วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ต่อต้านคอร์รัปชัน
ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อตระกูล-ต่อภัสสร์
วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

ดูทั้งหมด

  •  

สังคมไทยพูดเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันมานานหลายทศวรรษ เรามีการปลูกฝังคุณธรรมในหลักสูตรการเรียน การอบรมข้าราชการก่อนเข้ารับตำแหน่ง และการจัดกิจกรรมรณรงค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่คำถามคือ เหตุใด “ความดี” เหล่านี้จึงยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการโกงในระบบราชการ การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศได้จริง

นี่คือคำถามที่ได้รับการตอบจากมุมมองแบบ “วิทยาศาสตร์” อย่างน่าทึ่งในการบรรยายหัวข้อ “TheScience of Corruption and Anti-Corruption” โดย Professor Robert Gillanders ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จาก Dublin City University และผู้อำนวยการร่วมของ DCU Anti-Corruption Research Centre ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2568 ณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โดยความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิทยาการอาชญากรรม และ ศูนย์ความรู้เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (KRAC)


Gillanders ไม่พูดถึงศีลธรรมในฐานะคำสอน แต่พูดถึง พฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะสิ่งที่สามารถเข้าใจและเปลี่ยนแปลงได้ ผ่านการเก็บข้อมูล การตั้งสมมุติฐาน การทดสอบ และการวัดผล เหมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์

เขาเสนอว่า เราต้องเลิกคิดว่าคนโกงเพราะ “ไม่มีจริยธรรม” และเริ่มคิดว่า คนโกงเพราะ “ระบบเปิดช่องให้โกงได้ง่าย และคุ้มค่าที่จะเสี่ยง” ตัวอย่างจากอินโดนีเซียแสดงให้เห็นว่า เพียงแค่เพิ่มความถี่ของการสุ่มตรวจโครงการก่อสร้างในระดับท้องถิ่น การทุจริตสามารถลดลงได้ถึง 8% โดยไม่ต้องออกกฎหมายใหม่หรืออบรมจริยธรรมเพิ่ม เช่นเดียวกับในโรมาเนีย ที่การติดตั้งกล้องในห้องสอบสามารถลดการโกงได้ในระดับประเทศ

ในทางเศรษฐศาสตร์ การคอร์รัปชันถูกวิเคราะห์ผ่านโมเดลที่เรียบง่ายที่จับต้องได้จริง นั่นคือ มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล ที่ตัดสินใจบนพื้นฐานของ “ผลได้” กับ “ความเสี่ยงที่จะถูกจับได้” ดังนั้นหากเราต้องการลดการทุจริต ไม่ใช่เพียงต้องบอกว่า “อย่าทำ”แต่ต้อง “ทำให้ไม่คุ้มที่จะทำ” ด้วยการออกแบบระบบที่ลดผลประโยชน์จากการโกง และเพิ่มโอกาสในการถูกลงโทษ

ในประเทศไทย เรามักกล่าวโทษ “จริยธรรมของคน”ทุกครั้งที่เกิดคดีคอร์รัปชัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้อำนาจในทางมิชอบ หรือผู้บริหารที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน การตอบสนองต่อเหตุการณ์เหล่านี้มักวนกลับไปที่การจัด “อบรมจริยธรรม” ให้บุคลากรในองค์กร แต่สิ่งที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงคือ เราไม่มีระบบที่ติดตามผลหลังการอบรมเหล่านี้อย่างเป็นระบบ ไม่รู้ว่าผู้เข้าร่วมอบรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือทัศนคติหรือไม่ และไม่มีการออกแบบตัวชี้วัดเชิงพฤติกรรมที่สามารถสะท้อนผลกระทบได้จริง

ในหลายหน่วยงาน การอบรมกลายเป็นเพียง “พิธีกรรมเชิงระบบ” ที่ทำซ้ำปีแล้วปีเล่า เพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินภายใน โดยไม่ได้ตั้งคำถามว่า เนื้อหาและวิธีการที่ใช้สอดคล้องกับบริบทหรือแรงจูงใจของผู้เข้าอบรมหรือไม่ ขณะเดียวกันก็ไม่มีการเก็บข้อมูลก่อน-หลัง หรือวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (control group) ตามหลักวิธีวิทยาของการประเมินผลสมัยใหม่ (impact evaluation) ที่นานาชาติใช้กันอย่างแพร่หลาย

ตรงกันข้ามกับวิธีการแบบเดิม ข้อมูลเชิงประจักษ์กำลังกลายเป็นหัวใจของการต่อต้านคอร์รัปชันยุคใหม่ไม่ใช่แค่ในประเทศตะวันตก แต่รวมถึงในประเทศไทยด้วย ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ โครงการ “ACT Ai” ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐหลายสิบล้านรายการ เพื่อตรวจจับรูปแบบที่ผิดปกติและนำเสนอข้อมูลต่อสาธารณะให้สามารถตรวจสอบกันเองได้ โดยไม่ต้องรอให้ใครมาบอกว่า “นี่คือสิ่งไม่ดี” เพราะข้อมูลมันพูดได้ด้วยตัวเอง

ข้อมูลที่ ACT Ai สร้างขึ้น ไม่เพียงแต่ช่วยภาคประชาชนและสื่อมวลชนใช้ตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง แต่ยังเป็นกระจกสะท้อนว่า หน่วยงานใดมีความเสี่ยงเชิงระบบและควรได้รับการสนับสนุนในเชิงนโยบายอย่างไร เช่น อาจต้องปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบภายใน หรือออกแบบคู่มือจัดซื้อจัดจ้างที่ลดช่องโหว่ลง

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์เช่นนี้ ยังอาจนำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีก เช่น นำไปใช้ประเมินผลนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันที่มีอยู่ หากหน่วยงานใดจัดอบรมจริยธรรมปีละ 3 ครั้ง แต่ยังคงพบ “ความเสี่ยงเชิงพฤติกรรม” แบบเดิมปรากฏอย่างต่อเนื่องในข้อมูลจัดซื้อ ก็อาจต้องตั้งคำถามว่า กิจกรรมที่ทำอยู่ส่งผลจริงหรือไม่ หรือควรปรับเปลี่ยนแนวทางให้ตอบโจทย์พฤติกรรมมนุษย์มากขึ้น เช่น การใช้การเรียนรู้แบบ peer-based หรือการสื่อสารแบบ behavioural nudging แทนการบรรยายทางเดียว

Gillanders ยังชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางสังคม (social norms) คืออีกหนึ่งกุญแจสำคัญ การศึกษาที่โด่งดังชิ้นหนึ่งพบว่า นักการทูตจากประเทศที่มีระดับคอร์รัปชันสูงมีแนวโน้มจะฝ่าฝืนกฎจราจรในนิวยอร์กสูงกว่าประเทศอื่นอย่างมาก ทั้งที่ไม่มีบทลงโทษใดๆ พฤติกรรมนี้ไม่ได้สะท้อนนิสัยเฉพาะบุคคล แต่สะท้อนวัฒนธรรมองค์กรที่คนเหล่านั้นเติบโตมา หากสังคมรอบตัวทำผิดแล้วไม่ถูกลงโทษ การทำผิดก็กลายเป็น“เรื่องธรรมดา” นี่คือสิ่งที่เขาเรียกว่า “กับดักความชอบธรรม” (legitimacy trap) ซึ่งเมื่อความไว้เนื้อเชื่อใจต่อรัฐลดลง ประชาชนก็ยิ่งไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าหน้าที่รัฐก็ยิ่งไร้อำนาจ และคอร์รัปชันก็ยิ่งลุกลาม

ท้ายที่สุด Gillanders ฝากข้อคิดไว้ว่า หากเขาได้บริหารงานต่อต้านคอร์รัปชันในไอร์แลนด์เพียงหนึ่งวันสิ่งที่เขาจะทำคือเพิ่มงบสำหรับการสอบสวนคดีทุจริตลงทุนในระบบการฝึกอบรม และเปิดสอนวิชาความซื่อสัตย์ตั้งแต่ในโรงเรียนประถม นี่ไม่ใช่ความเพ้อฝัน แต่คือสิ่งที่มี “หลักฐานเชิงประจักษ์” รองรับแล้วจากหลากหลายประเทศ

ประเทศไทยจะเดินหน้าเรื่องนี้อย่างไร? เราคงต้องเริ่มจากการยอมรับว่า “ความดี” เพียงอย่างเดียวไม่พอเราต้องออกแบบระบบที่ทำให้ “ความดี” นั้นมีแรงจูงใจมีการเสริมพฤติกรรมในทางที่ถูกต้อง และมีข้อมูลชัดเจนรองรับ ไม่ต่างจากการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องทดลอง วัดผล และแก้ไขซ้ำจนกว่าจะได้ผล

หากเราเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์ในการรักษาโรคระบาดหรือสร้างนวัตกรรมอื่นๆ ได้ การหยิบ “วิทยาศาสตร์”มาใช้กับปัญหาคอร์รัปชันก็ควรได้รับโอกาสเดียวกัน

รศ.ดร.ต่อตระกูล - รศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:09 น. ชมสด! งานแถลงข่าว FAST AUTO SHOW THAILAND 2025
08:35 น. ฝนถล่ม'หนองคาย'ตลอดคืน น้ำท่วมขังหลายจุด-รถสัญจรลำบาก
08:33 น. 'ปานเทพ'แจงยอดบริจาค 30 ล้าน เช็กเลยเงินไปไหนบ้าง!!
08:25 น. อย่าเสี่ยงเลย! 'นิพิฏฐ์'เตือน'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่'ทุกตำแหน่ง'
08:20 น. ฝนตกถนนลื่นชนยับ 5 คัน ทำเจ็บเพียบ นักข่าว-อาสากู้ภัยโดนด้วย
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ต้นสนยักษ์ร่วมสมัยกับฟาโรห์
‘คลิปเขมร’เหตุอัปยศ‘แพทองธาร’
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม
วาทกรรมเจ็บจี๊ด
อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฝนตกถนนลื่นชนยับ 5 คัน ทำเจ็บเพียบ นักข่าว-อาสากู้ภัยโดนด้วย

ว้าวุ่นเลยทีนี้!!โซเชียลขุดโพสต์‘เจี๊ยบ อมรัตน์’ประกาศ‘แก้ผ้า’รำโชว์ ถ้า‘นายกฯ’พ้นตำแหน่ง

เปิดใจ‘ลุงป้อม’ในวันที่เป็น‘ฝ่ายค้าน’-ผจญ‘งูเห่า’ ย้ำทุกฝ่ายต้องร่วมมือรอดพ้นเสียดินแดน

‘ชูวิทย์’ไล่ไทม์ไลน์‘นายกฯตระกูลชินวัตร’ ตั้งแต่‘พ่อ อา ลูก’ สะดุดขาตัวเองล้มทุกครั้ง

รวบแล้ว! ผู้ต้องหาคดีละเมิดเด็กหลังโดดน้ำหนี แต่ตร.จมหายยังหาตัวไม่พบ

ย้อนวิบากกรรม‘อิ๊งค์’ หยุดปฏิบัติหน้าที่แค่ยกแรก ‘มรสุม’เรื่องร้องรอถล่มอื้อ

  • Breaking News
  • ชมสด! งานแถลงข่าว FAST AUTO SHOW THAILAND 2025 ชมสด! งานแถลงข่าว FAST AUTO SHOW THAILAND 2025
  • ฝนถล่ม\'หนองคาย\'ตลอดคืน น้ำท่วมขังหลายจุด-รถสัญจรลำบาก ฝนถล่ม'หนองคาย'ตลอดคืน น้ำท่วมขังหลายจุด-รถสัญจรลำบาก
  • \'ปานเทพ\'แจงยอดบริจาค 30 ล้าน เช็กเลยเงินไปไหนบ้าง!! 'ปานเทพ'แจงยอดบริจาค 30 ล้าน เช็กเลยเงินไปไหนบ้าง!!
  • อย่าเสี่ยงเลย! \'นิพิฏฐ์\'เตือน\'อิ๊งค์\'หยุดปฏิบัติหน้าที่\'ทุกตำแหน่ง\' อย่าเสี่ยงเลย! 'นิพิฏฐ์'เตือน'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่'ทุกตำแหน่ง'
  • ฝนตกถนนลื่นชนยับ 5 คัน ทำเจ็บเพียบ นักข่าว-อาสากู้ภัยโดนด้วย ฝนตกถนนลื่นชนยับ 5 คัน ทำเจ็บเพียบ นักข่าว-อาสากู้ภัยโดนด้วย
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

2 ก.ค. 2568

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

4 มิ.ย. 2568

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

7 พ.ค. 2568

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

2 เม.ย. 2568

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

5 มี.ค. 2568

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

5 ก.พ. 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

8 ม.ค. 2568

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

4 ธ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved