วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
โรคที่มากับน้ำท่วม : ตอนที่ 1 โรคฉี่หนู

ดูทั้งหมด

  •  

ผลพวงของ  “โพดุล” และ “คาจิกิ” พายุ 2 ลูกใหญ่ ต่อเนื่อง ที่ส่งผลกระทบให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมครั้งใหญ่ในภาคอีสาน ได้สร้างความเสียหายทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพี่น้องชาวอีสาน (รวมถึงสัตว์เลี้ยง) เป็นอย่างมาก “Pet Care ดูแลสัตว์เลี้ยง by หมอโอห์ม” ขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องที่ประสบปัญหา และเอาใจช่วยให้ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนเร่งแก้ไขและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ผ่านไปได้ด้วยดีครับ

ในช่วงแรกนี้ ผมขอหยิบมาเรื่องราวที่เกี่ยวกับ “โรคภัยต่างๆ ที่มากับน้ำท่วม” ที่อาจเกิดกับสัตว์เลี้ยงของท่านมาพูดคุยกัน ซึ่งได้แก่ โรคฉี่หนู โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ รวมถึงระบบทางเดินอาหาร  เพื่อที่ท่านเจ้าของสัตว์เลี้ยงจะได้ทราบเป็นข้อมูลเบื้องต้น จะได้เข้าใจ รวมถึงนำไปป้องกัน เพื่อจะได้ไม่ตระหนกกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับวันนี้ เราจะมาคุยกันถึงเรื่อง “โรคฉี่หนู” กันก่อนครับ 


@โรคฉี่หนู คืออะไร

โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ เลปโตสไปรา (Leptospira) เป็น “โรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน”(Zoonosis) ที่สามารถเกิดได้ในสัตว์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สุนัข หนู โคกระบือ สุกร แพะ แกะ และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ซึ่งมักจะมี “หนู” เป็นตัวนำโรค

สัตว์ที่ไวต่อการรับเชื้อ มักจะเป็นสัตว์อายุน้อยที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน หรือลูกสัตว์ที่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อนช่วงเวลาของการระบาดมักจะพบในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว โดยเฉพาะช่วงที่มีน้ำท่วมขังนานๆ

@สาเหตุ:  

โรคฉี่หนูนี้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว (Spirochete) ชื่อเลปโตสไปรา ซึ่งเชื้อนี้อาศัยอยู่ในท่อหลอดไตของสัตว์ เชื้อสามารถมีชีวิตได้นานหลายเดือนหลังจากถูกขับออกทางปัสสาวะ โดยที่สัตว์ที่มีเชื้อนั้นอาจไม่มีอาการ ที่เรียกว่า “ตัวอมโรค” แต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลานาน หลายสัปดาห์ หรืออาจจะตลอดชีวิตสัตว์เลยทีเดียว  

@ อาการ: 

มีได้ตั้งแต่ เล็กน้อย จนถึงอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต โรคเลปโตสไปโรซิสแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามระดับความรุนแรง คือ แบบไม่เหลือง (anicteric leptospirosis)  และ ชนิดรุนแรง (severeleptospirosis) 

อาการโดยทั่วไปจะคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ สัตว์จะซึม มีไข้อาเจียน และเจ็บตามลำตัว (ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดได้) มักพบอาการดีซ่าน (jaundice) คือจะสังเกตเห็นได้ว่า เยื่อเมือกที่เหงือกและเยื่อบุตาขาว รวมถึงผิวหนังเป็นสีเหลืองมากจนแทบจะเป็นสีส้มมักพบว่าตับและม้ามโตร่วมด้วย และอาจเสียชีวิตได้ จากภาวะตับและไตวายเฉียบพลัน 

@ การติดต่อ: 

*โดยการสัมผัสกับปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีการติดเชื้อ โดยตรง  

* สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ ซึ่งเชื้อสามารถมีชีวิตได้ในดินและน้ำเป็นเวลาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน 

* โดยการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป 

* โดยการหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะ หรือของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป 

* โดยการรับเชื้อผ่านทางเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา และปาก หรือเข้าทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน หรือเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนานๆ 

@ การป้องกัน: 

* หลีกเลี่ยง หรือป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงสัมผัสกับน้ำหรือดินที่คาดว่ามีการปนเปื้อนเชื้อ

* ไม่ให้สัตว์ไปเล่นน้ำที่ท่วมขังและไม่มีการไหลเวียน 

* หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค เช่น หนู 

* หลีกเลี่ยงไม่ให้สัตว์กินอาหารที่ปล่อยทิ้งค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด 

* รีบอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง เพื่อทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่ หรือ เล่นน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ 

* การฉีดวัคซีน เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่รุนแรงได้ แม้จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ก็ตาม

@ การรักษา: 

โรคเลปโตสไปโรซิส สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ควรให้ยาเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การวินิจฉัยให้ได้ว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่ระยะแรกๆ จึงมีความสำคัญต่อการรักษาเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในช่วงที่มีน้ำท่วมขังเช่นนี้ เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอาการผิดปกติ เช่น เริ่มซึม เบื่ออาหาร อาเจียน และมีประวัติการสัมผัสน้ำท่วมขังแล้วล่ะก็ การพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อได้รับการตรวจร่างกายและการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการตั้งแต่แรก รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้สัตว์ จึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่เจ้าของอย่างเราๆ จะสามารถทำได้ครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:48 น. ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ
22:21 น. 'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ
22:18 น. 'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน
22:08 น. (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ
22:05 น. 'สุทิน' จวก 'โฆษกเพื่อไทย' ย้ำรัฐบาล'ชวน หลีกภัย'ไม่เคยปรึกษา'ทักษิณ'
ดูทั้งหมด
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
วินาที'ในหลวง'ส่งสัญญาณพระหัตถ์ถึง'พระราชินี' ทรงรีบเข้าประคองพระองค์อย่างว่องไว
'สีกากอล์ฟ'ฟาดเรียบ ทั้งเจ้าอาวาส ทั้งคนขับรถ สารภาพถูกชวนมีสัมพันธ์ลึกซึ้ง
‘สม รังสี’แฉเหยื่อกว่า 120,000 คนในกัมพูชา ถูกขังใน 53 ตึก โดนบังคับใช้เป็นทาสมาเฟียจีน
สลดวันพระ! ยิงดับ 2 ศพ คาวัดดัง ย่านเพชรเกษม
ดูทั้งหมด
‘ฮุน เซน’เล่นใหญ่‘ทักษิณขายชาติ’
ซูเปอร์ฮีโร่
สองพ่อลูก
ศึกเขากระโดง ใครจะโดน 157 ? ปรับ ครม. เพื่อชำระแค้นการเมือง
คนไทยส่วนใหญ่เสียอะไร/ได้อะไรจากเจรจาภาษีการค้ากับสหรัฐ
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

(คลิป) 'ฮุนเซน' พร้อมสวนกลับ ขอเวลา 3 ชม. ซัด 'ทักษิณ'

'มหาเธร์'อดีตนายกฯมาเลเซียออกจากรพ.แล้ว โพสต์คลิปเดินปร๋อขึ้นรถยนต์ส่วนตัว

คู่รักสูงวัยถูกหลอกใน‘มาเลเซีย’ เดินทางไกลไปขึ้นกระเช้าที่ไม่มีอยู่จริง-พบแค่คลิปโปรโมทด้วย‘AI’

  • Breaking News
  • ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ
  • \'ปราชญ์ สามสี\' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ\'ศิโรราบ\'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ 'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ
  • \'กินเนสส์ฯ\'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น\'ชีสที่แพงที่สุดในโลก\'ด้วยราคา1.35ล้าน 'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน
  • (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก\'ทรัมป์\' อย่าเสีย \'ฐานทัพเรือพังงา\' เป็นพอ (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ
  • \'สุทิน\' จวก \'โฆษกเพื่อไทย\' ย้ำรัฐบาล\'ชวน หลีกภัย\'ไม่เคยปรึกษา\'ทักษิณ\' 'สุทิน' จวก 'โฆษกเพื่อไทย' ย้ำรัฐบาล'ชวน หลีกภัย'ไม่เคยปรึกษา'ทักษิณ'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ

การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ

6 ก.ค. 2568

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

14 ก.ค. 2567

‘สุนัขปากเหม็น’

‘สุนัขปากเหม็น’

7 ก.ค. 2567

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

30 มิ.ย. 2567

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

23 มิ.ย. 2567

สุนัขปากเหม็น

สุนัขปากเหม็น

16 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

9 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

2 มิ.ย. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved