วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
แม่นมจำเป็นสำหรับลูกหมาลูกแมว

ดูทั้งหมด

  •  

หลายท่านคงเคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้ เช่น แม่แมวใจแตกแอบมาคลอดลูกทิ้งไว้ในบ้านของเรา หรือแม้แต่เจ้าด่างเจ้าเหมียวที่เราเลี้ยงไว้นั้นคลอดลูกเป็นครอกแรกแถมยังเลี้ยงลูกไม่เป็น ครั้นเราจะปล่อยทิ้งไว้โดยไม่แยแส ลูกหมาลูกแมวเหล่านั้นก็คงจะตายเสียเปล่าๆ การเป็นแม่นมนั้น จะมีหลักการ ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติอย่างไรบ้างวันนี้เราคุยเรื่องนี้ เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับลูกสัตว์กำพร้าเหล่านั้นกันครับ

@กรณีใดบ้างที่เราต้องทำหน้าที่เป็นแม่นมให้สัตว์


สถานการณ์ที่เราต้องพบเจอลูกสัตว์กำพร้าและทำให้เราต้องกลายเป็นแม่นมมีหลายกรณี ได้แก่

- แม่สัตว์มาคลอดลูกทิ้งไว้ แล้วไม่ยอมมาดูแลเลี้ยงลูก

- แม่สาวที่เพิ่งเคยคลอดลูกครอกแรก แต่เลี้ยงลูกไม่เป็น ปล่อยลูกทิ้งไว้โดยไม่สนใจ

- การที่แม่สัตว์เสียชีวิตหลังคลอด

- การที่แม่สัตว์ป่วย หรือมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยยาอันตราย ที่สามารถถ่ายทอดทางน้ำนมได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูก จึงไม่สามารถให้นมลูกได้เป็นต้น

@หลักของแม่นมสัตว์ในการดูแลมีอะไรบ้าง?

สำหรับหลักการสำคัญในการเป็นแม่นม ขอสรุปได้อย่างง่ายๆ เพียง 3 ข้อสั้นๆ ที่จำง่ายๆ ว่า “อุ่น อิ่ม อึ” ซึ่งขอลงรายละเอียดดังนี้

1.“อุ่น” มาจาก “ความอบอุ่น” ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญข้อแรก เนื่องจากลูกสัตว์ที่เกิดใหม่นั้น จะมีอุณหภูมิร่างกายที่ค่อนข้างต่ำ และอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากในท้องแม่มาสู่อุณหภูมิของโลกภายนอก ความอบอุ่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก (เราจะเห็นได้ทั่วไป จากการที่แม่สุนัขหรือแมวที่นอนขดตัวเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูก รวมถึงแม่ไก่ที่นั่งกกไข่หรือลูกเจี๊ยบเกือบตลอดเวลานั่นเอง)

ส่วนใหญ่แล้ว ตามโรงพยาบาลสัตว์ หรือคลินิกรักษาสัตว์ มักจะใช้ตู้ควบคุมอุณหภูมิ เพื่อให้ความร้อนที่อบอุ่นสม่ำเสมอ แต่กรณีที่เราอยู่บ้าน เราสามารถทำได้ด้วยการใช้โคมไฟอ่านหนังสือที่มีแสงนวลๆ (ไม่ใช่หลอดไฟ LED) หลอดไฟประเภทนี้จะทำให้เกิดความร้อน ซึ่งสามารถนำมาใช้ให้เกิดความอบอุ่นได้

หลักการสำคัญที่สุดในการกกก็คือ การดูแลอุณหภูมิให้กับลูกสัตว์ในช่วงแรกคือ เพื่อรักษาระดับการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดของลูกสัตว์ให้ทำงานได้เป็นปกติ

แต่สิ่งที่ต้องระวังในการกกไฟก็คือ

- ต้องควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินไป เพราะจะสามารถทำให้เกิดอันตรายกับผิวหนังของลูกสัตว์ได้ โดยจะทำให้ผิวหนัง (ที่บอบบาง) นั้นไหม้ เกิดเป็นแผล และติดเชื้อ ซึ่งสามารถเสียชีวิตในที่สุด ในกรณีที่ใช้ตู้ควบคุมอุณหภูมิสำหรับอบลูกสัตว์ ก็ควรตั้งอุณหภูมิที่ 37-38 องศาเซลเซียส

โดยที่เราสามารถตรวจสอบความร้อนแบบง่ายที่สุดก็คือ ลองทดสอบความร้อนด้วยหลังมือของเราเอง ว่าร้อนจนเกินไปหรือไม่ นอกจากนี้ให้สังเกตอาการลูกสัตว์ว่าอยู่ได้อย่างสบาย ไม่กระวนกระวาย หรือพยายามคลานหนีจากตำแหน่งไฟกกหรือไม่หากร้อนเกินไป เราก็ลดอุณหภูมิลงได้โดยการปรับไฟกกให้ห่างจากตัวลูกสัตว์มากขึ้น

- ต้องระมัดระวังเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งกรณีนี้จะเป็นอันตรายมากต่อทั้งลูกสัตว์และคนในบ้าน อาจทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้มากทีเดียว

- ระวังอันตรายจากอุบัติเหตุ จากการกระแทก หรือจากการร่วงหล่นของโคมไฟใส่ลูกสัตว์ แล้วเกิดการการบาดเจ็บ หรือเกิดการลุกไหม้ของไฟได้

2.“อิ่ม” เป็นหลักการข้อที่สอง นั่นคือเรื่องของความอิ่มในการกิน  ลูกสัตว์แรกเกิดนั้นหากไม่ได้น้ำนมจากแม่ ก็ควรได้รับสารทดแทนน้ำนมแม่สัตว์อย่างเพียงพอ
โดยนมที่เลือกใช้ในลูกสัตว์แรกเกิดควรเป็นนมที่ผลิตมาเพื่อทดแทนน้ำนมแม่โดยเฉพาะ แต่ในกรณีที่หาไม่ได้จริงๆ เราอาจใช้นมแพะป้อนให้กิน เนื่องจากมีโมเลกุลค่อนข้างเล็ก ง่ายต่อการดูดซึม ควรหลีกเลี่ยงนมวัวเพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการเสียชีวิตเนื่องจากการท้องเสีย ท้องอืดได้

โดยปกติแล้ว ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังเกิด ลูกสัตว์ควรได้รับ “นมน้ำเหลือง” หรือ colostrum จากแม่ ซึ่งเป็นนมที่มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจากแม่สัตว์ส่งต่อถึงลูก (โดยในช่วงเวลาไม่เกิน 1-2 วันแรกหลังคลอดนั้น ลำไส้ของลูกจะสามารถดูดซึมภูมิคุ้มกันเหล่านี้เข้าไปได้ แต่หลังจากนั้น ก็จะไม่สามารถดูดซึมได้แล้ว) เราจึงพบว่าลูกสัตว์กำพร้าที่ไม่ได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่นั้น เมื่อเติบโตมามักจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าลูกสัตว์ปกติที่ได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ จึงทำให้สามารถติดโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าลูกสัตว์ทั่วไป

การป้อนนมลูกสัตว์กำพร้ามีหลักการ ที่ควรต้องตระหนักไว้คือ “ป้อนทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง“ โดยปกติแล้ว ควรป้อนทุก 2-3 ชั่วโมง นอกจากนี้อุปกรณ์ที่ใช้ป้อนนม ก็ควรใช้ขวดนมสำหรับลูกสัตว์โดยเฉพาะ และเลือกจุกนมให้มีขนาดเหมาะสมกับปากของสัตว์ หากลูกสัตว์ยังดูดไม่เป็น ก็อาจต้องใช้ไซริงค์หรือกระบอกฉีดยา (ที่ประยุกต์ด้วยการติดปลายด้วยยางนิ่มๆ เช่นใส้ไก่ยางในของรถจักรยาน) ใช้ป้อนลูกสัตว์ชั่วคราวก่อนก็ได้

สำหรับปริมาณน้ำนมที่เหมาะสมนั้น ขึ้นกับขนาดตัวของลูกสัตว์ ลูกสัตว์จะกินไม่มาก และจะหยุดกินเองเมื่ออิ่มท้อง หรือเราจะสังเกตได้จากลักษณะของท้องที่ขยายขนาดขึ้นก็ได้

แต่มีข้อควรระวังในการป้อนนมดังนี้

- ชนิดของนม (ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ควรเป็นสารทดแทนนม หรืออาจใช้นมแพะแต่ไม่ควรเป็นนมโค)

- ความสะอาดและการปนเปื้อนแบคทีเรียในนมที่ชงทิ้งไว้ (หรือที่เรียกว่านมบูดนั้นเอง)

- อุณหภูมิของนมที่ให้ลูกสัตว์กิน ต้องอุ่นพอควร เพื่อป้องกันภาวะท้องอืดจากการกินนมที่เย็นเกินไป แต่จะต้องไม่ร้อนเกินไปจนเกิดการลวกปาก ลิ้น และทางเดินอาหารซึ่งเราสามารถทดสอบความอุ่นได้ โดยลองหยดนมมาที่หลังมือของเรา ถ้าร้อนเกินไปก็ต้องปล่อยให้เย็นลงก่อน

- การสำลักจากการป้อนนมในกรณีที่ให้ปริมาณมากและเร็วเกินไป หรือการเจาะรูที่จุกนมใหญ่เกินไปทำให้ลูกสัตว์กลืนไม่ทัน และสำลักนมเข้าปอด เกิดการติดเชื้อ และอาจถึงเสียชีวิตได้ทันที

- การเจาะรูที่จุกนมเล็กเกินไป ก็จะทำให้ลูกสัตว์ดูดนมไม่ได้

3.“อึ” หลักการข้อที่สามคือเรื่องของการขับถ่ายของเสีย (ทั้งนี้รวมทั้งอุจจาระและปัสสาวะ)  การขับถ่ายนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงเสมอว่า  ทุกครั้งที่ลูกสัตว์ได้รับน้ำนมจะต้องมีการขับถ่ายควบคู่กันไป มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาท้องผูกท้องอืดหรือมีของเสียสะสมในทางเดินอาหาร

ในภาวะปกติ เราจะเห็นว่าแม่สัตว์จะเลียทำความสะอาดตัวลูกสัตว์ โดยการเลียบริเวณ
อวัยวะเพศและทวารนั้นเป็นการทำเพื่อกระตุ้นลูกสัตว์ให้ขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะออกมา สำหรับลูกสัตว์กำพร้า แม่นมต้องช่วยกระตุ้นการขับถ่ายแทนแม่สัตว์ด้วยการใช้“สำลีชุบน้ำอุ่น” เช็ดบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักทดแทนการเลียของแม่สัตว์อ้วย

มีข้อควรระวังในการกระตุ้นการขับถ่ายดังนี้

- ต้องทำทุกครั้งหลังป้อนนมลูกสัตว์

- ควรให้เวลากับการกระตุ้นการขับถ่ายในลูกสัตว์ด้วย เนื่องจากลูกสัตว์บางตัวจะใช้เวลาค่อนข้างนานหลังจากการกระตุ้นกว่าจะเกิดการขับถ่าย

- ต้องทำด้วยความอ่อนโยน ไม่จำเป็นต้องทำด้วยความรุนแรง แต่ใช้ความอุ่นของน้ำที่ชุบสำลีในการกระตุ้นให้เกิดการขับถ่าย

- หากลูกสัตว์ไม่ยอมขับถ่าย แม่นมควรพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็ว

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นหลักการเบื้องต้นในการเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์กำพร้า ซึ่งหากเราทราบข้อมูลเหล่านี้แล้ว เราทุกคนก็สามารถช่วยเหลือลูกสัตว์กำพร้าให้มีโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น และเมื่อโตขึ้นจนมีอายุครบสำหรับทำวัคซีนแล้วละก็ อย่าลืมพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อเริ่มโปรแกรมวัคซีนด้วยนะครับ เพราะว่าลูกสัตว์กำพร้ามีภูมิคุ้มกันค่อนข้างต่ำกว่าปกติ วัคซีนจึงเป็นช่องทางสำคัญที่สามารถช่วยป้องกันลูกสัตว์จากโรคติดเชื้อต่างๆ ได้ครับ

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ภาควิชากายวิภาคศาสาสตร์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:21 น. สภาพอิดโรย-เครียด! คุมตัว'ทิดแย้ม-โบรกเกอร์เว็บพนันสาว' ยักยอกเงินวัด ส่งศาลฝากขัง
11:17 น. 'ธนกร'จี้'ผบ.ตร.-รัฐบาล' เอาจริงกวาดล้างเว็บพนัน หลังพบเครือข่ายใช้เงินสีดำบริจาควัด-ใช้ทุ่มเลือกตั้ง
11:04 น. ตชด.ซุ่มจับยาบ้า 3 แสนเม็ดริมโขงศรีสงครามพบสารอันตรายผสมหวังทะลักเข้าตอนใน
10:58 น. 'นฤมล' ย้ำ 'กล้าธรรม'ไม่ใช่สาขาพรรคใคร เผยสาเหตุ'ธรรมนัส' พบ 'ทักษิณ'
10:50 น. แม่สายสกัดจับ! บุหรี่เถื่อนซุกพัสดุ เตรียมส่งกรุงเทพฯ-ชลบุรี
ดูทั้งหมด
สั่งย้าย! รอง ผบ.พัน กองบิน 23 พ้นตำแหน่ง หลังใช้ทหารวิ่งไรเดอร์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
นายกสมาคมทนาย ชี้'ทักษิณ'รักษาตัวชั้น 14 เจ้าตัวถูกจำคุกตามหมายศาลเเล้ว
เช็คผลเลือกตั้งเทศบาลบุรีรัมย์ ‘บิ๊กเนม’พาเหรดยึดเก้าอี้นายกเทศมนตรี
หนาวทั้งบาง! ‘ดิเรกฤทธิ์’ชี้หากราชทัณฑ์ไร้หลักฐานปมชั้น 14 คาดคนผิดรับโทษเพียบ
ล้มช้าง! เปิดผลเลือกตั้งเทศบาล‘อุดรธานี’แชมป์เก่าร่วงระนาว จิตอาสาซิวชัยที่‘บ้านดุง’
ดูทั้งหมด
บุคคลแนวหน้า : 17 พฤษภาคม 2568
จีนเตือนอย่าบิดเบือนประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 และธรรมนูญ UN
ไทยไม่รอด เพราะนายกรัฐมนตรีไร้ปัญญา
ตึกถล่มผ่านไป 51 วัน จับคนผิดไม่ได้สักคน
อีโก้ทะลุเมฆ (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตชด.ซุ่มจับยาบ้า 3 แสนเม็ดริมโขงศรีสงครามพบสารอันตรายผสมหวังทะลักเข้าตอนใน

เปิดหน้าผู้กองสายลับ! ปลอมตัวเป็นเด็กวัด 8 เดือน ล้วงลึกคดี'ทิดแย้ม' ก่อนเป็นคนอ่านหมายศาลค้นกุฏิ

'นฤมล'ลุยนโยบายการศึกษากล้าธรรม ระดมความเห็นแก้ปัญหา ปลื้มหลายคนทยอยย้ายเข้าพรรค 

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2568

สินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก สร้างรายได้ต่อเนื่อง ปี68'ม.ค.-มี.ค.'พุ่งกว่าแสนล้าน

แซ่บสะเทือนโลก! 'ลิซ่า-ไทล่า'ปล่อยเพลง'When I'm With You' แดนซ์ไฟลุกสมฉายาสะโพกแห่งชาติ

  • Breaking News
  • สภาพอิดโรย-เครียด! คุมตัว\'ทิดแย้ม-โบรกเกอร์เว็บพนันสาว\' ยักยอกเงินวัด ส่งศาลฝากขัง สภาพอิดโรย-เครียด! คุมตัว'ทิดแย้ม-โบรกเกอร์เว็บพนันสาว' ยักยอกเงินวัด ส่งศาลฝากขัง
  • \'ธนกร\'จี้\'ผบ.ตร.-รัฐบาล\' เอาจริงกวาดล้างเว็บพนัน หลังพบเครือข่ายใช้เงินสีดำบริจาควัด-ใช้ทุ่มเลือกตั้ง 'ธนกร'จี้'ผบ.ตร.-รัฐบาล' เอาจริงกวาดล้างเว็บพนัน หลังพบเครือข่ายใช้เงินสีดำบริจาควัด-ใช้ทุ่มเลือกตั้ง
  • ตชด.ซุ่มจับยาบ้า 3 แสนเม็ดริมโขงศรีสงครามพบสารอันตรายผสมหวังทะลักเข้าตอนใน ตชด.ซุ่มจับยาบ้า 3 แสนเม็ดริมโขงศรีสงครามพบสารอันตรายผสมหวังทะลักเข้าตอนใน
  • \'นฤมล\' ย้ำ \'กล้าธรรม\'ไม่ใช่สาขาพรรคใคร เผยสาเหตุ\'ธรรมนัส\' พบ \'ทักษิณ\' 'นฤมล' ย้ำ 'กล้าธรรม'ไม่ใช่สาขาพรรคใคร เผยสาเหตุ'ธรรมนัส' พบ 'ทักษิณ'
  • แม่สายสกัดจับ! บุหรี่เถื่อนซุกพัสดุ เตรียมส่งกรุงเทพฯ-ชลบุรี แม่สายสกัดจับ! บุหรี่เถื่อนซุกพัสดุ เตรียมส่งกรุงเทพฯ-ชลบุรี
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

14 ก.ค. 2567

‘สุนัขปากเหม็น’

‘สุนัขปากเหม็น’

7 ก.ค. 2567

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

30 มิ.ย. 2567

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

23 มิ.ย. 2567

สุนัขปากเหม็น

สุนัขปากเหม็น

16 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

9 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

2 มิ.ย. 2567

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

26 พ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved