วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
‘ระรานออนไลน์’ทรมานทางจิตใจ

ดูทั้งหมด

  •  

ในยุคดิจิทัลแบบนี้ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับคำว่า “Cyberbullying” หรือที่ทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ราชบัณฑิตยสถาน) แปลเป็นคำภาษาไทยว่า “การระรานทางไซเบอร์” หมายถึง การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่าการข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่างๆ เช่น เฟซบุ๊กทวิตเตอร์ ซึ่งแม้พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกจะอยู่คู่กับมนุษยชาติมานานแสนนาน แต่เทคโนโลยีได้ทำให้ผลกระทบของมันรุนแรงขึ้นเป็นทวีคูณ

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เคยสร้างความตระหนักรู้กับสังคมไทยเกี่ยวกับปัญหา Cyberbullying ผ่านบทความ “Cyberbullying : ระรานออนไลน์ ร้ายล้านวิว” เมื่อปี 2562 อธิบายว่า ในอดีตหากโดนล้อเลียนที่ไหนก็มักจบแค่ตรงนั้น เช่น ในโรงเรียน หรือกับเพื่อนกลุ่มเล็กๆ ไม่กี่คน แต่ปัจจุบันมีการใช้ภาพประกอบตัดต่อ แต่งภาพให้ดูน่าเกลียดหรือดูตลกกว่าเดิม มีการผลิตซ้ำถ้อยคำกลั่นแกล้งเป็นพันๆ ครั้ง มีคนมาเขียนคอมเมนต์ซํ้าเติม แล้วแชร์วนไปในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)


การกระทำดังกล่าวทำให้เหยื่อเหมือนถูกทำร้ายจากคนเป็นพันเป็นหมื่นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และอาจแพร่กระจายไปได้เป็นล้านคนในเวลาไม่นาน โดยการทำร้ายยังคงอยู่อย่างนั้นเปิดไปเมื่อใดก็เจอ พร้อมยกตัวอย่างรูปแบบการระรานทางออนไลน์ เช่น 1.การข่มขู่คุกคามหรือให้ร้ายเหยื่อ บางครั้งนำไปสู่การทำร้ายร่างกายกันจริงๆ 2.การเปิดโปงข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ โดยการเอาไปโพสต์หรือส่งต่อให้คนอื่นรับรู้ เช่น ภาพหลุด ภาพตลกๆ เพื่อประจาน ทำให้อับอาย

3.การคุกคามทางเพศ โดยใช้ถ้อยคำที่ส่อไปในทางเพศส่งภาพหรือวีดีโอมาให้แล้วชวนทำกิจกรรมทางเพศ การตัดต่อภาพโป๊เปลือย การลวงให้ส่งรูปไม่เหมาะสมแล้วนำไปโพสต์ประจานหรือแบล็กเมล์ (ขู่กรรโชก) 4.การแอบอ้างตัวตนโดยการแอบเข้าบัญชีออนไลน์ของเหยื่อ หรือสร้างบัญชีใหม่โดยใช้ชื่อและ/หรือรูปภาพของเหยื่อ แล้วนำบัญชีไปใช้ในทางไม่เหมาะสม และ 5.การสร้างกลุ่มเพื่อโจมตี เช่นเพจแอนตี้ต่างๆ เพื่อจับผิด ประจาน พูดคุยตำหนิ ด่าทอ ทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเกลียดชังเหยื่อ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2566 โคแฟค (ประเทศไทย) ร่วมกับภาคีเครือข่ายอีกหลายองค์กร จัดเวทีนักคิดดิจิทัล Digital Thinkers Forum ครั้งที่ 25 หัวข้อ “ตรวจสอบข้อความอันตรายบนโลกออนไลน์” ว่าด้วยเรื่องของ “ข้อความหรือถ้อยคำอันตราย (Dangerous Speech)” ที่เป็น “ขั้นกว่า” ของคำที่คุ้นเคยกันก่อนหน้านี้อย่าง “ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง-ประทุษวาจา (Hate Speech)” กล่าวคือ ในขณะที่ Hate Speech นั้นสร้างความเกลียดชัง แต่ Dangerous Speech ไปไกลถึงขั้นยุยงปลุกปั่นให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อบุคคลหรือกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายด้วย

หนึ่งในกิจกรรมของงานนี้คือการปาฐกถาโดย อังคณานีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)หัวข้อ “การรับมือกับข้อความอันตรายออนไลน์ ในมุมมองของสิทธิมนุษยชน” ซึ่งได้กล่าวถึงปัญหา Cyberbullying ว่า รายงานประจำปีของผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ (UN)ด้านสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมีชื่อเรียกแบบไม่เป็นทางการว่า Shameful Report (รายงานเรื่องที่น่าละอาย) โดย Cyberbullying ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อคุกคามเป้าหมาย

“มีการโพสต์ภาพและทำให้สังคมเชื่อว่าบุคคลนั้นกลายเป็นคนไม่ดี ดังนั้นการจะฆ่า ทรมาน คุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศคนเหล่านี้ สังคมอาจจะคิดว่าก็เป็นเรื่องที่สมควรแล้ว ขณะเดียวกันก็มีรายงานของผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติด้านการทรมาน การปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรี เขาได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2563 ได้อภิปรายขยายความและชี้ให้เห็นถึงปัญหาการทรมานทางจิตวิทยา ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Psychological Torture ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ขยายให้เห็นว่ามีองค์ประกอบ 5 ประการ 1.เป็นการทำให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อเหยื่ออย่างสาหัส

2.เป็นการกระทำที่มีเจตนา คือตั้งใจกระทำไม่ใช่เพียงความบกพร่องเผลอไปแชร์ เป็นการกระทำที่มีเจตนา3.มีจุดประสงค์เพื่อการทรมานชัดเจน คือเพื่อลงโทษ ข่มขู่หรือขืนใจให้คนเหล่านั้นยุติความเชื่อ-ยุติการกระทำเช่นนี้ 4.เป็นการทำให้เหยื่อรู้สึกไร้อำนาจ (Powerless) คือเหยื่อทำอะไรไม่ได้เลยเนื่องจากผู้คุกคามที่อยู่ในโลกออนไลน์จะเป็นคนที่ไม่มีตัวตน (Anonymous) หรืออวตาร แม้ไปแจ้งความก็ไม่สามารถทำอะไรได้ และ 5.การกระทำเหล่านี้มีวิธีการเพื่อโจมตี ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเหยื่ออย่างเป็นระบบ มีการเตรียมรูป ตัดต่อรูป มีการเตรียมว่าจะเอาไปเผยแพร่ที่ไหน-อย่างไร” อังคณา ระบุ

อดีต กสม. ผู้นี้ ยังกล่าวอีกว่า UN กำหนดให้การทรมานทางจิตวิทยา เป็นรูปแบบการทรมานอย่างหนึ่งไม่ต่างจากการทรมานทางกายภาพ ขณะเดียวกันประเทศไทยซึ่งร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี อีกทั้งยังมีกฎหมาย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ดังนั้นรัฐจึงมีหน้าที่ติดตามผู้กระทำผิดมาลงโทษ รวมถึงเยียวยาความเสียหายกับเหยื่อ

เพราะเมื่อดูผลกระทบ จะพบว่า ผู้เสียหายมีปัญหาซึมเศร้า วิตกกังวล มีอาการของโรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ซึ่งเป็นภาวะเจ็บป่วยทางจิตใจที่เกิดขึ้นจากการพบเหตุการณ์ความรุนแรง หลายคนหนีหายไปจากสังคมหรือแม้แต่คิดฆ่าตัวตาย หากเหยื่อเป็นเด็กจะส่งผลให้เติบโตด้วยความรู้สึกไม่มีความหวังในชีวิต ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเพราะรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า หรือกรณีผู้เสียหายเป็นผู้หญิงถูกอดีตคนรักนำภาพหรือคลิปวีดีโอส่วนตัวไปเผยแพร่ ผู้หญิงมักรู้สึกอับอายและไม่กล้าเริ่มชีวิตใหม่กับใครอีกเพราะมองว่าตนเองถูกตีตราไปแล้วว่าเป็นคนไม่ดี

อนึ่ง “ด้วยความที่ Cyberbullying นั้นข้อมูลที่ละเมิดสิทธิหรือสร้างความเกลียดชังก็จะคงอยู่ในโลกออนไลน์ตลอดไป แม้ผ่านไปนานเท่าใดเมื่อมีการสืบค้นก็จะยังพบเจอ” ในหลายชาติ เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป (EU)หรือประเทศแคนาดา จึงมีการเรียกร้องให้มี “สิทธิที่จะถูกลืม”หมายถึงแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ (เช่น Facebook,Twitter) หรือแพลตฟอร์มค้นหาข้อมูล (เช่น Google) ต้องลบข้อมูลเหล่านั้นออกจากสารบบ

“ในประเทศไทยหรืออีกหลายๆ ประเทศ สิทธิที่จะถูกลืมถูกนำมาใช้เฉพาะเรื่องการเยียวยาที่เกี่ยวกับความผิดฐานล้มละลาย เนื่องจากถ้าไปคีย์ข้อมูลใน Google แล้วพบปัญหาบุคคลนี้เคยถูกฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งล้มละลาย โอกาสที่เขาจะกลับมาประกอบธุรกิจก็ยากหรือเป็นไปไม่ได้ ศาลหลายประเทศรวมถึงไทยจึงให้แพลตฟอร์มลบข้อมูลตรงนี้ออก แต่ยังไม่มีการดำเนินการหรือคิดต่อเนื่องว่า แล้วจะทำอย่างไรให้แพลตฟอร์มได้ลบข้อมูลบางอย่างที่เป็นการคุกคาม ทำให้เกิดการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ออกไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก” อังคณา กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:38 น. #DiogoLivesFOREVER : แด่’เพื่อนพระเอก’ที่จากลา
11:28 น. จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก
11:15 น. วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น
11:11 น. 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
11:07 น. 'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

#DiogoLivesFOREVER : แด่’เพื่อนพระเอก’ที่จากลา

จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก

'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก

'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันอาทิตย์ 6 กรกฏาคม 2568

พบศพ! 'อดีตปลัดอำเภอ'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน

  • Breaking News
  • #DiogoLivesFOREVER : แด่’เพื่อนพระเอก’ที่จากลา #DiogoLivesFOREVER : แด่’เพื่อนพระเอก’ที่จากลา
  • จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก
  • วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น
  • \'นฤมล\'สั่งสอบข้อเท็จจริง\'ครูกาญจนบุรี\'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
  • \'ราชัน\'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก 'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved