วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / ซอกซอนตะลอนไป
ซอกซอนตะลอนไป

ซอกซอนตะลอนไป

โดย...เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
วันอาทิตย์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
จากพิธี รถะ ยาตรา ของฮินดู ย้อนกลับไปสู่พิธีโอเปต ของอียิปต์โบราณ(ตอน6-จบ)

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อเรือไม้ที่บรรจุรูปเคารพของเทพอามุน-รา ถูกนำลงไปในเรือที่ใหญ่กว่าในแม่น้ำไนล์  

เรือลำนี้จะได้รับการตกแต่งประดับประดาอย่างสวยหรู  หัวเรือ และ ท้ายเรือ จะตกแต่งเป็นรูปหัวแพะ  ซึ่งเป็นรูปลักษณ์หนึ่งของเทพอามุน-รา  มีชื่อเรียกด้วยภาษาเฮียโรกลิฟ ว่า อูเซอร์ฮัท-อามุน(USERHAT-AMUN)  ที่แปลว่า  หัวเรือที่ทรงพลัง คือ เทพอามุม


พลเรือจะโยงเชือกจากตลิ่งมาที่เรือ  แล้วค่อยๆลากเรือลำนี้ทวนน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ  จนถึงท่าเรือของวิหารลักซอร์

(ภาพในจินตนาการ นักบวชช่วยกันแบกเรือของเทพเจ้า ในขบวนแห่เรือ – ขอขอบคุณเจ้าของภาพ)

จากนั้น   บรรดานักบวชก็จะช่วยกันแบกเรือที่ประทับของเทพอามุน-รา เดินเข้าไปในวิหารลักซอร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เทพอามุน-รา จะประทับเพื่อฮันนีมูนกับมเหสีของพระองค์เป็นระยะเวลาหนึ่ง ช่วงเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตามรัชสมัยของฟาโรห์แต่ละองค์

 กล่าวคือ  ในสมัยของฟาโรห์ ธุทโมเซส ที่ 3 ปี 1458-1427 ก่อนคริสตกาล  มีการเฉลิมฉลองกันนาน 11 วัน  แต่เมื่อมาถึงสมัยของ ฟาโรห์รามเซสที่ 3 ปี 1187 ก่อนคริสตกาล พระองค์ก็ให้ขยายวันเฉลิมฉลองออกไปเป็น 24 วัน  และ ต่อมาก็ขยายออกไปเป็น 27 วัน

ที่น่าสนใจก็คือ ผู้ทำหน้าที่แบกเรือนี้ จะเป็นนักบวช กับ ฟาโรห์เท่านั้น  ชนชั้นอื่นๆของสังคมไม่มีสิทธิ์เด็ดขาด  อย่างเก่งก็ได้แต่นั่งชมขบวน  เช่น  บรรดานายทหารชั้นสูง  

ถ้าเปรียบกับสังคมของฮินดูโบราณก็คือ  ผู้มีหน้าที่ขับเคลื่อน ราชรถ จะเป็นของชนชั้นวรรณะพราหมณ์ และ  วรรณะกษัตริย์ เท่านั้น

นอกจากข้อมูลที่บอกว่า พิธีโอเปต เป็นการฮันนีมูนของเทพอามุน-รา กับมเหสีมุทแล้ว  ต่อมาก็มีแนวคิดใหม่บอกว่า  เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์โดยตรง

เพราะเมื่อขบวนเรือแห่มาถึงวิหารลักซอร์ ซึ่งฟาโรห์จะมารออยู่แล้ว  หรือ  อาจจะมาพร้อมกับขบวนแห่  ฟาโรห์ ก็จะเข้าไปในห้องประสูติ (BIRTH ROOM)  พร้อมกับเทพอามุน-รา

จากนั้นก็จะเป็นพิธี แต่งงาน ระหว่างฟาโรห์ และ เทพอามุน-รา (ยืนยันว่า พิมพ์ไม่ผิดครับ)

การแต่งงานครั้งนี้เพื่อยืนยันถึง  ความอุดมพันธุ์ของฟาโรห์  และ  เป็นการสถาปนาความเป็นผู้ปกครองอย่างถูกต้องตามกฎแห่งสวรรค์ในการปกครองอียิปต์ต่อไป คล้ายๆกับราชพิธี เฮบเสด(HEB SED) ที่กระทำกันที่ เมืองเมมฟิส  เพื่อยืนยันว่า  ฟาโรห์มีความสามารถในการปกครองแผ่นดินต่อไปอีก 30 ปี

(ฟาโรห์ รามเซส ที่ 2 ประทับอยู่ตรงกลาง ระหว่างเทพอามุน-รา กับ เทพีมุท เป็นการประกาศว่า  พระองค์มีศักดิ์ศรีเท่ากับเทพเจ้า  เพราะ  ฟาโรห์ ก็คือ บุคคลที่พระเจ้าส่งลงมาปกครองอียิปต์)

เหตุผลที่บอกว่าพิธีโอเปต เป็นการยืนยันความอุดมพันธุ์ของฟาโรห์ก็เพราะจะกระทำกันในเดือนที่ 2 ของฤดูน้ำท่วม  ซึ่งเหลือเวลาอีกประมาณ 2 เดือนก็จะเข้าสู่ฤดูเพาะปลูก  ฟาโรห์ซึ่งได้รับการเคารพว่าเป็นบุคคลที่เทพเจ้าส่งมาปกครองแผ่นดิน  ก็จะต้องเป็นผู้นำในการสร้างความมั่นใจต่อประชาชนว่า  ปีนี้ผลผลิตทางการเกษตรจะอุดมสมบูรณ์

(ขบวนแห่เรือของเทพเจ้า  เดินทางออกจากวิหารลักซอร์ ไปตามถนนสฟิงซ์ - ขอขอบคุณเจ้าของภาพจากอินเตอร์เนต)

คล้ายกับ พิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของไทยในปัจจุบันนี้

เทพอามุน-รา จะประทับอยู่ในวิหารลักซอร์จนกระทั่งถึงกำหนดวันที่ต้องกลับไปยังวิหารคาร์นัคของพระองค์  คราวนี้ขบวนเรือของอามุน-รา จะเปลี่ยนเส้นทางการเดินทาง  โดยจะเดินทางกลับทางพื้นดิน

(ถนนสฟิงซ์ ที่เริ่มต้นจากวิหารลักซอร์ ไปยังวิหารคาร์นัค)

ขบวนจะแห่แหนกันไปตามถนนสฟิงซ์ ซึ่งปัจจุบันนี้รัฐบาลอียิปต์กำลังขุดค้นบูรณะให้มีสภาพใกล้เคียงของเดิมให้มากที่สุดตลอดระยะทางเกือบ 3 กิโลเมตร และดูเหมือนจะบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมเปิดให้ประชานเดินชมได้

ระหว่างทางดังกล่าว  จะมีศาลเจ้าขนาดเล็กวางเรียงรายข้างถนนเป็นระยะๆ  ว่ากันว่า  เพื่อให้ขบวนได้มีโอกาสพัก  และ  นักบวชจะสามารถทำพิธีบูชาเทพเจ้าที่อยู่ในศาลเจ้าดังกล่าวได้

ลองหลับตานึกภาพดูนะครับว่า  บรรยากาศของการเฉลิมฉลองในยุคนั้น จะมีความคึกคัก สนุกสนานกันสักแค่ไหน  ทั้งเสียงดนตรี  และ  เสียงสวด จะช่วยทำให้ผู้มาร่วมพิธีมีความรู้สึกเหมือนได้อยู่ร่วมกับเทพเจ้าจริงๆเลยทีเดียว

ถนนสายนี้จะตัดตรงจากวิหารลักซอร์ ไปเข้าทางประตูด้านข้างของวิหารคาร์นัค  จากนั้น  เรือที่ประทับของเทพอามุน-รา ก็จะถูกแบกกลับไปประดิษฐานในห้องศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง

เป็นอันจบพิธี  และ  สิ้นสุดการฮันนีมูนของเทพอามุน-รา กับ  มเหสีมุท

ท่านผู้อ่านคงจะเห็นแนวคิดที่คล้ายกัน  พิธีกรรมที่เหมือนกันของพิธี รถะ ยาตรา ของฮินดู  กับ เทศกาลโอเปต ของอียิปต์โบราณ  ทั้งๆที่ประเทศทั้งสองอยู่ห่างไกลกันหลายพันกิโลเมตร

เป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากทีเดียว

ผู้สนใจจะเดินทางไปเที่ยวชม  อินเดีย , อียิปต์ ,  ตุรกี และ ประเทศอื่นๆที่เต็มไปด้วยอารยธรรม แบบเจาะลึกจริงๆกับผม   โปรดรอสักนิดนะครับ  เมื่อรัฐบาลเปิดให้เดินทางไปต่างประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัวในตอนกลับเข้าประเทศ  เราจะเดินทางไปด้วยกันครับ

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

ท่านผู้อ่านสามารถอ่านบทความ “ซอกซอนตะลอนไป” ย้อนหลังทั้งหมด 7 ปี  สามารถไปที่ www.whiteelephanttravel.co.th  แล้วไปที่ blog  “ซอกซอนตะลอนไป” ได้ครับ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:23 น. ยื่นลาออก'ปชป.'แล้ว! 'ดร.เอ้'ลั่นยังเดินหน้าทำงานเพื่อชาติ
09:08 น. ป่วยจริงหรือไม่!? 'ทนาย'หอบประวัติรักษา'ทักษิณ'สู้คดีชั้น 14
08:56 น. จวกเกรียนคีย์บอร์ด! 'จิรายุ'ซัดปล่อยข่าว'วธ.'ส่งคืนวัตถุโบราณให้เขมร
08:50 น. ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568
08:46 น. รู้ยัง!? 'เหี้ย'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
ดูทั้งหมด
ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ
ธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ของไทย
กลัวเลือกตั้ง?
บุคคลแนวหน้า : 4 กรกฎาคม 2568
ดวงพิฆาตสองพ่อลูก‘ทักษิณ-แพทองธาร’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

จวกเกรียนคีย์บอร์ด! 'จิรายุ'ซัดปล่อยข่าว'วธ.'ส่งคืนวัตถุโบราณให้เขมร

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568

รู้ยัง!? 'เหี้ย'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต

ผลศึกษาพบ'ฝุ่นPM'เพิ่มความเสี่ยง'มะเร็งปอด' แม้ในคนไม่สูบบุหรี่

GC ผนึกกำลัง TPBI Group ยกระดับการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยวัสดุเพื่อโลกอนาคตอย่างยั่งยืน

เปิดตัวซิงเกิลใหม่สุดน่ารัก 'ตัว Secret' จาก Kaimoooook ไข่มุก วรัทยา ดีสมเลิศ

  • Breaking News
  • ยื่นลาออก\'ปชป.\'แล้ว! \'ดร.เอ้\'ลั่นยังเดินหน้าทำงานเพื่อชาติ ยื่นลาออก'ปชป.'แล้ว! 'ดร.เอ้'ลั่นยังเดินหน้าทำงานเพื่อชาติ
  • ป่วยจริงหรือไม่!? \'ทนาย\'หอบประวัติรักษา\'ทักษิณ\'สู้คดีชั้น 14 ป่วยจริงหรือไม่!? 'ทนาย'หอบประวัติรักษา'ทักษิณ'สู้คดีชั้น 14
  • จวกเกรียนคีย์บอร์ด! \'จิรายุ\'ซัดปล่อยข่าว\'วธ.\'ส่งคืนวัตถุโบราณให้เขมร จวกเกรียนคีย์บอร์ด! 'จิรายุ'ซัดปล่อยข่าว'วธ.'ส่งคืนวัตถุโบราณให้เขมร
  • ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568 ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568
  • รู้ยัง!? \'เหี้ย\'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต รู้ยัง!? 'เหี้ย'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

29 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

22 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

15 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

8 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

1 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

25 พ.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

11 พ.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน39)  หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน39) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

4 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved