วันพุธ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / ราชดำเนินอเวนิว
ราชดำเนินอเวนิว

ราชดำเนินอเวนิว

โดย...
วันพุธ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561, 02.00 น.
ทางออกของไทยกับค่าไฟที่ไม่แพง

ดูทั้งหมด

  •  

 

ในการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan หรือ PDP) ของประเทศไทย ฉบับใหม่ซึ่งกำลังดำเนินการโดยมีกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคมศกนี้นั้น นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ย้ำเป็นแนวทางหลายครั้งหลายหนว่า ค่าไฟในอนาคตจะต้องไม่แพง และค่าไฟรับซื้อต้องไม่เกิน 2.44 บาท/หน่วย


ทำไมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจึงย้ำเช่นนี้?

เหตุผลไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะราคาค่าไฟฟ้าของประเทศเราสูงกว่าอีกหลายประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศที่สามารถเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจกับเรา

ตัวเลขจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ปรากฏว่าของเราอยู่ที่ 3.79 บาท/หน่วย ในขณะที่มาเลเซีย 3.37 บาท/หน่วย อินโดนีเซีย 2.86 บาท/หน่วย เวียดนาม 2.60 บาท/หน่วย และ สปป.ลาว 2.59 บาท/หน่วย

ในปีดังกล่าวนั้น ยอดการจำหน่ายไฟฟ้าของ 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (เฉพาะลูกค้าตรง) รวมกันประมาณ 174,000 ล้านหน่วย ซึ่งก็หมายความว่า การใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยซึ่งประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ ใช้ไปในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ มีต้นทุนค่าไฟสูงกว่ามาเลเซียถึง 73,011 ล้านบาท สูงกว่าอินโดนีเซีย 161,000 ล้านบาท และสูงกว่าเวียดนาม 207,000 ล้านบาท เช่นนี้แล้ว ธุรกิจอุตสาหกรรมของเราจะแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างไร ถ้าค่าไฟฟ้าของเรายังสูงอยู่แบบนี้

การที่นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เสนอว่าค่าไฟรับซื้อในอนาคตจะต้องไม่เกิน 2.44 บาท/หน่วยนั้น เนื่องจากในการประมูลรับซื้อไฟฟ้าโครงการ SPP Hybrid Firm ที่ผ่านมา จำนวน 300 เมกะวัตต์ สามารถซื้อได้ในราคาเฉลี่ยเพียง 2.44 บาท/หน่วย มาแล้ว ไม่ใช่เป็นการตั้งตัวเลขขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีฐานที่มารองรับ ด้วยเหตุนี้ ความมุ่งมั่นที่จะลดค่าไฟลง โดยการรับซื้อไฟฟ้าไม่เกินหน่วยละ 2.44 บาท จึงสมควรได้รับการสนับสนุนและให้กำลังใจให้ทำได้สำเร็จ

เป็นที่ทราบกันดีว่า การที่ค่าไฟฟ้าของเราแพงเนื่องจากเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของเรา 60-70 เปอร์เซ็นต์ มาจากก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาสูง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับถ่านหินซึ่งประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่มากกว่าเรามาก ปี พ.ศ. 2558 ขณะที่เรามีโรงไฟฟ้า 43,624 เมกะวัตต์ ซึ่งมากกว่าทุกประเทศในอาเซียนนั้น เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศและที่ตั้งอยู่ที่เมืองหงสา สปป.ลาว รวมแล้วเพียง 4,677 เมกะวัตต์  ในขณะที่มาเลเซียผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมากกว่าเราเกือบเท่าตัวคือ 8,077 เมกะวัตต์ เวียดนาม 14,595 เมกะวัตต์ และอินโดนีเซีย 22,639 เมกะวัตต์ ซึ่งมากกว่าเราถึง 5 เท่าตัว นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของเราสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

และก็เป็นที่ทราบกันดีอีกเช่นกันว่า การที่ประเทศเราไม่สามารถขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ ก็เนื่องจากคนในสังคมส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ คนในพื้นที่เกรงอันตรายอันเกิดจากฝุ่นและก๊าซที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจและเข้าใจได้ แต่ที่แย่ก็คือ การต่อต้านคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยการป้อนข้อมูลผิดๆ กับสังคม ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และการใช้อารมณ์ เป็นต้นว่า ทำไมไม่ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม หรือน้ำ บางคนกระทั่งเสนอให้โรงไฟฟ้าภาคใต้ใช้น้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าขำเอามากๆ หากไปพูดกับคนที่เขารู้เรื่องการผลิตไฟฟ้า บางคนพูดกระทั่งว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินของเราจะทำให้โลกร้อน!

สังคมเราควรอยู่กันด้วยเหตุและผล อยู่กันด้วยข้อมูลและความเป็นจริง ไม่ใช่อารมณ์และความรู้สึก ยิ่งไม่ใช่การป้อนข้อมูลอันเป็นเท็จให้กับผู้คน

ข้อมูลล่าสุดของปี พ.ศ. 2560 จากกระทรวงพลังงานระบุว่า เชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศเรามาจากก๊าซธรรมชาติ 60 เปอร์เซ็นต์ ถ่านหิน 18 เปอร์เซ็นต์ และพลังงานหมุนเวียน 7 เปอร์เซ็นต์

การที่เราใช้พลังงานหมุนเวียนมาผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยเนื่องจาก พลังงานหมุนเวียนแม้รวมกันทุกชนิดแล้ว ก็ยังมีปริมาณน้อย ไม่เสถียร และมีข้อจำกัดอื่นๆ อีกมากมาย แสงอาทิตย์มีความเข้มที่ไม่คงที่ และไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืนหรือในเวลาที่ไม่มีแสงแดด ลมในประเทศไทยมีความเร็วค่อนข้างต่ำ พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งกังหันลมมีจำกัด บางฤดูกาลก็แทบไม่มีลมเลย สำหรับน้ำนั้น ผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงที่มีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน ทั้งการสร้างเขื่อนก็มักถูกต่อต้านคัดค้านไม่ต่างจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือโรงไฟฟ้าขยะ แบตเตอรี่ซึ่งเป็นตัวกักเก็บพลังงานหมุนเวียนไว้ใช้ในเวลาที่ไม่สามารถผลิตกระแสไฟได้ก็มีอายุการใช้งานต่ำ ส่วนชีวมวลนั้น นอกจากปริมาณสำรองน้อยและไม่แน่นอนแล้ว ราคาก็ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ พลังงานหมุนเวียนเหล่านี้จึงสามารถใช้เป็นเพียงเชื้อเพลิงเสริมได้ แต่ไม่อาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหลัก ในขณะที่ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ยังมีปริมาณสำรองทั่วโลกอยู่ถึง 153 ปี เมื่อเทียบกับก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เหลืออยู่ไม่ถึง 10 ปี แม้นับรวมแหล่งเอราวัณ-บงกชที่กำลังเปิดประมูลใหม่ ก็อาจทำให้มีก๊าซธรรมชาติใช้ต่อไปได้อีกรวมแล้วไม่เกิน 20 ปี จากนั้นก็คงต้องนำเข้าก๊าซ LNG ซึ่งจากการวิเคราะห์ของ ดร. มนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน จะทำให้ราคาค่าไฟฟ้าพุ่งขึ้นไปถึง 5-6 บาท/หน่วย

ด้วยเหตุนี้ การที่จะทำให้ระบบการผลิตไฟฟ้าในประเทศมีความมั่นคง และค่าไฟฟ้าในประเทศลดลง ซึ่งเป็นการลดภาระผู้ใช้ไฟ และทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสามารถแข่งขันกับเพื่อนบ้านได้ ถ่านหินจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพราะนอกจากปริมาณสำรองที่มีอยู่มากมายแล้ว ต้นทุนยังต่ำสุดรองลงมาจากนิวเคลียร์ซึ่งประชาชนยังหวาดกลัวและไม่ยอมรับ ต้นทุนในการใช้ถ่านหินต่ำกว่าการใช้น้ำมันเตาและก๊าซ และเมื่อเทียบกับพลังงานหมุนเวียน ถ่านหินก็มีราคาต่ำกว่ามาก ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในช่วงที่ผ่านมา  พลังงานลมมีราคาค่าไฟฟ้าสูงถึง 6 บาทกว่า/หน่วย ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานอยู่ที่ 5 บาทกว่า และพลังงานแสงอาทิตย์ อยู่ที่ 4 บาทกว่า

ในทางปฏิบัติ การจะใช้อะไรมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้านั้น มีหลักพิจารณาสำคัญอยู่ 3 ประการคือ

1. ความมั่นคงในระบบไฟฟ้า หมายถึง เชื้อเพลิงที่นำมาใช้นั้นต้องมีปริมาณที่เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการพึ่งพิงเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่ง

2. ราคา ต้องเหมาะสม และต้องพยายามทำให้ต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อลดภาระผู้ใช้ไฟฟ้าและไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในภาวะที่สามารถแข่งขันได้

3. สิ่งแวดล้อม หมายถึงการนำเชื้อเพลิงนั้นๆ มาใช้ ต้องคำนึงถึงความจำเป็นและความคุ้มค่าว่าเหมาะสมหรือไม่เมื่อเทียบกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะต้องสูญเสียไป

จากนี้จึงเห็นได้ชัดว่า ก๊าซธรรมชาติที่ประเทศเราใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักนั้นกำลังมีปัญหาทั้ง 3 ข้อ พลังงานหมุนเวียนมีปัญหาสำคัญในข้อ 1 และข้อ 2 ส่วนถ่านหินมีปัญหาในข้อ 3

ทางออกของเรานั้น แน่นอนว่าต้องใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลาย ไม่พึ่งพิงเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งจะเสี่ยงต่อความมั่นคงในระบบไฟฟ้า และหากพิจารณาทั้ง 3 ข้อข้างต้นนี้อย่างจริงจัง ความมั่นคงในระบบไฟฟ้าย่อมเป็นข้อที่สำคัญที่สุด และถ่านหินก็เป็นเชื้อเพลิงชนิดเดียวที่ตอบโจทย์ข้อนี้ได้ ปัญหาคือจะควบคุมมลภาวะในอากาศ ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างไร และจะรักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติให้สมกับที่เมืองไทยเป็นเมืองท่องเที่ยวไว้ได้อย่างไร

ปัญหาที่ว่านี้ คงไม่สามารถแก้ไขได้ในเร็ววัน “ทางออกเฉพาะหน้า” ของเราคือ การลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้านแล้วส่งไฟเข้ามาขายในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีแล้วที่หงสา สปป.ลาว ต่อไปอาจจำเป็นต้องส่งเสริมให้มีโรงไฟฟ้าแบบนี้อีกหลายๆ แห่งในหลายประเทศ เช่น กัมพูชา และ เมียนมา ราคาค่าไฟฟ้ารับซื้อที่ส่งจากโรงไฟฟ้าเช่นว่านี้ ก็อยู่ในวิสัยที่จะสามารถควบคุมให้ไม่เกิน 2.44 บาท/หน่วย ได้

ข้อกังวลที่อาจเกิดขึ้นจากการอาศัยไฟที่ส่งมาจากโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านก็คือ เกรงว่าจะเป็นการยืมจมูกคนอื่นหายใจ และอาจตกเป็นเบี้ยล่างเมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศขึ้น แต่เรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยศิลปะการบริหารจัดการของผู้ลงทุน ที่จะเลือกลงทุนในหลายประเทศ และเลือกผู้ร่วมลงทุนที่มาจากประเทศต่างๆ หลายประเทศเพื่อคานอำนาจกัน

ข้อที่ควรกังวลมากกว่าก็คือ ประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านเรา เขากินข้าวเหมือนกันกับเรา วันนี้เขายอมให้เราเข้าไปตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในบ้านเขาได้ วันหน้าเขาอาจไม่ยอม จึงกล่าวไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า นี่เป็นเพียง “ทางออกเฉพาะหน้า” เท่านั้น แต่ก็เป็นทางออกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในวันนี้ ถ้าเรายังต้องการใช้ไฟ ยังกินข้าวจากหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ยังดูละครหลังข่าวจากโทรทัศน์ที่บ้าน ยังเปิดพัดลมเมื่ออากาศร้อน ยังชาร์ตแบตมือถือจากไฟบ้าน ยังขึ้นรถไฟฟ้าไปไหนมาไหน และต่อไปอาจยังอยากมีรถไฟฟ้าขับกับเขาสักคัน

ในอนาคต หากสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ให้สูงยิ่งกว่าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ และให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่านี้ จนประชาชนคลายความกังวลและไม่ต่อต้าน การตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในบ้านเรา ซึ่งจะทำให้ความมั่นคงในระบบไฟฟ้ามีหลักประกันมากขึ้น คนไทยใช้ไฟในราคาที่ถูกลง ก็เป็นสิ่งที่สามารถเป็นไปได้

แต่หากรักโลกมาก ถึงขั้นหัวเด็ดตีนขาดอย่างไร ก็ไม่ยอมให้ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย เพราะเกรงว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะทำให้โลกร้อนละก็ กรุณาออกไปต่อต้านจีนกับสหรัฐอเมริกาก่อนดีไหม เพราะทั้งสองประเทศนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก มากกว่าประเทศไทยกว่า 40 เท่าตัว!

ณรงค์ฤทธิ์ ศรีรัตโนภาส

สำนักที่ปรึกษาร้อยชักสาม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:28 น. ดีเดย์! 30 พ.ค.นี้ สว.พิจารณาวาระเห็นชอบ กรรมการ ป.ป.ช.
11:21 น. พ่ายเจ้าถิ่น!'บาส-สกาย'พลิกร่วงรอบแรกขนไก่มาเลฯ
11:14 น. 'แสน นากา'เผย'แม่ยังไม่รู้เรื่อง' เตรียมรวมญาติแจ้งข่าว'เสก'จำคุก กลัวแม่ช็อค!
11:14 น. เปิด 3 ปรากฏการณ์คดี‘ฮั้วสว.’ ลาก‘ภูมิใจไทย’เป็นหมู่บ้านกระสุนตก
11:13 น. ซุ่มยิงชุดคุ้มครองครู-นร. จนท.เจ็บ 1 นาย 'รพ.ยะลา'รับบริจาคเลือดช่วย อส.ที่ถูกยิง
ดูทั้งหมด
พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ
ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 16​ ​พฤษภาคม​ ​2568
‘แพทย์ชนบท’เตือนผู้ชายสังเกตอาการ ย้ำ‘มะเร็งต่อมลูกหมาก’ตรวจพบเร็วรักษาหายได้
ปรีวิว-ฟันธง!หงส์ยังปึ๊กบุกนกนางนวล
ประเทศเดียวในโลก! นักโกงเมืองไม่ต้องติดคุก จับตา! คำตัดสินศาลปกครองสูงสุด 22 พ.ค.
ดูทั้งหมด
น้อมรำลึกถึงเจ้าชายสิทธัตถะ
ประเทศไทยยุค‘กระปี๋’ขับเครื่องบิน
เข้าคุกเถอะ ‘ทักษิณ ชินวัตร’
เศรษฐกิจยิ่งทรุด มิจฉาชีพยิ่งมาก
เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

พ่ายเจ้าถิ่น!'บาส-สกาย'พลิกร่วงรอบแรกขนไก่มาเลฯ

'แสน นากา'เผย'แม่ยังไม่รู้เรื่อง' เตรียมรวมญาติแจ้งข่าว'เสก'จำคุก กลัวแม่ช็อค!

เมืองนนท์เดือด! ไล่ยิงรถอดีตกำนันดัง ว่าที่ผู้สมัครนายก อบต. ขับหนีเข้าปั๊มรอดหวุดหวิด

สุดแปลก! แมวเปอร์เซียกาฟิว คลอดลูก 2 หัว แต่น่าเสียดายน้องตายแล้ว

‘ไพศาล’งัดนายกสมาคมทนายฯ ‘กม.ราชทัณฑ์’ลบล้าง พรป.วิธีพิจารณาความอาญาฯไม่ได้

'มายด์'โต้ข่าวถูกจับโยงปมเดือด 'พลอย เฌอมาลย์-โต้ง ทูพี' ยัน'ไม่เกี่ยวกับฉัน!'

  • Breaking News
  • ดีเดย์! 30 พ.ค.นี้ สว.พิจารณาวาระเห็นชอบ กรรมการ ป.ป.ช. ดีเดย์! 30 พ.ค.นี้ สว.พิจารณาวาระเห็นชอบ กรรมการ ป.ป.ช.
  • พ่ายเจ้าถิ่น!\'บาส-สกาย\'พลิกร่วงรอบแรกขนไก่มาเลฯ พ่ายเจ้าถิ่น!'บาส-สกาย'พลิกร่วงรอบแรกขนไก่มาเลฯ
  • \'แสน นากา\'เผย\'แม่ยังไม่รู้เรื่อง\' เตรียมรวมญาติแจ้งข่าว\'เสก\'จำคุก กลัวแม่ช็อค! 'แสน นากา'เผย'แม่ยังไม่รู้เรื่อง' เตรียมรวมญาติแจ้งข่าว'เสก'จำคุก กลัวแม่ช็อค!
  • เปิด 3 ปรากฏการณ์คดี‘ฮั้วสว.’ ลาก‘ภูมิใจไทย’เป็นหมู่บ้านกระสุนตก เปิด 3 ปรากฏการณ์คดี‘ฮั้วสว.’ ลาก‘ภูมิใจไทย’เป็นหมู่บ้านกระสุนตก
  • ซุ่มยิงชุดคุ้มครองครู-นร. จนท.เจ็บ 1 นาย \'รพ.ยะลา\'รับบริจาคเลือดช่วย อส.ที่ถูกยิง ซุ่มยิงชุดคุ้มครองครู-นร. จนท.เจ็บ 1 นาย 'รพ.ยะลา'รับบริจาคเลือดช่วย อส.ที่ถูกยิง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เกียรติยศ ศักดิ์ศรีของประเทศชาติ !

เกียรติยศ ศักดิ์ศรีของประเทศชาติ !

10 เม.ย. 2567

เกรงใจประชาชนบ้าง?

เกรงใจประชาชนบ้าง?

3 เม.ย. 2567

มิติใหม่ในการกำหนดค่าแรง

มิติใหม่ในการกำหนดค่าแรง

27 มี.ค. 2567

ต้องตายกันไปข้างหนึ่ง

ต้องตายกันไปข้างหนึ่ง

20 มี.ค. 2567

แม้ดอกไม้จะถูกตัดหมดไป ฤดูใบไม้ผลิก็ยังจะมาถึง

แม้ดอกไม้จะถูกตัดหมดไป ฤดูใบไม้ผลิก็ยังจะมาถึง

14 มี.ค. 2567

ระหว่าง เศรษฐา   กับ เศรษฐพุฒิ   !

ระหว่าง เศรษฐา กับ เศรษฐพุฒิ !

6 มี.ค. 2567

จุดเริ่มของการปฏิรูปตำรวจ!

จุดเริ่มของการปฏิรูปตำรวจ!

28 ก.พ. 2567

บุรพกษัตริย์และบรรพชนจ้องมองอยู่ !

บุรพกษัตริย์และบรรพชนจ้องมองอยู่ !

21 ก.พ. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved