วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / หมุนตามทุน
หมุนตามทุน

หมุนตามทุน

วันพุธ ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
วิกฤตหนี้ครัวเรือนไทย...ส่งผ่านผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคม

ดูทั้งหมด

  •  

nn แม้ว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียรวมทั้งของไทยในปีนี้จะยังขยายตัวได้แข็งแกร่งมากกว่าภูมิภาคอื่นของโลก เนื่องได้แรงหนุนจากการบริโภคและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวขึ้นชัดเจน แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีประเด็นสำคัญที่ละเลยไม่ได้ นั่นคือเรื่องหนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งขณะนี้ขยับขึ้นไปถึง 15 ล้านล้านบาทขณะที่จีดีพีของไทยอยู่ที่ 17-18 ล้านล้านบาท และแน่นอนว่าหนี้ครัวเรือนนี้ก็จะฉุดกำลังซื้อของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจที่จะลงทุนเพิ่มหรือลงทุนใหม่ของผู้ประกอบการ

ล่าสุด บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้เผยแพร่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) เดือน มีนาคม 2566 พบว่าปรับลดลง โดยเริ่มเห็นความกังวลของครัวเรือนที่มากขึ้นต่อภาระในการชำระหนี้ท่ามกลางทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งในเดือน มี.ค. ท่ามกลางทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้เริ่มเห็นความกังวลที่มากขึ้นของครัวเรือนเกี่ยวกับภาระหนี้สิน โดยสะท้อนผ่านองค์ประกอบดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ด้านภาระในการชำระหนี้ของครัวเรือนในเดือนนี้ลดลง (กังวลเพิ่มขึ้น) อย่างมีนัยสำคัญที่ 42.3 จาก 46.8 ในเดือน ก.พ. 2566 โดยได้เริ่มเห็นความกังวลของครัวเรือนที่มีต่อประเด็นดังกล่าวตั้งแต่ในเดือน ม.ค. 2566 ซึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2565โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ที่ 1.75%ต่อปี (มติ กนง. เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2566) และพบว่าในเดือน ธ.ค. 2566 เริ่มมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของกลุ่มลูกค้ารายย่อย (MRR)โดยขณะนี้มีการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วทั้งสิ้นประมาณ 0.90% ซึ่งต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวส่งผลให้ครัวเรือนมีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะกดดันการบริโภคของครัวเรือนในอนาคต


นอกจากนี้ ในระยะข้างหน้ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. อาจยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ออีก 1 ครั้ง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะอยู่ที่ 2.00% ต่อปี ณ สิ้นปี 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการฟื้นตัวดีต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย อัตราเงินเฟ้อที่แม้ปรับลดลงเร็ว (เดือน มี.ค. 2566 อยู่ที่ 2.83% YoY) แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่อาจกลับมาผันผวนได้ และความเป็นไปได้ที่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อ ดังนั้น จากทิศทางดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในขาขึ้น คาดว่าจะยังคงกดดันดัชนี KR-ECI รวมถึงการบริโภคของครัวเรือนในระยะข้างหน้าท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้ที่สูงขึ้น โดยแม้ว่าการชะลอลงของเงินเฟ้อและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่งได้สนับสนุนมุมมองที่ดีในด้านราคาสินค้า รายได้และการจ้างงานในระยะข้างหน้า แต่ก็ไม่เพียงพอให้ครัวเรือนลดความกังวลเกี่ยวกับภาระการครองชีพได้โดยดัชนี KR-ECI ในปัจจุบัน (เดือน มี.ค. 2566) และ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงที่ 35.8 และ 37.6 จาก 36.6 และ 38.6 ในเดือน ก.พ. 2566

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สอบถามครัวเรือนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคาดการณ์การจับจ่ายใช้สอยในเดือน เม.ย. 2566 ซึ่งมีช่วงเทศกาลวันหยุดยาวของครัวเรือนว่าจะมีความแตกต่างจากเดือนก่อนหน้าหรือไม่ พบว่าครัวเรือนส่วนมาก (56%) คาดว่าจะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยมองว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้สังสรรค์กับครอบครัวและเพื่อน ขณะที่ครัวเรือนอีกจำนวนหนึ่ง (44%) คาดว่าจะไม่เพิ่มการใช้จ่ายจากเดือนก่อนหน้า โดยในจำนวนนี้ 33% ยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูง เช่น ค่าไฟขณะที่ครัวเรือนมีสาเหตุอื่นๆ ที่ส่งผลให้ไม่เพิ่มการใช้จ่ายในเดือนนี้ เช่น ต้องการเก็บออมเงินในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอนมีความกังวลว่าราคาสินค้า/บริการในช่วงเทศกาลจะปรับขึ้น เป็นต้น

โดยสรุปในระยะข้างหน้า ดัชนี KR-ECIยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างเปราะบาง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่หลากหลาย โดยการปรับลดของดัชนีในเดือนนี้สะท้อนว่า ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลต่อมุมมองที่กังวลเกี่ยวกับภาระการครองชีพของครัวเรือนที่มากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอานิสงส์จากจีนที่คาดว่าจะมีมากขึ้นหลังมีการยกเลิกมาตรการควบคุมโควิดเมื่อช่วงต้นปีที่คาดว่าจะสามารถสร้างมุมมองที่ดีเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงานของครัวเรือนได้

ต้องบอกว่าอย่างนี้ว่าหน่วยงานของไทยที่ให้ความสำคัญเรื่องนี้ครัวเรือนมากที่สุด คือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะส่งสัญญาเกี่ยวกับคามกังวลต่อเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องตลอด 2-3 ปีมานี้ และล่าสุดธปท. และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ร่วมกันสร้างสื่อเว็บไซต์รูปแบบใหม่ที่เรียกกันว่า Data Scrollytelling เรื่อง “หนี้ครัวเรือนไทย วิกฤตแค่ไหน ทำไมถึงไม่ควรมองข้าม?”

โดยในข้อเขียนดังกล่าวว่ามีเนื้อหาโดยสรุปว่า เหตุที่ใดสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยน่ากังวล เป็นเพราะเหตุผลสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1.หนี้ส่วนใหญ่ของคนไทยเป็นสินเชื่อที่อาจไม่สร้างรายได้ในอนาคต (non-productive loan) โดยข้อมูลสินเชื่อในระบบจากเครดิตบูโร ณ ไตรมาส 3 ปี 2565พบว่า 69% ของบัญชีหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมดเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ซึ่งมักเป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต และยังมีระยะผ่อนสั้นแต่ดอกเบี้ยสูง ซึ่งทำให้มีภาระผ่อนต่อเดือนที่สูงตามมา ส่วนเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (หนี้บ้าน) ซึ่งไม่ได้อยู่ในประเภทนี้ สำหรับไทย คิดเป็น 35%ของสัดส่วนมูลค่าหนี้ทั้งหมด ซึ่งต่างจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ใกล้เคียงกับไทย เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ซึ่งหนี้บ้านคิดเป็น 62% และ 73% ของมูลค่าหนี้รวมทั้งหมดของแต่ละประเทศ

ประการที่ 2.หนี้ส่วนใหญ่อยู่กับกลุ่มผู้กู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้โดย 1 ใน 5 ของคนไทยที่มีหนี้นั้น กำลังมีหนี้เสียหรือคิดเป็นกว่า 5.8 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งนี้ กลุ่มวัยเริ่มทำงาน (20-35 ปี) มีสัดส่วนสินเชื่อที่อาจไม่สร้างรายได้เป็นสัดส่วนสูงที่สุดและมีสัดส่วนของผู้กู้ที่มีหนี้เสียสูงที่สุดถึง 1 ใน 4 อีกด้วย! ซ้ำร้าย กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (debt service ratio) สูงที่สุด และสุ่มเสี่ยงที่จะชำระหนี้ไม่ได้ หรือชำระได้เพียงดอกเบี้ยหรือบางส่วน อันทำให้เป็นการยากที่จะหลุดพ้นจากวังวนปัญหาหนี้ไปได้

ปัญหาสำคัญ 2 ประการข้างต้นจะส่งผลกระทบอย่างไรนั้น ปัญหาประการแรก ภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงอาจฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพราะรายได้ส่วนใหญ่ต้องเอาไปจ่ายคืนหนี้แทนการเอาไปใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการหรือลงทุน ปัญหาประการที่สอง ยังมีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน กล่าวคือ หากลูกหนี้จำนวนมากชำระหนี้ไม่ได้พร้อมๆ กัน ก็อาจกระทบฐานะการเงินของเจ้าหนี้ ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียในวงกว้างจนกลายเป็นวิกฤตได้ ทั้งนี้ ปัญหาทั้งสองประการอาจลุกลามไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาสุขภาพจิตของลูกหนี้ ปัญหาสังคมที่คนถูกกดดันจากภาระหนี้อาจเริ่มก่ออาชญากรรม จนทำให้ชีวิตและทรัพย์สินของคนในสังคมไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ปัญหาหนี้จะยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ เพราะค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสูงขึ้นสวนทางกับรายได้ของครัวเรือนที่ลดลงตามจำนวนคนทำงานหารายได้

กระบองเพชร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:00 น. (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
17:57 น. KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
17:53 น. คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
17:50 น. ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.
17:32 น. 'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

ไม่ปล่อยให้ผ่านมือ!'รอง ผกก.สืบฯฮีโร่'ขับรถกลางดึกเจอโจรผัวเมียงัดตู้เติมเงินจับทันที

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

  • Breaking News
  • (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด \'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า\' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่ (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
  • KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
  • คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’ คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
  • ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท. ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.
  • \'DSI\'ลงนามด่วนถึง\'ผบ.ตร.-ปลัด มท.\' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว. 'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ทั่วโลกยังแห่ลงทุนทองคำ แรงซื้อจากรายย่อยไทยโตสูงสุดในอาเซียน

ทั่วโลกยังแห่ลงทุนทองคำ แรงซื้อจากรายย่อยไทยโตสูงสุดในอาเซียน

7 พ.ค. 2568

หมุนตามทุน : 200 รง.เหล็กไทยรวมพลังหนุน \'รมว.เอกนัฏ\'

หมุนตามทุน : 200 รง.เหล็กไทยรวมพลังหนุน 'รมว.เอกนัฏ'

30 เม.ย. 2568

หมุนตามทุน :  เป็นกำลังใจให้ “รมว.เอกนัฏ”ไปให้สุดซอย ก่อนที่เหล็กเตาIFจะทำลายชีวิตคนและอุตสาหกรรมไทยไปมากว่านี้

หมุนตามทุน : เป็นกำลังใจให้ “รมว.เอกนัฏ”ไปให้สุดซอย ก่อนที่เหล็กเตาIFจะทำลายชีวิตคนและอุตสาหกรรมไทยไปมากว่านี้

23 เม.ย. 2568

อุตสาหกรรมไหนของไทย...ที่เจ็บหนักเพราะ”ทรัมป์2.0”

อุตสาหกรรมไหนของไทย...ที่เจ็บหนักเพราะ”ทรัมป์2.0”

16 เม.ย. 2568

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว...ตอบโจทย์ผู้บริโภคสายกรีน

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว...ตอบโจทย์ผู้บริโภคสายกรีน

2 เม.ย. 2568

กนอ. ผนึก UNIDO ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว  รับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กนอ. ผนึก UNIDO ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว รับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

26 มี.ค. 2568

ธุรกิจไทย..หนีไม่พ้นลูกหลง‘สงครามการค้า’

ธุรกิจไทย..หนีไม่พ้นลูกหลง‘สงครามการค้า’

19 มี.ค. 2568

อุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวต่ำ ผู้รับเหมาจีนคือตัวเร่งอัตราแข่งขันให้รุนแรงมากขึ้น

อุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวต่ำ ผู้รับเหมาจีนคือตัวเร่งอัตราแข่งขันให้รุนแรงมากขึ้น

12 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved