วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / ทันโลกทันเหตุการณ์
ทันโลกทันเหตุการณ์

ทันโลกทันเหตุการณ์

แพทยสภา
วันเสาร์ ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะสูญเสียการได้ยินจากพฤติกรรมสัมผัสเสียงดัง

ดูทั้งหมด

  •  

โดยทั่วไปภาวะสูญเสียการได้ยินมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุเป็นลำดับแรก แต่ในปัจจุบันพบอุบัติการณ์ได้ 1 ใน 2 รายของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน (ช่วงอายุ 12-35 ปี) มากกว่า 1 พันล้านคน มีความเสี่ยงที่จะประสบภาวะการได้ยินบกพร่องจากพฤติกรรมการฟังเสียงที่ไม่ปลอดภัย ด้วยอัตราการเติบโตของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มีการสื่อสารและรับข้อมูลผ่านระบบออน์ไลน์โดยใช้อุปกรณ์หูฟังมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมการสัมผัสเสียงดังจากกิจกรรมนันทนาการและสถานบันเทิง เช่น การดูหนัง ฟังเพลง เชียร์กีฬา ร่วมคลาสออกกำลังกาย ยังไม่นับรวมความเสี่ยงจากการสัมผัสเสียงดังในสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและหลายครั้งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น เสียงดังจากบริเวณสถานที่ทำงาน หรือ เสียงรบกวนจากการคมนาคม เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะการได้ยินบกพร่อง

ภัยเงียบจากการสัมผัสเสียงดังที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและใช้ระยะเวลาในการถดถอยของประสาทหู ในช่วงแรกประสาทหูจะถูกทำลาย ณ จุดที่รับความถี่เสียงสูง จากนั้นจะค่อยๆ เสื่อมถอยไปยังจุดรับความถี่กลางและต่ำ ตามลำดับ ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่ใช้สื่อสาร ส่งผลให้การฟังมีความผิดเพี้ยนและมีความยากลำบากในการฟังเข้าใจความหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา มีการสวมใส่หน้ากาก และเว้นระยะห่างทำให้ผู้ที่มีภาวะการได้ยินบกพร่อง ประสบความยากลำบากมากขึ้นจากการฟังที่ไม่ชัดเจนและไม่สามารถใช้การฟังร่วมกับการอ่านปากร่วมได้ ภาวะสูญเสียการได้ยินไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร แต่ยังส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตทั้งมิติทางสังคมและจิตใจรวมถึงความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัย การได้ยินเสียงที่ลดลงทำให้คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะไม่ได้ยินเสียงจากสิ่งแวดล้อมและเสียงเตือนต่างๆ


องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2593 จะมีประชากรของโลกจำนวน 2.5 พันล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของประชากรทั่วโลกทั้งหมด ประสบปัญหาหูตึงระดับต่างๆ ไปจนถึงหูหนวก และมีจำนวนประมาณ 700 ล้านคนที่ต้องเข้ารับการรักษาและฟื้นฟู เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรง เราควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังอย่างต่อเนื่อง และดูแลการได้ยินที่ดีให้อยู่กับเราไปให้นานที่สุด“To hear for life, listen with care”

วิธีการป้องกันภาวะสูญเสียการได้ยิน

l จำกัดระยะเวลาที่สัมผัสเสียงดัง ใน 1 สัปดาห์เราไม่ควรสัมผัสเสียงดัง 80dB เป็นระยะเวลามากกว่า 40 ชั่วโมง

l ปรับลดเสียงไม่เกิน 60% ของระดับความดังสูงสุด หรือ ต่ำกว่า 80dB หรือเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีระบบตัดเสียงรบกวน

l หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันที่มีคุณสมบัติลดทอนเสียง เช่น ที่ครอบหู หรือ ที่อุดหู (Ear plug)

l ควบคุมระดับความดังของเสียงและระยะเวลาที่สัมผัสเสียงผ่าน application ในโทรศัพท์มือถือ

ดร.รมิดา ดินดำรงกุล

สาขาวิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงลานครินทร์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

บุหรี่ไฟฟ้า: ทางเลือกที่(ไม่)ปลอดภัย

บุหรี่ไฟฟ้า: ทางเลือกที่(ไม่)ปลอดภัย

12 ก.ค. 2568

การรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์ ErYAG “เหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ควรประเมินรายบุคคลโดยแพทย์เฉพาะทาง”

การรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์ ErYAG “เหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ควรประเมินรายบุคคลโดยแพทย์เฉพาะทาง”

5 ก.ค. 2568

ทำไมผู้สูงอายุต้องได้รับวัคซีนและวัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ

ทำไมผู้สูงอายุต้องได้รับวัคซีนและวัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ

28 มิ.ย. 2568

การเลือกนมและผลิตภัณฑ์ของนม

การเลือกนมและผลิตภัณฑ์ของนม

21 มิ.ย. 2568

โรคพาร์กินสัน : รู้เร็ว รักษาไว คุณภาพชีวิตยั่งยืน

โรคพาร์กินสัน : รู้เร็ว รักษาไว คุณภาพชีวิตยั่งยืน

14 มิ.ย. 2568

สุขภาพตา by สมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ‘ภูมิแพ้ขึ้นตา’ โดย นายแพทย์ วีรภัทร อุดมวงศ์

สุขภาพตา by สมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ‘ภูมิแพ้ขึ้นตา’ โดย นายแพทย์ วีรภัทร อุดมวงศ์

7 มิ.ย. 2568

แพทยสภา วัณโรคยุคใหม่ ต้องรู้ให้ทัน

แพทยสภา วัณโรคยุคใหม่ ต้องรู้ให้ทัน

31 พ.ค. 2568

หาสาเหตุของนอนกรนด้วย DISE ส่องกล้องขณะหลับ

หาสาเหตุของนอนกรนด้วย DISE ส่องกล้องขณะหลับ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved