วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2565, 02.00 น.
วิธีการให้ยาชนิดต่างๆแก่น้องหมาน้องแมว

ดูทั้งหมด

  •  

หลายท่านคงจะเคยประสบปัญหาในการป้อนยาสัตว์เลี้ยง บางรายป้อนสำเร็จก็ถือว่าดีไป แต่หลายรายที่ป้อนไม่สำเร็จนี่สิ คงจะเป็นเรื่องลำบากใจแน่ๆ วันนี้เรามีคำแนะนำจาก ผศ.สพ.ญ.ดร. นิภัทรา สวนไพรินทร์ และ รศ.สพ.ญ.ดร.ปิยะรัตน์ จันทร์ศิริพรชัย ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับวิธีการให้ยาแก่สัตว์เลี้ยงตามชนิดและประเภทของยามาฝากครับ

การให้ยาชนิดเม็ด


• ประคองบริเวณปากด้านล่างให้สัตว์เงยหน้าขึ้น ในขณะเดียวกันเปิดปากด้านบนของสัตว์ออกอย่างช้าๆ

• ค่อยๆ วางยาชนิดเม็ดลงที่โคนลิ้น และปิดปากของสัตว์อย่างรวดเร็ว จากนั้นลูบบริเวณลำคอเพื่อกระตุ้นให้สัตว์กลืนยา

• จับปากสัตว์ให้ปิดอยู่เช่นนั้น พร้อมกับการลูบบริเวณลำคอต่อไปเพื่อให้สัตว์กลืนยาจนหมด

• หากป้อนยาโดยตรงไม่ได้ อาจใช้วิธีซ่อนยาในอาหารหรือขนมที่สัตว์ชอบ โดยที่เมื่อป้อนคำแรกแล้วให้รีบป้อนคำที่ 2 เพื่อให้สัตว์รีบกลืนอาหารคำแรก แล้วมารอกินอาหารคำที่ 2 ก่อนที่สัตว์เลี้ยงจะรู้ว่ามียาซ่อนในอาหาร
คำแรกครับ

การให้ยาชนิดน้ำ

• อุปกรณ์ทีใช้ป้อนคือ กระบอกฉีดยา หรือ syringe นั่นเอง

•ใช้กระบอกฉีดยาดูดยาชนิดน้ำให้ได้ปริมาตรตามที่สัตวแพทย์กำหนดประคองคางให้สัตว์เงยหน้าเล็กน้อย จากนั้นป้อนโดยการสอดกระบอกฉีดยาเข้าทางข้างๆ ปากบริเวณกระพุ้งแก้มค่อยๆ โดยป้อนให้ยาเข้าไปอย่างช้าๆ ลูบคอเพื่อกระตุ้นให้กลืนเป็นระยะ

• ไม่ควรป้อนยาลงไปในลำคอโดยตรง เพราะอาจทำให้สำลักได้

หมายเหตุ : กรณีการให้ยาชนิดเม็ดและชนิดน้ำนี้ หากพบว่าเกิดปัญหาเช่น ป้อนยาไม่ได้ สัตว์กินยาได้แต่อาเจียนออกมาหมด หรือมีปัญหาอื่นใดเกิดขึ้น ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

การให้ยาหยอดตาและยาป้ายตา

• สำหรับ ยาหยอดตา ควรหยอดตาครั้งละ 1-2  หยด โดยประคองคางให้สัตว์เงยหน้าขึ้น แล้วเปิดหนังตาล่างออกเล็กน้อย จากนั้นหยอดยาลงที่ด้านในของหนังตาล่างบริเวณหัวตา

• สำหรับยาป้ายตา ให้ทำการป้ายตั้งแต่หัวตาไปทางหางตา

• ข้อควรระวังคือ อย่าให้ปลายหลอดยาสัมผัสหรือโดนลูกตาเพราะอาจเกิดอันตรายต่อกระจกตาจนเกิดการติดเชื้อได้

หมายเหตุ : เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ควรซื้อยาหยอดตามาใช้กับสัตว์ที่ไม่ได้ทำการตรวจวินิจฉัยโรคจากสัตวแพทย์เป็นอันขาด เพราะการใช้ยาไม่เหมาะสมกับโรค
ที่เป็นอาจทำให้สัตว์ตาบอดได้

ยาหยอดหู 

• อาจต้องทำความสะอาดใบหูด้านในก่อน แล้วดึงใบหูทั้ง 2 ข้างให้ตั้งขึ้น

• หยอดยาลงไปในหูให้ครบจำนวนหยดตามที่สัตวแพทย์แนะนำ

• นวดบริเวณโคนหูเบาๆ เพื่อให้ยากระจายทั่วช่องหู

หมายเหตุ : ห้ามใช้แอลกอฮอล์สำหรับล้างแผลมาเช็ดหูสัตว์เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้นได้ ทั้งนี้ ไม่ควรล้างหูบ่อยเกินไปเพราะจะทำให้หูอักเสบได้ แนะนำให้ล้างหูให้สัตว์เลี้ยงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็พอครับ

การให้ยาป้องกันเห็บ-หมัดแบบหยดบนผิวหนัง (spot-on)

• ตำแหน่งที่แนะนำให้หยดยาคือ บริเวณหลังคอ ระหว่างไหล่ทั้งสองข้าง

• หยดยาตามปริมาตรที่สัตวแพทย์แนะนำ โดยใช้นิ้วแหวกขนและหยดลงบริเวณผิวหนัง (ไม่ใช่หยดลงไปที่ขน)

• ระวังอย่าให้สัตว์เลียตัว หรือเอาหลังไปถูกับพื้น หรือถูตัวกับสัตว์ตัวอื่น จนกว่าบริเวณที่หยดจะแห้ง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง

• ก่อนใช้และหลังใช้ยาหยดบนผิวหนัง จะต้องมีระยะเวลาการงดอาบน้ำ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละผลิตภัณฑ์ยา เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามที่สัตวแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดครับ

• ให้ใช้ยา 1 หลอดต่อสัตว์หนึ่งตัว ไม่ควรแบ่งยา เพราะการแบ่งยา 1 หลอดให้สัตว์หลายตัวอาจทำให้สัตว์แต่ละตัวได้รับยาไม่ครบขนาดยาที่จะมีฤทธิ์ป้องกันเห็บ-หมัดได้

• ควรใช้ยาเป็นประจำทุกเดือนเพื่อประสิทธิผลที่ดีของยา

วิธีการเก็บรักษายาสัตว์

ในการเก็บรักษายาสัตว์นั้น มักกำหนดวิธีเก็บรักษายาไว้ที่ฉลากยาหรือเขียนระบุไว้ข้างกล่องบรรจุ โดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเก็บรักษายามีดังนี้ 

• อุณหภูมิ เก็บยาตามคำแนะนำ เช่น ถ้าระบุไว้ว่าเก็บที่อุณหภูมิห้องหมายถึง 15-25 องศาเซลเซียส เก็บในที่เย็นหมายถึง 5-15 องศาเซลเซียส เก็บในที่เย็นจัดหมายถึง 2-5 องศาเซลเซียส

• ควรเก็บยาในที่ๆ ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง เนื่องจากยาบางชนิดจะเสื่อมฤทธิ์เมื่อโดนแสง

• ควรมี สารดูดความชื้น ใส่ลงไปในภาชนะบรรจุยาที่มีฝาปิดสนิทไม่ควรแกะยาออกมาจากแผงฟอยล์ที่หุ้มยาก่อนใช้

• อายุของยา ยาบางชนิดมีอายุสั้น จะมีวันยาหมดอายุระบุไว้ที่ภาชนะบรรจุ แต่อายุยาอาจสั้นลงเมื่อมีการเปิดใช้หรือเก็บไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสม โดยทั่วไปยาน้ำมีอายุ 6 เดือนหลังเปิดใช้ สำหรับยาผงที่ต้องผสมน้ำก่อนใช้นั้น ควรใช้ยาที่ผสมแล้วให้หมดภายใน 1 สัปดาห์ และไม่ควรนำยาที่เหลือมาใช้ซ้ำ  ส่วนยาตาและยาหูส่วนใหญ่มีอายุ 1 เดือนหลังเปิดใช้

การเก็บรักษายา ขณะพาสัตว์ไปท่องเที่ยว ควรจัดเตรียมยาไปให้เพียงพอสำหรับการเดินทางในแต่ละครั้ง ระวังเรื่องอุณหภูมิภายในรถไม่ให้ร้อนจัดจนเกินไป หากเก็บยาไว้ในรถ ควรหลีกเลี่ยงการจอดรถตากแดดเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น หากต้องจอดรถตากแดดให้นำยาออกจากรถติดตัวไปด้วยครับ

“หมอโอห์ม”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:07 น. ดับฝันขาโจ๋!!! 'พิชัย'รับทบทวนเงินหมื่นเฟส 3 เซ่นพิษภาษีทรัมป์
14:03 น. ‘โฮเซ มูฮิกา’อดีตปธน.'อุรุกวัย'ผู้สมถะ ถึงแก่อสัญกรรมในวัย89ปี
13:53 น. ล่าแม่ใจยักษ์! ชายต่างด้าวเล่าเห็นกับตา 'ตัวเงินตัวเงิน'ลากซากทารกมากิน
13:46 น. สลด! พบตัวเงินตัวทองใหญ่มาก คาบ'ซากเด็ก'ในซอยกิ่งเเก้ว28
13:42 น. ด่วนที่สุด!!! ศาลรธน.สั่ง‘ทวี สอดส่อง’หยุดปฏิบัติหน้าที่ดูแล‘ดีเอสไอ’ เซ่นรับสอบ‘ฮั้วสว.’
ดูทั้งหมด
'El Clásico2025' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
'ภูมิใจไทย' แตกหัก 'เพื่อไทย' คดีฮั้ว สว.เป็นเหตุ ส่อคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบฯ 69 - ยุบสภา
เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
ดูทั้งหมด
‘อุ๊งอิ๊งค์-ทวี-สมศักดิ์’อ้าปากเรื่อง‘ป่วยทิพย์’ก็เห็นลิ้นไก่
เมื่อตกอยู่ในมุมอับ ต้องถอยออกมาเริ่มต้นใหม่
มีเรื่องให้ต้อง ‘เอ๊ะ’
ดิจิทัลวอลเล็ตและหญ้าหวาน
บุคคลแนวหน้า : 14 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘โฮเซ มูฮิกา’อดีตปธน.'อุรุกวัย'ผู้สมถะ ถึงแก่อสัญกรรมในวัย89ปี

'แม่สะเรียง-สบเมย'เตือน ปชช.เฝ้าระวังน้ำป่าหลาก ถนนลื่นห้ามรถขึ้นกลอเซโล

สลด! พบตัวเงินตัวทองใหญ่มาก คาบ'ซากเด็ก'ในซอยกิ่งเเก้ว28

โค้งสุดท้าย!บทสรุปลีกดังลูกหนังยุโรป

‘ฝนกระหน่ำพัทยา’ หลายพื้นที่น้ำท่วมขัง-ส่งผลกระทบการจราจรหลายสาย

พายุฝนถล่มซัดต้นตาล 100 ปีหักโค่นล้มพาดสายไฟ-ร้านค้าหน้าโรงพักสัตหีบพังยับ

  • Breaking News
  • ดับฝันขาโจ๋!!! \'พิชัย\'รับทบทวนเงินหมื่นเฟส 3 เซ่นพิษภาษีทรัมป์ ดับฝันขาโจ๋!!! 'พิชัย'รับทบทวนเงินหมื่นเฟส 3 เซ่นพิษภาษีทรัมป์
  • ‘โฮเซ มูฮิกา’อดีตปธน.\'อุรุกวัย\'ผู้สมถะ ถึงแก่อสัญกรรมในวัย89ปี ‘โฮเซ มูฮิกา’อดีตปธน.'อุรุกวัย'ผู้สมถะ ถึงแก่อสัญกรรมในวัย89ปี
  • ล่าแม่ใจยักษ์! ชายต่างด้าวเล่าเห็นกับตา \'ตัวเงินตัวเงิน\'ลากซากทารกมากิน ล่าแม่ใจยักษ์! ชายต่างด้าวเล่าเห็นกับตา 'ตัวเงินตัวเงิน'ลากซากทารกมากิน
  • สลด! พบตัวเงินตัวทองใหญ่มาก คาบ\'ซากเด็ก\'ในซอยกิ่งเเก้ว28 สลด! พบตัวเงินตัวทองใหญ่มาก คาบ'ซากเด็ก'ในซอยกิ่งเเก้ว28
  • ด่วนที่สุด!!! ศาลรธน.สั่ง‘ทวี สอดส่อง’หยุดปฏิบัติหน้าที่ดูแล‘ดีเอสไอ’ เซ่นรับสอบ‘ฮั้วสว.’ ด่วนที่สุด!!! ศาลรธน.สั่ง‘ทวี สอดส่อง’หยุดปฏิบัติหน้าที่ดูแล‘ดีเอสไอ’ เซ่นรับสอบ‘ฮั้วสว.’
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

14 ก.ค. 2567

‘สุนัขปากเหม็น’

‘สุนัขปากเหม็น’

7 ก.ค. 2567

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

30 มิ.ย. 2567

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

23 มิ.ย. 2567

สุนัขปากเหม็น

สุนัขปากเหม็น

16 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

9 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

2 มิ.ย. 2567

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

26 พ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved