วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2567, 02.00 น.
วอนทบทวน‘ปฏิรูปรถเมล์’

ดูทั้งหมด

  •  

เกือบ 4 ปีแล้วกับนโยบาย “1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ” ตามแผน “ปฏิรูปรถเมล์” ที่ให้บริการในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล กล่าวคือ จากเดิมที่อาจมีทั้งรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) กับรถของเอกชน และรถของเอกชนก็อาจมาจากหลายบริษัท วิ่งในเส้นทางเดียวกัน ก็เปลี่ยนเป็น 1 เส้นทาง จะมีผู้ให้บริการรายเดียวและตามนโยบายใหม่นี้ ขสมก. จะมีสถานะเป็นเพียงผู้ให้บริการเดินรถเท่าเทียมกับบริษัทเอกชน ส่วนการกำหนดเส้นทางนั้นจะเป็นอำนาจของกรมการขนส่งทางบก นโยบายนี้เกิดขึ้นมาด้วยเหตุผลหลักๆ 2 ประการ คือ

1.แก้ปัญหาคุณภาพการให้บริการ โดยเฉพาะในฟากเอกชนที่มีเรื่องร้องเรียนจำนวนมากกับพฤติกรรมขับรถเร็วประมาทหวาดเสียว พนักงานพร้อมจะมีเรื่องทะเลาะวิวาทแย่งผู้โดยสาร หรือจอดแช่ป้ายเป็นเวลานานๆ เพราะต้อง “ทำรอบ-ทำยอด” เนื่องจากรายได้หลักมาจากส่วนแบ่งค่าโดยสาร กับ 2.แก้ปัญหาขาดทุนสะสมของ ขสมก. ซึ่งแม้คุณภาพการให้บริการของรถ ขสมก. จะดีกว่าเอกชน แต่ก็แลกมาด้วยรัฐต้องจัดงบประมาณอุดหนุนทุกปีเป็นรายได้และสวัสดิการในระดับที่พนักงานพอใจ เนื่องจากต้นทุนการเดินรถจริงสูงกว่าราคาค่าโดยสารที่อนุญาตให้จัดเก็บ


แต่ในขณะที่ผู้วางนโยบายคาดหวังให้ผู้ประกอบการมีผลกำไรมากขึ้น เพื่อที่ในภาคเอกชนจะได้นำไปเพิ่มรายได้และสวัสดิการให้พนักงานอันหมายถึงคุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น ส่วน ขสมก. ก็จะได้อยู่รอดด้วยตนเองโดยที่รัฐไม่ต้องเจียดงบฯ ไปอุดหนุน “ผลกระทบกลับตกอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้บริการ” ทั้งจำนวนรถที่น้อยลงเนื่องจากเส้นทางนั้นเหลือผู้ให้บริการเพียงรายเดียวหลายสายมีเสียงบ่นว่าต้องรอรถนาน ค่าโดยสารที่แพงขึ้นเพราะส่วนใหญ่หันไปใช้รถปรับอากาศ หรือรถเอกชนไม่รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งเป็นกลไกช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น

เมื่อช่วงปลายเดือน ส.ค. 2567 สภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดเวทีเรียกร้อง “ทบทวนปฏิรูปรถเมล์ หยุดบาดแผลคนกรุง” โดย สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า จุดยืนของสภาองค์กรผู้บริโภคคือ “ค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าแรงขั้นต่ำ” หรือตลอดทั้งวันไม่ควรมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเกิน 40 บาท ทั้งนี้สภาองค์กรของผู้บริโภค สนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลที่จะเรียกคืนสัมปทานรถไฟฟ้าจากเอกชนมาบริหารจัดการโดยรัฐ เพื่อให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง แต่ลำพังการทำเฉพาะรถไฟฟ้ายังไม่เพียงพอ

“รถไฟฟ้าไม่ได้ผ่านบ้านทุกคน แต่เราต้องมีรถเมล์ซึ่งเป็นระบบรอง เป็นระบบ Feeder (ตัวป้อน) มีเรือ ซึ่งหลายคนก็พึ่งเรืออยู่ในปัจจุบัน ฉะนั้นข้อเสนอที่เรากำลังคุยเพื่อที่จะทำให้เกิดการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนจากผู้ใช้บริการ ดิฉันคิดว่าสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ใช้บริการ แล้วเราอยากเห็นผู้ใช้บริการตัวจริง มาออกแบบเรื่องนี้มากขึ้น” เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าว

อภิสิทธิ์ มานตรี ผู้ดูแลเพจรถเมล์ไทย หนึ่งในเพจเฟซบุ๊กที่ให้ข้อมูลเรื่องเส้นทางรถเมล์ทั้ง ขสมก. และเอกชน กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบก เริ่มบังคับใช้แผนปฏิรูปรถเมล์ 269 เส้นทาง ปัจจุบัน ขสมก. ได้รับใบอนุญาต 107 เส้นทาง บริษัทเอกชนเจ้าใหญ่ที่เน้นให้บริการรถเมล์ไฟฟ้า (EV) ได้ไป 123 เส้นทาง ที่เหลือ
เป็นเอกชนรายย่อยอีก 5-6 บริษัท ซึ่งข้อดีคือมีการเปิดเส้นทางใหม่ๆ แต่พบปัญหาคือ 1.หลายเส้นทางยังเดินรถได้ไม่ครบ ซึ่งมีประมาณ 30 สาย ในจำนวนนี้อยู่ทั้งกับ ขสมก. และบริษัทเอกชนเจ้าใหญ่

2.บางเส้นทางปฏิรูปไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ เช่น สาย 511 (ปากน้ำ-สายใต้ใหม่) เส้นทางปฏิรูปเหลือเพียงรถที่วิ่งขึ้นทางด่วน ในขณะที่ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะอยู่ในเส้นทางราบ 3.การเปลี่ยนเลขสายรถเมล์ ซึ่งแม้ว่าในปี 2565 กรมการขนส่งทางบก จะเคยทำการสำรวจแล้วประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าควรใช้เลขสายเดิมดีกว่า
(เช่น สาย 511 เลขสายแบบใหม่จะเป็น 3-22E)แต่จนถึงปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกก็ยังให้ใช้เลขสายแบบใหม่

“เลขใหม่ขนส่งบอกว่าดี เพราะแบ่งเป็นโซน1-2-3-4 ซึ่งมันใช้ไม่ได้จริง เพราะโซนของเขตเมืองที่เขาแบ่งมันกว้างมาก แล้วประชาชนก็ไม่ได้ต้องการที่จะรู้ว่ารถเมล์สายนี้อยู่โซนไหนหรือไปโซนไหน ซึ่งรถเมล์แต่ละโซนที่เขาร่างมามันก็วิ่งข้ามโซนอยู่แล้ว ผมยกตัวอย่างสาย 2-36 อันนี้เป็นของ ขสมก. วิ่งในเส้นทางตลาดน้ำไทรน้อยมาที่ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ อันนี้เป็นโซนที่ 2 สายที่ 36

แล้วยกตัวอย่างสายใกล้เคียง โซนที่ 2 สายที่ 38 ก็คือวิ่งแฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธ ก็คือสาย 8 เดิมซึ่ง 2 สายนี้ ที่ขนส่งฯ เขาบอกว่าเลขโซนรถมันจะไปในทิศทางเดียวกัน 2 สายนี้วิ่งในเส้นทางที่ไม่เคยเจอกันเลย แล้วก็ไม่ได้มาเฉียดกันใกล้ อันนี้ยกตัวอย่างว่ามันทำให้ประชาชนสับสน” แอดมินเพจรถเมล์ไทย กล่าว

เช่นเดียวกับ มารุต จันทน์โรจน์ ผู้ดูแลเพจ Bangkokbusclub.com ชุมชนคนรักรถเมล์ กล่าวถึงการตัดเส้นทางรถเมล์ตามแผนปฏิรูป เช่น สาย 520 จากเดิมวิ่งจากมีนบุรีไปถึงรังสิตและตลาดไท ขณะที่แผนปฏิรูปเปลี่ยนชื่อสายเป็น 1-68 ตัดเส้นทางเหลือเพียงถึงรังสิต ไม่ไปถึงตลาดไท แม้จะมีสายอื่นทดแทนแต่จำนวนรถก็ไม่ได้
มากเหมือนสาย 520 ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ แต่หากจะต้องตัดเส้นทางก็ต้องทำให้เกิดตั๋วร่วมและสามารถใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ ส่วนการตัดเส้นทางเพราะมีการวิ่งทับซ้อนกัน ในบางเส้นทางการทับซ้อนอาจไม่ใช่ปัญหา

“สุขุมวิทช่วงในเมือง ที่ 511 มันหายไป หรือสาย 25 สาย 98 ที่หายไป แต่บริเวณตรงนั้นก็มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก บางทีการทับซ้อนอาจไม่ใช่ปัญหาถ้าความต้องการตรงนั้นมากเพียงพอ หรืออย่างย่านบางซ่อนเดิมเขามีรถเมล์ 6 สาย แล้วทีนี้ก็จะถูกปรับให้เหลือ 4 สายเพียงเพราะว่าเส้นทางรถเมล์มันทับซ้อนกัน แต่จริงๆ แล้วถ้าปรับให้เส้นทางที่ทับซ้อนกันทับซ้อนในช่วงที่มีผู้ใช้บริการเยอะ แต่ต้นทาง-ปลายทางอาจปรับให้มันทำงานได้หลากหลายขึ้น ปัญหาการทับซ้อนมันก็จะหมดไป รถเมล์แต่ละสายก็จะมีคุณค่าและหน้าที่ของตัวเองที่ดีขึ้น” มารุต กล่าว

นฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า นโยบาย 1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการทำให้ประชาชนต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้นเช่น เส้นทางหนึ่งเคยมีรถร้อน ขสมก. เก็บค่าโดยสาร 8 บาท ต่อมาเส้นทางนั้นเหลือแต่รถเอกชนซึ่งเก็บที่ 10 บาท และเมื่อต้องต่อรถหลายต่อ บางเส้นทางที่ไม่มีรถเมล์ให้บริการก็ต้องใช้ขนส่งทางเลือก เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้างหรือแท็กซี่ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงยังขาดการประชาสัมพันธ์ รวมถึงอยากเห็นภาคประชาชนเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดกติกาต่างๆ

“เวลารัฐกำหนดกติกาออกมารัฐจะฟังจากการศึกษา ซึ่งการศึกษานี้เราไม่รู้ว่าประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้เข้าไปมีส่วนในการทำความคิดเห็นแบบนั้นหรือเปล่า? ฉะนั้นสิ่งที่เราอยากเห็นก็คือรัฐควรบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพราะการเดินรถมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับแค่รถอย่างเดียว ความปลอดภัยของคนเดินทาง ของคนที่ใช้บริการ มาตรฐานของผู้ประกอบการการนำเข้ารถ เส้นทางการเดินรถ ก็จะเกี่ยวข้องกันทั้งหมด”รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:00 น. ภาพล่าสุด'เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ' เตรียมเข้าพิธีบวชสามเณรีในวันนี้
08:45 น. ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ภาพล่าสุด'เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ' เตรียมเข้าพิธีบวชสามเณรีในวันนี้

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

'ไพศาล'แทงสวน! หาก'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่'นั่ง'รมว.วธ.'ได้

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

  • Breaking News
  • ภาพล่าสุด\'เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ\' เตรียมเข้าพิธีบวชสามเณรีในวันนี้ ภาพล่าสุด'เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ' เตรียมเข้าพิธีบวชสามเณรีในวันนี้
  • ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ\'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2\' \'นายกฯ\'ควบ\'รมว.วัฒนธรรม\' ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved