วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / กฎ กติกา ธุรกิจ
กฎ กติกา ธุรกิจ

กฎ กติกา ธุรกิจ

รุจิระ บุนนาค
วันศุกร์ ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565, 02.00 น.
ภาษีคาร์บอน

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อมีข่าวว่ารัฐบาลจะมีการปรับอัตราภาษีขึ้น หรือมีแนวคิดที่จะมีการเรียกเก็บภาษีใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ข่าวนี้เหมือนเป็นข่าวร้ายของประชาชน ทั้งนี้เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่สามของเดือนกันยายน พ.ศ. 2565สื่อต่างๆ ได้นำเสนอข่าวว่า กรมสรรพสามิตกำลังเดินหน้าศึกษาการจัดเก็บภาษีภาษีคาร์บอน

ภาษีคาร์บอน หรือ “CarbonTax” ถือเป็นภาษีสิ่งแวดล้อม การเรียกเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาในแต่ละครั้งของการดำเนินกิจกรรมของโรงงาน โรงไฟฟ้า และยานยนต์ต่างๆ เมื่อมีการเผาไหม้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา และถูกปลดปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ทั้งยังเป็นที่ดักและดูดซับความร้อน ไม่ให้สะท้อนกลับออกไปนอกชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก จนนำไปสู่สภาวะโลกร้อน อันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก มีผลกระทบต่อผู้คนในชุมชนในหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพอนามัย ระบบนิเวศวิทยาการลดลงและเสื่อมสภาพของทรัพยากร การเสื่อมมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับในการที่เพิ่มก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกให้เร็วขึ้น


การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ได้กลายมาเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการค้าโลก จึงต้องมีการเรียกเก็บภาษีคาร์บอน โดยมีการเรียกเก็บภาษีจากสินค้านำเข้าที่ไม่ปฏิบัติตามเป้าหมายสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ เพราะลำพังเพียงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศอย่างเดียว คงไม่ได้ผลแล้ว

ประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป มีการจัดเก็บภาษีคาร์บอนในธุรกิจที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยเริ่มจากสินค้าที่มีผลต่อการปล่อยคาร์บอนสูง 5 ชนิดคือ ปูนซีเมนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม ปุ๋ยเคมี และการผลิตกระแสไฟฟ้า

สิงคโปร์เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจัดเก็บภาษีคาร์บอน โดยสิงคโปร์ได้ดำเนินการเก็บภาษีคาร์บอน เพื่อกระตุ้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2562

การเก็บภาษีคาร์บอนของสิงคโปร์ใช้บังคับกับโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจทั้งหมดทุกประเภทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณ 25,000 ตันต่อปีขึ้นไป การจัดเก็บนี้จะครอบคลุมถึงผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ไม่ต่ำกว่า 30 รายในสิงคโปร์ ที่มีทั้งโรงกลั่นน้ำมันและโรงไฟฟ้า โดยปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการปล่อยก๊าซทั้งหมดของประเทศ

สำหรับประเทศไทย กรมสรรพสามิตพิจารณาว่าการริเริ่มจัดเก็บภาษีคาร์บอน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้เกิด ESG หรือ Environment, Social, และ Governance (สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแล) เนื่องจากทุกวันนี้ นักลงทุนทั่วโลก จะคำนึงถึง EGS หรือความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแล

แนวคิด ESG ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจ เพราะสะท้อนบทบาทความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และการนำเสนอผลการดำเนินงานในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน การใช้มาตรการภาษีคาร์บอน ถือเป็นเครื่องมือในการสนับสนุน

ในขณะนี้ กรมสรรพาสามิตกำลังเดินหน้าศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีคาร์บอน ในกลุ่มสินค้าและบริการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง โดยมีการตั้งเป้าหมาย ทำการศึกษาให้แล้วเสร็จมีความชัดเจนในแนวทางและอัตราภาษีภายในปีพ.ศ. 2566

แนวทางการจัดเก็บภาษีคาร์บอน จะมี 2 แนวทางคือ (1) การเก็บภาษีบนตัวสินค้าตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งหากปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ภาษีจะสูงตามไปด้วย และ (2) การเก็บภาษีโดยเริ่มที่กระบวนการผลิตในโรงงานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การจัดเก็บโดยวิธีนี้ ต้องได้รับร่วมมือจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น องค์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อกำหนดแนวทางและการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอัตราภาษี 

ภาษีคาร์บอนสามารถช่วยให้การผลิตพลังงานสะอาดจากเชื้อเพลิงหมุนเวียนธรรมชาติ เช่น พลังงานลม พลังงานแดด ได้รับการส่งเสริมอาจเป็นการจูงใจให้นักลงทุนด้านพลังงานหันมาพัฒนาพลังงานทดแทนเหล่านี้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนลดลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้นไป ในอนาคตอาจมีนักลงทุนบางราย ที่หันมาใช้เป็นพลังงานจากธรรมชาติหลักทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลก็เป็นได้

แม้การเก็บภาษีคาร์บอน จะส่งผลให้โรงงานโรงไฟฟ้า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องหันมาใส่ใจในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิง เพื่อลดต้นทุนในการทำดำเนินกิจกรรม อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีคาร์บอน ถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องผลักภาระให้ผู้บริโภค ผู้ประกอบการคงต้องนำมาเพิ่มในราคาสินค้าและบริการ ผู้บริโภคปลายทางคงต้องชำระค่าสินค้าและบริการตามที่ผู้ประกอบการกำหนดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การศึกษาการจัดเก็บ อัตราภาษี ควรต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ ศึกษาทั้งด้านบวกและลบ ทุกวันนี้คนไทยต่างต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจที่สินค้าทุกประเภทราคาสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเพิ่งฟื้นตัวจากโควิด-19 ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นคนว่างงานเป็นจำนวนมาก หากมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอนในช่วงนี้ อาจเร็วเกินไปและเป็นการซ้ำเติมประชาชน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:51 น. จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
13:42 น. สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
13:39 น. วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
13:35 น. (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!
13:31 น. ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ '4 Element บ้านวาทินวณิช'
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง
‘หนีดีกว่า’อวสาน‘ตระกูลชิน’
สองพ่อลูกลุยกรรม
ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล

(คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!

วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน

'รังสิมันต์'เผย'นายกฯ-กต.'ให้ความร่วมมือน้อย! หลังไม่แจง กมธ.มั่นคงฯ ปมคลิปเสียง

'ญี่ปุ่น'แผ่นดินไหวทะลุ1,000ครั้ง! แถลงการณ์ฉุกเฉินสั่งปชช.เตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อ

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

  • Breaking News
  • จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
  • สุดโรแมนติก! \'โปรต้า\'คุกเข่าขอ\'ครูเบียร์\'แต่งงานริมทะเล สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
  • วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
  • (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!! (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!
  • ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ \'4 Element บ้านวาทินวณิช\' ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ '4 Element บ้านวาทินวณิช'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

คลิปสนทนา อุ๊งอิ๊งค์-ฮุนเซน กับกฎหมาย

คลิปสนทนา อุ๊งอิ๊งค์-ฮุนเซน กับกฎหมาย

27 มิ.ย. 2568

เมาแล้วขับ จับ ปรับ ยึดรถ

เมาแล้วขับ จับ ปรับ ยึดรถ

20 มิ.ย. 2568

ความขัดแย้งเขตแดน ไทย-กัมพูชา

ความขัดแย้งเขตแดน ไทย-กัมพูชา

13 มิ.ย. 2568

ฟ้อง AI ข้อหา ฆ่าคน

ฟ้อง AI ข้อหา ฆ่าคน

6 มิ.ย. 2568

ยิ่งลักษณ์ กับความผิดจำนำข้าว

ยิ่งลักษณ์ กับความผิดจำนำข้าว

30 พ.ค. 2568

ก.ม.ใหม่ ธนาคารและค่ายมือถือ ร่วมรับผิดกรณีคอลเซ็นเตอร์

ก.ม.ใหม่ ธนาคารและค่ายมือถือ ร่วมรับผิดกรณีคอลเซ็นเตอร์

23 พ.ค. 2568

ขยายฐาน....ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขยายฐาน....ภาษีมูลค่าเพิ่ม

16 พ.ค. 2568

ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย

ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย

9 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved