l บทสรุปผู้บริหาร และผู้ที่สนใจเอาจริง กับการวิเคราะห์และนำประวัติศาสตร์ไปใช้เพื่อการปฏิรูปประเทศเราได้มาร่วมกันสร้างความเข้าใจ “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖”
l 4 บทเรียนครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ หลังจากเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ถึง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
(1) การไม่ศึกษาบทเรียนของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ และเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองที่ผ่านมาทำให้ ประชาชนไทย เดินผิดทาง เสียหายใหญ่ และพลาดโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการเสียสละของประชาชนในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อย่างน้อย ๒ ประการ คือ
๑.ทำให้ผู้นำและประชาชน ติดอยู่ในกับดัก ในถ้ำแห่งอวิชชา วนเวียนอยู่กับความผิดพลาดเดิมๆ ทำให้เราเดินย่ำเท้าอยู่กับที่ ไม่สามารถก้าวข้าม “ปัญหาอุปสรรคใหญ่ทางความคิด” ที่ทำให้เราไม่รู้ไม่เข้าใจ จุดแข็ง จุดอ่อน ข้อดี ข้อบกพร่องผิดพลาด การมองด้านเดียว ไม่รอบด้าน มองในเรื่องเฉพาะ ไม่ได้มองภาพรวมทั้งหมดของเหตุการณ์ ทำให้ไม่สามารถก้าวหน้าพัฒนา ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมให้ไปสู่ประเทศศิวิไลซ์ได้
๒.ไม่รู้และไม่เข้าใจ และไม่ยอมรับ “ความผิดพลาดใหญ่จากอคติ อวิชชา” ของฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะ “ฝ่ายผู้นำและแกนนำ ที่เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวในเหตุการณ์ในแต่ละยุค” ที่นำไปสู่ความผิดพลาดใหญ่ ไม่ว่า “ตนและฝ่ายของตน จะมีเจตนาที่ดีต่อบ้านเมือง” หรือฝ่ายอื่นๆ ปัญหาใหญ่ที่สำคัญ คือ “ปัญหาที่เกิดจาก ผู้นำและฝ่ายที่มีเจตนาดี” ที่เดินทางผิดพลาดใหญ่ไม่มองตนเอง และมิหนำซ้ำ คือ “การปกปิด ข้อผิดพลาดของตนเอง เอาแต่ไปโทษฝ่ายอื่น”
ทำให้ไม่ได้รับรู้ “อคติและความผิดพลาดใหญ่ของตน” ขณะเดียวกัน มีบางส่วนกลับออกมาปกป้องและกล่าวหาคนที่ออกมาชี้ความจริงให้เห็นทำให้ “ไม่มีคนดี ออกมาชี้แจงและแนะนำทางออก”
(2) การเคลื่อนไหวซ้ายจัดของขบวนการนักศึกษา ประชาชน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อปัญหาใหญ่ต่อสังคมไทยและความเสียหายใหญ่ คือ การที่นักวิชาการและผู้นำปีกซ้าย มักเขียนประวัติศาสตร์เหตุการณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ตรงข้อเท็จจริง
๑.ด้วยมีความคิดอคติ ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์การรัฐประหารของกองทัพ
๒.ติดกรอบคิดเสรีนิยมตะวันตกที่ล้าหลัง ที่ยึดประชาธิปไตยของนักการเมืองนักเลือกตั้งเป็นสรณะแม้จะโกงกิน รวบอำนาจเผด็จการรัฐสภา ใช้อำนาจมิชอบธรรม และการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม(ในขณะที่วิจารณ์กล่าวหาว่า “พวกอนุรักษ์ บันทึกประวัติศาสตร์ด้านเดียว” แต่พวกตนก็ด้านเดียว)
l ทั้งนี้ โดยพฤติกรรม และการกระทำของ “กลุ่มซ้ายจัดบางปีก” ที่สร้างผลเสียหายใหญ่ ต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน
“ซึ่งไม่ยอมฟังเสียงใคร และเป็นฝ่ายกุมและกำหนด “ทิศทางการเคลื่อนไหวของประชาชน” แม้จะมีพวกเราหลายส่วนคัดค้าน และเตือนให้หยุดความคิดเคลื่อนไหวรุนแรงเกินเหตุ แต่พวกแกนนำซ้ายจัดไม่ยอมรับ แถมกล่าวหาว่า“พวกเรา เป็นฝ่ายยอมจำนน ไม่สู้ถึงที่สุด”
(3) มาฟังความเห็นและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากฝ่ายซ้ายจัดฯในยุคนั้นจากคนที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์
เกรียงกมล เลาหไพโรจน์ เลขาธิการ ศนท.ในช่วงนั้นได้มาระบายกับผม “ผมอึดอัดใจมากในการทำงานฯ เพราะคนของฝ่ายซ้ายจัด เข้ามากำหนดกรอบคิดในการเคลื่อนไหวงานของนักศึกษา” ในทางที่รุนแรงเกินไป มวลชนรับไม่ได้ และเป็นผลเสียต่อกระบวนการฯประชาชน
อ.ทวี หมื่นนิกร พูดส่วนตัวกับผม ในการเคลื่อนไหวกรรมการฯ หลังปี ๒๕๑๘
“ผมหนักใจที่การเคลื่อนไหวของกรรมกร เดินไปด้วยดีในระยะต้น แต่การที่มีกลุ่มซ้ายจัด เข้ามาเกี่ยวข้อง “ทำให้การเคลื่อนไหวของกรรมกรบางส่วน เดินล้ำหน้ามวลชนไปนำเสนอคำขวัญ “ล้มทุนนิยม” โดย ไม่จำแนกแยกแยะ“นายทุนต่างชาติ นายทุนชาติ และทุนกลาง ทำให้เกิดการรวมตัวคัดค้านและต่อต้านการเคลื่อนไหว”
l มีกลุ่มผู้นำของสังคม อย่างน้อย ๓ กลุ่ม ที่คิดและได้ข้อสรุปเหมือนกันว่า “อีกไม่นานจะมีการปราบปรามประชาชนจากกลุ่มขวาจัดฯ” เพราะมีกลุ่มซ้ายจัด ที่เคลื่อนไหวสุดโต่ง รุนแรง จนประชาชนรับไม่ได้
เป็นการสร้างเงื่อนไข ให้ “พวกขวาจัด” ใช้เป็นเครื่องมือปลุกระดมประชาชน ไม่ให้ร่วมการเคลื่อนไหวฯ
(๑) กลุ่มอ.เสกสรร เทิดภูมิฯ ออกเดินทางไปต่างประเทศ : สิงหาคม ๒๕๑๘
(๒) กลุ่มพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย นำโดยพี่ไขแสง สุกใส เดินทางเข้าไปต่อสู้ในป่า ต้นปี ๒๕๑๙
(๓) กลุ่ม อ.ธีรยุทธ บุญมี และคณะ เดินทางไปสู่ชนบท ๗ สิงหาคม ๒๕๑๙
l ความคิดเห็นของ อาจารย์นงเยาว์ ชัยเสรีรองอธิการบดีธรรมศาสตร์ สมัย ดร.ป๋วย เป็นอธิการบดี (จากหนังสือ ดิฉันชื่อ นงเยาว์ ชัยเสรี หนังสือแจกในงานศพอาจารย์นงเยาว์ ชัยเสรี)
๑. ความแตกต่างที่ชัดเจน ระหว่างก่อนหน้า และหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
ก่อนและระหว่างเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
นักศึกษามีความสนิทสนมกับอาจารย์มาก ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ นักศึกษามีอะไรก็มาปรึกษาอาจารย์
หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ อาจารย์เริ่มกลัวนักศึกษา เพราะสมัยนั้น ถ้าพูดอะไรผิดหูนักศึกษา จะถูกนักศึกษาเล่นงานด้วยการปิดโปสเตอร์ โจมตีด่าว่าทันที
๒.อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ไม่ได้สนับสนุน “วิธีการ” การเรียกร้องทางการเมืองของนักศึกษาหลายครั้งพยายามห้าม เพราะเป็นห่วงว่า จะมี “อันตราย” เกิดกับลูกศิษย์ อาจารย์ป๋วย พยายามที่จะเจรจากับองค์การและสภานักศึกษาธรรมศาสตร์ โดยชี้แจงว่ามหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี แต่ไม่ควรจะกล่าวพาดพิงโจมตีใครด้วยถ้อยคำรุนแรงให้เกิดความเสียหาย
แต่นักศึกษา ก็ไม่ค่อยฟัง และยังคงดำเนินทางการเมืองต่อไป
วิธีการเจรจากับนักศึกษาของอาจารย์ป๋วยนั้น ไม่เป็นที่ยอมรับของอาจารย์ส่วนใหญ่ เพราะเห็นว่า “อาจารย์ป๋วย เข้าข้างนักศึกษา” ทั้งที่สถานการณ์จริง ก็คือ “ฝ่ายบริหารไม่สามารถห้ามปราม หรือยุติเหตุการณ์ใดๆ อันเนื่องมาจากนักศึกษาได้เลยแม้แต่น้อย เพราะนักศึกษาไม่รับฟัง”
๓.และคณาจารย์อื่นๆ ก็ไม่กล้าทำอะไรกับนักศึกษา เพราะหากใครทำให้นักศึกษาไม่พอใจแล้ว ก็จะถูกสืบค้นเรื่องส่วนตัว และนำมากล่าวให้ร้ายบนเวที และติดโปสเตอร์ประจาน
๔.เมื่อเกิดวิกฤตศรัทธาเช่นนี้ อาจารย์ป๋วยก็พยายามแก้ปัญหา ด้วยการออกมติให้ “ยุบ อมธ.ทั้งชุดแต่เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่” ก็เป็น อมธ.ชุดเดิมดังนั้นธรรมศาสตร์ จึงยังคงเป็นเวทีและเป็นศูนย์กลางการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางสังคมและมีการชุมนุมใหญ่บ่อยครั้ง
๕.จอมพลประภาส กลับไทย ๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๙
ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ( ศนท.) เข้ามาเปิดการชุมนุมในธรรมศาสตร์ เพื่อให้จอมพลประภาสกลับออกนอกประเทศ......มหาวิทยาลัย ต้องเรียกประชุมคณะผู้บริหาร ที่บ้านของ ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อร่วมกันหาทางออกที่ประชุมขอให้อาจารย์ป๋วย บันทึกเทปถ้อยแถลง เพื่อเจรจาหว่านล้อมให้นักศึกษายุติการชุมนุม
ซึ่งนักศึกษายอมรับฟังและยุติการชุมนุม และเดินทางออกจากธรรมศาสตร์แต่โดยดี ทำให้ไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นในวันนั้น และเหตุการณ์ก็คลี่คลายไปด้วยดี เพราะจอมพลประภาสยอมเดินทางออกนอกประเทศ
๖.เณร (จอมพลถนอม) ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดไทยในสิงคโปร์ ได้รับอนุญาตให้เข้าอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร ศนท. จึงได้จัดชุมนุมใหญ่เพื่อขับไล่เณรถนอม ออกจากประเทศ การปิดป้ายและการชุมนุมประท้วงของ ศนท.ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงกับฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ฯและที่นครปฐม มีการนำร่างของ ๒ พนักงานไฟฟ้าภูมิภาค ไปแขวนคอในที่สาธารณฯต่อมา นักศึกษาธรรมศาสตร์ ได้แสดงละครสะท้อนเหตุการณ์อันน่าเศร้านี้อาจารย์ป๋วย ได้เข้าไปห้ามปรามถึงบริเวณลานโพธิ์ ที่จัดแสดงฯ แต่นักศึกษาไม่ฟัง (แถมยังกล่าวหา อาจารย์ป๋วย ว่าเป็นสมุนทรราช รับใช้เผด็จการฯ)
l กรุณากลับไปอ่านย้ำ
สองผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผลดีและผลเสีย ที่ตามมา
๑.จากการที่ผู้นำนักศึกษาฯ เชื่อฟังอาจารย์ (เหตุการณ์จอมพลประภาสกลับไทย)
๒.จากการที่ผู้นำนักศึกษาฯ ไม่เชื่อฟังอาจารย์ (เหตุการณ์จอมพลถนอมกลับไทย)
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี