โซเชียลมีเดียของพรรคเพื่อไทยโพสต์ข้อความรัวๆ เมื่อเร็วๆ นี้ “ทุกคำถามมีคำตอบเงื่อนไขรับเงิน Digital Wallet” จากที่คณะกรรมการนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต แถลงข่าวผลสรุปนโยบายดังกล่าวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังมีข้อสงสัยจำนวนมาก โดยพรรคเพื่อไทยได้รวบรวมประเด็นคำถามข้อสงสัยเพิ่มเติมจากพี่น้องประชาชนจากทุกช่องทาง รวม 17 ข้อ เช่น
1) เฉพาะคนที่เลือกพรรคเพื่อไทยเท่านั้นที่จะได้รับเงินดิจิทัล 10,000 ตอบ ประชาชนสัญชาติไทยจำนวน 50 ล้านคน เกณฑ์ คือ อายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
2) คนถือบัตรคนจน ใช้ได้มั้ย? ตอบลงทะเบียนได้ทุกคน แต่ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด
3) ผู้สูงอายุ ใช้ได้มั้ย ตอบ สามารถเข้าร่วมโครงการได้ หากมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่โครงการกำหนด
4) เงื่อนไขเยอะขนาดนี้ จะมีใครได้ใช้แล้วจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงมั้ย เอาอะไรมาวัดตอบ ปัจจุบันคณะกรรมการฯ ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Walletซึ่งคณะอนุกรรมการจะได้กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั้งหมดของโครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่อไป
5) จำกัดแค่ร้านเล็กในชุมชนเท่านั้น?ตอบ สามารถซื้อสินค้าในร้านค้าขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อ แต่ไม่รวมห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ อย่างซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้า ตามนิยามและเงื่อนไขที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด เป็นต้น
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา(สว.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความเห็นกรณีแหล่งที่มาของเงินในโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต 3 ส่วนรวมจำนวน 500,000 ล้านบาท ว่า ถ้าใช้เงิน 3 ก้อนนี้รวมกันได้ 5 แสนล้าน มาแจกประชาชน 50 ล้านคน คนละ 10,000 บาทจริง รัฐบาลอาจทำผิดกฎหมาย 3 ฉบับเลยครับ
ทั้งกฎหมายงบประมาณ กฎหมายวินัยการเงินการคลังและกฎหมาย ธ.ก.ส. ก้อนที่ 1ผิดกฎหมายงบประมาณ เพราะวงเงินปี’67 ที่ผ่านสภา ไม่มีมาตราใดกำหนดให้หน่วยงานใดมาใช้จ่ายเรื่องนี้ได้ หากเป็นเงินเหลือจ่ายก็ต้องส่งคืนคลัง หรือแม้เป็นงบกลางก็ต้องเป็นกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นซึ่งกรณีนี้ไม่เข้าข่าย
ก้อนที่ 2 ยังไม่มีหน่วยงานใดตั้งงบประมาณก้อนนี้ไวัในร่าง พ.ร.บ.ปี’68 และอาจไม่ผ่านสภาก็ได้ การจ่ายโดยไม่มีกฎหมายรองรับก็ผิดกฎหมายงบประมาณ
ก้อนที่ 3 ใช้เงิน ธ.ก.ส.เพื่อหลีกหนีการกู้เงิน วงเงินหนี้สาธารณะและความผิดวินัยการเงินการคลัง แต่ก็ผิดกฎหมาย ธ.ก.ส.และเกินกรอบวงเงินงบประมาณทั้งปี 2567-68 อยู่ดีซึ่งสุดท้ายรัฐบาลอาจต้องกู้มาใช้หนี้ให้ ธ.ก.ส.ก็ไปผิดกฎหมายวินัยการเงินฯ ได้ “อย่าดันทุรังทำผิดกฎหมายเลยครับ สุ่มเสี่ยงติดคุกทั้ง นายกรัฐมนตรี และครม.ได้นะครับ”
นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊กสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ระบุว่า…หลอกให้รับ 1 หมื่นบาท เพื่อให้ลูกหลานเป็นหนี้ 5 แสนล้านบาท ใครเอาๆไปเถอะ ผมคนหนึ่งไม่กล้ารับกลัวลูกหลานมันด่าเอา
ข้อมูลเหล่านี้พรรคเพื่อไทย ต้องตัดสินใจเอาเองเกี่ยวกับการแจกเงินดิจิทัลว่า จะไปต่อหรือพอแค่นี้
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี