วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
อยู่กับ‘หม้อแปลงไฟฟ้า’ ปลอดภัยต้องทำอะไรบ้าง

ดูทั้งหมด

  •  

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” ขอนำเสนอมุมมองของ ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการอยู่ร่วมกับ “หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer)”อย่างปลอดภัย สืบเนื่องจากเมื่อช่วงปลายเดือนมิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา เกิดเหตุเพลิงไหม้หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด ณ อาคาร 3 ชั้น ย่านสำเพ็ง ถนนราชวงศ์ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บนับสิบ ไฟไหม้อาคารและรถเสียหาย ในวันที่ 26 มิ.ย. 2565

หลังจากนั้นอีกไม่กี่วันต่อมา ยังเกิดเหตุระทึกประกายไฟลัดวงจรหม้อแปลงไฟฟ้าใหญ่กว่าตัวเดิมที่ปากซอยวานิช 1 ซึ่งอยู่ห่างจากที่เดิม 50 เมตร แต่ครั้งนี้ไม่มีผู้ใดได้รับอันตราย โดยจากเหตุการณ์ทั้ง 2 ครั้งทำให้เกิดคำถามจากประชาชนว่า ทำอย่างไรจะให้หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีอยู่ทั่วเมือง อยู่กับเราได้อย่างมั่นคงปลอดภัย โดยในประเทศไทยใช้หม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าแรงสูงให้เป็นแรงดันไฟฟ้าสำหรับการใช้งานในครัวเรือน 2 แบบ


คือ 1.แรงดันไฟฟ้าแบบ 3 เฟส (Three-Phase Transformer) วัดแรงดันไฟฟ้าระหว่างเส้นที่มีไฟอยู่ที่380 โวลต์ และ 2.แรงดันไฟฟ้า 1 เฟส (Single-PhaseTransformer) มีแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ ขนาดหม้อแปลงใหญ่-เล็กแตกต่างกันไปสังเกตได้ที่ตัวเลขที่ติดไว้ด้านหน้าของหม้อแปลง เช่น ตัวเลข 500 จะหมายถึงพิกัด 500 เควีเอ (kVA) หรือ 500,000 วัตต์(ทางกระแสสลับ)

ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ทุกบ้านทุกเมืองทั่วไทยและทั่วโลกจนถึงทุกธุรกิจอุตสาหกรรมต่างก็หล่อเลี้ยงด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยหม้อแปลงไฟฟ้านับเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันหรือศักดาไฟฟ้าโดยทำหน้าที่เพิ่มหรือลด (Step up / Step down) ปรับแรงดันสูงมาเป็นแรงดันต่ำหรือเปลี่ยนแรงดันต่ำให้เป็นแรงดันสูงให้เหมาะสม เพื่อแจกจ่ายพลังงานไฟฟ้าไปสู่บ้านเรือนของประชาชน

“โดยทั่วไปลักษณะหม้อแปลงมี 2 แบบ คือ 1.ระบายความร้อนแบบชนิดแห้ง (Dry Type) และ 2.ระบายความร้อนแบบใช้น้ำมัน (Oil Type) มีครีบระบายความร้อนรอบนอกตัวถัง ซึ่งภายในจะมีถังขนาดใหญ่บรรจุน้ำมัน โดยยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยคือ ชนิดน้ำมันติดไฟได้ ทำจาก Mineral Oil และ ชนิดติดไฟยาก (Less Flammable) มีขดลวดทองแดง (Winding) 2-3 ขดขึ้นกับจำนวนเฟสที่ใช้งาน” ดร.สุพรรณ อธิบาย

หม้อแปลงที่ติดตั้งนอกอาคารมักจะเป็นแบบใช้น้ำมันซึ่งมีราคาถูกกว่า เนื่องจากหม้อแปลงไฟฟ้าต้องทำงานตลอดเวลาจึงจำเป็นต้องมี “น้ำมันหม้อแปลง” คอยทำหน้าที่เป็นฉนวน ป้องกันไม่ให้ขดลวดมาชนกันจนเกิดการลัดวงจรไฟฟ้า และยังเป็นตัวช่วยระบายความร้อนภายในหม้อแปลง ปัจจุบันทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑลมีหม้อแปลงไฟฟ้าระบบใช้น้ำมันหลายหมื่นลูกโดย 154 ลูกอยู่ในกรุงเทพชั้นใน

หม้อแปลงไฟฟ้าจะเสื่อมประสิทธิภาพไปตามอายุและการใช้งาน โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนที่ประชาชนมีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากกว่าปกติ อาจเกินกำลังของหม้อแปลงไฟฟ้า (Overload) ยิ่งทำให้เกิดความร้อนสะสมและมีแรงดันภายในหม้อแปลงสูงเกินไป กลไกระบบรักษาความปลอดภัยจะปล่อยแก๊สและของเหลวออกมา ซึ่งเสี่ยงที่จะเกิดไฟลุกไหม้เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนที่อยู่ในอากาศภายนอก

สำหรับประชาชนที่จำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ใกล้กับหม้อแปลงไฟฟ้า 1.ควรปิดประตู หน้าต่าง ด้านที่อยู่ติดกับหม้อแปลงไฟฟ้า และติดตั้งวัสดุป้องกันไฟไหม้ 2.อาคารร้านค้าควรติดตั้งระบบดับเพลิงที่ใช้สารเคมีที่ใช้ดับไฟจากไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและตรวจสอบความพร้อมใช้งานเสมอ 3.หมั่นสังเกตหม้อแปลงไฟฟ้าหากมีความผิดปกติ หรือควันลอยออกจากหม้อแปลงไฟฟ้า ให้แจ้งการไฟฟ้าด่วน 4.ไม่ควรทำกิจกรรมหรือจอดรถใกล้กับบริเวณที่มีหม้อแปลงไฟฟ้า 5.จัดอบรมและซักซ้อมการอพยพหนีไฟในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ตื่นตระหนกปฏิบัติถูกต้อง และลดการสูญเสีย และ 6.เจ้าของอาคารควรพิจารณากรมธรรม์ประกันอัคคีภัยเพื่อคุ้มครองเหตุอันคาดไม่ถึง

อีกด้านหนึ่ง ดร.สุพรรณ ยังมีข้อเสนอแนะถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.ควรเปลี่ยนเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าระบบ Dry Type ซึ่งปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่สามารถติดตั้งนอกอาคารบนนั่งร้านได้ แม้ราคาจะสูงกว่าหม้อแปลงไฟฟ้าระบบน้ำมัน แต่มีความปลอดภัยและคุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาว

2.ในพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของชุมชน การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใกล้กับผนังอาคารสิ่งปลูกสร้างมากเกินไป ควรมีการติดตั้ง “แผ่นกั้นกันไฟ” ที่จะเข้าสู่อาคารจากเหตุหม้อแปลงระเบิดหรือไฟลุกไหม้ และไม่ควรใช้หม้อแปลงขนาดใหญ่เกินกว่า 250 kVA เพื่อลดความรุนแรงหากเกิดการระเบิดของหม้อแปลง 3.หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีอายุเกิน 20 ปี ควรได้รับการบำรุงรักษาที่เร็วกว่ากำหนดและตรวจสอบเป็นพิเศษ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการดูแลปีละ 1 ครั้ง แม้อายุการใช้งานของหม้อแปลงจะกำหนดอยู่ที่ราว 25 ปี ก็ควรปลดระวางการใช้งาน “ก่อน” นั้น

4.ควรมีการเปลี่ยนน้ำมันหม้อแปลงเป็นระยะ ซึ่งน้ำมันหม้อแปลงใช้เป็นฉนวนป้องกันการลัดวงจรภายในหม้อแปลงไฟฟ้าและเป็นตัวช่วยถ่ายเทระบายความร้อนระหว่างขดลวดภายในหม้อแปลงกับอากาศภายนอก น้ำมันซึ่งเมื่อเจอความร้อนสะสมเป็นเวลานานจะเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้ประสิทธิภาพในการเป็นฉนวนและถ่ายเทระบายความร้อนลดลงไป

5.พัฒนา “ระบบเครือข่ายควบคุมอัจฉริยะและรายงานความปลอดภัยได้ 24 ชม.” โดยทุกหม้อแปลงติดตั้ง Sensor ตรวจวัดอุณหภูมิของขดลวดและคุณสมบัติภายในของหม้อแปลงแบบเรียลไทม์ (Real Time) ประยุกต์เทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เนตออฟธิงส์ (IoT) เพื่อส่งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุมของการไฟฟ้านครหลวง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแจ้งประชาชนบริเวณใกล้เคียงผ่านโทรศัพท์มือถือและเสียงไซเรนเตือนภัยที่หม้อแปลงได้ทันเวลา

6.ไม่ควรใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้าเต็มพิกัดกำลัง มาตรฐานควรอยู่ราว 80% เช่น หม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 500 kVA ควรใช้งานเพียง 400 kVA เพื่อความปลอดภัย

7. ควรกั้นรั้วหรือทาสีบริเวณพื้นและติดป้ายเตือนไม่ให้หาบเร่แผงลอยหรือประชาชนอยู่ใกล้หรือจอดรถบริเวณที่มีการติดตั้งหม้อแปลง และแสดงเบอร์โทรสายด่วนเพื่อติดต่อแจ้งเหตุต่อการไฟฟ้าอย่างชัดเจนติดอยู่ที่หม้อแปลง 8.ระมัดระวังไม่ให้สายสื่อสารหรือสายไฟอื่นๆ ใกล้หม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งอาจเป็นเชื้อเพลิงให้เกิดการลุกลามได้ และ 9.ควรนำสายสื่อสารและระบบไฟฟ้าลงดิน

โดยเริ่มจากย่านธุรกิจ ชุมชนใจกลางเมืองที่มีประชาชนอาศัยหนาแน่น!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:15 น. (คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้
18:12 น. ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก
18:00 น. (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
17:57 น. KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
17:53 น. คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

(คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่

ไม่ปล่อยให้ผ่านมือ!'รอง ผกก.สืบฯฮีโร่'ขับรถกลางดึกเจอโจรผัวเมียงัดตู้เติมเงินจับทันที

  • Breaking News
  • (คลิป) \'นายกอิ๊งค์\' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง \'ทักษิณ\' ไม่ได้ (คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้
  • ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก
  • (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด \'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า\' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่ (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
  • KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
  • คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’ คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

‘สวนสัตว์มนุษย์’ บาดแผลยุคอาณานิคม

‘สวนสัตว์มนุษย์’ บาดแผลยุคอาณานิคม

3 พ.ค. 2568

สร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

สร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

26 เม.ย. 2568

ประชากรโลก2พันล้านคน ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม

ประชากรโลก2พันล้านคน ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม

19 เม.ย. 2568

เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายเดิม แม้จะยกเลิก-แก้ไขไปแล้ว

เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายเดิม แม้จะยกเลิก-แก้ไขไปแล้ว

12 เม.ย. 2568

ระวัง‘ปาร์ตี้โฟม-ไฟรั่ว’ ภัยอันตรายช่วงสงกรานต์

ระวัง‘ปาร์ตี้โฟม-ไฟรั่ว’ ภัยอันตรายช่วงสงกรานต์

5 เม.ย. 2568

‘ทุนโต-เทคโนโลยีก้าวไปไว’  แต่‘กลไกกำกับดูแล’ตามไม่ทัน

‘ทุนโต-เทคโนโลยีก้าวไปไว’ แต่‘กลไกกำกับดูแล’ตามไม่ทัน

29 มี.ค. 2568

สังคมไทยเริ่มตื่นตัว  สิทธิ‘ผู้ต้องหา-นักโทษ’

สังคมไทยเริ่มตื่นตัว สิทธิ‘ผู้ต้องหา-นักโทษ’

22 มี.ค. 2568

ระดมนักวิชาการไทย  รับมือ‘ทรัมป์2.0’เขย่าโลก

ระดมนักวิชาการไทย รับมือ‘ทรัมป์2.0’เขย่าโลก

15 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved