คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้กำหนดให้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นโครงการสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับนอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ชลประทาน เพิ่มแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ช่วยบรรเทาอุทกภัย และบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำที่เป็นระบบเชื่อมโยงซึ่งกันและกันครอบคลุมในทุกมิติ อันจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)กล่าวว่า สทนช.ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ได้ให้ความสำคัญกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้ร่วมเป็นคณะกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ล่าสุดพบว่า มีความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 301 โครงการ
โดยเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 189 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านน้ำ ดำเนินการเสร็จแล้วจำนวน 123 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 30 โครงการ อยู่ระหว่างขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 26 โครงการ และอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ/ขอใช้พื้นที่ จำนวน 10 โครงการ ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นกลุ่มโครงการสำคัญที่ สทนช. จะร่วมขับเคลื่อนให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
นอกจากนี้ ยังได้มีการขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จำนวน 112 โครงการ โดยได้ดำเนินการเสร็จแล้ว จำนวน 67 โครงการอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 16 โครงการ และอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม/เร่งรัดการขับเคลื่อน จำนวน 29 โครงการ
นอกจากนี้ ยังได้น้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการ “สืบสาน รักษา ต่อยอด”มาดำเนินการเชื่อมโยงกับโครงการแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริในรูปแบบการจัดการตั้งแต่ “ต้นน้ำกลางน้ำ ปลายน้ำ” โดย มุ่งเน้นการพัฒนาอาชีพของประชาชนให้เป็นไปอย่างกว้างขวางและหลากหลายมากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ในระยะแรกเป็นโครงการนำร่อง จำนวน 22 โครงการ ในห้วงระยะเวลา 3 ปี กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยในการดำเนินงานจะใช้หลัก Plan Do Check Act : PDCA ในการติดตามผลสัมฤทธิ์โครงการ
“สทนช. จะบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและการต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้แล้วเสร็จตามพระราชประสงค์ ซึ่งทุกโครงการได้อำนวยประโยชน์ ยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของราษฎร สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตลอดจนสร้างรอยยิ้มและความปีติสุขให้เกิดขึ้นกับพสกนิกรในพระองค์ และที่สำคัญได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวมของประเทศ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี