วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ต่อต้านคอร์รัปชัน
ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อตระกูล-ต่อภัสสร์
วันพุธ ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564, 02.00 น.
เข้าใจกลโกงด้วยการเล่นเกม!

ดูทั้งหมด

  •  

งานวิจัยหลายชิ้นชี้ไปในทางเดียวกันว่า การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันให้สำเร็จได้นั้น ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวที่ใช้ได้ทุกพื้นที่เหมือนกัน จำเป็นต้องทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่เพื่อออกแบบกลไกสร้างความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม และการรับผิดชอบที่เหมาะสมกับแต่ละบริบทให้ได้ก่อน

คำถามคือ แล้วเราจะทำความเข้าใจได้อย่างไร ถ้าประเทศไทยจะกว้างใหญ่ขนาดนี้ คนในแต่ละภูมิภาค แต่ละจังหวัด หรือแม้กระทั่งในครอบครัวเดียวกันเองยังคิดไม่เหมือนกันเลย แล้วเราจะหากลไกและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมได้อย่างไร แถมเรื่องการคอร์รัปชันยังไม่ใช่เรื่องที่จะคุยกันได้ง่ายๆ ตรงๆ ด้วย โจทย์ยากแบบนี้ ก็ต้องใช้วิธีการหาคำตอบที่ล้ำสมัยเสียหน่อย ในปัจจุบันในวงการวิชาการเริ่มมีการนำกระบวนการ Gamification หรือการเล่นเกมมาทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งทีมวิจัยของเราก็ได้นำวิธีการนี้มาใช้แล้วในหลายงานวิจัย ซึ่งจะขอยกตัวอย่างที่น่าสนใจมาเล่าในบทความนี้นะครับ


งานวิจัยชิ้นแรก เริ่มมาจากความสงสัยว่า คนไทยมีความรู้สึกต่อการคอร์รัปชันประเภทต่างๆ อย่างไร เหมือนกันหรือต่างกัน
หรือไม่ ผู้ออกแบบนโยบายจะได้เลือกถูกว่าจะเริ่มแก้ที่คอร์รัปชันแบบไหนก่อน ซึ่งตอนแรกทีมวิจัยเราก็คิดถึงการทำแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดยยิ่งได้คนมาตอบแบบสอบถามมากเท่าไหร่ ยิ่งน่าจะสะท้อนความจริงของความรู้สึกของคนไทยได้มากเท่านั้น แต่ปัญหาก็คือ การทำแบบสอบถามให้ได้จำนวนผู้ตอบเยอะมากๆ ราคาแพงมาก และที่สำคัญ การถามตรงๆ ว่าไม่ชอบการคอร์รัปชันแบบไหนมากกว่ากัน อาจจะไม่ได้รับคำตอบที่แท้จริงก็ได้ เพราะการแยกแยะความรู้สึกต่อการคอร์รัปชันแบบต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่จะมาถามกันตรงๆ แล้วได้คำตอบชัดเจนได้

ทีมวิจัยจึงพยายามหาวิธีการใหม่ๆ ในการหาข้อมูลความรู้สึกของคน จนได้ไปพบกับเกมที่ชื่อ Corrupt the Game ที่พัฒนาโดยบริษัทเทคโนโลยีชื่อ Opendream ซึ่งเป็นเกมที่สร้างสถานการณ์ต่างๆ ให้ผู้เล่นแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ ตามเนื้อเรื่อง โดยปัญหานั้นจะเป็นปัญหาคอร์รัปชัน 2 แบบ นั่นคือ การจ่ายสินบน และการช่วยเหลือเพื่อนพ้องในทางที่ผิด และให้ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าในแต่ละสถานการณ์เขาจะโกง หรือ ไม่โกง

เหตุผลที่ทีมวิจัยสนใจเกมนี้ก็เพราะว่า เพียงไม่กี่วันหลังจากเกมนี้เปิดให้ดาวน์โหลดได้ มีผู้โหลดเกมนี้ไปเล่นเกือบแสนคน โดยไม่มีใครขอร้องหรือบังคับให้เล่น โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนอายุน้อยกว่า 30 ปี นั่นหมายความว่า เราสามารถเก็บข้อมูลการตัดสินใจของคนรุ่นใหม่จริงๆ ได้เป็นแสนคนในเวลาสั้นๆ ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงด้วย เหตุผลที่สองก็คือ คำตอบที่เราจะได้รับจะเป็นคำตอบที่แท้จริง ที่มาจากการตัดสินใจของคนในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งน่าจะตรงกับความเป็นจริงมากกว่าการทำแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ ซึ่งหลายครั้งเป็นเพียงการตอบให้ผ่านๆ ไป ไม่ใช่การตอบตามความรู้สึกจริง

ข้อมูลที่ทีมวิจัยนำมาศึกษาก็คือ ผลการตัดสินใจว่าคนเล่นเลือกที่จะโกง หรือไม่โกง ในสถานการณ์การโกงประเภทไหนมากกว่ากัน และข้อมูลสำคัญชุดที่สองก็คือ ระยะเวลาที่คนเล่นใช้ในการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดในแต่ละสถานการณ์ ข้อมูลทั้งสองชุดนี้จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า คนไทยมองการจ่ายสินบน กับ การช่วยเพื่อนพ้องในทางที่ผิด เป็นการโกงที่ร้ายแรงเหมือนกันไหม

ผลการทดลองออกมาว่า ในสถานการณ์ที่ผู้เล่นมีโอกาสจ่ายสินบนเพื่อแก้ปัญหาได้ ผู้เล่นร้อยละ 24.73 ยอมจ่ายสินบน เปรียบเทียบกับเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีโอกาสช่วยเพื่อนพ้องในทางที่ผิด ที่มีผู้เล่นกว่าร้อยละ 40 ตัดสินใจโกงเพื่อแก้ปัญหา

ต่อมาเราไปวิเคราะห์ข้อมูลชุดที่สอง นั่นคือ ระยะเวลาในการตัดสินใจ พบว่า ในสถานการณ์ที่มีโอกาสจ่ายสินบน ผู้เล่นที่ตัดสินใจจ่ายสินบนใช้เวลาตัดสินใจเฉลี่ย 6.83 วินาที ในขณะที่ ผู้เล่นที่ตัดสินใจไม่จ่ายสินบนใช้เวลาตัดสินใจเฉลี่ย 6.39 วินาที หรือง่ายๆ คือ การตัดสินใจไม่จ่ายสินบนใช้เวลาสั้นกว่าการตัดสินใจจ่ายสินบน นั่นหมายความว่า เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ การตัดสินใจไม่จ่ายสินบนเป็นตัวเลือกแรก

เมื่อเปรียบเทียบกับอีกสถานการณ์หนึ่ง คือโอกาสการคอร์รัปชันด้วยการช่วยเหลือเพื่อนพ้องในทางผิด พบว่า การ
ตัดสินใจช่วยเพื่อนในทางผิดใช้เวลาเพียง 5.29 วินาที ในขณะที่การตัดสินใจไม่ช่วยเหลือเพื่อนใช้เวลา 6.34 วินาที นั่นหมายความว่า เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ การตัดสินใจช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ผิดเป็นตัวเลือกแรก

ผลสรุปจากงานวิจัยชิ้นนี้คือ คนไทยรุ่นใหม่ มีแนวโน้มที่จะไม่จ่ายสินบนหากมีโอกาส แต่อาจจะช่วยเหลือพวกพ้องในทางที่ผิดง่ายกว่า แปลว่าหากเราต้องการชักชวนคนจำนวนมากมาแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันประเภทไหนก่อน ถ้าเราเลือกมุ่งไปที่การจ่ายสินบน จะมีโอกาสได้รับการสนับสนุนมากกว่า และมีโอกาสสำเร็จมากกว่า ซึ่งความสำเร็จเริ่มต้นนี่เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้คนรู้สึกมีความหวัง และพร้อมจะร่วมแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ยากกว่าต่อไป สรุปว่าตามคำของอาจารย์ธานีได้ว่า “คอร์รัปชันแต่ละประเภทแก้ปัญหาได้ยากง่ายไม่เท่ากัน ต้องเคลียร์เรื่องง่ายก่อน”

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากในช่วงที่ผ่านมาคือ โครงการวิจัยการตลาดเชิงประยุกต์สำหรับกระตุ้นและจำแนกกลุ่มประชาชนที่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งมีเป้าหมายต่อเนื่องจากงานวิจัยชิ้นที่เล่าไปก่อนหน้าเลย

ในงานวิจัยชิ้นก่อน เราพอเห็นเป้าหมายแล้ว ว่าปัญหาไหนเป็นเรื่องที่จะดึงคนจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมได้ง่าย คำถามที่สำคัญต่อมาคือ แล้วจะสื่อสารกับใครและอย่างไรจึงจะชักชวนคนเหล่านั้นมาช่วยแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบได้ เมื่อพูดถึงการสื่อสารเพื่อดึงดูดใจคน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้คือนักการตลาดงานวิจัยนี้จึงได้ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล และ อ.ดร.อภิชาติ คณะรัตนวงศ์จากภาคการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯมาร่วมทีมวิจัยด้วย

วิธีการหนึ่งที่แปลกใหม่สำหรับงานวิจัยด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่ทีมวิจัยใช้ในครั้งนี้คือ การใช้เกมมาทดลองและทำความเข้าใจพฤติกรรมของคนในเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยได้ ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ มาร่วมออกแบบเกมการทดลองนี้ ในเกมนี้เราให้ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นตัวละครที่มีลักษณะและวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน เช่น ผู้เล่นบางคนได้รับบทเป็นคนดุดัน มุทะลุ บางคนได้รับบทเป็นศิลปิน ชอบใช้ความคิดสร้างสรรค์ แล้วให้ผู้เล่นไปเจอสถานการณ์จำลองที่แตกต่างกัน ว่าเมื่อพบเจอการคอร์รัปชันเขาจะตัดสินใจนิ่งเฉย หรือ เข้าไปต่อต้าน การเล่มเกมนี้ เราไม่ได้ให้ผู้เล่นเล่นครั้งเดียวแล้วจบ อีกสองสัปดาห์ต่อมาเราส่งเกมนี้กลับไปให้ผู้เล่นคนเดิม โดยเปลี่ยนบทบาทตัวละครให้เขาใหม่ แล้วดูว่าการตัดสินใจต่อต้านคอร์รัปชันของเขาเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ด้วย

ผลปรากฏว่า การที่ผู้เล่นเกมได้รับบทบาทที่แตกต่างกัน ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจและพฤติกรรมการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมาก คนที่เคยได้รับบทดุดันขึงขังในครั้งแรก จะไม่เข้าไปต่อต้านคอร์รัปชันมากเท่าในรอบที่สองที่ได้รับบทบาทที่เป็นศิลปิน ในทางกลับกัน คนที่รอบแรกได้รับบทเป็นศิลปินกลับต่อต้านคอร์รัปชันลดลงเมื่อได้รับบทบาทดุดัน มุทะลุในรอบที่สอง ทั้งหมดนี้เราใช้หลักการทางสถิติเป็นตัวชี้วัด ซึ่งผลออกมามีนัยสำคัญทางสถิติด้วย

ผลสรุปหนึ่งจากงานวิจัยชิ้นนี้คือ การที่ผู้เล่นได้รับสารด้วยวิธีการสื่อที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจและพฤติกรรมในการต่อต้านคอร์รัปชัน ดังนั้นการกำหนดยุทธวิธี (tactic setting) ผ่านการสื่อสารเพื่อกระตุ้นความรู้สึกความเท่าเทียมหรือสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายมีความดุดันต่ำลง ใช้แนวทางการสื่อสารที่ลดความแข็งกร้าว เช่น การใช้ข้อความหรือเนื้อหาที่เน้นสื่ออารมณ์ การขอร้อง และใช้ความสุนทรียภาพ ลดการสื่อสารที่ดุดันและการใช้ตัวเลขในการสื่อสาร จะมีโอกาสดึงดูดคนจำนวนมากมาร่วมกันแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้มากกว่าและยั่งยืนกว่า

ผู้อ่านอาจจะมีคำถามในใจว่า การใช้เกมมาถอดความคิดคนแบบนี้ ใช้ได้เฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ชอบเล่นเกมหรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช่ครับ การเล่นเกมเป็นเพียงกระบวนการถอดความคิดที่มาทดแทนการสัมภาษณ์หรือสอบถามตรงๆ จากแบบสอบถามเท่านั้น ส่วนการกำหนดกลุ่มเป้าหมายยังต้องทำตามหลักทางสถิติอยู่ดังนั้นเราสามารถใช้การเล่นเกมนี้ทำความเข้าใจคนได้ทุกกลุ่มอายุในทุกพื้นที่ทั่วไปได้เลย

แนวทางการเข้าใจคน เข้าใจสภาพแวดล้อม และเข้าใจกลโกงด้วยวิธีการใหม่ๆ อย่างการเล่นเกมนี้ล่ะครับ ที่จะเป็นทางออกในการออกแบบกลไกและเครื่องมือในการต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ต่อไปครับ

 

รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค และ ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:09 น. ค้าแข้งลีกเยอรมนี! ‘มิคเคลสัน’ย้ายร่วมทัพ‘เอลเวอร์สแบร์ก’
12:03 น. รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ
11:59 น. (คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน!
11:57 น. ยังไม่ได้ตั้งพรรคใหม่! 'คุณหญิงกัลยา'ปัดตอบอนาคต-รับคุย'ดร.เอ้'
11:50 น. 'ดร.เสรี'ชี้ 'ปชป.-รทสช.'เผชิญวิกฤติศรัทธาหนัก หลังสมาชิก-FCตีจาก เหตุหนุน'อิ๊งค์'
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
ดูทั้งหมด
ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ
ธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ของไทย
กลัวเลือกตั้ง?
บุคคลแนวหน้า : 4 กรกฎาคม 2568
ดวงพิฆาตสองพ่อลูก‘ทักษิณ-แพทองธาร’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ค้าแข้งลีกเยอรมนี! ‘มิคเคลสัน’ย้ายร่วมทัพ‘เอลเวอร์สแบร์ก’

(คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน!

ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 'ตี้ วรรณวลี' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112

จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋

GC ผนึกกำลัง TPBI Group ยกระดับการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยวัสดุเพื่อโลกอนาคตอย่างยั่งยืน

รีไทร์เบอร์20: ลิเวอร์พูลอุทิศให้ โชต้า ผู้ล่วงลับ

  • Breaking News
  • ค้าแข้งลีกเยอรมนี! ‘มิคเคลสัน’ย้ายร่วมทัพ‘เอลเวอร์สแบร์ก’ ค้าแข้งลีกเยอรมนี! ‘มิคเคลสัน’ย้ายร่วมทัพ‘เอลเวอร์สแบร์ก’
  • รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ
  • (คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน! (คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน!
  • ยังไม่ได้ตั้งพรรคใหม่! \'คุณหญิงกัลยา\'ปัดตอบอนาคต-รับคุย\'ดร.เอ้\' ยังไม่ได้ตั้งพรรคใหม่! 'คุณหญิงกัลยา'ปัดตอบอนาคต-รับคุย'ดร.เอ้'
  • \'ดร.เสรี\'ชี้ \'ปชป.-รทสช.\'เผชิญวิกฤติศรัทธาหนัก หลังสมาชิก-FCตีจาก เหตุหนุน\'อิ๊งค์\' 'ดร.เสรี'ชี้ 'ปชป.-รทสช.'เผชิญวิกฤติศรัทธาหนัก หลังสมาชิก-FCตีจาก เหตุหนุน'อิ๊งค์'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

2 ก.ค. 2568

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

4 มิ.ย. 2568

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

7 พ.ค. 2568

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

2 เม.ย. 2568

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

5 มี.ค. 2568

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

5 ก.พ. 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

8 ม.ค. 2568

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

4 ธ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved