ดูทั้งหมด

  •  

ภาวะตาบอดสีคืออะไร ‘What is color blindness?


ภาวะตาบอดสีเป็นภาวะที่สามารถพบได้บ่อย ซึ่งอาจมีสาเหตุได้ทั้งจากภาวะตาบอดสีแต่กำเนิด (Congenital color vision defect) หรือภาวะตาบอดสีที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired color vision defect) ซึ่งมีวิธีการทดสอบได้ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายเพื่อให้สามารถตรวจพบ และแยกชนิดของตาบอดสีโดยละเอียดได้ ก่อนอื่นเรามารู้จักชนิดต่างๆ ของเซลล์ที่ใช้ในการรับสีของตาเราก่อนดีกว่า

เซลล์รูปกรวย เป็นเซลล์ที่ใช้ในการรับสีของตา หรือที่เรียกว่า Cone cell มีไว้รับคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกัน ได้แก่

1. สีแดง (Long wave length red) เรียกง่ายๆ ว่า L-cone (Red-cone) photopigment

2. สีเขียว (Middle wave length green) เรียกง่ายๆ ว่า M-cone (Green-cone) photopigment

3. สีน้ำเงิน (Short wave length blue) เรียกง่ายๆ ว่า S-cone (Blue-cone) photopigment

ปัจจุบันพบว่ามีเซลล์อีกชนิดหนึ่งที่ใช้รับสีได้เช่นเดียวกัน มีชื่อว่า Intrinsically photosensitive Retinal Ganglion Cells หรือ ipRGCs ใช้รับสีในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 460-484 นาโนเมตร อันได้แก่สีน้ำเงินม่วง (Violet-to-blue light) และเซลล์นี้ ยังมีหน้าที่หลักในการรับรู้ภาวะกลางวันกลางคืน (circadian rhythms) ควบคุมการหดขยายของรูม่านตา และความคุมการหลั่งฮอร์โมนเมลาโตนินจากต่อมใต้สมอง ได้ด้วยเช่นกัน

การทำงานของ Cone cell จะรับรู้ความยาวคลื่นแสงที่ตนเองรับผิดชอบ และจะส่งไปแปลภาพเป็นการรับรู้ในสมองต่อไป เมื่อการทำงานของเซลล์ใดเซลล์หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งเซลล์ทำงานลดลงหรือหยุดทำงานไป จะก่อให้เกิดภาวะตาบอดสีชนิดต่างๆ  ภาวะตาบอดสีแต่กำเนิดเป็นภาวะที่เป็นแล้วอาการมักจะคงที่ และมักจะมีอาการทั้งสองตา ซึ่งต่างจากภาวะตาบอดสีที่เป็นภายหลังอันเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเป็นที่ตาข้างเดียว และอาการอาจแย่ลงเมื่อระยะเวลาผ่านไปได้  อย่างไรก็ตามภาวะตาบอดสีแต่กำเนิดเป็นภาวะที่พบได้บ่อยกว่า แบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่

1. Anomalous trichomatism เป็นการแบ่งประเภทการมองเห็นสีที่ผิดปกติไป โดยผู้ป่วยยังสามารถ

ใช้งานได้ครบทั้ง 3 ชนิดของ Cone cells แต่มี 1 ชนิดที่ทำงานลดลง เป็นกลุ่มที่พบได้มากที่สุดในประเภทของตาบอด

สีทั้งหมด พบได้ 5-6% ของเพศชาย เมื่อการทำงานของ one cell ประเภทใดทำงานลดลงไป Cone cell ที่เหลือก็จะ

ทำงานทดแทนกัน แต่การมองเห็นระดับสีอาจผิดเพี้ยนไปได้ แบ่งตามชนิดของสีที่ทำงานลดลงภาวะนี้ถ่ายทอดแบบยีน

ด้อยทางโครโมโซม X จึงทำให้เพศชาย มีโอกาสเป็นโรคได้บ่อยกว่าเพศหญิง โดยเพศชายมีโอกาสพบได้  5-8% หรือ

ประมาณ 1 ใน 12 คน และเพศหญิง 0.5% หรือประมาณ 1 ใน 200 คน อันได้แก่

a. Deuteranomalous trichomatism (deuteranomaly) พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ

5% ของเพศชาย เกิดจาก M-cone photopigment ที่ควรรับแสงสีเขียวได้ดี แต่กลับไปรับคลื่นแสงใกล้กลับสีแดง สี

ที่รับรู้จึงผิดเพี้ยนไป

b. Protanomalous trichomatism (protanomaly) พบได้ 1% ของเพศชาย เกิดจาก

L-cone photopigment ที่ควรรับแสงสีแดงได้ดี แต่กลับไปรับคลื่นแสงใกล้กลับสีเขียว สีที่รับรู้จึงผิดเพี้ยนไป

c. Congenital tritanomalous defect (tritanomaly) พบได้น้อย

 

2. Dichromacy คือภาวะที่ขาด Cone cell ไป 1 ชนิด ทำให้รับรู้สีได้จาก Cone cell เพียงสองชนิด

พบได้ ประมาณ 2% ของเพศชาย แบ่งตามชนิดของ Cone cell ที่หายไปได้ 3 ชนิดเช่นกัน อันได้แก่

a. Protanopia ขาด L-cone photopigment

b. Deuteranopia ขาด M-cone photopigment

c. Tritanopia ขาด S-cone photopigment

 

3. Achromatopsia เป็นภาวะที่การรับรู้สีไม่ได้เกิดจากการแยกสี แต่ใช้วิธีดูตามความเข้มของแสง

แบ่งได้เป็นสองชนิด ได้แก่

 a. Rod monochromatism (Achromatopsia) เป็นภาวะตาบอดสีที่การมองเห็นสีแย่

ที่สุด ไม่มี cone cell ทำงานได้เลย ไม่สามารถมองเห็นภาพสีได้ ผู้ป่วยมองเห็นภาพเป็นภาพขาวดำจากการทำงาน

ของเซลล์รูปแท่ง (Rod cell) เท่านั้น ระดับการมองเห็นลดลง อาจตรวจพบภาวะตาสั่นได้ ภาวะนี้สามารถถ่ายทอด

ทางพันธุกรรมได้ผ่านยีนด้อย (Autosomal recessive) ปัจจุบันสามารถตรวจพบยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ได้ 5 ชนิด

b. S-cone monochromatism ผู้ป่วยมีเพียง Rod cell และ Blue-cone cell ทำงาน

เท่านั้น อาการใกล้เคียงกับ Rod monochromatism แยกกันได้ด้วยวิธีการตรวจแบบพิเศษเท่านั้น

บทความโดย อ.นพ.ปริญญา สีหไตร

โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:28 น. กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน
14:22 น. เข้ม‘บัญชีวัด’! ชูศักดิ์จ่อพบ‘มส.’ ไขลาน‘พศ.’ลุย ชี้หน้าที่ไม่ได้มีแค่เรื่องพิธีกรรม
14:17 น. ฝนกระหน่ำพัทยา ‘น้ำท่วมขังหลายพื้นที่’ ส่งผลกระทบการจราจรหลายสาย
14:15 น. ละคร ‘พ่อจ๋าแม่อยู่ไหน’ ออกอากาศ 19-23 พ.ค. ทางช่องวัน31
14:10 น. ‘ป.ป.ช. ย้ำชัดส่งหนังสือเรียก‘พีระพันธุ์’รับทราบข้อกล่าวหา ชอบด้วยกฎหมาย
ดูทั้งหมด
'El Clásico2025' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง
เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
เช็คผลเลือกตั้งเทศบาลบุรีรัมย์ ‘บิ๊กเนม’พาเหรดยึดเก้าอี้นายกเทศมนตรี
ล้มช้าง! เปิดผลเลือกตั้งเทศบาล‘อุดรธานี’แชมป์เก่าร่วงระนาว จิตอาสาซิวชัยที่‘บ้านดุง’
นายกสมาคมทนาย ชี้'ทักษิณ'รักษาตัวชั้น 14 เจ้าตัวถูกจำคุกตามหมายศาลเเล้ว
ดูทั้งหมด
คุกรออยู่ถ้า‘สมศักดิ์ เทพสุทิน’วีโต้
อดีต รมต.คลังแนะว่าอย่าก้มหัวให้สหรัฐหากรัฐบาลอยู่ถึงวันเจรจา
‘สวนกระแสลิซ่าสู่ต้นธารแห่งบรรพชน’
ขยายฐาน....ภาษีมูลค่าเพิ่ม
อีโก้ทะลุเมฆ(1)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ด่วนจับแล้ว! 'บิน ควนกุน' หัวโจกฆ่าเผานั่งยาง4ศพ มือยิงอีก2รายยังหลบหนี

‘ป.ป.ช. ย้ำชัดส่งหนังสือเรียก‘พีระพันธุ์’รับทราบข้อกล่าวหา ชอบด้วยกฎหมาย

ความศักดิ์สิทธิ์แห่ง 'องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิง' พระคู่บ้านคู่เมืองลุ่มน้ำนครชัยศรี

ลุยค้น 4 จุด‘วัดไร่ขิง-กุฏิทิดแย้ม’ ขยายผลทุจริตยักยอกเงินวัด 300 ล้าน

เก่าไป ใหม่มา!! 'ไพบูลย์'เผย'ลุงป้อม'ลงนามแต่งตั้ง'ทีมเศรษฐกิจ'ดึง'คนรุ่นใหม่'ร่วม

รู้ตัวแล้ว! ชายไทยที่ถูกจับใน'ญี่ปุ่น' พบเป็นอัยการอาวุโสจันทบุรี

  • Breaking News
  • กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน
  • เข้ม‘บัญชีวัด’! ชูศักดิ์จ่อพบ‘มส.’ ไขลาน‘พศ.’ลุย ชี้หน้าที่ไม่ได้มีแค่เรื่องพิธีกรรม เข้ม‘บัญชีวัด’! ชูศักดิ์จ่อพบ‘มส.’ ไขลาน‘พศ.’ลุย ชี้หน้าที่ไม่ได้มีแค่เรื่องพิธีกรรม
  • ฝนกระหน่ำพัทยา ‘น้ำท่วมขังหลายพื้นที่’ ส่งผลกระทบการจราจรหลายสาย ฝนกระหน่ำพัทยา ‘น้ำท่วมขังหลายพื้นที่’ ส่งผลกระทบการจราจรหลายสาย
  • ละคร ‘พ่อจ๋าแม่อยู่ไหน’ ออกอากาศ 19-23 พ.ค. ทางช่องวัน31 ละคร ‘พ่อจ๋าแม่อยู่ไหน’ ออกอากาศ 19-23 พ.ค. ทางช่องวัน31
  • ‘ป.ป.ช. ย้ำชัดส่งหนังสือเรียก‘พีระพันธุ์’รับทราบข้อกล่าวหา ชอบด้วยกฎหมาย ‘ป.ป.ช. ย้ำชัดส่งหนังสือเรียก‘พีระพันธุ์’รับทราบข้อกล่าวหา ชอบด้วยกฎหมาย
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ทีมหน่วยแพทย์พระราชทานฯ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุฯ ลงพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ตรวจสุขภาพและให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชน

ทีมหน่วยแพทย์พระราชทานฯ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุฯ ลงพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ตรวจสุขภาพและให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชน

20 ธ.ค. 2561

\'การช่วยฟื้นคืนชีพ\' CPR เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกับชีวิต

'การช่วยฟื้นคืนชีพ' CPR เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกับชีวิต

18 ต.ค. 2561

CSR เพื่อสังคมกับทีมเวชศาสตร์ฉุกเฉินสอนการช่วยฟื้นคืนชีพให้ประชาชน

CSR เพื่อสังคมกับทีมเวชศาสตร์ฉุกเฉินสอนการช่วยฟื้นคืนชีพให้ประชาชน

10 ก.ย. 2561

เปิดบริการแล้ว ! ศูนย์ปัญญารักษ์สุขภาพ พร้อมตรวจเช็คสุขภาพประจำปีระดับพรีเมี่ยม

เปิดบริการแล้ว ! ศูนย์ปัญญารักษ์สุขภาพ พร้อมตรวจเช็คสุขภาพประจำปีระดับพรีเมี่ยม

30 ส.ค. 2561

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง

13 ส.ค. 2561

อาการแพ้จากแมลงสาบ

อาการแพ้จากแมลงสาบ

9 ส.ค. 2561

นักสุขศึกษาพร้อมนำทีมลงพื้นที่ ทำงานเชิงรุกรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”

นักสุขศึกษาพร้อมนำทีมลงพื้นที่ ทำงานเชิงรุกรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”

6 ส.ค. 2561

\

"ให้" เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับชีวิตผู้ป่วย ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน

25 พ.ค. 2561

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved