วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เวทีอิสระ
เวทีอิสระ

เวทีอิสระ

วันพฤหัสบดี ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568, 02.00 น.
ถึงเวลาที่อาเซียนต้องทบทวนตนเอง

ดูทั้งหมด

  •  

ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆ อาเซียน ซึ่งมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อความมั่นคง เสถียรภาพ และความเจริญก้าวหน้าของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นการทั่วไป และโดยเฉพาะต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศสมาชิกอาเซียน อาทิ

- การเผชิญหน้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา


- การเร่งขยายแสนยานุภาพทางการทหารด้วยอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ

- การแสดงพละกำลังของจีนในทะเลจีนตอนใต้ที่คุกคามความมั่นคงปลอดภัยของประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีข้อพิพาทในเรื่องพื้นที่ทางทะเลกับจีน เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน

- การเผชิญหน้าระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่ กับจีนเกาะไต้หวัน

- การเพิ่มขยายความร่วมมือสี่เส้าระหว่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอินเดีย

- การจัดตั้งองค์กร AUKUS โดยสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของออสเตรเลีย

- การกระชับความร่วมมือแบบสามเส้าที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นตัวยืน เช่น ระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ หรือสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ เป็นต้น

- การที่กัมพูชายินยอมให้จีนมาตั้งฐานทัพเรือที่เมืองท่าเรียม ประชิดชายแดนไทย เป็นต้น

ภายใต้เหตุการณ์เคลื่อนไหวต่างๆ ดังกล่าว อาเซียนซึ่งมีสมาชิกประเทศ 10 ประเทศ ดูเงียบเหงา ถูกลืมเลือนมองข้ามไป หรือไม่มีการให้ราคา โดยประเทศต่างๆ นอกอาณาเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้หลักการอาเซียนว่าด้วย อาเซียนต้องเป็นแกนกลางในความเป็นไปในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Centrality) ดูไร้ความหมาย ไร้ความศักดิ์สิทธิ์ และไม่มีความเป็นจริงเป็นจัง

อีกทั้งปัญหาภายในของอาเซียนเอง เช่น ในกรณีปัญหาการปฏิวัติรัฐประหาร และสงครามกลางเมืองที่ประเทศเมียนมา (พม่า) ซึ่งเป็นเรื่องภายในของครอบครัวอาเซียน ฯลฯ อาเซียนก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะมีความแตกแยก และขาดผู้นำ

ล่าสุดก็มีเหตุการณ์การดำเนินการมาตรการฝ่ายเดียวทางด้านการค้าขาย โดยเฉพาะการตั้งกำแพงภาษีศุลกากรในอัตราที่สูงขึ้นของสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำพาของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีอุดมการณ์ว่า“สหรัฐอเมริกาต้องเป็นหนึ่ง ต้องเป็นใหญ่ และต้องมาก่อน”มีผลให้ทั้งโลกต้องสั่นสะเทือนและเร่งปรับตัวเอง และเร่งจัดทำกลยุทธ์เพื่อต่อกรกับสหรัฐฯ

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คือความท้าทายของโลกต่ออาเซียน ซึ่งอาเซียนจะรับมือได้ อาเซียนก็จะต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งภายในและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งหมายความว่า อาเซียนจะต้องพินิจพิจารณาตนเองอย่างลึกซึ้ง มุ่งมั่น และรอบคอบ

อาเซียนจะแข็งแกร่งขึ้นมาได้ อาเซียนก็มีแนวทางที่จะดำเนินการได้หลายๆ แนวทางด้วยกัน เช่น

- การมีอัตราภาษีศุลกากรร่วมแบบสหภาพยุโรป คู่ขนานไปกับการลดอัตราภาษีศุลกากรและการขจัดอุปสรรคทางการค้าขายต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศด้วยกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นตลาดเดียว (One Market) ที่มีการเคลื่อนไหว ไหลเวียน ของสินค้า เงินตราและผู้คน ที่ปราศจากหน่วยงานศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง ณ เขตแดนระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกัน

- การปรับ การเรียกเก็บภาษีภายในต่างๆ ให้ทัดเทียมกัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและช่องทางของการลักลอบและการขายสินค้าอย่างผิดกฎหมาย (Harmonization of Tax Law)

- การเร่งการให้ได้มาซึ่งมาตรฐานกลางในระดับอาเซียน ว่าด้วยการออกใบอนุญาต มาตรฐานบริการ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งระบบกลางว่าด้วยแรงงานต่างด้าว เป็นต้น

- อาเซียนได้มีการจัดทำแผนแม่บทว่าด้วยการเชื่อมโยงคมนาคมขนส่ง แต่ความคืบหน้าต่างๆ ยังเป็นไปด้วยความล่าช้า การสัญจรไปมาจึงไม่สะดวกสบาย ไม่ราบรื่น เพราะถนนหนทาง ทางรถไฟ การขนส่งทางทะเล ยังขาดตอน ขาดช่วงอยู่อีกมากมาย ไม่สามารถเชื่อมโยงประเทศอาเซียนทั้งสิบกันได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ยังไม่รวมเรื่องเครือข่ายท่อก๊าซและน้ำมันเครือข่ายไฟฟ้า และเครือข่ายโทรคมนาคมสมัยใหม่

อีกทั้งความรู้สึกนึกคิดของการเป็นพลเมืองอาเซียนด้วยกันทั้งประมาณ 650 ล้านกว่าชีวิต ก็ยังดูลุ่มๆ ดอนๆ อยู่ เพราะขาดการชำระประวัติศาสตร์ร่วมกัน เพื่อยุติความระหองระแหงแต่อดีต รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความเหมือนและการมีรากเหง้าร่วมกัน เป็นต้น

อีกทั้งประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ก็ยังมีระบบระบอบการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันขณะที่ในกฎบัตรอาเซียน (The ASEAN Charter) ระบุเป้าหมายเรื่องความเป็นประชาธิปไตยและการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน โดยอาเซียนได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระดับรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแต่ทว่าเรื่องสิทธิเสรีภาพภายในประเทศอาเซียนก็ยังมีอุปสรรคอยู่อย่างมากมาย มิได้ทำให้หลักการว่าด้วยประชาชนพลเมืองเป็นศูนย์หรือแกนกลางของความเป็นไปของอาเซียนนั้นไม่มีความเป็นจริงเป็นจังแต่อย่างใด (People’s Centered) ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนพลเมืองอาเซียนทุกคนอยู่ภายใต้ร่มเงาของสิทธิเสรีภาพ ปราศจากความหวาดกลัว และการกดขี่ข่มเหงใดๆ ทั้งสิ้น

ในการนี้ทุกแวดวงภายในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน และทุกแวดวงในระดับอาเซียน จะต้องออกมาพินิจพิจารณาสถานะของอาเซียนและความท้าทายต่างๆ ทั้งจากภายนอกและภายในอย่างจริงจังเพื่อจะได้มีการดำเนินการเปลี่ยนรูปโฉม หรือปฏิรูปอาเซียนอย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง ให้อาเซียนเป็นองค์การร่วมมือระดับภูมิภาค ที่เป็นแบบอย่างของกลุ่มประเทศในโลกที่สาม หรือโลกทางตอนใต้ (The Global South) และเป็นสถาบันที่สามารถจะมีสุ้มเสียงและขับเคลื่อนสันติภาพ ความมั่นคง และเจริญก้าวหน้าของประชาคมโลกได้

กษิต ภิรมย์

kasitfb@gmail.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ประชาธิปไตยมักถูกท้าทายอยู่เสมอ

ประชาธิปไตยมักถูกท้าทายอยู่เสมอ

10 ก.ค. 2568

ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง

ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง

3 ก.ค. 2568

ไทยต้องไม่สะทกสะท้านกับฮุนเซน

ไทยต้องไม่สะทกสะท้านกับฮุนเซน

26 มิ.ย. 2568

เหตุการณ์สำคัญของเวียดนามที่ชาวอาเซียน และชาวโลกมองข้ามไปไม่ได้

เหตุการณ์สำคัญของเวียดนามที่ชาวอาเซียน และชาวโลกมองข้ามไปไม่ได้

19 มิ.ย. 2568

Open Government :  ระบบการบริหารราชการแบบเปิด

Open Government : ระบบการบริหารราชการแบบเปิด

12 มิ.ย. 2568

พื้นฐานความคิดของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

พื้นฐานความคิดของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

4 มิ.ย. 2568

หลักความเป็นตัวของตัวเองในเวทีระหว่างประเทศ

หลักความเป็นตัวของตัวเองในเวทีระหว่างประเทศ

29 พ.ค. 2568

สองผู้ยิ่งใหญ่อเมริกัน  กับสันติภาพโลก

สองผู้ยิ่งใหญ่อเมริกัน กับสันติภาพโลก

22 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved