วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ต่อต้านคอร์รัปชัน
ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อตระกูล-ต่อภัสสร์
วันพุธ ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562, 02.00 น.
แพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ คานงัดต้านโกงประเทศไทย ที่ไม่ทำไม่ได้แล้ว

ดูทั้งหมด

  •  

 

เมื่อปลายปีที่แล้ว ผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน Open Government Partnership ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานจากหลายประเทศทั่วโลก ต่างนำแนวทางในการสร้างรัฐบาลที่เปิดมานำเสนอด้วยความภาคภูมิใจ ซึ่งคำว่ารัฐบาลที่เปิดนี้หมายถึงการเปิดทั้งข้อมูลสาธารณะ และ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อการบริหารประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล ลดการคอร์รัปชัน นี่จึงเป็นการเปิดหูเปิดตา
ผมอย่างมากว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเขาพัฒนากันก้าวไกลไปกันมากแค่ไหนแล้ว แม้ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ไม่ใหญ่เท่าประเทศไทยอย่างประเทศมองโกเลียที่มี GDP เพียง 11.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับประเทศไทยที่ประมาณ 455 พันล้านเหรีญสหรัฐ เขายังมีการวางระบบการสร้างรัฐบาลที่เปิดแล้วเลย


ผมจำภาพที่ตัวแทนจากมองโกเลียนำเสนอได้ติดตาว่าเขาแสดงรูปทุ่งหญ้าฮูลันบูเออร์ที่เขียวขจีสุดลูกหูลูกตา แล้วมีโรงเรียนแห่งหนึ่งอยู่กลางทุ่งนั้น เดิมโรงเรียนแห่งนี้อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมอย่างมาก ทำให้ครูและนักเรียนเรียนหนังสือกันอย่างยากลำบาก เหตุผลสำคัญมาจากการที่โรงเรียนนี้อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง เจ้าหน้าที่รัฐจึงไม่รับทราบสภาพที่เป็นอยู่ แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รัฐบาลนำมาใช้สร้างเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมต่อรับฟังข้อมูลจากประชาชนที่อยู่ห่างไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูที่โรงเรียนจึงส่งรูปภาพและข้อมูลไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนนำไปสู่การปรับปรุงสภาพโรงเรียนอย่างรวดเร็ว

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ผมประทับใจมากคือประเทศจอร์เจีย ที่มีการนำแพลตฟอร์มในลักษณะนี้มาใช้เช่นกัน โดยจอร์เจียใช้ในการตรวจสอบการก่อสร้างโรงเรียนว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ และมีคุณภาพตามที่ระบุได้หรือไม่ ที่น่าสนใจมากคือ เขาไม่ได้ใช้วิศวกรหรือช่างก่อสร้างในการตรวจสอบนะครับ เขาบอกว่าคนที่จะสนใจตรวจสอบการสร้างโรงเรียนที่สุดและมีเวลาว่างมากที่สุดคือผู้ปกครองนี่ล่ะ และไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการก่อสร้างเลยก็ตรวจสอบได้ เพราะแพลตฟอร์มนี้จะมีวิศวกรคอยช่วยให้คำแนะนำอยู่ ให้คุณพ่อคุณแม่ที่ไปส่งลูกแล้ว เดินไปถ่ายรูปจุดนั้นจุดนี้ แล้วส่งไปให้วิศวกรดู ปรากฏว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ตั้งแต่เริ่มใช้แพลตฟอร์มนี้ ทุกโรงเรียนสร้างตึกเรียนเสร็จก่อนกำหนดทั้งหมด และผลพลอยได้คือสามารถตรวจจับและป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างได้ด้วย

ทุกวันนี้มีกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ที่ใช้แพลตฟอร์มลักษณะนี้เพื่อสร้างรัฐบาลที่เปิด และสามารถป้องกันการคอร์รัปชันได้จริง ประเทศเพื่อนบ้านเราก็ใช้กันเกือบครบแล้ว เช่น LAPOR! ของประเทศอินโดนีเซีย Check my school ของประเทศฟิลิปปินส์ Danang citizen app ของประเทศเวียดนาม ที่เปิดให้ประชาชนจำนวนมากมีส่วนร่วมในการตรวจสอบหรือเปิดโปงการคอร์รัปชันด้วยตนเอง โดยไม่เปิดเผยตัวตนเพื่อความปลอดภัยในการร้องเรียน นี่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ระดับการคอร์รัปชันในหลายประเทศเหล่านี้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

กลับมามองที่ประเทศไทย เราเองก็มีเครื่องมือลักษณะคล้ายๆ กันแบบนี้อยู่บ้าง ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาขึ้นมาของหน่วยงานภาครัฐเอง ซึ่งทำให้ต้องตั้งอยู่บนหลักการทำงานของรัฐบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการร้องเรียน เช่น ต้องใส่เลขประจำตัวประชาชน ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานที่ชัดเจน ซึ่งล้วนเป็นต้นทุนกับพลเมืองดีเหล่านี้ นี่จึงนำมาซึ่งโครงการทดลอง 2 โครงการ ในปีที่แล้ว โดยภาคประชาสังคมที่ประสบ
ความสำเร็จอย่างมาก โครงการแรกคือ “สังคมดี๊ดี...สองนาทีง่ายๆ” โดยแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนในการต่อต้านการทุจริตร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ที่นำ QR Code ไปติดที่หน่วยงานราชการเพื่อให้ประชาชนให้ความเห็นต่อการบริการของเจ้าหน้าที่ ปรากฏว่าสามารถเพิ่มความเห็นได้จากเดิมที่หน่วยงานทำเองเพียงปีละ 15 ความเห็น เป็น 2,800 ความเห็นภายในเดือนเดียว ซึ่งจำนวนที่มากนี้ทำให้การกลั่นแกล้งเกิดขึ้นได้ยากขึ้นด้วย อีกโครงการหนึ่งคือ ต้องแฉ โดย ACT ร่วมกับสำนักข่าวอิศราและภาคีอีกหลากหลาย เปิดให้ประชาชนร่วมส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตมาที่ Facebook page ก่อนจะนำข้อมูลนั้นมากลั่นกรอง สืบหาข้อมูลเพิ่มเติม และเผยแพร่สู่สาธารณะ จนทำให้มีผู้มา Like ถึง 20,000 คน ภายในเวลาอันรวดเร็ว ได้รับข้อมูลที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงจริงหลายกรณี

เมื่อนำความสำเร็จของโครงการทดลองทั้งสองโครงการ มาวิเคราะห์ก็จะพบว่ามีปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญเหมือนกันอยู่ 3 ประการ ได้แก่ การปกปิดตัวตนของผู้ให้ข้อมูล การเก็บผลข้อมูลโดยองค์กรภาคประชาสังคมที่เชื่อถือได้ และการเผยแพร่ข้อเท็จจริงสู่สาธารณะ ด้วยปัจจัยทั้ง 3 ข้อนี้จึงทำให้ประชาชนไว้ใจที่จะส่งข้อมูลมาและเชื่อว่าเสียงเล็กๆของตัวเองนั้นสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้จริง

จากบทเรียนในต่างประเทศ ผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง และสรุปวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จนี้ จึงนำมาสู่การสร้างแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ในปีนี้ ที่จะรวมเอาคลังข้อมูลสาธารณะขนาดใหญ่มาสู่ประชาชน เพื่อติดอาวุธข้อมูลให้พลเมืองดีที่ต้องการจะให้ข้อคิดเห็นหรือร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐ เมื่อประชาชนได้รับทราบข้อมูลต่างๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างสร้างถนนแล้ว ก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่าที่ถนนพังน่าจะเป็นเพราะการทุจริตหรือจริงๆเพียงแค่ใช้งานมานานจนชำรุดแล้วเท่านั้น ทำให้การร้องเรียนมีน้ำหนักและความถูกต้องชัดเจนมากขึ้น แพลตฟอร์มนี้ก็จะสามารถจำแนกแยกแยะข้อคิดเห็นและข้อร้องเรียนต่างๆ เพื่อกลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว ส่งคำแนะนำในการจัดการกับปัญหาเบื้องต้น และส่งข้อมูลนี้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐที่มีหน้าที่จัดการดูแล องค์กรภาคประชาสังคมที่จะติดตามตรวจสอบ และสื่อที่จะสืบสาวราวเรื่องเพื่อเผยแพร่ความจริงสู่สาธารณะ เป็นการผลักดันให้ผู้รับผิดชอบต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว และดำเนินการตรวจสอบหากมีเกี่ยวข้องกับการทุจริต เมื่อผนวกเข้ากับข้อมูลของดัชนีชี้วัดสถานการณ์คอร์รัปชันไทย โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่ชี้ว่าคนไทยกว่าร้อยละ 98 ไม่ทนต่อการคอร์รัปชันและพร้อมจะลงมือสู้โกงแล้ว แพลตฟอร์มนี้ก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญให้คนไทยที่ตื่นรู้สู้โกงจำนวนมากนี้ได้ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

แพลตฟอร์มที่กล่าวถึงนี้เกิดจากความพยายามผลักดันของหลายองค์กรที่เข้าใจปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทยอย่างแท้จริงและรู้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งจากภาคประชาสังคม เช่น ACT และกองทุนสื่อเพื่อความยุติธรรม ที่มีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และภาควิชาการ เช่น ศูนย์ SIAM lab ของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และด้วยการสนับสนุนข้อมูลจากองค์กรอิสระและหน่วยงานรัฐหลายหน่วย เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ป.ป.ช. และ กรมบัญชีกลาง

เมื่อทั้งงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ผลความสำเร็จจริงในหลายประเทศทั่วโลกและจากโครงการทดลองในไทยเอง ต่างชี้มาอย่างชัดเจนแล้วว่าคานงัดที่สำคัญในการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสำหรับประเทศไทยก็คือ แพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้กับความคิดเห็นและข้อร้องเรียนของประชาชน ก็ถึงเวลาที่ทุกฝ่ายจะร่วมกันลงมือสร้างอาวุธนี้ให้กับคนไทยที่ตื่นรู้ พร้อมสู้โกงแล้วได้ใช้ป้องกันประเทศจากโรคร้ายนี้แล้วล่ะครับ

รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค และดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:51 น. โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย
22:39 น. ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต
22:23 น. 'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ
22:07 น. ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน
22:04 น. ‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ
ดูทั้งหมด
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'สีกากอล์ฟ'ฟาดเรียบ ทั้งเจ้าอาวาส ทั้งคนขับรถ สารภาพถูกชวนมีสัมพันธ์ลึกซึ้ง
วินาที'ในหลวง'ส่งสัญญาณพระหัตถ์ถึง'พระราชินี' ทรงรีบเข้าประคองพระองค์อย่างว่องไว
‘สม รังสี’แฉเหยื่อกว่า 120,000 คนในกัมพูชา ถูกขังใน 53 ตึก โดนบังคับใช้เป็นทาสมาเฟียจีน
ชุดทหารพรานก็ไม่รอด!! เขมรแต่งเครื่องแบบคล้ายชุดทหารพรานไทย สวนสนามต้อนรับ'ฮุน มาเนต'
ดูทั้งหมด
เรามีระบบตรวจสอบ หรือมีแต่ใบอนุญาตที่ซื้อได้?
บุคคลแนวหน้า : 16 กรกฎาคม 2568
ทับละมุ
เชลียร์จนได้เรื่อง!
รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย แบบเอาหน้าประชานิยม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต

‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ

ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน

'เก๋ไก๋'โพสต์ครั้งแรก! พ้ออายุ28แล้วยังผิดพลาดตลอด หลังเจอดราม่าใส่กางเกงรัดรูปเข้าวัด

(คลิป) ด่วน! 6พรรคร่วมซวยแน่ ปมหัวหน้าพรรคพบ 'ทักษิณ'

นักท่องเที่ยวต่างชาติมือบอน พ่นสีหัวรถจักร-ตู้โดยสารรถไฟเสียหาย

  • Breaking News
  • โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย
  • ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต
  • \'วุฒิสภากัมพูชา\'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ 'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ
  • ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน
  • ‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ ‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

2 ก.ค. 2568

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

4 มิ.ย. 2568

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

7 พ.ค. 2568

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

2 เม.ย. 2568

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

5 มี.ค. 2568

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

5 ก.พ. 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

8 ม.ค. 2568

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

4 ธ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved