(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)
ระดับเสียงที่ฟังได้อย่างปลอดภัย
ระดับเสียงในสิ่งแวดล้อมและเวลาที่ฟังได้อย่างปลอดภัย
มาตรฐานสากลเพื่อการฟังอย่างปลอดภัยในสถานที่จัดงานและทำกิจกรรม
มาตรฐานสากลเพื่อการฟังอย่างปลอดภัย ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำมีข้อควรปฏิบัติ 6 ข้อ ดังนี้
1. จำกัดความดังเสียง ระดับความดังเฉลี่ยสูงสุดเมื่อเวลามากกว่า 15 นาทีไม่เกิน 100 เดซิเบล (LAeq 15 minutes) ผู้ฟังยังได้รับความบันเทิงได้และปลอดภัยต่อหู
2. ตรวจวัดระดับเสียงอยู่เสมอ ตรวจวัดระดับเสียงตลอดเวลาและบันทึกด้วยอุปกรณ์เทียบวัดเสียงโดยทีมงานที่ได้รับมอบหมาย
3. ใช้ระบบเสียงและตั้งเสียงให้เหมาะกับสถานที่ ปรับระบบเสียงที่เหมาะกับลักษณะและขนาดของสถานที่ ให้มีคุณภาพเสียงที่ให้ความบันเทิงและมีความปลอดภัยสำหรับทุกคน
4. มีอุปกรณ์ป้องกันเสียงพร้อมใช้ เช่น ที่อุดหู สำหรับผู้เข้าร่วมงานทุกคนพร้อมวิธีใช้
5. จัดพื้นที่เงียบสงบ สำหรับผู้ร่วมงานได้พักหู ช่วยลดความเสี่ยงหูตึง-หูหนวก
6. จัดฝึกอบรมและเผยแพร่ข้อมูล แจ้งขั้นตอนปฏิบัติเพื่อการฟังอย่างปลอดภัยให้พนักงานและผู้ร่วมงานนำไปใช้
มาตรฐานสากลเพื่อการฟังอย่างปลอดภัย แนะนำสำหรับผู้ใช้บริการในสถานบันเทิง เช่น ไนต์คลับ ดิสโก้เทค บาร์ คอนเสิร์ตและเข้าร่วมงานกิจกรรมหรืองานเทศกาลต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน สามารถปฏิบัติได้โดย
ภาครัฐบาล โดยการพัฒนากฎหมายหรือข้อบังคับที่สามารถตรวจสอบผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามข้อกำหนด ควบคู่กับรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงการฟังอย่างปลอดภัย ช่วยลดความต้องการในการดูแลการได้ยิน เพิ่มคุณภาพชีวิตประชากร และช่วยเพิ่มผลผลิตมวลรวมของประเทศ
เจ้าของ/ผู้จัดการในธุรกิจสถานที่จัดงานและทำกิจกรรม รวมถึงสมาคมผู้ประกอบการ สามารถปรับใช้มาตรฐานการฟังที่ปลอดภัยและนำไปใช้โดยสมัครใจ
แสดงถึงการใส่ใจสุขภาพการได้ยินของลูกค้า การสร้างประสบการณ์ที่ดีในการฟัง ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมซึ่งอาศัยความสามารถในการได้ยินของลูกค้าในการประกอบธุรกิจสร้างรายได้
สถาบันการศึกษาสำหรับนักดนตรีและวิศวกรเสียง สามารถบรรจุเรื่องการฟังอย่างปลอดภัยในหลักสูตรการศึกษา มุ่งเน้นความสำคัญของความต้องการ เหตุผล หลักปฏิบัติและประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรฐาน ช่วยลดอันตรายต่อการได้ยิน ทั้งฝ่ายผู้ชมผู้ฟังและผู้ทำงานในสถานบันเทิงและสถานที่จัดงานต่างๆ
ภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญช่วยเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสากลเพื่อการฟังอย่างปลอดภัย และสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติทั้งในระดับรัฐ เจ้าของกิจการ ผู้จัดการ ผู้จัดกิจกรรม และพนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานที่จัดงานและทำกิจกรรม
“การสูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง รักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้”
รศ.พญ.สุวิชา แก้วศิริ
หน่วยโสตวิทยา โสตประสาทวิทยาและการสื่อความหมาย
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมาชิก ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย
สมาชิกกลุ่ม Make Listening Safe, World Hearing Forum
เลขที่ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม 22029
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี