วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...นันท์วดี แดงอรุณ
ลงมือสู้โกง โดย...นันท์วดี แดงอรุณ

ลงมือสู้โกง โดย...นันท์วดี แดงอรุณ

นันท์วดี แดงอรุณ
วันพุธ ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
‘ย้ายครูกิโลละแสน’ ตำนานการทุจริตต้นทุนสูงของวงการการศึกษา

ดูทั้งหมด

  •  

เพิ่งผ่านพ้นเทศกาลโยกย้ายข้าราชการครูในช่วงต้นปีมาหมาดๆ เทศกาลที่บ่อยครั้งการโยกย้ายมักจะตามมาด้วยปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งการใช้เส้นสายเพื่อเข้าไปแทรกแซงการพิจารณาอนุมัติ การเรียกรับผลประโยชน์ในการพิจารณาที่มีข่าวลือว่ามีการเรียกรับเงินจำนวนมาก จนเกิดเป็นวลีเด็ดเมื่อนานมาแล้วว่า “ย้ายครูกิโลละแสน” คือ วัดระยะทางโรงเรียนที่ใหม่ห่างจากที่เก่ากี่กิโลเมตรก็คูณเงินจ่ายกันไป และในเมื่อขั้นตอนการโยกย้ายมีผลประโยชน์แอบแฝงเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงกลายเป็นช่องทางให้คนทุจริตเข้ามาเสนอตัวเป็นกรรมการ หรือบางคนอาจจะยอมลงทุนจ่ายเงินซื้อขายตำแหน่งเข้ามาเป็นกรรมการพิจารณาเพื่อเรียกรับผลประโยชน์จำนวนมหาศาลที่น่าจะคุ้มค่ากับการลงทุนที่จ่ายไป ซึ่งปัญหาการทุจริตเหล่านี้มาจากการขาดความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ในขั้นตอนการทำงาน หรืออาจจะเรียกได้ว่าขาดธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของวงการการศึกษา

แม้ผู้ที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการของกระทรวงศึกษาธิการจะมีความพยายามในการปฏิรูปขั้นตอนการพิจารณาโยกย้ายข้าราชการครูไม่ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งการปรับแก้องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการช่วยเหลือ หรือพิจารณากลั่นกรองงานให้แก่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ในการพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษา หรือการคาดโทษหนักกับผู้กระทำผิด เปิดช่องทางแจ้งเบาะแสถึงกระทรวงศึกษาธิการได้โดยตรง แต่ปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์ และการพิจารณาโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะขั้นตอนการพิจารณาด้วยบุคลากรฝ่ายต่างๆ อาจจะยังไม่สามารถลดการใช้ดุลยพินิจที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมได้ หรือยังไม่สามารถปิดช่องโหว่ในการเรียกรับผลประโยชน์ในขั้นตอนต่างๆ ได้


ถึงแม้การเรียกรับผลประโยชน์ หรือการทุจริตในขั้นตอนการโยกย้ายครูจะไม่เกิดเป็นข่าวดังในสังคมเท่าไรในช่วงที่ผ่านมา แต่เรียกได้ว่าเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่ามีแน่ในวงการการศึกษา ถึงขั้นที่เพจเฟซบุ๊ก “วันนั้นเมื่อฉันสอน” เพจดังของสังคมครูที่ออกมาเรียกร้องให้เกิดการแก้ปัญหาในอาชีพครูด้านต่างๆ อยู่เสมอ ผุดไอเดียป้องกันการโกงและเรียกรับผลประโยชน์ ด้วยการนำเทคโนโลยีแบบไทยแลนด์ 4.0 มาใช้ และได้นำเสนอผ่านเพจจนเป็นที่สนใจและเฝ้ารอให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้จริง เพราะทนไม่ไหวกับปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งมีขั้นตอนการใช้เทคโนโลยีมาป้องกันการทุจริต ลดการใช้ดุลยพินิจ ดังนี้ สมมุติว่าเมื่อครู “วสุ” ทำเรื่องเขียนย้าย ทำแฟ้มยื่นไปทางเขต โดยในขั้นตอนนี้ชื่อของครูวสุจะต้องถูกเข้ารหัส สมมุติเป็น 111A โดยกุญแจสร้างรหัสจะไม่มีใครรู้นอกจากโปรแกรมของระบบที่ได้ยื่นแฟ้ม (ใช้รหัสแทนชื่อครูผู้ส่งผลงานเข้ามา) เขตมีหน้าที่กรอกคะแนนให้ผู้ขอย้าย “111A” ไม่ใช่ “ครูวสุ”
เพื่อป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ โดยอาจจะมีกรรมการ 3 คน ให้คะแนนตามเอกสารที่แนบมาแล้วนำคะแนนมาเฉลี่ยกัน (โดยกรรมการได้มาจากการสุ่ม) ซึ่งคือการประเมินจากผลงานเท่านั้น ไม่ใช่ตัวบุคคล เมื่อคะแนนออกมาแล้วจะถูกส่งไปยังเขตปลายทางและเข้ารหัสอีกครั้ง สมมุติเป็น “222B” เขตปลายทางจะไม่รู้ว่า 222B คือใคร แล้วใช้ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผล คะแนนผู้ขอย้ายคนอื่น เช่น 333B 444B เทียบกันว่าใครชนะ หากคะแนนของครู “วสุ” ซึ่งคือรหัส “222B” ชนะ “ได้ย้าย” ให้ระบบแจ้งผลการดำเนินการย้ายให้กับครูวสุทราบผ่านระบบออนไลน์ แล้วให้ครูวสุเดินทางไปยังเขตพื้นที่นั้นแล้วนำ 111A ไปถอดรหัสผ่านโปรแกรมว่าใช่คนเดียวกันกับ 222B หรือไม่ (ยืนยันตัวตน) เขตปลายทางจะรู้จักครูวสุผ่านรหัสเท่านั้น และรู้ชื่อจริงในวันที่ผลย้ายสำเร็จแล้ว

โดยวิธีการนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนการใช้ดุลยพินิจที่อาจจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการพิจารณา สร้างความโปร่งใส และตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารบุคลากรอย่างแน่นอน ถึงแม้จะเป็นแนวทางที่ถูกนำเสนอจากภาคประชาชนแต่ก็น่าสนใจและมีความเป็นไปได้ในการนำไปพัฒนาต่อ ซึ่งปัจจุบันการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการป้องกัน หรือตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันมีอยู่มากมาย ทั้งระบบการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของเว็บ www.ACTAi.co ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ที่เป็นช่องทางให้เกิดการตรวจสอบในประเด็นการส่อทุจริตมาแล้วมากมาย ตั้งแต่ยุคเสาไฟกินรีที่เคยโด่งดังเป็นตำนานเมื่อปี 2564 จนล่าสุดต้นปี 2566 คือเรื่องการจัดซื้อเครื่องเล่นราคาแพงเกินจริงในหลายพื้นที่ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อเปิดช่องทางการแจ้งเบาะแสที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน อย่าง Line Chatbot @Corruptionwatch ของเพจต้องแฉ (Mustshare) ซึ่งช่วยทำให้เกิดการร่วมตรวจสอบ จับตาการทำงาน และแจ้งความผิดปกติที่อาจจะก่อให้เกิดการทุจริต นับเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

เมื่อภาคประชาชนส่งเสียง และส่งไอเดียเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันแล้ว ก็ได้แต่หวังว่าจะเกิดการนำไปเป็นแนวทางเพื่อพัฒนาให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งเพจ “วันนั้นเมื่อฉันสอน” ได้ตั้งคำถามทิ้งท้ายไว้ว่า หากไอเดียนี้ไม่ถูกนำไปพัฒนาเป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหา อาจจะเกิดมาจาก 3 สาเหตุ ได้แก่ 1) ยังมีคนที่ได้รับผลประโยชน์จากแบบเดิม 2) ล้าหลังคิดไม่ได้ และ 3) ไม่มีใครเห็นว่ามันเป็นปัญหาเพราะตัวเองไม่ได้ย้าย ผู้เขียนเองยังได้แต่หวังว่าบทความนี้จะเป็นหนึ่งเสียงที่ช่วยส่งต่อไอเดียการใช้เทคโนโลยีจากภาคประชาชนสู่การแก้ไขการเรียกรับผลประโยชน์ และการทุจริตในวงการการศึกษา ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรที่สร้างบุคลากรที่สำคัญองค์กรหนึ่งของสังคมไทย ให้สามารถสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคลากรได้อย่างโปร่งใสในสักวันหนึ่ง

นันท์วดี แดงอรุณ HAND Social Enterprise

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:23 น. ยื่นลาออก'ปชป.'แล้ว! 'ดร.เอ้'ลั่นยังเดินหน้าทำงานเพื่อชาติ
09:08 น. ป่วยจริงหรือไม่!? 'ทนาย'หอบประวัติรักษา'ทักษิณ'สู้คดีชั้น 14
08:56 น. จวกเกรียนคีย์บอร์ด! 'จิรายุ'ซัดปล่อยข่าว'วธ.'ส่งคืนวัตถุโบราณให้เขมร
08:50 น. ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568
08:46 น. รู้ยัง!? 'เหี้ย'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
ดูทั้งหมด
ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ
ธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ของไทย
กลัวเลือกตั้ง?
บุคคลแนวหน้า : 4 กรกฎาคม 2568
ดวงพิฆาตสองพ่อลูก‘ทักษิณ-แพทองธาร’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

จวกเกรียนคีย์บอร์ด! 'จิรายุ'ซัดปล่อยข่าว'วธ.'ส่งคืนวัตถุโบราณให้เขมร

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568

รู้ยัง!? 'เหี้ย'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต

ผลศึกษาพบ'ฝุ่นPM'เพิ่มความเสี่ยง'มะเร็งปอด' แม้ในคนไม่สูบบุหรี่

GC ผนึกกำลัง TPBI Group ยกระดับการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยวัสดุเพื่อโลกอนาคตอย่างยั่งยืน

เปิดตัวซิงเกิลใหม่สุดน่ารัก 'ตัว Secret' จาก Kaimoooook ไข่มุก วรัทยา ดีสมเลิศ

  • Breaking News
  • ยื่นลาออก\'ปชป.\'แล้ว! \'ดร.เอ้\'ลั่นยังเดินหน้าทำงานเพื่อชาติ ยื่นลาออก'ปชป.'แล้ว! 'ดร.เอ้'ลั่นยังเดินหน้าทำงานเพื่อชาติ
  • ป่วยจริงหรือไม่!? \'ทนาย\'หอบประวัติรักษา\'ทักษิณ\'สู้คดีชั้น 14 ป่วยจริงหรือไม่!? 'ทนาย'หอบประวัติรักษา'ทักษิณ'สู้คดีชั้น 14
  • จวกเกรียนคีย์บอร์ด! \'จิรายุ\'ซัดปล่อยข่าว\'วธ.\'ส่งคืนวัตถุโบราณให้เขมร จวกเกรียนคีย์บอร์ด! 'จิรายุ'ซัดปล่อยข่าว'วธ.'ส่งคืนวัตถุโบราณให้เขมร
  • ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568 ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568
  • รู้ยัง!? \'เหี้ย\'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต รู้ยัง!? 'เหี้ย'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

‘ย้ายครูกิโลละแสน’ ตำนานการทุจริตต้นทุนสูงของวงการการศึกษา

‘ย้ายครูกิโลละแสน’ ตำนานการทุจริตต้นทุนสูงของวงการการศึกษา

19 เม.ย. 2566

‘ระบบอุปถัมภ์’ เพื่อสร้างโอกาส หรือฉวยโอกาส

‘ระบบอุปถัมภ์’ เพื่อสร้างโอกาส หรือฉวยโอกาส

27 ก.ค. 2565

เปลี่ยนกรุงเทพฯ ใครทำได้?

เปลี่ยนกรุงเทพฯ ใครทำได้?

9 มี.ค. 2565

‘เสียงของประชาชน’ ใช้เพื่อขับเคลื่อนปัญหา หรือว่ากลายเป็นเครื่องมือ

‘เสียงของประชาชน’ ใช้เพื่อขับเคลื่อนปัญหา หรือว่ากลายเป็นเครื่องมือ

25 ส.ค. 2564

‘ลูกรัก’จุดเริ่มต้นการคอร์รัปชันในโรงเรียน

‘ลูกรัก’จุดเริ่มต้นการคอร์รัปชันในโรงเรียน

17 มี.ค. 2564

Ecosystem กับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน

Ecosystem กับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน

16 ธ.ค. 2563

‘ฉลาดเกมส์โกง’ ละครที่ไม่ได้สะท้อนแค่ตัวเรา

‘ฉลาดเกมส์โกง’ ละครที่ไม่ได้สะท้อนแค่ตัวเรา

23 ก.ย. 2563

Corruption VS. COVID-19 จุดเปลี่ยนสำคัญในการแก้ปัญหาคือ\'ประชาชน\'

Corruption VS. COVID-19 จุดเปลี่ยนสำคัญในการแก้ปัญหาคือ'ประชาชน'

13 พ.ค. 2563

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved