วันอังคาร ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
‘รู้เท่าทัน-อยู่ให้เป็น’ในยุคดิจิทัล

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว (วันที่ 18 มี.ค. 2566) “ที่นี่แนวหน้า”มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมภาพยนตร์สนทนา หัวข้อ“รู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์” ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)ถ.พุทธมณฑล สาย 5 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยเป็นการฉายภาพยนตร์สารคดี เรื่อง“The Social Dilemma” ซึ่งกิจกรรมนี้ทางหอภาพยนตร์ฯจัดร่วมกับ โคแฟค (ประเทศไทย) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ Netflix

The Social Dilemma หรือชื่อไทยคือ “ทุนนิยมสอดแนม: ภัยแฝงเครือข่ายอัจฉริยะ” ออกฉายครั้งแรกผ่านทาง Netfilx แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง (Streaming) เจ้าดัง
เมื่อปี 2563 เนื้อหาเป็นการฉายภาพพฤติกรรมผู้คนในยุคปัจจุบันที่ผูกติดกับอินเตอร์เนตและสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) แทบจะ 24 ชั่วโมง พร้อมกับมีอดีตคนทำงานในบริษัทแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายองค์กร ออกมา “แฉ” ว่าบริษัทเหล่านั้นทำอย่างไรให้ผู้คนอยู่กับสื่อสังคมออนไลน์จนเข้าขั้น “เสพติด” และยิ่งคนใช้งานมากเท่าไรบริษัทก็มีกำไรสูงขึ้นเท่านั้น แต่อีกด้านหนึ่งมันได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมหลากหลายประการ


หลังฉายภาพยนตร์จบ ยังมีกิจกรรมสนทนากับสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) และอดีตกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งพาย้อนกลับไปในยุค 1-2 ทศวรรษก่อน อันเป็นช่วงที่โลกเพิ่งรู้จักสื่อสังคมออนไลน์ เวลานั้นผู้คนมองเห็น “ความหวัง”ว่าสื่อใหม่นี้จะช่วยส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตย แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนก็ได้สัมผัสกับด้านมืดของมัน ไม่ว่าจะเป็นข่าวลวง-ข่าวบิดเบือน (Fake News-Disinformation) โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพซึ่งการเลือกเชื่ออาจส่งผลถึงชีวิต

หนึ่งในตัวอย่างที่ “คลาสสิก” ของหลายๆ คนในสังคมไทยเมื่อกล่าวถึงปัญหาข่าวลวงหรือบิดเบือนด้านสุขภาพ คือ “มะนาวโซดารักษามะเร็ง” ซึ่ง สุภิญญา เล่าว่า ตอนแรกก็ไม่เข้าใจว่าทำไมหลายคนเชื่อ กระทั่งเมื่อตนเองกลายเป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งคนไข้โรคนี้จะมีอาการปากขมเพราะฤทธิ์ยาหรือการทำคีโมบำบัด และการดื่มน้ำมะนาวโซดาก็ทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้นมาบ้าง แต่เรื่องนี้ถูกนำไป “ขยายความเกินจริง” จนมีบางคนต้องไปพบแพทย์เพราะมีอาการกรดไหลย้อน และต้นตอก็มาจากการดื่มเครื่องดื่มดังกล่าวมากเกินไป หรืออย่างช่วง 3 ปีล่าสุด ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ก็มีข่าวลวง-ข่าวบิดเบือน เรื่องการป้องกันโรคและการฉีดวัคซีน

“ข้อมูลส่วนบุคคล” ก็เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงในภาพยนตร์ The Social Dilemma ซึ่งโมเดลธุรกิจของแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ คือการมี “อัลกอริทึม (Algorithm)” หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คอยสอดส่องว่าผู้ใช้แต่ละคนดู-อ่าน หรือค้นหา (Search) ส่งต่อ (Share)แสดงความคิดเห็น (Comment) แสดงความรู้สึก (เช่น Like)เนื้อหาแบบใด จากนั้นจึงป้อนเนื้อหาทำนองเดียวกันมาให้เพื่อดึงความสนใจไม่ให้ผู้ใช้งานละจากแพลตฟอร์ม อีกทั้งเก็บเป็นข้อมูลเพื่อนำไปขายให้กับผู้ประกอบธุรกิจสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

โมเดลธุรกิจแบบนี้ของแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ ถึงกับมีผู้เปรียบเทียบว่า “ข้อมูลมีค่าเหมือนน้ำมัน” เพราะสร้างผลกำไรมหาศาล ทำให้บริษัทแพลตฟอร์มจากที่เป็นเพียงสตาร์ทอัพขยายตัวขึ้นไปเป็นองค์กรยักษ์ใหญ่ระดับที่อาจจะมีอำนาจยิ่งว่ารัฐเสียด้วยซ้ำไป นำไปสู่การที่หลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา หรือกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) มีกระแสเรียกร้องให้แพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลายดำเนินธุรกิจแบบคุ้มครองผู้บริโภคและสังคมมากขึ้น

สำหรับประเทศไทย น.ส.สุภิญญา ให้ความเห็นถึงความพยายามของรัฐบาลในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ ว่า ปัจจุบันแม้กระทั่งสื่อมวลชนก็ยังลำบากเพราะเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มกันหมด ต้องจ่ายเงินเพื่อกระตุ้นการมองเห็นของผู้ติดตามสื่อ และต้องทำเนื้อหาล่อเป้า (Clickbait) ที่ไม่มีคุณภาพเพื่อดึงให้คนเข้าไปดู ซึ่ง “เมื่อไปดูหลายประเทศจะเห็นความพยายามของรัฐในการต่อรองกับบริษัทแพลตฟอร์ม” เพื่อให้เห็นความสำคัญของนโยบายสาธารณะมากขึ้น และไทยเองก็ควรจะทำเช่นกัน

แต่ปัญหาคือ “คนไทยไม่เชื่อมั่นในรัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐ” เมื่อเทียบกับรัฐสภาของสหรัฐฯ หรือของ EU ที่เรียกแพลตฟอร์มไปเจรจาได้ ซึ่งที่ทำได้เพราะประชาชนให้ความเชื่อมั่นในระดับหนึ่งว่าจะรักษาผลประโยชน์สาธารณะไม่ใช่ปิดกั้นความคิดเห็น เพราะภาครัฐของประเทศเหล่านั้นพยายามรักษาสมดุลระหว่างความรับผิดชอบของเอกชนกับหลักการสิทธิมนุษยชน

“ในประเทศไทยเรา พอรัฐบาลหรือแม้แต่ กสทช. หรือกระทรวงดีอีเอส (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) ลุกขึ้นมาจะทำอะไรกับเฟซบุ๊กหรือติ๊กต็อก คนไทยจะไม่เชียร์รัฐบาล เพราะส่วนหนึ่งเราไม่มีความเชื่อใจในรัฐบาลว่าเขาไปทำตรงนั้นเพราะเขาจะปกป้องประโยชน์สาธารณะของเราหรือปกป้องประโยชน์ของรัฐ นี่กลายเป็นจุดอ่อนมากๆ ที่ทำให้บริษัทเหล่านี้ใหญ่ขึ้นๆ โดยที่คนไทยไม่มีอำนาจต่อรอง เพราะรัฐไม่ต่อรองให้เราที่เอาประโยชน์สาธารณะเป็นตัวตั้ง” สุภิญญา กล่าว

สุภิญญา กล่าวต่อไปว่า หน่วยงานของรัฐในไทยไม่ค่อยเอาจริงเอาจรังกับโฆษณาที่กระทบต่อผู้บริโภค แต่จะตื่นเต้นต่อเมื่อเป็นเรื่องที่กระทบต่อการเมือง ผู้มีอำนาจ ความมั่นคงของรัฐ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อินเพราะรัฐไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ภาพรวมของประเทศ แต่อย่างไรก็ต้องอาศัยบทบาทของรัฐเพราะมีอำนาจทางปกครองสามารถสั่งให้แพลตฟอร์มทำหรือไม่ทำสิ่งต่างๆ ได้ และมีมาตรการดำเนินการหากฝ่าฝืน เช่น เก็บภาษีหรือไม่อนุญาตให้ทำธุรกิจ ดังนั้นทำอย่างไรจะสร้างความเชื่อมั่นต่อภาครัฐให้ได้ก่อน แล้วให้ภาครัฐมาเป็นปากเป็นเสียงของสาธารณะ

อีกด้านหนึ่ง “ผู้ใช้งานก็ต้องรู้เท่าทัน” โดยอดีต กสทช. ผู้นี้ ฝากหลักคิด 1.เห็นเนื้อหาใดก็อย่าเพิ่งเชื่อในทันที โดยเฉพาะ “เนื้อหาที่ตรงกับความเชื่อของตัวเรา-
เนื้อหาที่เล่นกับอารมณ์ความรู้สึก” เหล่านี้ยิ่งต้องระมัดระวัง เพราะจิตคนเรามักปรุงแต่งไปก่อนและมีแนวโน้มที่จะเชื่ออย่างรวดเร็ว 2.ไม่อินกับเรื่องใดๆ มากเกินไป หรือทางศาสนาพุทธจะมีคำว่า “อุเบกขา” เพื่อให้จิตใจเปิดกว้าง มีวิธีคิดที่เผื่อใจไว้กับเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามาเสมอและ 3.เปิดรับข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อป้องกันภาวะ“ห้องเสียงสะท้อน (Echo Chamber)” หมายถึงเมื่อเราอยู่ในที่ที่ทุกคนสนใจหรือมีความเห็นในทางเดียวกัน ก็อาจทำให้เราหลงเข้าใจไปเองว่าทั้งโลกหรือทั้งสังคมคิดเหมือนกับเราทั้งหมด

ยังมีการพูดถึงในอีกหลายประเด็นเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี เช่น การให้เด็กเล็กเข้าถึงอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เนตซึ่งยังไม่ใช่วัยอันควร,
การที่พ่อแม่ผู้ปกครองถ่ายภาพหรือคลิปวีดีโอบุตรหลานตัวน้อยๆ ในทุกอิริยาบถแล้วนำไปอวดกัน ซึ่งมีข้อค้นพบว่าทำให้เด็กเข้าใจไปว่าตนเองเป็นคนที่ถูกสนใจ และมักจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตเมื่อโตขึ้นแล้วพบว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีก ไปจนถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI)ที่จะมีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ในต่างประเทศมีความตื่นตัวกันมาก แต่ในไทยยังมีค่อนข้างน้อย!!!

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:23 น. ชายชาวลาวร้อง ปปป. เอาผิดจนท.ปปส.ยึดรถยนต์ ของกลางไปขาย เหลือ 2 หมื่น
14:16 น. ‘วิษณุ’เผยคดี 112 ของ‘ลูกเกด’ว่าที่ ส.ส.ก้าวไกล พิจารณาเร็ว เป็นไปตามกฎหมายใหม่
14:16 น. หนุ่มใหญ่พะเยาเปิด'ฟาร์มกบ'เพาะลูกอ๊อดขายสร้างรายได้ปีละหลายแสนบาท
14:10 น. เสนอพระนาม'ในหลวง ร.9' ให้ยูเนสโก ประกาศยกย่อง-ร่วมเฉลิมฉลองวาระครบ 100 ปี วันพระราชสมภพ
14:09 น. เช็ครายละเอียด! พรรคร่วมตั้ง 5 คณะทำงาน ‘พท.’ชงแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ดูทั้งหมด
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ : ระหว่างวันที่ 4 ถึง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ฟันเปรี้ยง!‘จตุพร’ย้ำ‘ก้าวไกล’ตั้งรัฐบาลไม่ได้ เปิดชื่อ‘นายกฯ’ปชช.ลุกฮือ-ทหารยึดอำนาจ
กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศ คาดร่องมรสุมพาดผ่านไทย ทำฝนจะตกเพิ่มช่วง 5-10 มิ.ย.
กระบะส่งพัสดุหลับในข้ามเลนประสานงาปาเจโร่ดับคารถทั้ง 2 ฝ่าย 3 รายรับวันพระใหญ่
พรรคไหนซวย? ว่าที่ส.ส.เจอร้องสอยพุ่ง 30 คน-ปม'คะแนนเขย่ง'โผล่กระทบปาร์ตี้ลิสต์
ดูทั้งหมด
เกมหมากล้อมอาเซียน
สึนามิการเมือง
สถานการณ์ความตึงเครียดโดยรอบประเทศไทย
ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น
สหรัฐต้องผิดหวังมาก ที่รู้ว่ากัมพูชา/เมียนมาจะได้นายกฯคนใหม่ก่อนประเทศไทย
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

หนุ่มใหญ่พะเยาเปิด'ฟาร์มกบ'เพาะลูกอ๊อดขายสร้างรายได้ปีละหลายแสนบาท

‘3 พรรคเล็ก’ร้องศาลปกครอง ขอนับคะแนน‘บัญชีรายชื่อ’เป็นโมฆะ

‘อดีตกกต.’ชำแหละ 4 ข้อ ถ้า‘พิธา’ขายหุ้นไอทีวีทิ้งก่อนเลือกนายกฯ

ไปเที่ยวดำเนินสะดวกแวะชิม'หางหมู 1 หาง'ทำอาหารได้หลายเมนูที่ร้านเหลาติดดิน

เช็คอาการ‘บิ๊กตู่’ปมมีชื่อเป็นแคนดิเดตโหวตชิงนายกฯ หากพรรคอันดับ 1-2 ชวดตั้งรัฐบาล

ครบ 666 ปี'พระพุทธชินราช'ชาวพิษณุโลกแห่นำดอกบัว 16,666 ดอกถวายเป็นพุทธบูชา

  • Breaking News
  • ชายชาวลาวร้อง ปปป.  เอาผิดจนท.ปปส.ยึดรถยนต์ ของกลางไปขาย เหลือ 2 หมื่น ชายชาวลาวร้อง ปปป. เอาผิดจนท.ปปส.ยึดรถยนต์ ของกลางไปขาย เหลือ 2 หมื่น
  • ‘วิษณุ’เผยคดี 112 ของ‘ลูกเกด’ว่าที่ ส.ส.ก้าวไกล พิจารณาเร็ว เป็นไปตามกฎหมายใหม่ ‘วิษณุ’เผยคดี 112 ของ‘ลูกเกด’ว่าที่ ส.ส.ก้าวไกล พิจารณาเร็ว เป็นไปตามกฎหมายใหม่
  • หนุ่มใหญ่พะเยาเปิด\'ฟาร์มกบ\'เพาะลูกอ๊อดขายสร้างรายได้ปีละหลายแสนบาท หนุ่มใหญ่พะเยาเปิด'ฟาร์มกบ'เพาะลูกอ๊อดขายสร้างรายได้ปีละหลายแสนบาท
  • เสนอพระนาม\'ในหลวง ร.9\' ให้ยูเนสโก ประกาศยกย่อง-ร่วมเฉลิมฉลองวาระครบ 100 ปี วันพระราชสมภพ เสนอพระนาม'ในหลวง ร.9' ให้ยูเนสโก ประกาศยกย่อง-ร่วมเฉลิมฉลองวาระครบ 100 ปี วันพระราชสมภพ
  • เช็ครายละเอียด! พรรคร่วมตั้ง 5 คณะทำงาน ‘พท.’ชงแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช็ครายละเอียด! พรรคร่วมตั้ง 5 คณะทำงาน ‘พท.’ชงแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายไม่สอดคล้องชีวิตจริง  ปัจจัยเอื้อ‘ส่วย’ซื้อความสะดวก

กฎหมายไม่สอดคล้องชีวิตจริง ปัจจัยเอื้อ‘ส่วย’ซื้อความสะดวก

3 มิ.ย. 2566

‘ความรุนแรง’กับเด็กและเยาวชน

‘ความรุนแรง’กับเด็กและเยาวชน

27 พ.ค. 2566

49ปี‘กองทุนเงินทดแทน’

49ปี‘กองทุนเงินทดแทน’

20 พ.ค. 2566

เส้นทางสู่ความยั่งยืน  ทำจริงไม่ง่ายอย่างที่คิด

เส้นทางสู่ความยั่งยืน ทำจริงไม่ง่ายอย่างที่คิด

13 พ.ค. 2566

นโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ

นโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ

6 พ.ค. 2566

‘ระรานออนไลน์’ทรมานทางจิตใจ

‘ระรานออนไลน์’ทรมานทางจิตใจ

29 เม.ย. 2566

การศึกษาเพื่อเด็กหลุดระบบ

การศึกษาเพื่อเด็กหลุดระบบ

22 เม.ย. 2566

สิทธิมนุษยชนลดเหลื่อมล้ำ  ประชาสังคมฝากถึงการเมือง

สิทธิมนุษยชนลดเหลื่อมล้ำ ประชาสังคมฝากถึงการเมือง

15 เม.ย. 2566

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved