วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ปรับนโยบาย‘ข้าว-ชาวนา’ ให้ไกลกว่า‘อุดหนุนราคา’

ดูทั้งหมด

  •  

 

“ข้าวปริมาณมันมากก็จริง แต่มูลค่ามันสู้กับสินค้า แม้แต่สินค้าเกษตรตัวอื่นๆ เช่น ทุเรียน รวมถึงเดี๋ยวนี้เราจะเห็นในหลายๆ ประเทศเองเขาก็สร้างสินค้าที่มีมูลค่าที่ได้มากกว่าในแง่ผลผลิตข้าว แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากชาวนายังมีจำนวนมากประมาณ 3.5-4 ล้านครัวเรือน ซึ่งก็ยังมีเศรษฐกิจการปลูกข้าวอยู่ ไม่ได้ปลูกข้าวทั้งหมดแต่ยังปลูกข้าวอยู่ ถ้ารวมพื้นที่มันยังมีพื้นที่จำนวนมาก ฉะนั้นข้าวในเชิงความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนในภาคเกษตรก็ยังถือว่าสำคัญอยู่”


รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และอดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับรายการ “Farmers Talk” ทางช่องยูทูบ “landactionthai” ของมูลนิธิชีวิตไท เมื่อเร็วๆ นี้ ถึงการที่รัฐไทยยังคงมอง “ข้าว” ในฐานะ“พืชเศรษฐกิจ” แม้ปัจจุบันจะมีสินค้าอื่นๆ ที่มีมูลค่าสูงกว่าก็ตาม โดยประวัติศาสตร์การส่งออกข้าวของไทยนั้น เริ่มตั้งแต่ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ที่รัฐไทย (หรือสยาม) ทำกับอังกฤษในปี 2398 และหลังจากนั้นได้มีการขุดคลองที่เป็นจุดเริ่มต้นของระบบชลประทาน เช่น คลองมหาสวัสดิ์ คลองรังสิตประยูรศักดิ์ เป็นต้น

แม้บทบาทของข้าวจะลดลงในเชิงเศรษฐกิจ แต่ในทางการเมืองยังมีความสำคัญ “หากดูครัวเรือนชาวนา 4 ล้านครัวเรือน คิดเป็นจำนวนคนอาจถึง 20 ล้านคนเป็นฐานเสียงที่มีจำนวนไม่น้อย พรรคการเมืองจึงต้องมีนโยบายที่สนับสนุนชีวิตของชาวนาหรือผู้ปลูกข้าว” เห็นได้จากช่วงที่มีการเลือกตั้ง จะมีนโยบายที่หลายคนเรียกว่า “ประชานิยม”ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือหรืออุดหนุนชาวนา

คำถามต่อมา “เมื่อข้าวไม่ใช่พืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทสูงอีกแล้วสำหรับประเทศไทย..เหตุใดจึงยังมีคนปลูกอยู่เป็นจำนวนมาก?” อาจารย์ประภาส อธิบายว่า จริงๆ มีชาวนาที่หันไปปลูกพืชอื่นด้วย เช่น ผักบุ้ง ผักชีฝรั่ง เตยหอม ฯลฯ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอกับรายจ่าย แต่ก็ยังไม่ได้เลิกปลูกข้าวเสียทีเดียวเพราะพืชอื่นใช้แรงงานในการปลูกและเก็บเกี่ยวมากกว่าข้าว จึงใช้วิธีแบ่งที่ดินเพื่อทำนาส่วนหนึ่ง และปลูกพืชอื่นๆ อีกส่วนหนึ่ง ประกอบกับรัฐบาลยังมีนโยบายเอื้อต่อชาวนา ทำให้ยังมีคนปลูกข้าวอยู่

“ข้าวให้รายได้พูดง่ายๆ คือน้อยมากเทียบกับรายได้ที่ต้องการใช้ในครัวเรือน ผมยกตัวอย่าง 20 ไร่ ถ้าเราปลูกข้าวทั้งหมด ปลูกข้าวที่เรียกว่า ข้าว กข ข้าวแข็งอายุสั้นปีนี้ดีหน่อยได้ตันละประมาณ 1 หมื่นบาท ก่อนหน้านี้5-6 พันบาทมาตลอด ถ้าผลิตดูแลดีที่สุด ลงทุนปุ๋ย-ยาต่างๆ ดูแลอย่างดี ก็จะได้ไร่ละประมาณ 1 ตัน ก็คือ 1,000 กิโลกรัมก็ได้ 1 หมื่นบาท 20 ไร่ก็ 2 แสนบาท สมมุติทำ 2 ครั้งใน 1 ปี ก็จะได้ประมาณ 4 แสนบาท

แต่ว่าการลงทุน ถ้าไม่คิดค่าแรงของตัวเอง ค่าลงทุนการผลิตก็ประมาณครึ่งหนึ่ง ก็คือถ้าปีหนึ่งทำ 2 ครั้ง ก็ได้ 4 แสนบาท ลงทุนไปครึ่งหนึ่งก็ประมาณ 2 แสนบาท ซึ่งโดยเฉลี่ยไม่มีใครมีนา 20 ไร่แล้ว แต่การทำนา 2 ครั้ง ครั้งแรกไม่มีทางที่จะได้ไร่ละตัน เพราะจะไปเก็บเกี่ยวช่วงฤดูร้อน ข้าวก็จะไม่ค่อยผสมเกสร เทียบให้ดูว่าถึงแม้ได้กำไรสักปีละ 2 แสนบาท ครัวเรือนหนึ่งมี 3-4 คน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนก็ประมาณหมื่นกว่าบาท มันอยู่ไม่ได้” อาจารย์ประภาส ระบุ

อาจารย์ประภาส ซึ่งมีพื้นเพมาจากครัวเรือนชาวนาในพื้นที่ จ.นครปฐม ก่อนจะไปเป็นนักวิชาการ จนเกษียณแล้วจึงกลับมาเป็นชาวนาอีกครั้ง โดยร่วมก่อตั้ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า” อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม กล่าวต่อไปว่า โครงสร้างการผลิตข้าวแบบเดิมที่ส่งเสริมการปลูกข้าวอายุสั้นเพื่อการส่งออก เช่น ข้าวนึ่ง ซึ่งส่งไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง ไม่ช่วยให้ชาวนาสามารถอยู่ได้ จึงเห็นอีกทางเลือกหนึ่งคือความพยายามปรับเปลี่ยนมาเป็นการปลูก “ข้าวอินทรีย์” โดยมี 2 ลักษณะ คือ

1.จัดตั้งกลุ่มผูกปิ่นโต ชาวนารวมกลุ่มผลิตเอง ตั้งแต่การปลูกข้าว สีข้าว ทำบรรจุภัณฑ์ โดยมีผู้บริโภคเป็นผู้สั่งซื้อล่วงหน้าและเป็นลูกค้าประจำ สร้างความสัมพันธ์กันในทางการตลาด 2.ผลิตเพื่อแปรรูป นำผลผลิตข้าวอินทรีย์แปรรูปเป็นแป้งหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งนี้ ปัจจุบันแม้แต่คนปลูกข้าวก็ไม่ได้กินข้าวที่ตนเองปลูก แต่ไปซื้อข้าวบรรจุถุงมาบริโภค ซึ่งตนเรียกว่า “ข้าวไม่มีหัวนอนปลายเท้า” ขัดแล้วก็นำมาใส่ถุง ในขณะที่ข้าวพื้นถิ่น เช่น ขาวเกยไชย ใน จ.นครสวรรค์ โดยมีการพูดคุยกันในกลุ่มว่าน่าจะเป็นทางรอดทางหนึ่งในการสร้างมูลค่าของการผลิตข้าว

เมื่อมองในแง่ “ชาวนา (หรือเกษตรกร) กับการเป็นฐานเสียงสำคัญในทางการเมือง” หากดูงบประมาณที่ใช้จัดทำนโยบายอุดหนุนภาคเกษตร พบว่า อยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาทต่อปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 เป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้าวหรือชาวนา ดังนั้น ประเด็นที่น่าจะพูดคุยกันต่อไป คือ “รัฐบาลใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อประคับประคองรายได้ของชาวนา นำมาสู่คำถามว่าควรนำงบประมาณไปปรับปรุงโครงสร้างที่ยั่งยืนมากกว่าการอุดหนุนหรือไม่?” เพราะการใช้งบฯ อย่างที่ผ่านมาก็ไม่สามารถทำให้ชาวนามีชีวิตอยู่ได้ด้วยการปลูกข้าว

“ไม่มีชาวนาที่ไหน เอาแถวนี้ก่อนแล้วกัน (ทุ่งนครชัยศรี) ซึ่งปลูกข้าวกันมาตั้งแต่ยุคบุกเบิกหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง ไม่มีครัวเรือนชาวนาใดที่มีรายได้จากการทำนาอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว และไม่มีครัวเรือนซึ่งมีรายได้หลักจากการทำนาที่จะทำให้ชีวิตในเศรษฐกิจครัวเรือนอยู่ได้ รายได้จากการทำนาเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก ที่เราเห็นภาพว่ามีการค้าขายหรือปรับมาปลูกพืชอย่างอื่น เหมือนกับจ้างงานตัวเองฉะนั้นการอุดหนุนในเชิงนโยบายชาวนา ผมคิดว่าข้อเสนอของ TDRI (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย)ก็คือการเสนอให้ลดการปลูกข้าวลงในพื้นที่ที่เหมาะสม

ที่มากไปกว่านั้นคือการพัฒนาการปลูกข้าวคุณภาพสูงเพื่อการส่งออกที่จะได้ราคาดี รวมถึงอย่างเช่นในเวียดนาม เขาก็ปรับไปสู่ข้าวอินทรีย์ ผมคิดว่าทิศทางนี้เป็นทิศทางที่ควรจะปรับในเชิงโครงสร้าง ในการอุดหนุนการผลิตข้าวในรูปแบบข้าวอินทรีย์ ซึ่งตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรื่องโรครวน หรือประเด็นเรื่องสุขภาพ แล้วก็สอดคล้องกับตลาดซึ่งต้องการข้าวหรืออาหารเพื่อสุขภาพ” อาจารย์ประภาส ระบุ

อาจารย์ประภาส ให้ข้อสรุปโดยย้ำว่า สังคมชาวนาที่อยู่ด้วยรายได้หลักจากการผลิตข้าวไม่มีอีกต่อไปแล้ว ชาวนาจำนวนมากก็ปรับตัวกันไปแล้ว นโยบายช่วยเหลือโดยรัฐจึงเป็นเพียงการสร้างคะแนนนิยมกับฐานเสียง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่ารัฐจะไม่คิดเรื่องนโยบายเพื่อปรับโครงสร้าง เช่น โครงการนาอินทรีย์ล้านไร่ แต่ยังขาดการประเมินติดตามผลที่ชัดเจน ปัจจุบันโครงการสิ้นสุดไปแล้ว ใช้งบประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อโครงการจบไป เท่าที่สอบถามชาวนาก็ทราบว่าหลายคนกลับมาปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีเช่นเดิม

ดังนั้น “นโยบายของรัฐควรสนับสนุนข้าวอินทรีย์ในกลุ่มที่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นถิ่นขึ้นมา” เช่น ขาวเกยไชย (จ.นครสวรรค์) หอมนครชัยศรี (จ.นครปฐม) โดยเฉพาะสำหรับตลาดบริโภคภายในประเทศ ซึ่งมีตัวอย่างจาก ญี่ปุ่น ที่มีข้าวพันธุ์ท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ขายเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม “การตลาดถือเป็นความท้าทายสำคัญของกลุ่มข้าวอินทรีย์” การสนับสนุนให้มีตลาดรองรับผู้ผลิตที่ต้องการปรับเปลี่ยนสู่การปลูกข้าวที่ดีต่อสุขภาพ ที่ผู้บริโภคก็พร้อมจ่าย เป็นอีกแนวทางที่น่าสนใจนอกเหนือจากการแปรรูป!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:32 น. 'ไต้ฝุ่น'ชวน 'คุณเจมส์-วรปรัชญ์'เปิดสูตรลับธุรกิจร้อยล้านตอบโจทย์โลกออนไลน์ใน'ติดลมบน'
16:30 น. 'ช่อง 7HD'รวมตัวสายบู๊ 3 สังเวียนดัง 'ONE ลุมพินี 115 - Fairtex Fight มวยมันพันธุ์ EXTREME - มวยไทย 7 สี'
16:26 น. ‘ศาลรธน.’สั่งเสนอความเห็นใน 15 วัน ปม‘แส จิ้นเจียง’เจ้าของบ่อนกาสิโน ยื้อส่งตัวไปจีน
16:21 น. 'สาวไฟแนนซ์'หายตัวนับเดือน! พบเป็นศพคาซากรถคู่ใจ จมคลองชลประทาน
16:17 น. ชาวเน็ตแห่ห่วง!! หลัง'ใหม่ ดาวิกา'เตรียมให้'เต๋อ ฉันทวิชช์'ยกครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'สาวไฟแนนซ์'หายตัวนับเดือน! พบเป็นศพคาซากรถคู่ใจ จมคลองชลประทาน

ชาวเน็ตแห่ห่วง!! หลัง'ใหม่ ดาวิกา'เตรียมให้'เต๋อ ฉันทวิชช์'ยกครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน

(คลิป) 'อนุทิน' เย้ย! ครม.ใหม่ พท. ปูดแหลกเบื้องหลัง!!

‘ดร.ดิเรกฤทธิ์’กระตุกฝ่ายค้านรักษามาตรฐานตรวจสอบรัฐบาล หยุดเล่นเกม

'ช่อ'ไม่เห็นด้วยศาลสั่ง'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่ แนะนายกฯ ยุบสภา-ลาออก แสดงความรับผิดชอบ

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568

  • Breaking News
  • \'ไต้ฝุ่น\'ชวน \'คุณเจมส์-วรปรัชญ์\'เปิดสูตรลับธุรกิจร้อยล้านตอบโจทย์โลกออนไลน์ใน\'ติดลมบน\' 'ไต้ฝุ่น'ชวน 'คุณเจมส์-วรปรัชญ์'เปิดสูตรลับธุรกิจร้อยล้านตอบโจทย์โลกออนไลน์ใน'ติดลมบน'
  • \'ช่อง 7HD\'รวมตัวสายบู๊ 3 สังเวียนดัง \'ONE ลุมพินี 115 - Fairtex Fight มวยมันพันธุ์ EXTREME - มวยไทย 7 สี\' 'ช่อง 7HD'รวมตัวสายบู๊ 3 สังเวียนดัง 'ONE ลุมพินี 115 - Fairtex Fight มวยมันพันธุ์ EXTREME - มวยไทย 7 สี'
  • ‘ศาลรธน.’สั่งเสนอความเห็นใน 15 วัน ปม‘แส จิ้นเจียง’เจ้าของบ่อนกาสิโน ยื้อส่งตัวไปจีน ‘ศาลรธน.’สั่งเสนอความเห็นใน 15 วัน ปม‘แส จิ้นเจียง’เจ้าของบ่อนกาสิโน ยื้อส่งตัวไปจีน
  • \'สาวไฟแนนซ์\'หายตัวนับเดือน! พบเป็นศพคาซากรถคู่ใจ จมคลองชลประทาน 'สาวไฟแนนซ์'หายตัวนับเดือน! พบเป็นศพคาซากรถคู่ใจ จมคลองชลประทาน
  • ชาวเน็ตแห่ห่วง!! หลัง\'ใหม่ ดาวิกา\'เตรียมให้\'เต๋อ ฉันทวิชช์\'ยกครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน ชาวเน็ตแห่ห่วง!! หลัง'ใหม่ ดาวิกา'เตรียมให้'เต๋อ ฉันทวิชช์'ยกครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved