วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 02.00 น.
‘ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง’ ลดเหลื่อมล้ำยังต้องดูอีกยาว

ดูทั้งหมด

  •  

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” นำเสนอเรื่องราวจากงานเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย” จัดโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งหากไม่มีสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ก็จะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่ โดยในปี 2563-2564 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ประกาศให้ลดหย่อนอัตราการจัดเก็บลงถึงร้อยละ 90 เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนในสถานการณ์โรคระบาดข้างต้นทั้ง 2 ระลอก

วิทยากรหลักในการเสวนา ดิษย์ มณีพิทักษ์ นักประเมินราคาทรัพย์สินชำนาญการ กรมธนารักษ์ กล่าวว่า ภาษีทรัพย์สินนั้น เดิมประเทศไทยมี “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” ซึ่งมีปัญหาซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้ที่เก็บจากค่าเช่าที่ได้รับ รวมถึงการรั่วไหลของภาษีในกระบวนการตรวจสอบค่าเช่า อาทิ การดูสัญญาเช่าหรือสอบถาม กับ “ภาษีบำรุงท้องที่” ที่ฐานภาษี(ราคาปานปลาง) ล้าสมัยและอัตราภาษีถดถอย ส่วนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มาแทนภาษีทั้ง 2 ประเภทข้างต้นนั้น จะเก็บจากที่ดิน โดยที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะเก็บมากที่สุด รองลงมาคือพาณิชยกรรม


อย่างไรก็ตาม “การยกเว้นภาษี” คือความท้าทายในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของไทย อาทิ บ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่บาทเดียว คำถามคือหากเป็นท้องถิ่นที่มีฐานภาษีไม่สูง เช่น ในชนบท แล้วยังมีการยกเว้นสูงอีกท้องถิ่นก็ยังคงต้องพึ่งพาการอุดหนุนจากรัฐบาลกลางเช่นเดิม และข้อยกเว้น 50 ล้านบาท เขียนไว้ในพระราชบัญญัติโดยตรง ทำให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ “การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำนั้นควรเก็บแบบขั้นบันได” โดยผู้ที่มีบ้านหลังเล็กๆ ที่ดินไม่มากราคาไม่แพง อาจจ่ายภาษีเพียงหลักร้อยหรือแม้กระทั่งหลักสิบบาท การกระจายรายได้ก็จะดีขึ้น

“ภาพที่เราอยากเห็นคือทุกคนต้องจ่ายภาษีกันถ้วนหน้า แต่จ่ายในปริมาณที่ไม่มาก ถ้าเกิดทุกคนต้องจ่ายภาษีให้ท้องถิ่น ก็จะทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งหน้าอาจจะมีความหมายมากขึ้น เพราะผู้บริหารท้องถิ่นเองก็จะต้องมีความรับผิดชอบกับเงินงบประมาณที่เขาได้ แล้วถ้าเกิดการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้ผลที่มากเท่าที่ควร ก็อาจจะเก็บ Capital Gains Tax หรือภาษีผลได้จากทุน เช่น นาย ก. ซื้อดินมาด้วยราคานี้ ไปแจ้งกับกรมที่ดิน แต่พอต่อมา นาย ก. ไปแจ้งว่าขายได้สูงขึ้น 10 ล้านบาท ตัวกำไร 10 ล้านบาท ก็ต้องเอามาคิดภาษี ก็จะช่วยลดการเก็งกำไรที่ดินได้ แล้วก็เอาเงินโอนจากคนที่มีทรัพย์สินมากมากระจายรายได้สู่คนที่มีทรัพย์สินน้อย” ดิษย์ กล่าว

เมื่อถามต่อไปข้อเสนอการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในลักษณะที่น่าจะลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างเห็นผล ดิษย์ มองว่า “ข้อยกเว้นควรมีให้น้อยที่สุดและยืดหยุ่นตามสถานะของคนจ่ายภาษี” เช่น การจัดเก็บภาษีที่อยู่อาศัย (Council Tax) ในอังกฤษ จะลดภาษีตามจำนวนบุตรในแต่ละครัวเรือน หรือลดให้กับคนที่กำลังศึกษาเล่าเรียน หรือลดให้กับบ้านที่อยู่อาศัยเพียงคนเดียว เป็นต้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าฐานข้อมูลที่อังกฤษละเอียดมาก ถึงขั้นรู้ว่าแฟลตห้องไหนมีห้องนอนกี่ห้อง อาทิ นักศึกษาอยู่คนเดียวในแฟลต 2 ห้องนอน จะได้รับการลดหย่อนภาษีเพียงห้องเดียว

แต่ Council Tax ในอังกฤษเองก็ยังมีปัญหา โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เมืองผู้ดี ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาลกลางส่วนหนึ่ง ที่เหลือจะเป็นการคำนวณส่วนต่างที่ อปท. ต้องการใช้ในแต่ละปีมาหักกับรายได้ที่ได้รับการอุดหนุน และเอาเงินที่ต้องการมาหักกับฐานภาษีทั้งหมดในพื้นที่ ทำให้ความต้องการรายได้ของ อปท. ในแต่ละปีไม่เท่ากัน ส่งผลให้แต่ละปีคนในท้องถิ่นนั้นจะเสียภาษีไม่เท่ากันทั้งๆ ที่ยังอยู่บ้านหลังเดิม

อีกคำถามหนึ่ง “คนที่มีภูมิลำเนาที่หนึ่ง แต่ต้องไปทำงานอีกที่หนึ่งซึ่งจำเป็นต้องซื้อที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงาน เท่ากับมีบ้านหลังที่ 2 การเก็บภาษีคนกลุ่มนี้เป็นธรรมหรือไม่” เพราะจำนวนมากเป็นการซื้อแบบผ่อนไม่ใช่เป็นเงินสด ประเด็นนี้หากมองตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการกระจายทรัพย์สิน “แต่ละคนควรมีบ้านเพียง 1 หลัง” หากจ่ายภาษีไม่ไหวก็ควรย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ที่บ้านหลังที่พักอาศัยปัจจุบันส่วนบ้านที่ภูมิลำเนาเดิมหากไม่ขายก็ควรโอนให้บุคคลอื่นแทน

“ที่ผ่านมาผมอยากให้เรามองอย่างนี้ว่า มนุษย์เงินเดือนถูกเอาเปรียบจากคนที่เป็นมหาเศรษฐี เหตุผลคือเราเก็บภาษีจากรายได้ที่เป็น Earned Income(ภาษีเงินได้) หรือจาก Labour Income (ภาษีรายได้จากแรงงาน) เยอะเมื่อเทียบกับภาษีทรัพย์สิน ศัพท์ในทางวิชาการเขาเรียกว่า Unearned Income คือเหมือนกับได้มาเฉยๆ คืออาจจะได้มรดกเป็นที่ดินพันล้านไร่ แล้วสุดท้ายเราเอาไปขายได้กำไรหรือเอาไปปล่อยเช่าแล้วนั่งกินกำไร เราก็ไม่จำเป็นต้องทำงาน

เพราะฉะนั้นถ้าเกิดการสะสมทุนที่เพิ่มมากขึ้นไปกระจุกตัวอยู่กับคนไม่กี่กลุ่ม ก็จะทำให้ยังมีคนที่ไม่ต้องทำงานก็ได้แต่มีรายได้พอ ไม่ได้เดือดร้อนอะไร แทนที่จะเอาทรัพย์สินที่กระจุกตัวมากระจายให้กับคนที่เขาอยากจะเอามาพัฒนาหรือสร้างประโยชน์ให้กับประเทศมาหารายได้ ก็จะดีกว่า เพราะฉะนั้นผมก็มองว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่ดีตัวหนึ่ง แต่โครงสร้างภาษีตอนนี้อาจจะไม่เหมาะสมกับประเทศไทยเท่าไรก็อาจจะต้องรอดูพัฒนาการต่อไป” ดิษย์ ให้ความเห็น

นักประเมินราคาทรัพย์สินผู้นี้ ยังกล่าวอีกว่า ประเด็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในสังคมไทยเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันในระยะยาว เพราะประเทศอื่นๆ ที่มีภาษีชนิดนี้มาก่อนก็ใช้เวลาพัฒนาการกันเป็นร้อยปี ไม่ใช่ว่าออกมาแล้วจะเป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับทุกอย่างอย่างไรก็ตาม การที่กำหนดให้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นรายได้ของ อปท. จะเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนตรวจสอบการใช้เงินภาษีโดยผู้บริหารท้องถิ่นมากขึ้น

การพัฒนาท้องถิ่นก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:56 น. 'บิ๊กเล็ก' ตั้ง 12 กุนซือกลาโหม 'บิ๊กเดฟ'อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมทีม-'ศักดา'นั่งหัวหน้าสำนักงาน
18:31 น. 'นัสเมียโชค'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ'นิ้ง โสภิดา' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ!
18:31 น. 'ดร.ดิเรกฤทธิ์'คาดหวัง'ศาลฎีกา-ศาล รธน.' ชี้ชะตาประเทศ 'สันติสุขหรือลุกเป็นไฟ'
18:22 น. แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี'เอม สรรเพชญ์' ลุกลามหนักด่าถึง'คุณพ่อดู๋ สัญญา'
17:58 น. วิจารณ์ยับ! 'วิรังรอง'ฟันธง 'พ่อออกโรง'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'นัสเมียโชค'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ'นิ้ง โสภิดา' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ!

'อ.ยิ่งศักดิ์'ฟาดยับ 'รัฐบาล'ทำอะไรกัน? 'ลำไย' อ.จอมทอง ดิ่งกิโลละ 1 บาท (ชมคลิป)

แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี'เอม สรรเพชญ์' ลุกลามหนักด่าถึง'คุณพ่อดู๋ สัญญา'

'ผู้นำเผด็จการเมียนมา'ตอบกลับจดหมาย'ทรัมป์' ดีใจสหรัฐฯยอมรับ-ขอบคุณสำหรับภาษีนำเข้า40%

'บิ๊กเต่า'เข้าพบสมเด็จพระราชาคณะ เสนอออกหนังสือเรียกพระในสังกัด เอี่ยว'สีกากอล์ฟ'

'พี่คนดี'ร่ายกลอนเจ็บจี๊ด! ขาประจำ จี้ใจดำคนทำเฮีย 'ตนนั่นแหละ ที่ไทยโกรธ อย่าโทษเตี่ย'

  • Breaking News
  • \'บิ๊กเล็ก\' ตั้ง 12 กุนซือกลาโหม \'บิ๊กเดฟ\'อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมทีม-\'ศักดา\'นั่งหัวหน้าสำนักงาน 'บิ๊กเล็ก' ตั้ง 12 กุนซือกลาโหม 'บิ๊กเดฟ'อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมทีม-'ศักดา'นั่งหัวหน้าสำนักงาน
  • \'นัสเมียโชค\'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ\'นิ้ง โสภิดา\' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ! 'นัสเมียโชค'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ'นิ้ง โสภิดา' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ!
  • \'ดร.ดิเรกฤทธิ์\'คาดหวัง\'ศาลฎีกา-ศาล รธน.\' ชี้ชะตาประเทศ \'สันติสุขหรือลุกเป็นไฟ\' 'ดร.ดิเรกฤทธิ์'คาดหวัง'ศาลฎีกา-ศาล รธน.' ชี้ชะตาประเทศ 'สันติสุขหรือลุกเป็นไฟ'
  • แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี\'เอม สรรเพชญ์\' ลุกลามหนักด่าถึง\'คุณพ่อดู๋ สัญญา\' แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี'เอม สรรเพชญ์' ลุกลามหนักด่าถึง'คุณพ่อดู๋ สัญญา'
  • วิจารณ์ยับ! \'วิรังรอง\'ฟันธง \'พ่อออกโรง\'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส วิจารณ์ยับ! 'วิรังรอง'ฟันธง 'พ่อออกโรง'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

12 ก.ค. 2568

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved