วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
ใกล้ชิด‘น้องหนู’อย่างไร... ให้ห่างไกล‘ไข้หนูกัด’

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีข่าวเผยแพร่กันในสังคมออนไลน์ที่ว่า มีหญิงสาวรายหนึ่งถูก “หนู” ที่เลี้ยงไว้กัดบริเวณมือ หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ก็แสดงอาการป่วย ด้วยอาการปวดศีรษะ มีไข้ ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อมีผื่นแดงและเป็นตุ่มนูนเป็นรอยบวมที่มือและเท้า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Streptobacillus moniliformis และ
ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้หนูกัด

หลายคนที่รักสัตว์และเลี้ยงสัตว์ตระกูลหนูเป็นสัตว์เลี้ยง ก็เกิดความวิตกกังวลว่าจะมีอันตรายหรือไม่ แล้วก็กังวลว่า นอกจากโรคฉี่หนู และโรคพิษสุนัขบ้า ที่ต้องระมัดระวังแล้ว ยังต้องระวังโรคนี้ด้วยหรือ?


วันนี้เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันครับ ผมมีข้อมูลเรื่องนี้มาฝากจากผศ.น.สพ.ดร.ภัทรรัฐ จันทร์ฉายทอง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรม จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรคไข้หนูกัดคืออะไร?

โรคไข้หนูกัด หรือ Rat bite fever เป็นโรคสัตว์สู่คน (zoonosis) ที่มีความสำคัญโรคหนึ่ง โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ค้นพบใหม่ เนื่องจากเคยมีการรายงานมาแล้วในต่างประเทศอยู่เป็นระยะ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะพบการรายงานได้ไม่บ่อย และพบได้ค่อนข้างน้อยในประเทศไทย แต่ก็อาจมีผลทำให้ผู้ป่วยแสดงอาการป่วย ตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรง จนถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที

โรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร?

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Streptobacillus moniliformis ซึ่ง “พบได้ปกติ” ในช่องปาก จมูก และทางเดินหายใจส่วนต้น
ของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู ซึ่งเป็นเชื้อประจำถิ่นที่พบได้อยู่แล้ว สัตว์ที่มีเชื้อในร่างกายจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่สามารถแพร่เชื้อได้  

สามารถพบเชื้อได้ในหนูเมาส์ หนูตะเภา เจอร์บิล แฮมสเตอร์โดยเฉพาะหนูแรท (Rat) ที่ถูกจัดว่าเป็นแหล่งรังโรคหลัก (reservoir) นอกจากนี้ยังสามารถพบในสัตว์กลุ่มอื่นๆ ได้อีก เช่น เฟอร์เรท สุนัขและแมวที่มีพฤติกรรมชอบล่าหนู ทำให้พบเชื้อนี้ในช่องปากได้

คนสามารถติดโรคนี้ได้อย่างไร?

การติดต่อจากสัตว์สู่คนนั้น มักเกิดจากการถูกหนูกัดหรือข่วนอันเป็นที่มาของชื่อโรค เชื้อโรคนี้เข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล อีกทั้งมีรายงานว่าติดผ่านทางเยื่อเมือกจากการจูบกับสัตว์ฟันแทะที่เลี้ยง เนื่องจากเชื้ออยู่ในน้ำลายของสัตว์ การกินอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากหนู

เราสามารถติดโรคนี้จากผู้ป่วยได้หรือไม่?

โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่สามารถรับเชื้อจากสัตว์ ซึ่งเจ้าของสัตว์เลี้ยงอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานกับสัตว์ฟันแทะ
เช่น ผู้ปฏิบัติงานกับหนูทดลองหรือในร้านขายสัตว์เลี้ยงชนิดเหล่านี้ รวมถึงผู้เลี้ยงสัตว์กินเนื้อที่ให้อาหารเป็นหนูแช่แข็งก็เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสรับเชื้อ

อาการของโรคที่พบในคนเป็นอย่างไร?

ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ สามารถแสดงอาการของโรคไข้หนูกัดได้ ตั้งแต่ 3 วัน ถึง 3 สัปดาห์ หลังจากมีการสัมผัสสัตว์แล้วได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย(แม้ว่าบาดแผลที่ถูกกัดจะหายแล้วก็ตาม) โดยผู้ป่วยจะแสดงอาการมีไข้แบบเป็นๆ หายๆ ปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่ายกาย เจ็บตามข้อต่อหลายตำแหน่ง พบผื่นแดงตามมือ เท้า แล้วตามด้วยการเกิดเป็นตุ่มปะทุและมีเลือดออก จากการแพร่ของเชื้อผ่านเลือดไปตามระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เสียชีวิตจากการติดเชื้อที่ระบบอวัยวะสำคัญ เช่น ปอด ลิ้นหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ในกรณีรุนแรงมีประมาณ 10% ซึ่งจัดว่าไม่สูง หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยยาต้านจุลชีพสำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

อย่างไรก็ตาม อาการของโรคมีความคล้ายคลึงกับการติดเชื้ออื่นๆ รวมถึงข้ออักเสบ ดังนั้นการให้ข้อมูลแก่แพทย์ผู้ให้การรักษา ว่ามีประวัติการสัมผัสกับสัตว์หรือถูกสัตว์ฟันแทะกัด จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการวินิจฉัยโรคนี้เนื่องจากโรคนี้พบได้ไม่บ่อยนักในประเทศไทย จึงอาจไม่ได้อยู่ในชื่อต้นๆของโรคที่น่าสงสัยหากไม่มีประวัติการสัมผัสสัตว์ดังกล่าวข้างต้น

เราควรปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคนี้อย่างไร?

จากการที่เราทราบข้อมูลของโรคนี้ จะช่วยให้เกิดความตระหนัก (แบบไม่ตระหนก) ให้แก่พวกเราผู้เลี้ยงสัตว์และผู้รักสัตว์ เพื่อเป็นการป้องกันโรค ด้วยความระมัดระวังตนเองและการมีสุขอนามัยที่ดี รวมทั้งการจับ การอุ้ม การสัมผัสสัตว์อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะกับสัตว์ที่ไม่คุ้นเคยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระวังที่จะไม่เข้าหาสัตว์ในขณะที่เขาเกิดความระแวงหรือการทำให้สัตว์ตกใจ ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ถูกสัตว์กัด อาจพิจารณาหรือหลีกเลี่ยงการหอม การจูบกับสัตว์ (โดยเฉพาะสัตว์ที่มีสุขอนามัยไม่ดี) หรือการให้สัตว์เลียบริเวณเยื่อเมือกหรือบาดแผล ก็จะช่วยป้องกันการรับเชื้อได้

การล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หลังจากสัมผัสกับตัวสัตว์ มูลสัตว์ หรือสารคัดหลั่งต่างๆ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อพบความผิดปกติของร่างกายหลังจากสัมผัสกับสัตว์แล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ และให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน เพื่อรับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างทันท่วงที

อย่าลืมนะครับว่า การปฏิบัติตนอย่างมีสุขอนามัยที่ดีในวิถีการดำรงชีวิตใหม่ หรือ New Normal เช่น การใส่หน้ากากอนามัย การกินอาหารที่ปรุงสุก การล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ การกินอาหารด้วยช้อนของเราเอง ถือเป็นการป้องกันตัวเองจากการรับเชื้อโรคต่างๆ ที่แฝงมากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ส่วนเรื่องการรู้จักอันตรายของโรคนี้ ก็จะทำให้เราได้ตระหนักถึงการดูแลตัวเอง แต่ต้องไม่ตระหนก จนถึงขนาดว่ามีการทิ้งสัตว์เลี้ยงกันนะครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ

การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ

6 ก.ค. 2568

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

14 ก.ค. 2567

‘สุนัขปากเหม็น’

‘สุนัขปากเหม็น’

7 ก.ค. 2567

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

30 มิ.ย. 2567

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

23 มิ.ย. 2567

สุนัขปากเหม็น

สุนัขปากเหม็น

16 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

9 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

2 มิ.ย. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved