วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
ยาก่อนอาหาร vs ยาหลังอาหาร (ตอนที่1)

ดูทั้งหมด

  •  

สวัสดีครับ เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายท่าน คงเคยเกิดความสงสัย เมื่อพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์ แล้วได้ยามาป้อน และเมื่ออ่านซองยาก็พบว่า ยาบางชนิดให้ป้อน “ก่อนอาหาร” บางชนิดให้ป้อน “หลังอาหาร” บางชนิดก็ให้ป้อน “พร้อมอาหาร” หรือ “หลังอาหารทันที”

ยาเหล่านี้มีข้อแตกต่างกันอย่างไร ทำไมจึงต้องป้อนในเวลาที่แตกต่างกัน วันนี้ผมมีข้อมูลดีๆ จากภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับความแตกต่างของยาแต่ละชนิดในสัตว์เลี้ยงมาฝาก ซึ่งเราจะคุยกันทีละประเภทนะครับ


ประเภทที่ 1 ยาก่อนอาหาร

โดยปกติ เราจะป้อนยาก่อนอาหารให้สัตว์เลี้ยง “ตอนท้องว่าง” (คือตอนที่ไม่มีอาหารในกระเพาะอาหารนั่นเอง) นั่นคือ ควรป้อนยา “อย่างน้อย 30 นาที ก่อนที่ท่านจะให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง”เนื่องจากในช่วงท้องว่างนี้ ความเป็นกรดในกระเพาะและทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยงนั้นจะน้อยกว่าเมื่อสัตว์ได้รับอาหาร (ช่วงหลังอาหารนั้น กระเพาะอาหารจะมีความเป็นกรดสูงกว่า เนื่องจาก อาหารที่กินจะกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมาย่อยอาหารนั่นเอง) 

@ ทำไมยาชนิดนี้ต้อง “ก่อนอาหาร” ?

เหตุผลที่ต้องให้ยาแก่สัตว์ในช่วงท้องว่างนั้นมีหลายอย่าง ได้แก่

- ยาบางชนิดอาจถูกทำลายหรือทำให้การออกฤทธิ์ของยาลดน้อยลง เมื่อยาสัมผัสกับกรดใน (ที่ถูกหลั่งออกมาหลังมื้ออาหาร) ในปริมาณมาก ดังนั้นการให้ยาสัตว์เลี้ยงในช่วงที่ท้องว่างนี้ทำให้ยาไม่ถูกทำลายซึ่งทำให้การออกฤทธิ์ของยายังคงอยู่ได้

- ยาบางชนิดถูกทำลาย หรือถูกดูดซึมได้น้อยลง เนื่องจากอาหารและส่วนประกอบของอาหารบางอย่างไปทำปฏิกิริยากับยา หรือไปขัดขวางการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ระดับยาในเลือดไม่สูงพอที่จะรักษาอาการต่างๆ ของสัตว์เลี้ยงได้ เช่น ยาต้านจุลชีพ ยาฆ่าเชื้อในกลุ่ม enrofloxacin และกลุ่ม doxycycline ดังนั้นการให้ยาประเภทนี้แก่สัตว์เลี้ยงในช่วงที่ท้องว่าง จึงเป็นการลดโอกาสการเกิดปัญหาดังกล่าว ทำให้ยาถูกดูดซึมได้ตามปกติ และยาออกฤทธิ์ได้ตามที่ควรจะเป็น

- ยาหลายชนิดมีผลต่อการเคลื่อนไหวและการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เช่น ยาลดกรด ยาระงับอาการอาเจียน รวมทั้งยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน จะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีก่อนที่จะออกฤทธิ์ ดังนั้นการป้อนยาให้สัตว์เลี้ยงของท่านก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที จึงเป็นเสมือนการเตรียมพร้อมให้ระบบทางเดินอาหาร ก่อนที่สัตว์จะกินอาหาร

@ แล้วถ้าสัตว์เลี้ยงกินอาหารไปแล้ว แต่เราลืมป้อนยาก่อนอาหารล่ะ เราจะทำอย่างไร?

หากเกิดกรณีนี้ขึ้นให้ท่านป้อนยาดังกล่าวให้สัตว์เลี้ยง “หลังจากให้กินอาหารไปแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง” แทน นั่นคือเพื่อให้ได้รับยาเมื่ออาหารที่กินเข้าไปถูกผลักออกจากกระเพาะไปแล้ว หรือในตอนที่ท้องว่างแล้วนั่นเอง (ดังนั้นอย่าให้ “ยาก่อนอาหาร” ทันทีที่นึกขึ้นได้หลังจากสัตว์กินอาหารไปแล้วล่ะครับ)

@ เมื่อได้ป้อนยาก่อนอาหารแล้ว มีจำเป็นไหมที่ต้องให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารหลังจากกินยา

มีหลายท่านสงสัยว่า เมื่อสัตวแพทย์จ่ายยาก่อนอาหารให้สัตว์กิน วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าเป็นอย่างนี้ เราต้องให้กินอาหารหลังกินยาวันละ 2-3 มื้อเลยหรือไม่???

โดยทั่วไปยาที่ให้ก่อนอาหารนั้นสามารถให้ได้โดย “ไม่เกี่ยวกับมื้ออาหาร” เพียงแต่ต้องให้ตอน “ท้องว่าง” เท่านั้น  

ยาที่ให้ก่อนอาหารและมีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารหลังจากได้รับยา มีเพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ กลุ่มของยาที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวและการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาระงับอาการอาเจียน หรือยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเป็นต้น ซึ่งท่านเจ้าของสัตว์เลี้ยงสามารถปรับลักษณะการให้อาหารสัตว์ในช่วงที่ต้องป้อนยาได้ โดยแบ่งให้อาหารเป็น 2-3 มื้อตามที่สัตวแพทย์สั่งยา และปริมาณอาหารรวมในแต่ละวันที่ได้เท่ากับปริมาณอาหารเดิมที่เคยให้ต่อวัน (สัตว์เลี้ยงจะได้กินอาหารในปริมาณเท่าเดิมเพียงแต่กระจายออกเป็นจำนวนหลายมื้อเท่านั้นเองครับ)

เรื่องราวเกี่ยวกับยา ยังไม่หมดแค่นี้ครับสัปดาห์หน้าเรามาติดตามกันต่อว่ายาหลังอาหาร ยาพร้อมอาหาร และยาหลังอาหารทันทีนั้นมีวิธีการกินและข้อจำกัดอย่างไร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ฝ่ายประชาสัมพันธ์

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:26 น. รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า
09:14 น. ‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
09:05 น. เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน
08:53 น. 'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร
08:43 น. ใครจะถูกหักเหลี่ยม! 'เทพไท'ชี้ 'นายกฯชั่วคราว'เกมชิงอำนาจชิงไหวชิงพริบ ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

กระบะชนหนี! จยย.พ่วงข้างคว่ำล้อชี้ฟ้า หนุ่มเมียนมาบาดเจ็บ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

  • Breaking News
  • รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า
  • ‘นฤมล’สั่ง\'สพฐ.-สพท.\'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม  หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
  • เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน
  • \'สวนดุสิตโพล\'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร 'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร
  • ใครจะถูกหักเหลี่ยม! \'เทพไท\'ชี้ \'นายกฯชั่วคราว\'เกมชิงอำนาจชิงไหวชิงพริบ ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ใครจะถูกหักเหลี่ยม! 'เทพไท'ชี้ 'นายกฯชั่วคราว'เกมชิงอำนาจชิงไหวชิงพริบ ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ

การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ

6 ก.ค. 2568

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

14 ก.ค. 2567

‘สุนัขปากเหม็น’

‘สุนัขปากเหม็น’

7 ก.ค. 2567

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

30 มิ.ย. 2567

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

23 มิ.ย. 2567

สุนัขปากเหม็น

สุนัขปากเหม็น

16 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

9 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

2 มิ.ย. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved