(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)
3.ปัจจัยซ้ำเติม (Perpetuating factors) มักพบในรายที่มีภาวะหูอักเสบเรื้อรัง คือปัจจัยที่ส่งเสริมให้การอักเสบหรือการติดเชื้อยังคงอยู่และไม่หายไป การเปลี่ยนแปลงสภาพภายในช่องหูไปอย่างถาวร เช่น การบวมหรือขยายขนาดของต่อมและนื้อเยื่อในช่องหู และรอบๆ ช่องหู มีหินปูนหรือผังผืดมายึดเกาะ ทำให้ไม่สามารถคืนกลับสภาพเดิมได้ นอกจากนี้การอักเสบของหูชั้นกลางและหูชั้นในก็เป็นปัจจัยซ้ำเติมให้มีการอักเสบของหูชั้นนอกได้ด้วยเช่นกัน
4.ปัจจัยโน้มนำ (Predisposing factors) หรือปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะหูอักเสบได้ง่ายกว่าปกติคือความอับชื้นภายในช่องหูซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์หูปรก หรือมีใบหูที่ใหญ่ที่พับลงมาปิดช่องหู เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ค๊อกเกอร์สแปเนียลบาสเซ๊ตฮาวด์ รวมถึงสายพันธุ์ที่มีขนในช่องหูหนาแน่นเช่น พุดเดิ้ลชิสุห์ สายพันธุ์ที่มีช่องหูตีบแคบ เช่น ไชนีสชาเป่ยนอกจากนี้สุนัขที่ชอบว่ายน้ำ หรือในช่วงฤดูที่มีความร้อนและความชื้นสูงก็สามารถเป็นสิ่งโน้มนำที่ให้เกิดภาวะหูอักเสบได้ง่ายกว่าปกติด้วยเช่นกัน
@การตรวจวินิจฉัย
สัตวแพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติ อาการที่แสดงออก รวมถึงการตรวจร่างกายสัตว์อย่างละเอียดโดยอาจมีการจับคลำใบหูและช่องหู อาจมีการใช้กล้องส่องหู (Otoscope) ส่งเข้าไปในช่องหู และเก็บตัวอย่างเซลล์ ขี้หูหรือหนองในช่องหูไปส่องตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์ หรืออาจนำไปเพาะเชื้อ เพื่อตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุและยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
@การรักษา
สัตวแพทย์อาจแนะนำให้มีการใช้ยาภายนอก เช่น น้ำยาล้างหูเพื่อล้างทำความสะอาด ลดความสกปรกจากขี้หูหรือหนองในช่องหู และยาหยอดเข้าไปในหู เพื่อลดอาการอักเสบ ลดการติดเชื้อ หรือยาอื่นๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการที่ตรวจพบ
ขอเรียนย้ำว่า เจ้าของไม่ควรซื้อยาหยอดหูมาใช้เองโดยที่ยังไม่ได้ทำการตรวจให้ทราบสาเหตุโดยสัตวแพทย์ เนื่องจากมีความเสี่ยงให้เกิดภาวะการดื้อยาได้
@การป้องกัน
เจ้าของควรหมั่นเช็ดทำความสะอาดใบหูและช่องหูด้วยน้ำยาล้างหูที่มีส่วนผสมของสารละลายขี้หูและสารช่วยระเหยแห้งเป็นประจำ ซึ่งท่านสามารถทำได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งโดยเฉพาะในรายที่ชอบว่ายน้ำ หรืออาบน้ำแล้วมีความเสี่ยงเรื่องน้ำเข้าหู เพื่อลดความอับชื้นภายในช่องหู เป็นการลดปัจจัยโน้มนำ นอกจากนี้ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมหรืออาการผิดปกติข้างต้น ร่วมกับการสังเกตลักษณะของใบหูและช่องของรูหูว่ามีความผิดปกติ เช่น อาการบวมแดงมีคราบหนอง หรือเลือด หรือขี้หูเกรอะกรังหรือไม่
เมื่อท่านสังเกตพบความผิดปกติที่ได้เกริ่นมาทั้งหมดนี้แล้ว ควรนำสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อลดการอักเสบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นของใบหูและช่องหู และเพื่อเป็นการจัดการสาเหตุหลักและสาเหตุแทรกซ้อนที่พบเช่น ภาวะภูมิแพ้ แพ้อาหาร ไรหูที่มีแบคทีเรียหรือยีสต์แทรกซ้อนก่อนที่จะสายเกินแก้นะครับ
หมอโอห์ม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารอ้างอิง
Miller WH, Griffin CE, Campbell KL. Muller and Kirk’s Small Animal Dermatology, ed 7, Missouri, 2012, Saunders, ELSEVIER.
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี