วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / หมุนตามทุน
หมุนตามทุน

หมุนตามทุน

วันพุธ ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ภาคการผลิต-ภาคอุตสาหกรรมที่ยังอ่อนแอ กดดันศักยภาพเศรษฐกิจไทยให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป

ดูทั้งหมด

  •  

nn SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2024 จากแรงส่งเศรษฐกิจแผ่วลงและภาคการผลิตฟื้นช้า ข้อมูลเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่ออกมาขยายตัวต่ำมากเหลือเพียง 1.9% เติบโตชะลอลงเทียบกับ 2.5% ในปี 2565 ส่งผลให้ระดับกิจกรรมเศรษฐกิจไทย ณ สิ้นปี 2566 ยังคงต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤตโควิดประมาณ -0.4% สะท้อนการฟื้นตัวช้ากว่าที่ SCB EIC เคยประเมินไว้ ประเทศไทยจึงนับว่าเป็นประเทศที่ฟื้นกลับสู่ระดับก่อนวิกฤตโควิดช้ารั้งท้ายของโลก สำหรับปี 2024 SCB EIC ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 2.7% ต่ำลงจากประมาณการเดิม 3%

หากพิจารณาองค์ประกอบเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ SCB EIC มองว่าส่วนใหญ่ปรับแย่ลงจากประมาณการครั้งก่อน เช่น 1.การบริโภคภาคเอกชนในปีนี้ขยายตัวชะลอลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.4% ส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานสูงในปีก่อน ขณะที่ครัวเรือนกลุ่มเปราะบางยังมีภาระหนี้สูงกดดันการใช้จ่ายในภาพรวมของประเทศ 2. มูลค่าการส่งออกสินค้า การส่งออกไทยยังมีแนวโน้มขยายตัว 3.1% ปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่ 3.7% แม้การส่งออกไทยจะยังได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน แต่ปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมจากปัญหาการโจมตีเรือขนส่งสินค้าของกบฏฮูตีในบริเวณทะเลแดงและความแห้งแล้งในคลองปานามาที่เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือที่สำคัญของโลก ปัญหาการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจโลกและมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้เพิ่มเติม นอกจากนี้ การส่งออกไทยยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้างการผลิตโลกในระยะยาว โดยรูปแบบความต้องการสินค้าในโลกและห่วงโซ่อุปทานโลกที่เปลี่ยนไป ขณะที่ประเทศไทยไม่สามารถปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ดีนัก


3.การลงทุนภาคเอกชน มีแนวโน้มขยายตัวลดลงจากประมาณการเดิมตามการส่งออกที่ฟื้นช้าลงรวมถึงภาคการผลิตที่ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาสินค้าคงคลังสะสมสูง สอดคล้องกับความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระยะข้างหน้าที่ยังกังวลด้านสภาพคล่อง ภาระดอกเบี้ย และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น 4.การบริโภคภาครัฐ มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์เดิม เนื่องจากได้มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567 (ไตรมาส 4 ปี 2566) ให้ระดับการใช้จ่ายค่อนข้างปกติไปแล้ว 5. การลงทุนภาครัฐ มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้เล็กน้อยในปีนี้ เนื่องจากคาดว่าหน่วยงานภาครัฐจะสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนหลังจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 ได้เร็วขึ้นกว่ากำหนดการเดิมเป็นช่วงต้นเดือน เม.ย. ซึ่งนับว่าเป็นความล่าช้าน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ปลายเดือน เม.ย.-พ.ค. ประกอบกับผลของปัจจัยฐานต่ำที่เกิดขึ้นจากการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ต่ำมากในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2566

นอกจากแรงส่งด้านอุปสงค์ส่วนใหญ่ที่ลดลงทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2024 ฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญปัญหาด้านอุปทานที่อ่อนแอ โดยในปี 2023 ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยหดตัวลงมาก สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2023 ที่หดตัวถึง -5.1% เป็นผลจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่ซบเซา กอปรกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเหล็กเผชิญแรงกดดันจากสินค้าจีนเข้ามาตีตลาด ส่งผลโดยตรงต่อการปรับลดการผลิตของอุตสาหกรรมในภาพรวม สำหรับในปี 2024 SCB EIC ประเมินว่าแม้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมจะกลับมาขยายตัวได้จากแรงส่งของสินค้าอุปโภค-บริโภคที่ฟื้นตัว แต่ยังมีแนวโน้มฟื้นช้าเนื่องจากหลายอุตสาหกรรมมีปัจจัยเสี่ยงด้านอุปสงค์และอุปทานกดดันรอบด้าน

ปัญหาที่พบเช่น 1. ปัญหาการตีตลาดจากสินค้านำเข้า โดยเฉพาะประเทศจีนที่อุตสาหกรรมเหล็ก ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ถูกแย่งส่วนแบ่งยอดขายในประเทศจากการนำเข้าสินค้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2. ความต้องการจากต่างประเทศที่ฟื้นตัวช้าประกอบกับความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกสินค้าของประเทศไทยในเวทีการค้าโลก
ที่ลดลง เช่น อุตสาหกรรมกุ้ง เคมีภัณฑ์ และพลาสติก ที่เผชิญความเสียเปรียบด้านต้นทุนและนโยบายรัฐที่มีการงดเว้นภาษีให้แก่สินค้านำเข้า สะท้อนจากการส่งออกไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาฟื้นเติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้ง สัดส่วนของการส่งออกไทยในตลาดโลกมีทิศทางปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020 ขณะที่มูลค่าการส่งออกของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคขยายแข็งแกร่งส่งผลให้มูลค่าการส่งออกไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ แม้ว่าในทศวรรษก่อนหน้ามูลค่าการส่งออกไทยจะสูงกว่าประเทศเหล่านั้นก็ตาม 3.ความล่าช้าของงบประมาณภาครัฐ โดยอุตสาหกรรมซีเมนต์ เผชิญความเสี่ยงด้านอุปสงค์ที่ไม่แน่นอนจากการก่อสร้างภาครัฐที่อาจล่าช้ากว่าที่ประเมินไว้ 4. สินค้าคงคลังสะสมในระดับสูงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน คาดว่าเผชิญความเสี่ยงสูงสุด เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่องล้วนส่งผลต่อภาคการผลิตไทยให้ยังน่าห่วงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และ 5. ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ แม้ปัจจุบันอาจมีผลกระทบการผลิตในวงจำกัด แต่ความขัดแย้งในเขตทะเลแดงที่อาจเพิ่มขึ้นจะกระทบต่อการขนส่งสินค้าส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในยุโรป

SCB EIC พบว่าศักยภาพเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่รุนแรงขึ้น โดยประมาณการศักยภาพเศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนเกิดโควิด (ปี 2017-2019) พบว่าอยู่ที่ระดับ 3.4% ขณะที่การคาดการณ์ศักยภาพเศรษฐกิจไทยระยะยาว (ปี 2024-2045) จะเติบโตต่ำลงเหลือ 2.7% ปรับลดลงจาก 3% ที่เคยประเมินไว้ในเดือนธ.ค. 2023 สาเหตุหลักมาจากผลิตภาพการผลิต (Total factor productivity) ของไทยลดลงมากขึ้น เกี่ยวโยงกับปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตไทยที่รุนแรงขึ้น จากการที่เศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนและห่วงโซ่การผลิตจีนมากท่ามกลางกระแสภูมิรัฐศาสตร์โลก รวมถึงความสามารถของไทยในการปรับตัวเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตของโลกในระยะยาวและรูปแบบความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่กำลังเปลี่ยนไปได้ช้า

สาเหตุที่ทำให้ศักยภาพเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาปรับลดลงมาโดยตลอด แบ่งได้ 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1.ผลิตภาพการผลิต(Total factor productivity) เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ศักยภาพเศรษฐกิจไทยลดลงในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนผลจากการลงทุนเทคโนโลยีและ R&D ต่ำ รวมถึง Labor reallocation ที่แย่ลง 2.ปัจจัยทุน (Capital) ที่เติบโตชะลอลงมาจากการสะสมทุนในประเทศต่ำมานาน เป็นผลจากภาคเอกชนขาดความมั่นใจในการลงทุนส่งผลให้การขยายตัวของปัจจัยทุนชะลอตัว และการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยในด้านต่างๆ ให้ทั่วถึง 3.ปัจจัยแรงงาน (Labor) ปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ทำให้สัดส่วนประชากรวัยทำงานลดลง ส่งผลต่อจำนวนแรงงาน นอกจากนี้ ผลิตภาพแรงงานไทยมีทักษะไม่ตรงกับความต้องการของตลาด และแรงงานมีฝีมือย้ายไปทำงานต่างประเทศ

 

** EIC SCB

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
07:12 น. เห็นจุดดำลอยวูบวาบ!! ระวัง ‘โรควุ้นตาเสื่อม’ ภัยเงียบของคนวัย 50+ เสี่ยงจอตาฉีกขาดหลุดลอก
07:00 น. เด็ก 2 ขวบปีแรก ห่างไกลไวรัส RSV ด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป
06:49 น. ‘เพื่อไทย’สยบรอยร้าว‘ภูมิใจไทย’ โว รบ.อย่ครบเทอม
06:37 น. อย่าลืมร่ม! กรมอุตุฯพยากรณ์ทั่วไทยฝนตกหนัก งกทม.’70% ระวัง‘น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก’
06:15 น. กบร.บี้สายการบิน ล่าช้า-ยกเลิกต้องชดเชยผู้โดยสาร
ดูทั้งหมด
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
'ภูมิใจไทย' แตกหัก 'เพื่อไทย' คดีฮั้ว สว.เป็นเหตุ ส่อคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบฯ 69 - ยุบสภา
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
ดูทั้งหมด
กางเกงยีนส์ลีวายในกองทอง
ศึกป่วยทิพย์ใกล้จบ
เรือของคนโง่
หวงแหนปราสาท ‘ตาเมือนธม” รักชาติ สมเหตุสมผล
‘พรรคส้ม’ไปไม่ถึงดวงดาว
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฮามาสปล่อยตัวประกัน‘สหรัฐฯ’คนสุดท้ายแล้ว แต่อิสราเอลยังเดินหน้าถล่มกาซาต่อไป

‘สหรัฐฯ-จีน’ลดภาษี115%พักรบ90วันดีต่อศก.โลก ห่วงเสถียรภาพการเมืองทำไทยเสียเปรียบเจรจา

‘อิศรา’แพร่บทความ การสรรหา‘เลขาฯพระปกเกล้า’ ระวังซ้ำรอย‘คดีฮั้ว สว.’

‘ตาลีบัน’สั่งแบน‘หมากรุก’ในอัฟกานิสถาน อ้างผิดหลักศาสนา

(คลิป) แนวหน้าTAlk : 'ปิยะ' ชำแหละ! 'กาสิโน' แบบหมดเปลือก!!

(คลิป) เมื่อ 'นพดล ปัทมะ' ช่วยทักษิณ อ.ปูถาม 'ทำไมกระจอกอย่างนี้'

  • Breaking News
  • เห็นจุดดำลอยวูบวาบ!! ระวัง ‘โรควุ้นตาเสื่อม’ ภัยเงียบของคนวัย 50+ เสี่ยงจอตาฉีกขาดหลุดลอก เห็นจุดดำลอยวูบวาบ!! ระวัง ‘โรควุ้นตาเสื่อม’ ภัยเงียบของคนวัย 50+ เสี่ยงจอตาฉีกขาดหลุดลอก
  • เด็ก 2 ขวบปีแรก ห่างไกลไวรัส RSV ด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เด็ก 2 ขวบปีแรก ห่างไกลไวรัส RSV ด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป
  • ‘เพื่อไทย’สยบรอยร้าว‘ภูมิใจไทย’ โว รบ.อย่ครบเทอม ‘เพื่อไทย’สยบรอยร้าว‘ภูมิใจไทย’ โว รบ.อย่ครบเทอม
  • อย่าลืมร่ม! กรมอุตุฯพยากรณ์ทั่วไทยฝนตกหนัก งกทม.’70% ระวัง‘น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก’ อย่าลืมร่ม! กรมอุตุฯพยากรณ์ทั่วไทยฝนตกหนัก งกทม.’70% ระวัง‘น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก’
  • กบร.บี้สายการบิน ล่าช้า-ยกเลิกต้องชดเชยผู้โดยสาร กบร.บี้สายการบิน ล่าช้า-ยกเลิกต้องชดเชยผู้โดยสาร
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ทั่วโลกยังแห่ลงทุนทองคำ แรงซื้อจากรายย่อยไทยโตสูงสุดในอาเซียน

ทั่วโลกยังแห่ลงทุนทองคำ แรงซื้อจากรายย่อยไทยโตสูงสุดในอาเซียน

7 พ.ค. 2568

หมุนตามทุน : 200 รง.เหล็กไทยรวมพลังหนุน \'รมว.เอกนัฏ\'

หมุนตามทุน : 200 รง.เหล็กไทยรวมพลังหนุน 'รมว.เอกนัฏ'

30 เม.ย. 2568

หมุนตามทุน :  เป็นกำลังใจให้ “รมว.เอกนัฏ”ไปให้สุดซอย ก่อนที่เหล็กเตาIFจะทำลายชีวิตคนและอุตสาหกรรมไทยไปมากว่านี้

หมุนตามทุน : เป็นกำลังใจให้ “รมว.เอกนัฏ”ไปให้สุดซอย ก่อนที่เหล็กเตาIFจะทำลายชีวิตคนและอุตสาหกรรมไทยไปมากว่านี้

23 เม.ย. 2568

อุตสาหกรรมไหนของไทย...ที่เจ็บหนักเพราะ”ทรัมป์2.0”

อุตสาหกรรมไหนของไทย...ที่เจ็บหนักเพราะ”ทรัมป์2.0”

16 เม.ย. 2568

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว...ตอบโจทย์ผู้บริโภคสายกรีน

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว...ตอบโจทย์ผู้บริโภคสายกรีน

2 เม.ย. 2568

กนอ. ผนึก UNIDO ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว  รับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กนอ. ผนึก UNIDO ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว รับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

26 มี.ค. 2568

ธุรกิจไทย..หนีไม่พ้นลูกหลง‘สงครามการค้า’

ธุรกิจไทย..หนีไม่พ้นลูกหลง‘สงครามการค้า’

19 มี.ค. 2568

อุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวต่ำ ผู้รับเหมาจีนคือตัวเร่งอัตราแข่งขันให้รุนแรงมากขึ้น

อุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวต่ำ ผู้รับเหมาจีนคือตัวเร่งอัตราแข่งขันให้รุนแรงมากขึ้น

12 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved