วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / กฎ กติกา ธุรกิจ
กฎ กติกา ธุรกิจ

กฎ กติกา ธุรกิจ

รุจิระ บุนนาค
วันศุกร์ ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
เลโซโท-ลูซูทู

ดูทั้งหมด

  •  

ประเทศเลโซโท (Lesotho) มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า ลูซูทู มีชื่อเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรเลโซโท (Kingdom of Lesotho) และได้รับการขนานนามว่า อาณาจักรแห่งขุนเขา (Mountain Kingdom) เนื่องจากรายล้อมด้วย อ้อมกอดของภูเขาที่งดงาม และเป็นประเทศที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,400-1,800 เมตร จึงเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในทวีปแอฟริกา ที่มีอากาศเย็นและมีหิมะ

เลโซโทเป็นประเทศขนาดเล็ก มีพื้นที่ทั้งหมด 30,355 ตารางกิโลเมตร (11,720 ตารางไมล์) ประเทศนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่ เปรียบเสมือนไข่แดง ที่ถูกล้อมรอบด้วยไข่ขาว เพราะพรมแดน ทุกด้านของเลโซโท ถูกล้อมรอบด้วยประเทศแอฟริกาใต้ในทุกทิศ ทำให้ไม่มีทางออกสู่ทะเล เมืองหลวงคือ มาเซรู และถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด


เลโซโท มีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3

เลโซโท มีการปกครองแบบราชาธิปไตยเช่นเดียวกับอีก 3 ประเทศ ในทวีปแอฟริกาคือ ประเทศโมร็อกโก และประเทศเอสวาตีนี (เดิมเรียกว่า ประเทศสวาซิแลนด์ แต่เหตุที่เปลี่ยนชื่อประเทศเพราะ พระมหากษัตริย์ของประเทศสวาซิแลนด์ ทรงเกรงว่า คนทั่วไปจะเข้าใจสับสน กับชื่อประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่อยู่ในทวีปยุโรป)      

เดิม เลโซโท มีชื่อว่า บาซูโต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2361 โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโช ที่ 1 เป็นผู้ปกครอง ต่อมา ชนเผ่าซูลู และคนผิวขาวเข้าไปตั้งหลักแหล่งในประเทศ และถูกแอฟริกาใต้รุกราน บาซูโตจึงต้องขอรับความคุ้มครองจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร และมีฐานะเป็นรัฐในปกครองของสหราชอาณาจักร (British Protectorate of Basutoland) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้ประกาศเอกราชและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น เลโซโท และมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ 

ประชากรของประเทศเลโซโทมีประมาณ 2,000,000 คน ร้อยละ 99.7 เป็นชนเผ่าโซโท   จึงไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อชาติเหมือนหลายประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา

เลโซโท มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ทรงไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศและนิติบัญญัติ เลโซโทมีนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎร มีระบบ 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาจากการแบ่งเขตเลือกตั้ง 80 ที่นั่ง และแบบสัดส่วน 40 ที่นั่ง

เมื่อพ.ศ. 2541 พรรค Lesotho Congress for Democracy ที่แยกตัวออกมาจากพรรครัฐบาลเดิม พรรค Basutho Congress Party ได้รับการเลือกตั้งถึง 79 ที่นั่ง จาก ทั้งหมด 80 ที่นั่ง ได้มีการประท้วงผลการเลือกตั้งและชุมนุมลุกลามยืดเยื้อ จนต้องขอความช่วยเหลือจาก ประเทศสมาชิกสมาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ จนมีการส่งกำลังทหารจากแอฟริกาใต้และบอตสวานาจำนวน 3,500 คนเข้ามาควบคุมสถานการณ์ ได้มีการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งทางการเมืองและได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ 

ประเทศไทยและเลโซโทได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยประเทศไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย แอฟริกาใต้ มีเขตอาณาครอบคลุมเลโซโท และเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำเลโซโทอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย 

เดิมเลโซโทได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตเลโซโทณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยแต่ปัจจุบันได้ปิดทำการไปแล้ว ขณะนี้เลโซโทมีกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย ที่เป็นนักธุรกิจชาวไทย

ประชากรส่วนใหญ่ของเลโซโท ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม และการเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการถักทอผ้า

แต่สินค้าส่งออกที่สำคัญ และน่าสนใจของเลโซโทคือ น้ำ ที่ถือเป็นทรัพยากรของประเทศ เลโซโทส่งออก สินค้าที่เป็นน้ำ ให้แก่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะเมืองโยฮันเนสเบิร์ก ที่เป็นเมืองหลวงของประเทศแอฟริกาใต้ โดยผ่านอุโมงค์ส่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีความยาวเกือบ 50 กิโลเมตร

นอกจากนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญของเลโซโทคือเพชร ในเลโซโทจึงมีการทำเหมืองแร่ เพชร ที่ได้สัมปทานจากรัฐบาล หลายเหมือง ในพื้นที่ที่เป็นภูเขา และเส้นทางธุรกันดารมาก

การทำเมืองแร่เพชรดังกล่าว จะใช้วิธีเปิดหน้าดินภูเขา และร่อนหาเพชร แต่เมื่อเปิดดินภูเขาลึกลงไปในพื้นดินมากๆ จะมีน้ำไหลเข้ามาแทนที่ กลายเป็นแหล่งน้ำและไม่สามารถร่อนหาเพชรได้อีก ทั้งที่ยังมีเพชรอยู่ในเหมือง ทำให้ต้องเปิดดินภูเขาในพื้นที่อื่นถัดไปกลายเป็นเหมืองแห่งใหม่

การทำเหมืองเพชรในเลโซโท ถือว่าประสบความสำเร็จมากและเคยมีการขุดพบเพชรขนาดใหญ่น้ำหนักถึง 129 กะรัต ซึ่งถือว่าเป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่ระดับโลก

เลโซโทไม่ได้เจียระไนเพชรเอง แต่จะส่งเพชรที่ขุดมาได้จากในประเทศ เพื่อนำไปเจียระไนในต่างประเทศ ทั้งๆ ที่เลโซโท มีเหมืองเพชรและเพชรซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก และประชากรกลับอยู่ในฐานะที่ยากจน ไม่ได้ร่ำรวยตามไปด้วย ซึ่งทำให้น่าสงสัยว่า รายได้จากการส่งออกเพชร ไปอยู่ที่ไหน

ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ ประเทศจีนได้ให้ความสำคัญแก่เลโซโท โดยได้ให้ความช่วยเหลือหลายประการ เช่น การสร้างถนน และสิ่งอำนวยความสะดวกหลายประการ ซึ่งให้ความช่วยเหลือในลักษณะเดียวกันนี้กับอีกหลายประเทศในแถบทวีปแอฟริกา ราวกับว่ากำลังสร้างอิทธิพลในภูมิภาคแถบนี้

เลโซโทมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจทางธรรมชาติ ที่น่าสนใจจึงมีนักท่องเที่ยวอยากเข้ามาท่องเที่ยวในเลโซโท ซึ่งรวมทั้งนักท่องเที่ยวไทยด้วย ในขณะเดียวกัน เลโซโทเริ่มมีนโยบายอยากจะเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวคนไทยที่จะเข้าเลโซโทจะต้องทำเรื่องขอวีซ่า เดิมจะต้องยื่นขอวีซ่าที่สถานเอกอัครราชทูตเลโซโท ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ แต่เมื่อสถานเอกอัครราชทูตเลโซโทปิดไปนักท่องเที่ยวไทยจึงต้องยื่นขอวีซ่าผ่านสถานกงสุลกิตติมศักดิ์เลโซโทประจำประเทศไทย ซึ่งจะต้องประสานไปยัง กระทรวงมหาดไทย ประเทศเลโซโทอีกที แต่การดำเนินการล่าช้ามาก เพราะต้องให้รัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติวีซ่าอีกขั้นหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถประทับตราวีซ่าในหนังสือเดินทางได้

นักท่องเที่ยวไทยที่จะเข้าเลโซโท เมื่อเดินทางออกจากประเทศไทยแล้ว ต้องไปรออยู่ประเทศอื่นที่ติดกันเพื่อให้รัฐมนตรีมหาดไทยเลโซโทเป็นผู้อนุมัติก่อน จึงจะเดินทางเข้าเลโซโทได้ ขั้นตอนนี้ใช้เวลารออยู่หลายวัน

เมื่อนักท่องเที่ยวไทยเดินทางถึงเลโซโท และผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองแล้ว นักท่องเที่ยวไทยยังจะต้องไปรายงานตัวที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเลโซโทอีก ยื่นเอกสารทำเรื่องเพื่อขอชำระเงิน เมื่อชำระเงินแล้วจึงมีสิทธิ์ยื่นหนังสือเดินทางเพื่อให้ประทับตราวีซ่าลงในหนังสือเดินทางอีกครั้งหนึ่ง ขั้นตอนนี้ใช้เวลารอหลายชั่วโมงหมดไปเกือบหนึ่งวัน 

ขั้นตอนอันยุ่งยากนี้ ทำให้นักท่องเที่ยวไทยต้องลดเวลา จำนวนวันหลายวันที่จะท่องเที่ยวในเลโซโทลง ทั้งที่เลโซโท น่าจะมีโอกาสได้รับเงินเข้าประเทศจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ความยุ่งยากนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่นักท่องเที่ยวไทยประเทศเดียว แต่ยังเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวอีกหลายประเทศด้วย

จึงสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกัน จากการอยากให้นักท่องเที่ยวเข้าเลโซโท แต่ไม่อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวในการเข้าประเทศ

เลโซโทน่าจะมีนโยบายที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้สะดวกขึ้น เพื่อทำให้เกิดรายได้แทนที่จะสร้างเงื่อนไขและขั้นตอนจนทำให้ไม่มีชาวต่างชาติที่เป็นนักท่องเที่ยวเข้าเลโซโท 

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย จะเห็นว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญของการสร้างเศรษฐกิจโดยส่งเสริมการท่องเที่ยวและสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้าประเทศไทย

นักท่องเที่ยวต่างประเทศหลายประเทศมีสิทธิเข้าประเทศไทยโดยไม่ต้องมีวีซ่า ถ้าจะอยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 30 วัน สามารถใช้ Visa on Arrival (VOA) ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติสร้างรายได้ให้กับประเทศ 

ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติท่านใดที่ประสงค์จะอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 30 วัน ก็สามารถที่จะขอวีซ่าท่องเที่ยวที่สถานทูตไทยในประเทศนั้นๆ ซึ่งจะได้วีซ่า 30 วัน และสามารถที่จะต่อวีซ่าได้อีก 30 วัน เมื่อเข้ามาในประเทศไทย จึงสามารถอยู่ได้ 60 วัน

หากเจ้าหน้าที่และข้าราชการเลโซโท ได้มีโอกาสมาเยี่ยมดูงานและท่องเที่ยวในประเทศไทย กลับไปนำวิธีการของประเทศไทยไปใช้เลโซโทน่าจะมีเศรษฐกิจดีมากกว่านี้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:00 น. (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
17:57 น. KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
17:53 น. คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
17:50 น. ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.
17:32 น. 'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

ไม่ปล่อยให้ผ่านมือ!'รอง ผกก.สืบฯฮีโร่'ขับรถกลางดึกเจอโจรผัวเมียงัดตู้เติมเงินจับทันที

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

  • Breaking News
  • (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด \'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า\' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่ (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
  • KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
  • คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’ คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
  • ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท. ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.
  • \'DSI\'ลงนามด่วนถึง\'ผบ.ตร.-ปลัด มท.\' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว. 'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย

ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย

9 พ.ค. 2568

ปัญหาพยาบาลไต กับกฎระเบียบใหม่ของสภาการพยาบาล

ปัญหาพยาบาลไต กับกฎระเบียบใหม่ของสภาการพยาบาล

2 พ.ค. 2568

ท่าเรือคลองเตย-กาสิโน-ทายาททวงคืนที่ดิน

ท่าเรือคลองเตย-กาสิโน-ทายาททวงคืนที่ดิน

25 เม.ย. 2568

โรงแรมเถื่อน คอนโดฯให้เช่ารายวัน

โรงแรมเถื่อน คอนโดฯให้เช่ารายวัน

17 เม.ย. 2568

โอนหุ้นนายกฯนิติกรรมอำพราง?

โอนหุ้นนายกฯนิติกรรมอำพราง?

11 เม.ย. 2568

แผ่นดินไหว ตึก สตง. ถล่ม ไม่ต้องรับผิด?

แผ่นดินไหว ตึก สตง. ถล่ม ไม่ต้องรับผิด?

4 เม.ย. 2568

ซื้อหนี้ประชาชน ขายฝันอีกแล้ว

ซื้อหนี้ประชาชน ขายฝันอีกแล้ว

28 มี.ค. 2568

คานถล่ม ถนนพระราม 2 (อีกแล้ว)

คานถล่ม ถนนพระราม 2 (อีกแล้ว)

21 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved