วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / เปิดโลก
เปิดโลก

เปิดโลก

ศิริภา อินทวิเชียร
วันอาทิตย์ ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
แนวทางสู่มหานครสีเขียว

ดูทั้งหมด

  •  

แนวคิดเรื่อง “เมืองสีเขียว” (Green City) ในประเทศไทย มีการกล่าวถึงมาเป็นระยะ และกลายเป็นโครงการของทั้งทางภาครัฐ และภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ต้นแบบต่างๆ โดยรูปธรรมที่เกิดขึ้นค่อนข้างชัดเจนว่าทำหน้าที่ได้เพียงเป็นศูนย์ต้นแบบในการเยี่ยมชมและศึกษาสำหรับคนที่สนใจหรือนักท่องเที่ยวเท่านั้น ที่สำคัญ ความสมบูรณ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในบริบทของเมืองแห่งความร่มรื่นที่แท้ยังอยู่แค่เพียงเรื่องของการบริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาและยกระดับเมืองในเรื่องของศักยภาพอื่นๆ มิได้ถูกรวมเข้าไปในแผนงานอย่างที่ควรจะเป็นตามบริบทของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อสร้างประโยชน์และความยั่งยืนในเรื่องสิ่งแวดล้อม พลังงาน เศรษฐกิจ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีสมดุลและสุนทรียะ

สำหรับ European Green City Index หรือตัวชี้วัดสำหรับมาตรฐานของการเป็นเมืองสีเขียว ที่ทางกลุ่มประเทศสมาชิกแห่งยุโรปได้กำหนดร่วมกันในการออกแบบและวางผังให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองให้มีความร่มรื่นและรื่นรมย์ ประกอบไปด้วย 8 ตัวชี้วัด อันได้แก่ 1.การกำหนดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 2.ระดับการใช้พลังงาน (Energy) 3.จำนวนอาคารที่ออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม (Buildings) 4.ปริมาณของระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Transport) 5.ระบบการจัดการขยะและของเสีย (Waste and land-use) 6.ปริมาณการใช้น้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย (Water) 7.ปริมาณไนโตรเจนในอากาศ ซึ่งแสดงถึงคุณภาพของอากาศ (Air quality) และ 8.ระบบการจัดการบริหารเมือง (Environmental governance) เหล่านี้คือเกณฑ์หลักในการเดินหน้าสู่การเป็นเมืองสีเขียวอย่างแท้จริง


นอกจากนี้ ทาง European Green City Index ยังแนะนำกลไกในการบริหารจัดการเมืองให้เกิดประสิทธิภาพตามที่ตัวชี้วัดระบุด้วยว่า 1.ต้องมีผู้นำประเทศและการบริหารจัดการที่ดี 2.ต้องมีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ 3.ต้องมีผู้นำท้องถิ่นที่มีทักษะในการลงมือปฏิบัติ4.ต้องสามารถบูรณาการการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในองคาพยพต่างๆได้อย่างครอบคลุม 5.ต้องมีงบประมาณในการบริหารจัดการอย่างเต็มที่ 6.ต้องมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนอย่างแข็งขัน7.ต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีแขนงต่างๆ 8.ต้องใช้กฎหมายเป็นและมีทักษะในด้านการเจรจาต่อรอง(ในกรณีการบริหารจัดการชุมชนแออัดที่บุกรุกพื้นที่) และ 9.ต้องชำนาญการวางแผนหรือเขียนนโยบายสำหรับจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพและความยากจน (ไม่ใช่แค่ยกระดับพื้นที่หรือสิ่งแวดล้อมแต่ต้องยกระดับคนตรงนั้นควบคู่ไปด้วย) เป็นต้น

ส่วนในเรื่องของการดำเนินการที่ผ่านมาในประเทศนั้น เท่าที่รวบรวมมาได้ก็สามารถแบ่งเป็น 4 แผนงาน ที่เป็นแกนหลักในการสร้างเมืองสีเขียว ดังนี้

1.การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ หรือเพิ่มบริเวณสวน ที่ให้น้ำหนักไปในเรื่องของการปรับภูมิทัศน์ที่สบายตา และสบายใจที่พบเห็น กระนั้น ก็ยังช่วยในการระบายความร้อน รวมไปถึงการเปิดพื้นที่สำหรับชุมชนเพื่อการสันทนาการ

2.การให้ความสำคัญต่อแหล่งพลังงานสะอาด ที่สามารถกลายเป็นพลังงานหมุนเวียนเพื่อการนำมาใช้สอยให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงานลม หรือพลังงานจากแสงแดด

3.การจัดการระบบสาธารณูปโภคในอาคารหรือสำนักงาน ที่พยายามไม่สร้างภาระทางสิ่งแวดล้อม หรือส่งผลกระทบให้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไหลเวียนน้ำอย่างคุ้มค่า การบำบัดน้ำเสีย การสร้างขยะที่ต้องเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นต้น

4.การอำนวยความสะดวกทางด้านระบบขนส่งมวลชนและการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ต้องเชื่อมโยงเครือข่ายให้ครอบคลุมและสะดวกสบายในการใช้บริการ เพื่อลดการสร้างมลพิษที่นอกเหนือการควบคุม รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศในการใช้ทางสัญจรด้วยการเดินหรือจักรยานที่รื่นรมย์และปลอดภัย

อันที่จริง มีอีก 1 แผนงาน คือ การควบคุมอัตราความหนาแน่นของประชากรในเมือง ซึ่งต้องถือว่าล้มเหลวมากในเมืองใหญ่ เพราะเกินขีดจำกัดของหน่วยงานที่จะเข้าไปทำได้ (ส่วนใหญ่จะไปเกิดที่เมืองต้นแบบที่อยู่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ ที่ความเจริญในด้านต่างๆยังตามไปไม่ถึง) กระนั้น ในแผนงานทั้งหมดที่กล่าวมา ก็ยังขาดความต่อเนื่องในการดำเนินการ รวมไปถึงการบูรณาการให้เป็นโครงงานสำเร็จรูปที่จะกำหนดเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่ชัดเจนในการทดลองและประเมินผลในแง่ของความคุ้มค่าในงบประมาณ ภายใต้ประสิทธิภาพต่อเมืองและความพึงพอใจของประชาชน ตรงนี้เองที่ทำให้ “เมืองสีเขียว” จึงเป็นได้แค่นิทรรศการหรือพื้นที่จำลองเท่านั้น โดยเฉพาะในมหานคร หรือเมืองใหญ่ๆ ที่มีความเจริญในด้านต่างๆ เป็นอุปสรรคสำหรับการยกระดับในด้านสิ่งแวดล้อม

แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ เพราะสำหรับเมืองที่ความเจริญแล้วอย่าง“โตเกียว” ประเทศญี่ปุ่น ก็เคยตั้งเป้าว่าจะกลายเป็นเมืองสีเขียวให้ได้ภายใน 2 ปีก่อนถึงการจัดงานโอลิมปิกในปี 2020(มีอันต้องเลื่อนไปเพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19) และนั่นก็เป็นที่มาของงบประมาณมหาศาล รวมไปถึงความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะ “แม่เมือง” อย่าง “ยูริโกะ โคอิเกะ” ผู้ว่าการกรุงโตเกียวคนปัจจุบัน

ภายใต้แนวคิด “เมืองรักษ์สิ่งแวดล้อม” (Eco-friendly city) จึงมีการสร้างถนนพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการปูแผงโซลาร์เซลล์รอบเมืองโตเกียว และการเอาไปติดตั้งในสถานที่สำคัญของเทศบาลกรุงโตเกียว รวมไปถึงตามสถานที่ต่างๆ เพิ่มขึ้นในช่วงปีงบประมาณถัดไปด้วยเป้าหมายที่โตเกียวจะสามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้มากถึง 30% ภายในปี 2030

นอกจากนั้น โตเกียวยังตั้งเป้าหมายสำหรับการรีไซเคิล (Recycle) ขยะพลาสติกหรือผลิตภัณฑ์ใส่อาหาร 65% เพื่อการใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่อีก 62% ทั้งในโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ ต่อยอดไปถึงการดำเนินวิถีชีวิตทั่วไปของคนในพื้นทีเช่นกันกับทีมงานของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ ก็ยืนยันว่าจะใช้การเช่าอุปกรณ์มาใช้ทำการแข่งขันแทนการซื้อใหม่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และการสร้างขยะหรือของใช้ที่ไม่จำเป็นโดยใช่เหตุ รวมไปถึงการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างโทรศัพท์มือถือไม่ใช้แล้วมาดัดแปลงเป็นเหรียญรางวัลอีกด้วย

แน่นอนว่า วาระของโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์ อาจเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ในการสร้าง “เมืองแห่งความฝัน”ขึ้นมาได้ แต่สำคัญเหนืออื่นใด คือความร่วมใจของคนในพื้นที่ ซึ่งได้มีฉันทามติร่วมกันในการยกระดับการพัฒนาเมืองของตนเองให้ไปในทิศทางที่ต้องการดังนั้น เชื่อว่า ในประเทศไทยเองก็คงไม่ต่างกันในเมื่อเรามีรูปแบบ หรือต้นแบบ (Model) ในการเป็นเมืองสีเขียวกระจัดกระจายอยู่ในภาครัฐและภาคเอกชนหลากหลายโครงการ ทำไมเราไม่ลองเอามา “ตกผลึก”ร่วมกัน แล้วทำให้มันกลายเป็นแนวทางแห่งการพัฒนาเมืองขึ้นมาจริงๆ เสียที เพราะคุณภาพชีวิตดีๆ ไม่ควรไปหยุดที่แค่การประชาสัมพันธ์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
21:02 น. 'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย
20:54 น. 'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล
20:53 น. 'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา
20:48 น. 'ในหลวง'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14
20:24 น. ‘ลูกพีช’ได้เป็น‘สท.’ ‘นายกเบี้ยว’ประกาศลั่น!ธัญญก้าวหน้าชนะยกทีม
ดูทั้งหมด
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
ดูทั้งหมด
สังคมที่ ‘ชิงชัง’ ทักษิณ ชินวัตร? แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ
บุคคลแนวหน้า : 11 พฤษภาคม 2568
บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) เจ๊ปอง เผย! 'ตั๋วกาสิโน 10 ใบ' ลอเรนซ์โอ-กอร์ดอน ถัง คนสนิทตระกูลชินวัตร

ปิดหีบเลือกตั้งเทศบาล!! 'กกต.'เผยพบฉีกบัตร 6 ราย ‘นนทบุรี’งามหน้า จับหัวคะแนนพร้อมโพย

คาดปมหึงหวง! หนุ่มยิงเมีย-ลูก 5 ขวบดับก่อนจบชีวิตตัวเอง

(คลิป) 'เจ๊ปอง'เผยพิกัด'เมียน้อย'อยู่เกาะฮ่องกง ให้'เมียหลวง'สิงคโปร์ภรรยานายทุน'กาสิโน'

สง่างาม! 'โอปอล สุชาตา'เปิดตัวสุดอลังการในชุดไทยบนเวที Miss World 2025

ลมกระโชกแรง! บ้านริมน้ำกระบี่ทรุดตัวพังถล่ม บาดเจ็บ 2 ราย

  • Breaking News
  • \'สืบตม.อุบลฯ\'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย 'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย
  • \'พิพัฒน์\'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ\'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย\' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล 'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล
  • \'สมเด็จพระสังฆราช\'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา 'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา
  • \'ในหลวง\'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14 'ในหลวง'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14
  • ‘ลูกพีช’ได้เป็น‘สท.’ ‘นายกเบี้ยว’ประกาศลั่น!ธัญญก้าวหน้าชนะยกทีม ‘ลูกพีช’ได้เป็น‘สท.’ ‘นายกเบี้ยว’ประกาศลั่น!ธัญญก้าวหน้าชนะยกทีม
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กลับมามองกระแส #MeToo กันอีกครั้ง

กลับมามองกระแส #MeToo กันอีกครั้ง

24 เม.ย. 2565

ความสำคัญของพื้นที่ทางความมั่นคง

ความสำคัญของพื้นที่ทางความมั่นคง

17 เม.ย. 2565

รู้จัก ‘สินทรัพย์’ แห่งอนาคต

รู้จัก ‘สินทรัพย์’ แห่งอนาคต

20 มี.ค. 2565

‘การสื่อสาร’ คือ ความสำคัญของ ‘ผู้นำ’ ประเทศ

‘การสื่อสาร’ คือ ความสำคัญของ ‘ผู้นำ’ ประเทศ

13 มี.ค. 2565

อะไร คือ ‘ชัยชนะ’ ของ ‘ปูติน’

อะไร คือ ‘ชัยชนะ’ ของ ‘ปูติน’

6 มี.ค. 2565

เมื่อ ‘หมีขาว’ ผงาด

เมื่อ ‘หมีขาว’ ผงาด

27 ก.พ. 2565

‘ประชาชน’ ต้องเป็น ‘คำตอบ’ สำหรับ ‘การเจรจา’

‘ประชาชน’ ต้องเป็น ‘คำตอบ’ สำหรับ ‘การเจรจา’

20 ก.พ. 2565

หรือจะมี ‘สงครามโลก’ ครั้งที่ 3

หรือจะมี ‘สงครามโลก’ ครั้งที่ 3

13 ก.พ. 2565

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved