วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / ซอกซอนตะลอนไป
ซอกซอนตะลอนไป

ซอกซอนตะลอนไป

โดย...เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
วันอาทิตย์ ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 02.00 น.
เปิดโลกมหัศจรรย์ในคุชราฎ และ โอดิสสา (ตอน2)

ดูทั้งหมด

  •  

เสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองอาห์เมดาบาด ก็คือ การเดินเท้าชมเมืองบนเส้นทางประวัติศาสตร์  ซึ่งจะต้องเริ่มกันตั้งแต่เช้า ในขณะที่ผู้คนชาวเมืองยังไม่ค่อยพลุกพล่านตามท้องถนนนัก   หากเลย 10 โมงเช้าไปแล้ว  บนถนนจะเต็มไปด้วยแผงขายของ  และ ผู้คนที่ออกมาเดินจับจ่ายใช้สอยกันจนแทบจะไม่มีที่เดิน 

แต่เป็นความตื่นตาตื่นใจ สวยงามน่ารักไปอีกแบบ   


จุดต่อไปของการชมก็คือ  วิหารสุริยะเทพของเมืองโมเดห์รา (SUN TEMPLE OF MODHERA)  

ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู จะเคารพนับถือเทพเจ้าจำนวนมากมาย  มีการคำนวณว่า  เทพเจ้าในศาสนาฮินดูมีมากกว่า 3.3 ล้านองค์ทีเดียว  ซึ่งเมื่อคำนวณจำนวนประชากรชาวอินเดียทั้งหมดจากสถิติเมื่อสองปีที่แล้ว ประชากรชาวอินเดียมีประมาณ 1300 ล้านคน   เมื่อหักลบชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอื่นๆออกไปแล้ว  ก็จะเหลือชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูประมาณ 1 พันล้านคน

นั่นหมายความว่า  ทุกๆชาวฮินดูอินเดีย 3 คน จะมีเทพเจ้า 1 องค์คอยดูแล  ถือว่าหรูมากทีเดียว  

(พระวิษณุ  พระศิวะ และ พระพรหม 3 มหาเทพของฮินดู- ภาพจากวิกิพีเดีย)

แต่ในบรรดาเทพเจ้าหลายล้านองค์นั้น  มีเทพเจ้าหลักเพียง 3 องค์เท่านั้น ที่ยืนหยัดรองรับความศรัทธาของชาวฮินดูมานานจนถึงทุกวันนี้  ก็คือ พระศิวะ  พระพรหม  และ  พระวิษณุ

มหาเทพทั้งสามองค์มีหน้าที่แตกต่างกัน  กล่าวคือ  พระพรหม เป็นผู้สร้าง  พระวิษณุ เป็นผู้ปกครอง  ผู้รักษา และ ผู้จัดการ ในขณะที่พระศิวะ เป็นผู้ทำลาย  ซึ่งน่าจะเข้ากันกับหลักวัฎจักรของการดำเนินไปของโลก   คือ  มีการสร้าง  ดำรงอยู่ และ สลายทำลายไป

นอกจากเทพเจ้าทั้งสามองค์ที่ได้รับความเคารพจากชาวฮินดูแล้ว  เทพเจ้าอีกองค์หนึ่งที่มีความสำคัญในศาสนาฮินดูไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ  สุริยะเทพ  หรือ เทพแห่งพระอาทิตย์ (SURYA)

(สุริยะเทพ บนรถเทียมม้า 7 ตัว - ภาพจากวิกิพีเดีย)

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากตรงที่ พระอาทิตย์ มักจะได้การเคารพนับถือให้เป็นเทพเจ้าหลักในหลายๆศาสนาของโลก  เรื่อยมาตั้งแต่ ศาสนาอียิปต์โบราณ  ศาสนาโซโรแอสเทรียนจากอิหร่าน ศาสนากรีกโบราณ  ศาสนาโรมันโบราณ  ฯลฯ  เป็นต้น

(เทพอพอลโล ในศาสนากรีก ก็เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์เช่นกัน-ภาพจากวิกิพีเดีย)

อาจจะเป็นไปได้ว่า  เนื่องจากบทบาทบางอย่างของสุริยะเทพ มีความคล้ายคลึงกับพระวิษณุ  จึงทำให้มีการนับถือกันว่า  สุริยะเทพ เป็นปางหนึ่งของพระวิษณุ  ทำให้บางครั้ง สุริยะเทพได้รับการเรียกขานว่า  สุริยะ นารายัน (SURYA NARAYAN)

นารายัน แปลว่า พระนารายณ์ ซึ่งเป็นอวตานหนึ่งของพระวิษณุ

แม้ว่า  สุริยะเทพ จะได้รับการเคารพมาเป็นเวลาช้านานก็ตาม  แต่ในช่วงหลัง   จะเหลือพื้นที่ไม่มากนักในประเทศอินเดียที่ยังให้ความสำคัญกับ สุริยะเทพ  รัฐเหล่านี้ก็อาทิ  ราชสถาน , มัธยประเทศ  , พิหาร ,  อุตตระประเทศ   คุชราช  และ โอดิสสา 

สองรัฐหลังสุดก็คือ รัฐที่ผมกำลังจะพาท่านผู้อ่านไปสัมผัสกับโลกมหัศจรรย์อยู่ครับ 

(วิหารสุริยะเทพ แห่ง โมเดห์รา - ภาพจากวิกิพีเดีย)

วิหารสุริยะเทพที่มีชื่อเสียงที่สุดของรัฐคุชราฎก็คือ สุริยะวิหารที่โมเดห์รา 

รัฐคุชราฎ มีพื้นที่หลายแห่งเป็นเขตที่ค่อนข้างจะแห้งแล้ง กันดาร  จะเห็นว่า  ทางเหนือของรัฐจะมีพรมแดนติดต่อกับรัฐราชสถาน ที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย 

แต่โชคดีที่  รัฐคุชราฎอยู่ติดกับทะเล  จึงมีโอกาสได้รับอิทธิพลของลมทะเล  ที่เรียกว่า  ลมมรสุมที่นำเอาความชุ่มชื้น และ  ฝนเข้ามาบ้าง  แต่ก็ยังไม่มากเพียงพอ  ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อนในเรื่องน้ำกินน้ำใช้มาตั้งแต่ยุคโบราณ  โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน  

สถาปัตยกรรมของวิหารฮินดูส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยอาคารย่อย 2 – 3 หลัง  อันแรกจะเป็นอาคารที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปประจำวิหาร  โดยทั่วไปจะเรียกกันว่า SANCTUM SANCTORUM หรือ HOLY OF THE HOLIES ซึ่งอินเดียเรียกว่า กุดดามานดาปา(GUDHAMANDAPA)

อาคารหลังที่ 2 ที่อยู่จรงกันข้ามก็คือ อาคารสำหรับเป็นที่ชุมนุน หรือ สังสรรของผู้คนที่มากราบไหว้เทพเจ้า  และรวมถึงเป็นสถานที่ร้องรำทำเพลง  หรือ เต้นระบำเพื่อถวายแด่เทพเจ้าด้วย  อินเดียเรียกว่า ซับบามานดาปา (SABHAMANDAPA)

คำว่า  MANDAPA ก็คือคำที่ภาษาไทยเราใช้เรียกว่า  มณฑป  นั่นเอง 

วิหารหลังนี้ สันนิษฐานว่าสร้างในราวปีค.ศ. 1024 -1025 ในสมัยของกษัตริย์บิมา ที่ 1 แห่งราชวงศ์ ชัวลุคยา (BHIMA I OF CHAULUKYA DYNASTY)  เพื่อเป็นอนุสรณ์และเฉลิมฉลองชัยชนะของพระองค์ที่สามารถยับยั้งการรุกรานของกองทัพของ มาห์มุด แห่ง กาซนิ (MAHMUD OF GHAZNI) ที่ยกทัพมาจากเปอร์เชีย หรือ อิหร่านในปัจจุบัน  ที่พยายามจะขยายอำนาจเข้ามาในเมืองโมเดห์รา  รัฐคุชราฎ

จนแม้กระทั่งเมื่อ มาห์มุด แห่ง กาซนี่ สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1030  พระองค์ก็ไม่สามารถยึดครอง โมเดห์ราได้   ทั้งๆที่สามารถยึดครองแคว้นปัญจาบ ซึ่งอยู่ถัดขึ้นไปจากรัฐราชสถานได้แล้ว  

ถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของ ราชวงศ์ชัวลุคยา

สัปดาห์หน้าผมจะมาเล่าเรื่องต่อถึงรายละเอียดที่สวยงามมหัศจรรย์ของ วิหารสุริยะเทพแห่ง โมเดห์รา  ซึ่งมีอาคารเก็บน้ำใต้ดินประกอบอยู่ด้วย  ทำไมถึงต้องมีอาคารเก็บน้ำใต้ดิน  โปรดรออ่านนะครับ

สำหับท่านที่สนใจเดินทางเจาะลึก ดินแดนมหัศจรรย์ รัฐคุชราฎ และ โอดิสสา  โปรดรอสักนิดครับ  ผมเราได้วางแผนจะนำท่านไปเจาะลึกในช่วงปลายเดือนมกราคม ปีหน้า เป็นช่วงเวลาที่อากาศกำลังสบาย

แต่สำหรับท่านที่ต้องการเจาะลึก อียิปต์ 10 วัน 7 คืน ล่องเรือสำราญ 3 คืนกับผม  ซึ่งจะมีทัวร์ระหว่างวันที่ 14 – 23 พฤศจิกายน  ติดต่อได้ที่  02 651 6900 หรือ  088 578 6666 หรือ LINE ID 14092498 ทัวร์รับรองความพอใจครับ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
12:09 น. ‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน
12:03 น. เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช.
11:48 น. ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68
11:30 น. แก่นแท้ของการบวชในพระพุทธศาสนา สู่ความหลุดพ้น หรือเพียงแค่โลกียวิสัย?
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

จับ 3 พ่อค้าชาวกัมพูชาลอบข้ามแดนกลางดึก คาดพิษเศรษฐกิจชายแดนทำค้าขายไม่ได้

'ธรรมนัส'เผย ความพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง ชูนโยบายเพื่อคนฐานราก

  • Breaking News
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
  • ‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน ‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน
  • เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช. เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช.
  • ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68 ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68
  • แก่นแท้ของการบวชในพระพุทธศาสนา สู่ความหลุดพ้น หรือเพียงแค่โลกียวิสัย? แก่นแท้ของการบวชในพระพุทธศาสนา สู่ความหลุดพ้น หรือเพียงแค่โลกียวิสัย?
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน47)  หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน47) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

6 ก.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

29 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

22 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

15 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

8 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

1 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

25 พ.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved