วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / กฎ กติกา ธุรกิจ
กฎ กติกา ธุรกิจ

กฎ กติกา ธุรกิจ

รุจิระ บุนนาค
วันศุกร์ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กับ สิทธิ ส.ป.ก.4-01

ดูทั้งหมด

  •  

เอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 หรือ หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายจะยกระดับให้เป็น “โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม”ด้วยการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการใช้สอยให้แก่ผู้ครอบครองเข้าทำประโยชน์ให้มากขึ้น

ส.ป.ก. 4-01 ที่ปรับปรุงใหม่ตามนโยบาย จะสามารถเปลี่ยนมือได้ระหว่างเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเดียวกันตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด จะสามารถใช้ค้ำประกันเงินกู้กับสถาบันการเงินได้ทุกแห่ง โดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐ (จากเดิมที่ใช้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้เพียงที่เดียว) แต่ผู้ถือสิทธิจะต้องครอบครองและทำประโยชน์จากการปลูกไม้มีค่าในพื้นที่ตามสัดส่วนที่ ส.ป.ก.กำหนด มาไม่น้อยกว่า 5 ปี


ในคราวนี้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเรียกย่อๆ ว่า “ส.ป.ก.” จะเป็นหน่วยงานมีอำนาจหน้าที่เป็นนายทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่างๆ เอง ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้กระบวนการจดทะเบียนและทำนิติกรรมรวดเร็วขึ้น เพราะจากสถิติมีพี่น้องเกษตรกรที่เข้าเงื่อนไข จำนวน 1,628,520 รายเอกสารสิทธิรวม 2,205,561 ฉบับ เนื้อที่รวม 22,079,407.67 ไร่ เป็นการแบ่งเบาภาระสำนักงานที่ดิน ของกรมที่ดิน ซึ่งมีงานล้นมืออยู่แล้ว  

ส.ป.ก. เป็นหน่วยงานรัฐ มีสถานะเทียบเท่ากรมของส่วนราชการ จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและมอบสิทธิครอบครองในที่ดินที่ปฏิรูปดังกล่าวให้แก่บรรดาเกษตรกรผู้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ทั่วภูมิภาคของประเทศไทยได้มีผืนที่ดินทำมาหาเลี้ยงชีพ (มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518)

แต่เดิมในยุคแรกเริ่มการจัดสรรที่ดินตามนโยบายปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรและแจกจ่ายให้แก่ชาวเกษตรกรตามกฎหมายนี้ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ เรียกย่อๆ ว่า “คปก.” (มาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518) การดำเนินงานจะกระจายไปตามสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรสาขา (สำนักงาน) ในท้องที่ซึ่งที่ดินที่จัดสรรตั้งอยู่ในเขตทั่วประเทศ

แต่ละสำนักงานจะทำการคัดเลือกเกษตรกรผู้มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่จะได้รับมอบเอกสารสิทธิส.ป.ก. 4-01 เป็นเอกสารสำคัญ แสดงถึงการเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ทำการเกษตรในผืนดินที่มอบให้ภายหลังจากรายชื่อเกษตรกรผู้มีคุณสมบัติ ผ่านการอนุมัติจากคปก.แล้ว เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเป็นผู้แทนในการดำเนินการจดทะเบียนขอออกเอกสารสิทธิดังกล่าวต่อสำนักงานที่ดิน ของกรมที่ดิน            

คุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก. จากบุคคล 3 ประเภทคือ เกษตรกรโดยตรง ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และชุมชนเกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นสถาบันเกษตรกร (มาตรา 4 พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518) บรรดาบุคคลเหล่านี้ต้องมีคุณสมบัติโดยทั่วไป คือ 1. มีสัญชาติไทย2. บรรลุนิติภาวะ หรือเป็นหัวหน้าครอบครัว 3. ประพฤติดีซื่อสัตย์สุจริต 4. ร่างกายสมบูรณ์ ขยันขันแข็ง 5. ไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอ 6. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน และ 7. ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบของ ส.ป.ก. จำนวนที่ดินไม่เกิน 50-100 ไร่ ตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ

การเพิ่มสิทธิประโยชน์ในสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. (จากสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม) ให้เป็นไปตามนโยบายใหม่นี้ จะต้องทำการแก้ไขกฎหมายหลัก 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 11 ให้มีความสอดคล้องกันในทางปฏิบัติโดยเฉพาะหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ “คุณสมบัติของเกษตรกรผู้มีสิทธิ”ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับสิทธินี้ เนื่องจากความไม่ชัดเจนของการตีความหลักเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกในอดีต ที่สร้างความปั่นป่วน สั่นคลอนเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลเลยทีเดียว (คดีเพิกถอนสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ที่จังหวัดภูเก็ต ในปี 2537 ในความไม่ชัดเจน หลักเกณฑ์ ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรซึ่งจะมีสิทธิ์ได้รับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ในข้อ 6 (6) และข้อ 8 (1) รวมทั้งความหมายของคำว่า “เกษตรกร” ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลสมัยนั้นประกาศยุบสภา และรวมถึงคดีล่าสุดที่ศาลฎีกาพิพากษาตัดสิทธิทางการเมือง นักการเมืองรายหนึ่งที่ขาดคุณสมบัติในการครอบครองที่ดินส.ป.ก.4-01)

นอกจากนี้หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับ “วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ในที่ดินส.ป.ก.” ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันที่จะต้องพิจารณาและตีความโดยเคร่งครัด เพราะวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. ตามเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 นั้นเพียงเพื่อให้เกษตรกรผู้มีสิทธิใช้เพื่อทำประโยชน์ในการทำเกษตรกรรมเท่านั้น การใช้เพื่อทำประโยชน์นอกเหนือไปจากนั้น แม้จะตีความกำหนดแนวทางผ่อนการใช้ประโยชน์ในทางบริหารให้สามารถเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ไปใช้ในทางสาธารณะก็ตาม ถือเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาทิ การนำสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก.ออกให้เอกชนเช่า เพื่อกิจการจัดหาพลังงานไฟฟ้า (คดีหมายเลขดำที่ อ.1203/2556 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1728/2559)     

เหนือสิ่งอื่นใด การทำความเข้าใจแก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาพี่น้องเกษตรกรทั้งหลายให้ได้รับรู้รับทราบถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 อย่างชัดเจนนั้น เพื่อมิให้เกิดความเข้าใจที่บิดเบือนสับสนนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องพิจารณาดำเนินการในลำดับต้นๆ ก่อนประเด็นอื่นๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:31 น. ลานายกขนไก่! ‘คุณหญิงปัทมา’วางมือ พร้อมนั่งปธ.แบดโลก
18:28 น. ว่าที่คุณแม่ป้ายแดง 'ตู่ ปิยวดี-มาวิน'อวดภาพอบอุ่น เตรียมนับถอยหลังรอเบบี๋
18:28 น. (คลิป) 'บรู๊ค' โฆษกเพื่อไทย ปัด! ไม่เคยพูด! 'ทักษิณ' ป่วยขั้นวิกฤตแค่ได้รับการผ่าตัด
18:15 น. (คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้
18:12 น. ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลานายกขนไก่! ‘คุณหญิงปัทมา’วางมือ พร้อมนั่งปธ.แบดโลก

ว่าที่คุณแม่ป้ายแดง 'ตู่ ปิยวดี-มาวิน'อวดภาพอบอุ่น เตรียมนับถอยหลังรอเบบี๋

(คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

(คลิป) 'บรู๊ค' โฆษกเพื่อไทย ปัด! ไม่เคยพูด! 'ทักษิณ' ป่วยขั้นวิกฤตแค่ได้รับการผ่าตัด

  • Breaking News
  • ลานายกขนไก่! ‘คุณหญิงปัทมา’วางมือ พร้อมนั่งปธ.แบดโลก ลานายกขนไก่! ‘คุณหญิงปัทมา’วางมือ พร้อมนั่งปธ.แบดโลก
  • ว่าที่คุณแม่ป้ายแดง \'ตู่ ปิยวดี-มาวิน\'อวดภาพอบอุ่น เตรียมนับถอยหลังรอเบบี๋ ว่าที่คุณแม่ป้ายแดง 'ตู่ ปิยวดี-มาวิน'อวดภาพอบอุ่น เตรียมนับถอยหลังรอเบบี๋
  • (คลิป) \'บรู๊ค\' โฆษกเพื่อไทย ปัด! ไม่เคยพูด! \'ทักษิณ\' ป่วยขั้นวิกฤตแค่ได้รับการผ่าตัด (คลิป) 'บรู๊ค' โฆษกเพื่อไทย ปัด! ไม่เคยพูด! 'ทักษิณ' ป่วยขั้นวิกฤตแค่ได้รับการผ่าตัด
  • (คลิป) \'นายกอิ๊งค์\' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง \'ทักษิณ\' ไม่ได้ (คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้
  • ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย

ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย

9 พ.ค. 2568

ปัญหาพยาบาลไต กับกฎระเบียบใหม่ของสภาการพยาบาล

ปัญหาพยาบาลไต กับกฎระเบียบใหม่ของสภาการพยาบาล

2 พ.ค. 2568

ท่าเรือคลองเตย-กาสิโน-ทายาททวงคืนที่ดิน

ท่าเรือคลองเตย-กาสิโน-ทายาททวงคืนที่ดิน

25 เม.ย. 2568

โรงแรมเถื่อน คอนโดฯให้เช่ารายวัน

โรงแรมเถื่อน คอนโดฯให้เช่ารายวัน

17 เม.ย. 2568

โอนหุ้นนายกฯนิติกรรมอำพราง?

โอนหุ้นนายกฯนิติกรรมอำพราง?

11 เม.ย. 2568

แผ่นดินไหว ตึก สตง. ถล่ม ไม่ต้องรับผิด?

แผ่นดินไหว ตึก สตง. ถล่ม ไม่ต้องรับผิด?

4 เม.ย. 2568

ซื้อหนี้ประชาชน ขายฝันอีกแล้ว

ซื้อหนี้ประชาชน ขายฝันอีกแล้ว

28 มี.ค. 2568

คานถล่ม ถนนพระราม 2 (อีกแล้ว)

คานถล่ม ถนนพระราม 2 (อีกแล้ว)

21 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved