วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / พบหมอ...มศว
พบหมอ...มศว

พบหมอ...มศว

พบหมอ...มศว
วันศุกร์ ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559, 10.35 น.
ศัพท์แสงในโรงหมอ (ตอนที่ 3)

ดูทั้งหมด

  •  

ฉบับนี้จะนำท่านไปรู้จักกับคำศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ ”ห้อง” และ “หอผู้ป่วย” ที่ให้การดูแลรักษาโรคที่มีความซับซ้อน  ซึ่งต้องอาศัยทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

“ห้องผ่าตัด” หรือที่เราอาจจะได้ยินว่า “OR” ซึ่งย่อมาจาก Operating Room  ถือเป็นหน่วยงานที่มีระบบรักษาความสะอาดระดับสูงของโรงพยาบาล ทุกคนที่ก้าวเข้ามาในห้องนี้ไม่ว่าแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ หรือผู้ป่วย  ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้าซึ่งจัดเตรียมไว้เฉพาะ อีกทั้งยังต้องสวมหมวกและหน้ากากเพื่อป้องกันปนเปื้อนและการติดต่อของเชื้อโรคผ่านทางการหายใจหรือน้ำลายในขณะผ่าตัด โครงสร้างภายในมีระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อลดโอกาสการเชื้อของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ยกตัวอย่างเช่น ผนังกั้นจะมีความหนาและจำนวนชั้นมากกว่าห้องอื่น ระบบระบายอากาศพิเศษให้อากาศไหลออกเพียงด้านเดียว ป้องกันการปะปนของเชื้อโรคและอากาศจากภายนอก เป็นต้น เตียงผ่าตัดจะถูกจัดวางอยู่ตรงกลางซึ่งถือเป็นส่วนสะอาดที่สุดของห้อง ท่านอาจคิดว่าเตียงผ่าตัดจะคล้ายกันกับเตียงนอนในหอผู้ป่วย แท้จริงแล้วเตียงผ่าตัดมีความกว้างราวหนึ่งเมตร เพียงแค่คนหนึ่งคนนอนได้ (แบบนอนนิ่งๆ) เท่านั้น ขยับดิ้นคงตกเตียงเป็นแน่ แต่ไม่ต้องนอนตัวเกร็งกลัวตกเตียงอยู่นะครับ เพราะเราจะมีอุปกรณ์พิเศษสำหรับยึดตัวผู้ป่วยไว้กับเตียงอย่างแนบแน่นและปลอดภัย  ขณะนอนบนเตียงภาพที่ท่านจะได้เห็นตรงหน้าคือโคมไฟขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยหลอดไฟจำนวนมากที่ให้แสงสว่างมากเป็นพิเศษ นับเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นบริเวณที่ทำการผ่าตัดชัดแจ๋วเลยทีเดียว


หลายครั้งผู้ป่วยหรือญาติถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลว่าห้องผ่าตัดหรือ OR ไปทางไหน แล้วได้รับคำถามกลับมาว่าห้องผ่าตัด (OR) ใหญ่หรือเล็ก ผมก็แอบเห็นผู้คนเหล่านั้นทำหน้าเหวอหรือมึนกลับมา เค๊าคงคิดในใจว่าอะไรนักหนาเนี่ยแล้วจะรู้ได้ไงหล่ะ วันนี้เราจะมาตอบปัญหานี้ด้วยกันนะครับ โรงพยาบาลจะจัดแบ่งห้องผ่าตัดออกตามชนิดของโรคที่ได้รับการรักษา (ไม่ใช่ขนาดห้อง) การผ่าตัดอวัยวะหลักๆของร่างกายจะทำในห้องผ่าตัดใหญ่ คำอธิบายที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นภาพที่ทีมแพทย์และพยาบาลทำการผ่าตัดหัวใจ ช่องท้อง กระดูก หรือสมองให้กับพระเอกหรือนางเอกในละครหรือภาพยนตร์ ส่วนการผ่าตัดย่อยๆ เช่น ผ่าฝีที่ขา เย็บแผล ตัดก้อนเนื้อขนาดเล็กที่ผิวหนังจำพวกไฝหรือติ่งเนื้อต่างๆ จะทำให้ห้องผ่าตัดเล็ก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรือบุคลากรจำนวนมากเท่าการผ่าตัดใหญ่

อีกหน่วยงานหนึ่งที่อยากให้ท่านได้รู้จักคือ “หอผู้ป่วยวิกฤต” โดยการเรียกทับศัพท์ที่ง่ายและคุ้นชินของทุกๆคนคือ I.C.U. ซึ่งย่อมาจาก Intensive Care Unit  หน่วยงานนี้จะรับผู้ป่วยมีปัญหาวิกฤตหรือเป็นโรคที่รุนแรงและต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ความดันโลหิตต่ำ ภาวะล้มเหลวของระบบต่างๆในร่างกายเช่น การหายใจ หัวใจ ไต โรงพยาบาลขนาดใหญ่บางแห่งมีการแบ่งICU ย่อยลงไปเพื่อให้การดูแลในระบบที่จำเพาะลงไป เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด; CCU (Coronary Care Unit) หรือ CICU (Cardiac Intensive Care Unit), ระบบหายใจ (RCU: Respiratory Care Unit) เป็นต้น ในส่วนของผู้ป่วยเด็กนอกเหนือจากการแบ่งตามการดูแลตามระบบของร่างกายแล้วนั้น ยังมีการแบ่งออกตามช่วงอายุของผู้ป่วยเป็นหอผู้ป่วยวิกฤตสำหรับเด็ก (PICU: Pediatric Intensive Care Unit) ซึ่งจะดุแลรักษาผู้ป่วยเด็กอาการหนักที่มีอายุมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป และหอผู้ป่วยวิกฤตสำหรับทารกแรกเกิดวิกฤต ( NICU: Neonatal Intensive Care Unit)  ที่แผนกนี้ทารกทีมีความเจ็บป่วยรุนแรงส่วนหนึ่งจะถูกจัดให้นอนในตู้อบซึ่ง เรามักเรียกว่า “ตู้อบเด็ก” ตู้นี้มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Incubator” หน้าตาและชื่ออาจจะละม้ายคล้ายกับเตาอบอาหาร แต่อย่าสับสนนะครับเพราะจุดประสงค์ทางการแพทย์มิได้จะอบเด็กให้สุกเพื่อปรุงเหมือนอาหาร แต่ตู้นี้ทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง อัตราการไหลเวียนของอากาศภายใน ตลอดจนทำให้เด็กปลอดภัย จากการติดเชื้อ

อีกหน่วยงานสำคัญที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวาย (ไตไม่ทำงาน) ดีขึ้น คือ “หน่วยไตเทียม” (Dialysis Unit) หมายถึงหน่วยงานที่ให้บริการล้างไต ซึ่งเป็นกระบวนการทำเพื่อนำของเสียที่ร่างกายผู้ป่วยซึ่งไม่สามารถกำจัดออกทางไตได้เหมือนคนทั่วไป มีอยู่ด้วยกันสองวิธี  คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) และการล้างไตผ่านทางช่องท้อง  ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดนั้นจะได้รับการวางสายหลอดเลือดเทียม ตรงตำแหน่งหลอดเลือดดำใหญ่ด้านข้างลำคอหรือบริเวณขาหนีบ หรือผ่าตัดต่อเส้นเลือดที่แขนพื่อเป็นทางนำเลือดมาฟอกล้างของเสียด้วยเครื่องไตเทียมและนำเลือดกลับเข้าไปยังร่างกายใหม่ ส่วนการล้างไตทางช่องท้องจะมีนำน้ำยาล้างไตไหลผ่านท่อที่มีการฝังบริเวณใต้สะดือผ่านไปยังด้านในของช่องท้อง ของเสียมีการซึมซับผ่านหลอดเลือดและเยื่อบุช่องท้องออกมาผสมในน้ำยา จากนั้นแพทย์จะทำการปล่อยน้ำยาออกมาทางท่อเดิมเพื่อนำเอาของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งการรักษาทั้งสองวิธีนี้มีส่วนสำคัญในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและยังช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายดีขึ้นทั้งในระยะฉับพลันและระยะยาว

คำเรียก คำแปล และคำย่อที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “ศัพท์แสงในโรงหมอ” ซึ่งการบอกเล่าให้กันฟังที่ผ่านมาทั้งสามตอนนี้เป็นไปด้วยเจตนาที่หวังจะให้เกิดประโยชน์ให้แก่บุคคลทั่วไปได้มีความเข้าใจศัพท์ในส่วนที่พบเจอได้บ่อยมากขึ้น ซึ่งอาจสร้างความมึนคงและสับสนอยู่บ้าง แต่ในฐานะที่ผมเป็นหนึ่งในบุคคลากรทางการแพทย์ ผมมีความเชื่อมั่นว่าบุคลาการทางการแพทย์ทุกคนมีเจตนาให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุด และยินดีที่จะให้คำอธิบายรายละเอียดในข้อสงสัยของผู้ป่วย ฉะนั้นเมื่อท่านมาโรงพยาบาลท่านอย่าได้ลังเลที่จะถามข้อสงสัย และอย่าได้นำความฉงนสงสัยนั้นติดตัวกลับบ้านไปนะครับ

ผมเล่าเรื่องนี้มายาวถึงสามตอนหวังว่าคงเกิดประโยชน์กับท่านผู้อ่าน มีโอกาสหน้าคงได้เจอกันอีก....

นพ.ฉัตรชัย กรีพละ

อายุรแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มศว

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ ผ่าน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ มศว

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เลขที่บัญชี 283-212990-9

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:15 น. ‘โฆษก DSI’ประชุมทีมสอบสวนคดี‘ตึก สตง.’ถล่ม จ่อสรุปสำนวน‘นอมินี’สิ้น พ.ค.นี้
14:10 น. อดีตประธาน CNPC ไม่รอด ศาลจีนสั่งจำคุก 13 ปี คดีรับสินบน
14:06 น. บวชแล้วกิเลสยังหนา! ยักยอกเงินวัดแทงบาคาร่าสะเทือนภาพลักษณ์ ความเสื่อมศรัทธาครั้งใหญ่
14:04 น. กทม.สร้างทักษะป้องกัน-แก้ปัญหายาเสพติด อาสาสมัครรุ่น 1
14:02 น. (คลิป) เปิดคลิปต้นเรื่อง!! สส.กฤษฏิ์ ขอเข้าเฝ้า 'ในหลวง' กลางสภา
ดูทั้งหมด
'El Clásico2025' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง
'ภูมิใจไทย' แตกหัก 'เพื่อไทย' คดีฮั้ว สว.เป็นเหตุ ส่อคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบฯ 69 - ยุบสภา
เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
เช็คผลเลือกตั้งเทศบาลบุรีรัมย์ ‘บิ๊กเนม’พาเหรดยึดเก้าอี้นายกเทศมนตรี
ล้มช้าง! เปิดผลเลือกตั้งเทศบาล‘อุดรธานี’แชมป์เก่าร่วงระนาว จิตอาสาซิวชัยที่‘บ้านดุง’
ดูทั้งหมด
นิยามของสงครามคือความพ่ายแพ้
มีจีนสีเทา ก็เพราะมีไทยเป็นสีเทา
ชิงเมืองหลวงคืนมา
G-Token ช่องทางกู้เงินของรัฐบาล ทางสะดวก หรือทางเลี่ยง?
บุคคลแนวหน้า : 15 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘โฆษก DSI’ประชุมทีมสอบสวนคดี‘ตึก สตง.’ถล่ม จ่อสรุปสำนวน‘นอมินี’สิ้น พ.ค.นี้

(คลิป) เฮงซวย!! 'รมว.คลัง' 5 ข้อแลกเปลี่ยน'อเมริกา' 'เกษตรกรไทย'เตรียมหายนะได้เลย

‘สังศิต’ส่อง 5 ความคิดและปรัชญา ความแตกต่างของ‘ทรัมป์ VS สี จิ้นผิง’

‘อาร์เจนตินา’งัดยาแรงจัดระเบียบต่างชาติ เคยทำผิดห้ามเข้า-ต้องแสดงประกันสุขภาพ

คุกคืนแรก!!! 'สจ.กอล์ฟ-ลูกน้อง'นอนรวมแดนกักโรค สั่งคุมเข้มป้องกันสร้างอิทธิพล

‘พลทหารไรเดอร์’ปฏิเสธกลับหน่วยอุดรธานี แม้‘ทอ.’รับรองความปลอดภัย

  • Breaking News
  • ‘โฆษก DSI’ประชุมทีมสอบสวนคดี‘ตึก สตง.’ถล่ม จ่อสรุปสำนวน‘นอมินี’สิ้น พ.ค.นี้ ‘โฆษก DSI’ประชุมทีมสอบสวนคดี‘ตึก สตง.’ถล่ม จ่อสรุปสำนวน‘นอมินี’สิ้น พ.ค.นี้
  • อดีตประธาน CNPC ไม่รอด ศาลจีนสั่งจำคุก 13 ปี คดีรับสินบน อดีตประธาน CNPC ไม่รอด ศาลจีนสั่งจำคุก 13 ปี คดีรับสินบน
  • บวชแล้วกิเลสยังหนา! ยักยอกเงินวัดแทงบาคาร่าสะเทือนภาพลักษณ์ ความเสื่อมศรัทธาครั้งใหญ่ บวชแล้วกิเลสยังหนา! ยักยอกเงินวัดแทงบาคาร่าสะเทือนภาพลักษณ์ ความเสื่อมศรัทธาครั้งใหญ่
  • กทม.สร้างทักษะป้องกัน-แก้ปัญหายาเสพติด อาสาสมัครรุ่น 1 กทม.สร้างทักษะป้องกัน-แก้ปัญหายาเสพติด อาสาสมัครรุ่น 1
  • (คลิป) เปิดคลิปต้นเรื่อง!! สส.กฤษฏิ์ ขอเข้าเฝ้า \'ในหลวง\' กลางสภา (คลิป) เปิดคลิปต้นเรื่อง!! สส.กฤษฏิ์ ขอเข้าเฝ้า 'ในหลวง' กลางสภา
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ทีมหน่วยแพทย์พระราชทานฯ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุฯ ลงพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ตรวจสุขภาพและให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชน

ทีมหน่วยแพทย์พระราชทานฯ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุฯ ลงพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ตรวจสุขภาพและให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชน

20 ธ.ค. 2561

\'การช่วยฟื้นคืนชีพ\' CPR เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกับชีวิต

'การช่วยฟื้นคืนชีพ' CPR เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกับชีวิต

18 ต.ค. 2561

CSR เพื่อสังคมกับทีมเวชศาสตร์ฉุกเฉินสอนการช่วยฟื้นคืนชีพให้ประชาชน

CSR เพื่อสังคมกับทีมเวชศาสตร์ฉุกเฉินสอนการช่วยฟื้นคืนชีพให้ประชาชน

10 ก.ย. 2561

เปิดบริการแล้ว ! ศูนย์ปัญญารักษ์สุขภาพ พร้อมตรวจเช็คสุขภาพประจำปีระดับพรีเมี่ยม

เปิดบริการแล้ว ! ศูนย์ปัญญารักษ์สุขภาพ พร้อมตรวจเช็คสุขภาพประจำปีระดับพรีเมี่ยม

30 ส.ค. 2561

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง

13 ส.ค. 2561

อาการแพ้จากแมลงสาบ

อาการแพ้จากแมลงสาบ

9 ส.ค. 2561

นักสุขศึกษาพร้อมนำทีมลงพื้นที่ ทำงานเชิงรุกรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”

นักสุขศึกษาพร้อมนำทีมลงพื้นที่ ทำงานเชิงรุกรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”

6 ส.ค. 2561

\

"ให้" เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับชีวิตผู้ป่วย ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน

25 พ.ค. 2561

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved