วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เส้นใต้บรรทัด
เส้นใต้บรรทัด

เส้นใต้บรรทัด

จิตกร บุษบา
วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’

ดูทั้งหมด

  •  

ผมถือว่า การแลกเปลี่ยนความเห็นกันผ่านเฟซบุ๊ก ระหว่าง ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร กับ “ไอติม” นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคประชาชน เป็นการ “ถกเถียง” ที่น่าเรียนรู้มาก พวกเขาถกกันหลายประเด็น ประเด็นสำคัญที่สุด คือ “จริยธรรมของนักการเมือง” และ “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ”

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ้างถึงข้อความของไอติมที่โพสต์ว่า


“…แต่หากเป็นเรื่อง “จริยธรรม” ซึ่งต่างคนต่างตีความไม่เหมือนกัน ทางเราเห็นเหมือนกับประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกว่าผู้มีอำนาจควรจะต้องแสดงความรับผิดรับชอบทางการเมือง แทนที่จะกำหนดในบทกฎหมายให้มีใครบางกลุ่มผูกขาดการตีความเรื่องจริยธรรมและเสี่ยงจะใช้เรื่องจริยธรรมมากลั่นแกล้งกันทางการเมือง-ดังนั้น ตั้งแต่เราทำหน้าที่แกนนำฝ่ายค้าน เราจึงตัดสินใจหลีกเลี่ยงการใช้อาวุธดังกล่าว แม้หลายครั้งอาจเป็นประโยชน์ทางการเมืองสำหรับเรา เพราะเราเห็นว่าการสร้างสังคมที่เสพติดการใช้อาวุธดังกล่าว มีแต่จะบั่นทอนหลักนิติรัฐ ซึ่งจะมั่นคงได้ต่อเมื่อเรามีการตีความกฎหมายที่มีความชัดเจนแน่นอนและการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรม-เสมอภาค”

และบอกว่า...

ผมไม่แน่ใจนะครับ ที่ประชาชนเรียกร้อง “จริยธรรมของนักการเมือง” หรือกรณีที่คุณแพทองธารถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องจริยธรรม จะตรงกับที่คุณไอติมพูดถึง“การกำหนดในบทกฎหมายให้มีใครบางกลุ่มผูกขาดตีความเรื่องจริยธรรมและเสี่ยงจะใช้เรื่องจริยธรรมมากลั่นแกล้งกันทางการเมือง”

เพราะเรี่องจริยธรรมที่ว่านี้ ผมพบว่า ในเว็บไซต์ของรัฐสภาสหราชอาณาจักร มีกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้โดยใช้คำว่า Code of Conduct ที่แปลเป็นไทยว่า จรรยาบรรณของการปฏิบัติงานหรือหน้าที่ และหนึ่งในจรรยาบรรณการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมือง คือ

“2. Members must base their conduct on a consideration of the public interest, avoid conflict between personal interest and the public interest and resolve any conflict between the two, at once, and in favour of the public interest”

ขออนุญาตแปลไทย เผื่อสำหรับคนที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษนะครับ

“ข้อสอง สมาชิก (สภาฯ) ต้องทำการประพฤติตนโดยพิจารณาถึงผลประโยชน์สาธารณะ หลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์สาธารณะ และแก้ไขความขัดแย้งระหว่างทั้งสองอย่างทันที โดยให้ความสำคัญกับผลประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก”

ผมว่า กรณีคำพูดในคลิปของคุณแพทองธาร ก็ต้องสงสัยตามข้อสองนะครับว่า คุณแพทองธารกำลังแลกผลประโยชน์สาธารณะกับผลประโยชน์ส่วนตัวและครอบครัวหรือไม่?

การขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถือเป็นหน้าที่สำคัญของสมาชิกสภาฯฝ่ายค้านในการค้นหาความจริงในเรื่องนี้ ถ้าคุณไอติมบอกว่า จะรอให้แน่ใจว่า สามารถใช้อาวุธการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้อย่างมีผลแม่นยำและมีประสิทธิภาพ เพราะการขอเปิดนั้น เปิดได้หนเดียวในการประชุมสภาแต่ละปี

ถามว่า คุณและผมจะรู้ได้อย่างไรว่า ในอนาคตหลังจากนี้ จะมีเหตุสำคัญที่รุนแรงกว่าคลิปหลุด ที่สมควรกว่าในการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถ้าเกิดไม่มีอะไรที่ร้ายแรงไปกว่านี้ การไม่ขอเปิดคราวนี้ จะไม่เป็นการทำให้ประชาชนเสียโอกาสไปหรือครับ ?

จากประสบการณ์ของผม ผมไม่เคยเจอกรณีที่ร้ายแรงแบบนี้นะครับ ที่ผู้นำบ้านเราพูดแบบนั้นกับผู้นำประเทศที่เป็นคู่กรณี หรืออาจจะมีก็ได้ แต่บังเอิญคลิปไม่หลุด แต่เมื่อมันหลุด มันก็ต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่หรือครับ?

ดังนั้น การเลือกที่จะไม่ดำเนินการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาชนของคุณไอติม ก็ดันพาให้ผู้คนสงสัยว่าเข้าข่ายข้อสองได้อีกด้วยครับว่า พรรคคุณกำลังให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคมากกว่าผลประโยชน์สาธารณะของประชาชน

ต่อมา ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ ชี้แจงกลับว่า...

1.ผมเห็นด้วยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกคนควรมี “จริยธรรม” - ไม่เคยมีครั้งไหนที่ผมบอกว่านักการเมืองไม่ควรมี “จริยธรรม” และไม่เคยมีครั้งไหนที่ผมมีปัญหากับประชาชนที่เรียกร้อง “จริยธรรมของนักการเมือง” - คำว่า“เสพติดจริยธรรม” ที่หลายสำนักข่าวเอาไปพาดหัว ก็คลาดเคลื่อนจากสิ่งที่ผมสื่อสารเป็นอย่างมาก / สิ่งที่ผมเขียนและแสดงความกังวลใจไม่ใช่เรื่อง “จริยธรรม” และไม่ใช่เรื่อง “การใช้จริยธรรมทางการเมือง” แต่คือความกังวลใจต่อการใช้ “อาวุธเรื่องมาตรฐานจริยธรรม **ของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2560**”

2. ผมเห็นว่ากรณีคลิปสนทนาระหว่างคุณแพทองธาร สะท้อนให้เห็นชัดว่าคุณแพทองธารไม่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป โดยหนึ่งในประเด็นที่เป็นปัญหา คือ การใช้หรือการปล่อยให้ความสัมพันธ์ส่วนตัว เข้ามากระทบต่อการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมเชื่อว่าประชาชนจำนวนมากมองว่าเป็นการฝ่าฝืน “จริยธรรมของนักการเมือง” ผมเชื่อว่าใน 2 ข้อนี้ ผมกับอาจารย์ และหลายท่านที่เข้ามาแสดงความเห็น น่าจะเห็นตรงกัน

3.คำถามคือ เมื่อนายกรัฐมนตรีกระทำการที่คนจำนวนมากเห็นชัดว่า ฝ่าฝืน “จริยธรรมของนักการเมือง” แล้วเราควรออกแบบกลไกหรือใช้กลไกอะไร หากมีความเห็นว่านายกรัฐมนตรีไม่ควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป? (คำถามนี้ น่าจะเป็นจุดที่ผมกับอาจารย์ (และหลายท่านที่เข้ามาวิจารณ์ผมในที่นี้) เริ่มเห็นไม่ตรงกัน)

4.หากอาจารย์จะยกสหราชอาณาจักรมาเป็นตัวอย่าง ผมก็ต้องบอกว่า ผมเห็นด้วย หากเราจะหยิบกลไกต่างๆ ที่ระบบการเมืองสหราชอาณาจักรได้ออกแบบไว้ เพื่อจัดการกับกรณีนายกฯแพทองธาร

1) การเรียกร้องความรับผิดรับชอบทางการเมืองจากนายกรัฐมนตรี

- หากสำเร็จ กลไกนี้จะเป็นกลไกที่ดีที่สุด เพราะจะเป็นการที่นายกรัฐมนตรีตัดสินใจแสดงความรับผิดรับชอบด้วยตนเอง (ไม่ว่าจะเป็นการลาออก หรือ การยุบสภา) โดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาลงมติหรือถอดถอนออกจากตำแหน่ง

หากเหตุการณ์ของคุณแพทองธารเกิดขึ้นที่สหราชอาณาจักร ผมเชื่อว่านายกฯจะลาออกหรือประกาศยุบสภาภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์ - แม้การเมืองที่สหราชอาณาจักรไม่สมบูรณ์แบบ แต่สิ่งที่เราได้เห็นหลายครั้งผ่านมาคือการที่นายกฯตัดสินใจแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกจากตำแหน่งเมื่อบริหารผิดพลาด (เช่น การออก พ.ร.บ.งบประมาณ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางการเงินอย่างรุนแรง/การจัดประชามติเรื่องสหภาพยุโรป ที่นำไปสู่การลงมติให้ออกจากสหภาพยุโรปทั้งที่ฝ่ายรัฐบาลเห็นว่าควรเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อ)

เป็นเรื่องน่าเสียดาย ว่าการแสดงความรับผิดชอบลักษณะนี้ ยังคงหาได้ยากในการเมืองไทย และยังดูไม่มีวี่แววจะเกิดขึ้นในกรณีคุณแพทองธาร

ผมเชื่อว่าทั้งหมดนี้ ไม่ได้เป็นเพราะคนสหราชอาณาจักรเป็น “คนดี” กว่าคนไทย แต่เป็นเพราะสังคมเขาพยายามบ่มเพาะค่านิยมทางประชาธิปไตยที่เรียกร้องให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของประชาชน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เราต้องพยายามไปให้ถึง

2) เรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไอติมชี้แจงว่า...

หากนายกฯไม่ยอมลาออกหรือยุบสภาฯเอง ตาม 4.1. กลไกอภิปรายไม่ไว้วางใจ จึงเป็นกลไกที่ตรงไปตรงมาที่สุด ที่ฝ่ายค้านในสภาฯจะใช้ในการลงมติไม่ไว้วางใจนายกฯ เพื่อให้นายกฯพ้นจากตำแหน่ง

“ผมยืนยันว่าผมและพรรคประชาชนไม่เคยปฏิเสธการใช้กลไกดังกล่าว และผมยืนยันว่าการกระทำของนายกฯแพทองธาร มีความร้ายแรงมากพอที่จะเป็นเหตุให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ”

จากนั้นจึงอ้างถึง “ต้องการประเมินสถานการณ์ให้รอบคอบเรื่องจังหวะเวลา” เนื่องจาก :

- รัฐธรรมนูญกำหนดให้ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้เพียง 1 ครั้ง

- สว. ยื่นเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยแล้วและนายกฯแพทองธารถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว หากฝ่ายยื่นญัตติ 151 แล้วประธานสภาฯไม่บรรจุ ก็ต้องมาถกกันต่อว่าเราจะเสียสิทธิไปตลอดจนถึง ก.ค. 2569 เลยหรือไม่

- ถ้าประธานสภาฯบรรจุ แต่แพทองธารถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งก่อนจะเปิดการอภิปราย ก็จะเจอข้อถกเถียงและความเสี่ยงว่าขอใช้สิทธิ์อภิปราย
ไม่ไว้วางใจไปแล้ว จะใช้ไม่ได้อีก

- หากยื่นญัตติ 151 แล้วประธานสภาฯบรรจุ จนได้อภิปรายไม่ไว้วางใจแพทองธาร แต่การลงมติไม่ไว้วางใจไม่สำเร็จ เพราะรัฐบาลยังมีเสียงข้างมากสนับสนุน แต่ต่อมาแพทองธารถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง ก็จะเกิดข้อถกเถียงอีกว่า เมื่อมีนายกฯคนใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ เราจะเสียสิทธิ์ในการยื่นญัตติ 151 กับนายกฯคนใหม่และรัฐบาลชุดใหม่ไปตลอดจนถึง ก.ค. 2569 เลยหรือไม่

ไอติมจึงสรุปว่า ...

“ดังนั้น หากวันนี้ ไม่มีใครไปยื่นเรื่องนายกฯแพทองธารต่อศาลรัฐธรรมนูญ ผมเห็นว่าการยื่นญัตติ 151 จะเป็นการตัดสินใจที่เรียบง่ายขึ้น / แต่ในวันนี้ที่มีคนไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้วและนายกฯถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว เราต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าสิ่งที่เราจะได้เพิ่มเติมจากการยื่นญัตติ 151 คืออะไร(เมื่อเทียบกับการตรวจสอบผ่านกลไกอื่น เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 กระทู้สด กรรมาธิการ) และการยื่นญัตติ 151  จะคุ้มค่าหรือไม่กับความเสี่ยงที่จะมีใครมาตีความให้เราไม่สามารถมีอาวุธ 151 ในการตรวจสอบนายกฯหรือรัฐบาลใหม่ที่อาจตั้งขึ้นมาหากคุณแพทองธารพ้นจากตำแหน่งไปอีก 1 ปี (ซึ่งอาจมีพฤติกรรมหรือการบริหารที่ผิดพลาดเช่นเดิมก็ได้ เพราะก็มีแนวโน้มจะประกอบไปด้วยพรรคร่วมรัฐบาลชุดเดิม)”

และไอติมมาเพิ่มเติมเรื่อง “การใช้กลไกจริยธรรม” ในตอนท้ายว่า...

สิ่งที่ผมมีความกังวลใจ จึงไม่ใช่การใช้กลไก “จรรยาบรรณ สส.”แบบที่อาจารย์ยกมาจากสหราชอาณาจักร แต่สิ่งที่ผมมีความกังวลใจคือ การให้ความชอบธรรมกับอาวุธเรื่อง “มาตรฐานทางจริยธรรม” ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ไปกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระผูกขาดการนิยามว่าจริยธรรมคืออะไรและมีบทบาทหลักในการวินิจฉัยว่าอะไรคือการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม - ผมย้ำว่าที่ผมมีความกังวลเกี่ยวกับอาวุธนี้ ไม่ใช่เพราะผมเห็นว่านักการเมืองไม่ควรมีจริยธรรม แต่เพราะ :

- แม้รอบนี้อาจารย์อาจมองว่าการกระทำของคุณแพทองธารเป็นที่ชัดเจนกับสังคมจำนวนมาก ว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม แต่ในอนาคตอาจมีอีกหลายกรณีที่สังคมมีมุมมองที่แตกต่างกันว่านับเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมหรือไม่- การให้คนกลุ่มเดียวชี้ขาดเรื่องจริยธรรมที่มีความเป็นนามธรรมสูง จึงมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นการใช้ดุลพินิจสูงและนำไปสู่การตีความกฎหมายที่ไม่มีความชัดเจนแน่นอน (ซึ่งไม่เหมือนกรณีการทุจริตที่เราสามารถนิยามได้ชัดเจน และควรกำหนดให้มีการลงโทษตามกฎหมาย)

- แม้อาจารย์อาจจะไว้ใจว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันพร้อมจะบังคับใช้มาตรฐานจริยธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม-เสมอภาค แต่ผมเชื่อว่าอาจารย์เองก็เข้าใจดีว่ากลุ่มคนที่ปัจจุบันมีอำนาจชี้ขาดว่าใครจะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ “สมาชิกวุฒิสภา” / ดังนั้น ในเมื่อ สว. ณ ปัจจุบันไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน (ซึ่งย่อมมีความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย) แต่มาจากกระบวนการที่เต็มไปด้วยข้อครหาเรื่องการจัดตั้งและการจ้างตั้งที่นำมาสู่การถูกครอบงำด้วยกลุ่มก้อนทางการเมืองกลุ่มเดียวเป็นหลัก - การให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ที่มีที่มาจาก สว. ที่มีที่มาเช่นนี้ เป็นฝ่ายที่นิยามและดำเนินการเรื่องมาตรฐานจริยธรรม จึงมีความสุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่การบังคับใช้มาตรฐานจริยธรรมที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่เสมอภาคกับทุกฝ่าย”

นับเป็นการถกเถียงที่ชวนคิด และนำทางสังคมไปสู่การคิดอย่างมีเหตุมีผลเป็นอย่างยิ่ง

ฝากทุกท่านช่วยกันคิดด้วยครับ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:44 น. 'ปราชญ์ สามสี'ผ่าเกมตระกูล'ชินวัตร-ฮุน' ทำไมคนหนึ่งเงียบ อีกคนดิ้น ที่แท้!!
11:38 น. #DiogoLivesFOREVER : แด่’เพื่อนพระเอก’ที่จากลา
11:28 น. จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก
11:15 น. วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น
11:11 น. 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปราชญ์ สามสี'ผ่าเกมตระกูล'ชินวัตร-ฮุน' ทำไมคนหนึ่งเงียบ อีกคนดิ้น ที่แท้!!

#DiogoLivesFOREVER : แด่’เพื่อนพระเอก’ที่จากลา

จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก

'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก

'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันอาทิตย์ 6 กรกฏาคม 2568

  • Breaking News
  • \'ปราชญ์ สามสี\'ผ่าเกมตระกูล\'ชินวัตร-ฮุน\' ทำไมคนหนึ่งเงียบ อีกคนดิ้น ที่แท้!! 'ปราชญ์ สามสี'ผ่าเกมตระกูล'ชินวัตร-ฮุน' ทำไมคนหนึ่งเงียบ อีกคนดิ้น ที่แท้!!
  • #DiogoLivesFOREVER : แด่’เพื่อนพระเอก’ที่จากลา #DiogoLivesFOREVER : แด่’เพื่อนพระเอก’ที่จากลา
  • จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก
  • วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น
  • \'นฤมล\'สั่งสอบข้อเท็จจริง\'ครูกาญจนบุรี\'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’

วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’

6 ก.ค. 2568

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

2 ก.ค. 2568

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

29 มิ.ย. 2568

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

25 มิ.ย. 2568

‘พ่อ’ นายกฯ

‘พ่อ’ นายกฯ

22 มิ.ย. 2568

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

18 มิ.ย. 2568

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

15 มิ.ย. 2568

ไม่ขึ้นศาลโลก ไม่เสียดินแดน

ไม่ขึ้นศาลโลก ไม่เสียดินแดน

11 มิ.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved