วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / Change with คิด & ทำ
Change with คิด & ทำ

Change with คิด & ทำ

ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
วันจันทร์ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
การสรุปบทเรียนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ให้เกิดคุณค่าความหมาย ๑๒

ดูทั้งหมด

  •  

l เรามาทำความเข้าใจ ที่มาต่อ “หลักการ ในการกำหนด วาทกรรมทางการเมือง” ของตะวันตก

สเปกตรัมการเมือง (อังกฤษ: Political spectrum) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เป็นระบบในการกำหนดลักษณะและจำแนกจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างกันแต่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ตำแหน่งเหล่านี้ตั้งอยู่บนเรขาคณิตพิกัดหนึ่งหรือหลายพิกัดที่แสดงมิติทางการเมืองที่เป็นอิสระ นิพจน์ เข็มทิศทางการเมือง และแผนที่ทางการเมือง ใช้เพื่ออ้างถึงสเปกตรัมการเมืองเช่นกัน โดยเฉพาะกับแบบจำลองสองมิติที่เป็นที่นิยม


สเปกตรัมที่ประเทศส่วนใหญ่นิยมใช้ ได้แก่ การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา

ซึ่งแต่เดิมอ้างถึงการจัดที่นั่งในรัฐสภาฝรั่งเศสหลังการปฏิวัติ (ค.ศ. 1789-1799) โดยมี

- กลุ่มหัวรุนแรงอยู่ฝ่ายซ้าย และ

- ขุนนางอยู่ฝ่ายขวา

ในขณะที่ลัทธิคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมมักได้รับการยกย่องในระดับสากลว่า อยู่ฝ่ายซ้าย ส่วนอนุรักษนิยมและลัทธิฟาสซิสต์ได้รับการยกย่องในระดับสากลว่า อยู่ฝ่ายขวา

ส่วนเสรีนิยมอาจหมายถึงสิ่งที่แตกต่างกันในบริบทที่แตกต่างกันบางครั้งอยู่ฝ่ายซ้าย (เสรีนิยมสังคม) และบางครั้งอยู่ฝ่ายขวา (เสรีนิยมอนุรักษ์)

-ผู้ที่มีมุมมองระดับกลางบางครั้งถูกจัดให้เป็นผู้ที่อยู่ในการเมืองสายกลาง

การเมืองที่ปฏิเสธการเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวามักเรียกว่า การเมืองเชิงผสาน แม้ว่าป้ายจะมีแนวโน้มที่จะกำหนดตำแหน่งที่มีตำแหน่งตรรกะบนสเปกตรัม 2 แกนไม่ถูกต้องเนื่องจากดูเหมือนว่าจะนำมารวมกันแบบสุ่มบนสเปกตรัมฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา ฝ่ายละ 1 แกน

นักรัฐศาสตร์มักตั้งข้อสังเกตว่าสเปกตรัมฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวาเพียงแกนเดียวเรียบง่ายเกินไป และไม่เพียงพอสำหรับการอธิบายรูปแบบที่มีอยู่ในความเชื่อทางการเมือง และรวมถึงแกนอื่นๆ แม้ว่าคำอธิบายที่ตรงข้ามขั้วอาจแตกต่างกันไป

แต่แกนของสเปกตรัม 2 แกนที่นิยมมักจะแยก

-ระหว่างประเด็นทางเศรษฐกิจ (ในมิติซ้าย-ขวา)

-และประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม (ในมิติของอำนาจ-เสรีภาพ)

l ตะวันตก มีการให้คำนิยาม “เรื่องซ้ายขวา”หลากหลายพอควร ขอยกตัวอย่างมาให้เกิดความเข้าใจ :

l การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คำว่า ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา (อังกฤษ: left-right politics)เป็นระบบจำแนกจุดยืน อุดมการณ์ทางการเมืองและพรรคการเมือง

การเมืองฝ่ายซ้ายและการเมืองฝ่ายขวามักถูกนำเสนอว่าขัดแย้งกัน แม้ว่าปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มอาจมีจุดยืนฝ่ายซ้ายในประเด็นหนึ่ง และจุดยืนฝ่ายขวาในอีกประเด็นหนึ่งก็ได้

ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่กำเนิดของคำดังกล่าว

- ฝ่ายซ้ายถูกเรียกว่า “ขบวนการเคลื่อนไหว” (party of movement) และ

- ฝ่ายขวาถูกเรียกว่า “ขบวนการระเบียบ” (party of order)

- จุดยืนแบบเป็นกลางเรียกว่า สายกลาง (centrism) และบุคคลที่มีจุดยืนดังกล่าวเรียกว่า กลุ่มสายกลางหรือผู้เดินสายกลาง (moderate)

มีความเห็นพ้องทั่วไปว่า

ฝ่ายซ้าย รวมถึง คอมมิวนิสต์ กลุ่มก้าวหน้า เสรีนิยมคลาสสิก สังคมเสรีนิยม กรีน สังคมประชาธิปไตย สังคมนิยม สังคมนิยมประชาธิปไตย อิสรนิยมฝ่ายซ้าย ฆราวาสนิยม คตินิยมสิทธิสตรี ลัทธิอัตตาณัติ ลัทธิต่อต้านจักรวรรดินิยม ลัทธิต่อต้านทุนนิยม และอนาธิปไตย

ฝ่ายขวา รวมถึง อนุรักษนิยม นักปฏิกิริยา อนุรักษนิยมใหม่ประเพณีนิยม เสรีนิยมใหม่ อิสรนิยมฝ่ายขวา อำนาจนิยมฝ่ายขวากษัตริย์นิยม เทวาธิปไตย ชาตินิยม นาซี (รวมถึงนาซีใหม่) ทุนนิยมและฟาสซิสต์

l การเมืองฝ่ายขวา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฝ่ายขวา หมายถึง ทัศนะที่ว่าระเบียบสังคมและลำดับชั้นทางสังคมบางอย่าง

-เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้

-เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เป็นปกติ หรือเป็นสิ่งพึงปรารถนาปกติแล้วบุคคลสนับสนุนฐานะดังกล่าวบนพื้นฐานของกฎหมายธรรมชาติ หลักวิชาเศรษฐศาสตร์หรือประเพณีลำดับชั้นและความไม่เสมอภาคอาจถูกมองว่าเป็นผลลัพธ์ตามธรรมชาติของความแตกต่างทางสังคมที่มีมาแต่เดิม หรือการแข่งขันในเศรษฐกิจแบบตลาด

คำว่าฝ่ายขวาโดยทั่วไป หมายความถึงพรรคการเมืองหรือระบบการเมืองอนุรักษนิยมหรือพวกปฏิกิริยา

l การเมืองฝ่ายซ้าย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเมืองฝ่ายซ้าย คือ ฐานะหรือกิจกรรมทางการเมืองที่ยอมรับหรือสนับสนุนความเสมอภาคทางสังคม มักคัดค้านลำดับชั้นทางสังคมและความไม่เสมอภาคทางสังคม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความกังวลต่อผู้ที่ในสังคมถูกมองว่าด้อยโอกาสเมื่อเทียบกับผู้อื่นและความเชื่อที่มีความไม่เสมอภาคอย่างไม่มีเหตุผลจำต้องลดหรือเลิก

การใช้คำว่า “ซ้าย” โดดเด่นขึ้นหลังการฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1815 เมื่อใช้กับ “กลุ่มอิสระ” (independents)

คำว่า “ฝ่าย” (wing) ใช้กับ “ซ้ายและขวา” ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยทั่วไปมีเจตนาดูถูก

“ฝ่ายซ้าย” ใช้กับผู้ที่มีมุมมองทางศาสนาหรือการเมืองแบบนอกคอก

คำนี้ภายหลังใช้กับหลายขบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิสาธารณรัฐนิยมระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตามด้วยสังคมนิยม คอมมิวนิสต์และอนาธิปไตยในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20

นับแต่นั้น คำว่า “ฝ่ายซ้าย” ใช้กับขบวนการต่างๆเช่น ขบวนการสิทธิพลเมือง ขบวนการนิยมสิทธิสตรี ขบวนการต่อต้านสงครามและขบวนการสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพรรคการเมืองต่างๆ

l ประเทศไทย

ประเทศหนึ่งควรจะมีการจำแนก “ฝ่ายขวา ฝ่ายซ้ายฯ”ตามสภาพความเป็นจริงของสังคมนั้นๆ แทนการเรียกตาม“สังคมตะวันตก” ที่ความแตกต่างกันทั้งทางการเมือง ประเพณีวัฒนธรรมฯ เพราะทำให้ “ความหมายและข้อเท็จจริงผิดไป” และมักถูกใช้เป็นเครื่องมือของตะวันตกและผู้มีอำนาจที่ไม่ปรารถนาดี

ฝ่ายขวา ในการเมืองไทยปัจจุบันนั้นเป็นรูปธรรมตั้งแต่สมัยคณะราษฎรเริ่มมีอำนาจในประเทศไทย

ฝ่ายขวา ไม่ได้มีความหมายว่าจะต้องเป็นฝ่ายนิยมกษัตริย์เสมอไปแต่เป็นฝ่ายที่สนับสนุนความเป็นรัฐชาติของประเทศไทย และสังคมที่มีความเหนียวแน่นกับการยึดติดต่อระบบที่ก่อร่างขึ้นมา

ยกตัวอย่างเช่น การปฏิวัติปี 2479 ที่เพิ่มความหลากหลายให้กับการเมืองไทย

โดยเป็นแรงผลักดันทำให้ฝ่ายขวาทางสังคม และ เศรษฐกิจมีความหลากหลายมากขึ้นนอกเหนือไปจากฝ่ายขวาที่สนับสนุนนิยมกษัตริย์อย่างเดียว โดยฝ่ายขวาหลากหลายที่เกิดจากคณะราษฎรที่กล่าวนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปธรรมของสังคมไทยในปัจจุบันทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคมซึ่งนโยบายจากฝ่ายนี้นั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายขวานิยมกษัตริย์ มากไปกว่านั้น ฝ่ายนี้มีข้อพิพาท และข้อปฏิเสธ
ต่อฝ่ายขวานิยมกษัตริย์

บุคคลที่มีจุดยืนที่ว่านั้นยกตัวอย่างคือ จอมพล ป.

ผู้ที่ยึดแนวคิดต่อต้านความนิยมกษัตริย์ในขณะเดียวกันก็ยึดถือลัทธิฟาสซิสต์ในสมัยคาบเกี่ยวสงครามโลก และ สงครามโลกครั้งที่สอง,

ประยูร ภมรมนตรี ผู้สนับสนุนการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยในขณะที่เป็นแนวร่วมหลักต่อต้านคอมมิวนิสต์ และเป็นสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาร่วมกับ จอมพลป. ด้วยแรงสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา

ยกตัวอย่างเมื่อครั้งเหตุการณ์ 6 ตุลา

กลุ่มอนุรักษนิยมฝ่ายขวา กลุ่มทหาร (กลุ่มนวพล)ลูกเสือชาวบ้าน ชมรมวิทยุเสรี ชมรมแม่บ้าน กลุ่มกระทิงแดง เป็นต้น ได้ชูประเด็นเรื่องนักศึกษาหมิ่นราชวงศ์ และการสร้างกระแสของกลุ่มซ้ายจัดที่เป็นแกนนำบางส่วนของพคท.ที่ใช้ความรุนแรง โดยการนำเสนอคำขวัญ “ตายสิบเกิดแสน” เป็นเหตุให้“ประชาชน โดยเฉพาะชนชั้นกลาง” เริ่มไม่ยอมรับ และถอยห่างออกมาจนเป็นชนวนและเป็นโอกาสฯ ไปสู่การใช้กำลังสลายและสังหารนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:28 น. จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก
11:15 น. วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น
11:11 น. 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
11:07 น. 'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก
11:05 น. 'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก

'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก

'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันอาทิตย์ 6 กรกฏาคม 2568

พบศพ! 'อดีตปลัดอำเภอ'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

  • Breaking News
  • จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก
  • วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น
  • \'นฤมล\'สั่งสอบข้อเท็จจริง\'ครูกาญจนบุรี\'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
  • \'ราชัน\'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก 'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก
  • \'ธนกร\'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง 'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ในภาวะที่ข่าวสารมีบทบาทในสังคมมาก ต้องใช้ปัญญานำ สร้างสังคม

ในภาวะที่ข่าวสารมีบทบาทในสังคมมาก ต้องใช้ปัญญานำ สร้างสังคม

30 มิ.ย. 2568

เวลามีคุณค่าความหมาย ฉันจึงกำหนดเวลาของฉันในการเดินทางแห่งชีวิต

เวลามีคุณค่าความหมาย ฉันจึงกำหนดเวลาของฉันในการเดินทางแห่งชีวิต

23 มิ.ย. 2568

ศิลปะแห่งการใช้ชีวิต : เมื่อชีวิตเป็นของเรา

ศิลปะแห่งการใช้ชีวิต : เมื่อชีวิตเป็นของเรา

16 มิ.ย. 2568

รักแท้ คือ อะไร คือ รัก สุขสงบ งดงาม ใน รัก

รักแท้ คือ อะไร คือ รัก สุขสงบ งดงาม ใน รัก

9 มิ.ย. 2568

ชีวิตชราชน คนเดินดิน กินข้าวแกง ด้วยความรัก พอเพียง ใจสุขสงบ 2

ชีวิตชราชน คนเดินดิน กินข้าวแกง ด้วยความรัก พอเพียง ใจสุขสงบ 2

2 มิ.ย. 2568

ชีวิตชราชน คนเดินดิน กินข้าวแกง ด้วยความรัก พอเพียง ใจสุขสงบ 1

ชีวิตชราชน คนเดินดิน กินข้าวแกง ด้วยความรัก พอเพียง ใจสุขสงบ 1

26 พ.ค. 2568

เปิดประตูสู่การเมืองไทย คู่มือฉบับเยาวชนคนหนุ่มสาว

เปิดประตูสู่การเมืองไทย คู่มือฉบับเยาวชนคนหนุ่มสาว

19 พ.ค. 2568

เหนือความอาลัยใด ณ ลำปาง บ้านเกิด ส่งพี่ชายสู่สรวงสวรรค์

เหนือความอาลัยใด ณ ลำปาง บ้านเกิด ส่งพี่ชายสู่สรวงสวรรค์

12 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved