การอักเสบ (Inflammation) หมายถึง ปฏิกิริยาการตอบสนองที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อ ต่อสิ่งที่ก่อภยันตราย (Injurious Agent) และต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่เสียหายหรือตายลง เช่น เชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพหรือการระคายเคือง ปฏิกิริยาที่สาคัญในการอักเสบได้เแก่ การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด การเคลื่อนตัวของเม็ดเลือดขาว (Leukocyte) ออกจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อ หรือการเปลี่ยนแปลงในหลายระบบของร่างกาย ปฏิกิริยาเหล่านี้เกิดขึ้นในระบบหลอดเลือดฝอยภายในเนื้อเยื่อ (Microcirculation) เป็นปฏิกิริยาที่ช่วยปกป้องเนื้อเยื่อและกาจัดสิ่งที่ก่อภยันตราย (โดยใช้วิธีกำจัดหรือทาให้เจือจางหรือจำกัดบริเวณ) รวมทั้งกำจัดเนื้อเยื่อเสียหายหรือตายลง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไป และแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถทาให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคท่อเลือดแดงและหลอกเลือดแดงแข็งและข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การอักเสบยังมีบทบาทในการเริ่มต้นซ่อมแซม (Repair) เซลล์และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบจำนวนมากได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ (เซลล์เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือด) หลอดเลือด เนื้อเยื่อที่เกี่ยวพัน (Connective Tissue) ทั้งในส่วนของเซลล์และส่วนของโครงร่าง กระบวนการอักเสบมีความสัมพันธ์ แม้ว่ากระบวนการทั้งสองจะเกิดขึ้นเพื่อการกำจัดภยันตรายต่อเนื้อเยื่อ แต่ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียที่เป็น อันตรายต่อร่างกายได้ปัจจุบัน การอักเสบอันเนื่องมาจากการติดเชื้อ (Infection) เป็นสาเหตุของอัตราการตายซึ่งเกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาและมีการแพร่หลายไปทั่วโลก โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยเชื้อมีหลายวิธี อาทิเช่น การใช้ยาต้านแบคทีเรียสำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา หรือ การใช้เทคนิคทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในการวินิจฉัยเชื้อ ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีไข้โดยไม่ทราบ สาเหตุ และในผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้โดยวิธีอื่น ๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้มีข้อเสียคือ ไม่ สามารถระบุตำแหน่งติดเชื้อได้อย่างแน่นอน แม้ว่าจะเป็นวิธีที่ไว (Sensitivity)ในการตรวจ วินิจฉัยเชื้อนั้น ๆ ก็ตาม เช่น เม็ดเลือดขาวที่ติดฉลากด้วย In-111 หรือ Tc-99m (Labelled WBC) ให้ผลการวินิจฉัยค่อนข้างดี แต่ข้อเสียคือ มีวิธีการเตรียมที่ยาก โดยต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ในการตรวจวินิจฉัยและต้องทิ้งระยะการถ่ายภาพหลังจากฉีด Labelled WBC เข้าสู่ผู้ป่วยเป็น ระยะเวลานานเพื่อที่จะให้ได้ผลที่ดี นอกจากนั้นยังนิยมใช้ Ga-67 Citrate และ Human Immunoglobulin (HIG) ที่ติดฉลากด้วย In-111หรือ Tc-99m ในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่ง ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถเตรียมได้ง่ายแต่ก็มีข้อเสียคือ มีอัตราการถูกกา จัดออกจากเลือด (Blood Clearance) ช้า ซึ่งทำให้ผู้ป่ วยต้องรอเวลานานหลายชั่วโมงเพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่ดี
ยาไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) จัดเป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มควิโนโลน (Quinolones) ที่มีการใช้แพร่หลายในโรงพยาบาลชื่อที่คุ้นหู ได้แก่ ไซโปรเบ (Ciprobay®) มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) ใช้รักษาอาการติดเชื้อของหูชั้นกลาง ไซนัสอักเสบทางเดินปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือดยาไซโปรฟลอกซาซิน มีกลไกการออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์สารพันธุกรรมของแบคทีเรียที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ จึงส่งผลยับยั้งการแพร่พันธ์ของแบคทีเรียได้จากคุณสมบัติของยาดังกล่าว จึงได้นายาชนิดนี้มาติดฉลากรังสีด้วย Tc-99m (99m Tc-Ciprofloxacin) เพื่อใช้ประโยชน์ของรังสีในการตรวจวินิจฉัยบริเวณที่เกิดอาการอักเสบ 99m Tc-Ciprofloxacin จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการวินิจฉัย การติดเชื้อดังกล่าว ซึ่งมีข้อดีคือสามารถวินิจฉัยการติดเชื้อที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อบริเวณที่เกิดการอักเสบโดยเฉพาะที่กระดูก (Bone) ข้อ (Joint) และเนื้อเยื่ออ่อน (Soft Tissue) ซึ่งมีข้อดี คือ มี Blood Clearance เร็ว และให้ภาพชัดเจนเนื่องจากเป็นสารเภสัชรังสีที่เตรียมได้ง่ายและมีราคาถูกเมื่อเทียบกับสารตัวอื่น ๆที่ได้กล่าวมาข้างต้นซึ่งปัจจุบันสารเ ภสัชรังสี 99m Tc-Ciprofloxacin (Infection) ศูนย์ไอโซโทปรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ผลิตและจาหน่ายเพื่อบริการแก่โรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นต้น โดยสารเภสัชรังสี 99m Tc-Ciprofloxacin ที่เตรียมได้ จะมีลักษณะเป็นสารละลายใสไม่มีสี เป็นสารที่สามารถนามาใช้ในการวินิจฉัยบริเวณที่เกิดการอักเสบอันเนื่องจากการติดเชื้อได้ โดยมีความบริสุทธิ์ทางเคมีรังสีไม่น้อยกว่า 90% มีความคงตัว 6 ชั่วโมง ที่อุญหภูมิห้อง และมีการกระจายตัวไปบริเวณที่ติดเชื้อได้ 0.25-0.56%และมีความเป็นกรด-เบส (pH) เท่ากับ 4.0-5.0 มีความปลอดเชื้อ (Sterile) ปราศจากไ พโรเจน (Pyrogen Free) และปลอดสารพิษ (Non Toxic)
บทความโดย อังคนันท์ อังกุรรัตน์
หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์คุณภาพ ศูนย์ไอโซโทปรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ ผ่าน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ มศว
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เลขที่บัญชี 283-212990-9
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี