วันอังคาร ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / แก้ผ้าลุงแซม
แก้ผ้าลุงแซม

แก้ผ้าลุงแซม

โดย...เจริญขวัญ แพรกทอง บลาฮาสสกี้
วันอังคาร ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 08.30 น.
Happy Birthday. America

ดูทั้งหมด

  •  

วันที่เขียนต้นฉบับคอลัมน์นี้เป็นวันหยุด นั่นคือวันชาติอเมริกา เลยอยากเล่าเรื่องเบาๆ สู่กันฟัง  เพราะสถานการณ์ในอเมริกาตอนนี้ไม่ได้น่ารื่นรมย์นัก ไม่ว่าจะน้ำมันแพง สินค้าแพง แถมของจำเป็นหลายอย่างขาดตลาด เลยขอพักเบรคมาเล่าเรื่องเบาๆ สู่กันฟังดีกว่า


ก่อนหน้าที่ฝรั่งอั้งม้อจะอพยพโยกย้ายมาปล้นแผ่นดินที่เรียกว่า “อเมริกา” ในปัจจุบัน ที่สี่เป็ฯบ้านของอินเดียนแดงหลายเผ่า หลังการค้นพบทวีปใหม่  ชาวยุโรปแทบทุกชาติต่างกรูเข้าไปสำรวจแล้วปักป้ายแสดงความเป็นเจ้าของแผ่นดินต่อหน้าต่อตาอินเดียนแดง ผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมตั้งแต่แคนาดาไปยันอเมริกากลางและอเมริกาใต้ล้วนถูกปักป้าย “จอง”จนหมดสิ้น  แต่ที่ลงหลักปักฐานกันหนาแน่นเห็นจะเป็นอังกฤษที่ก่อตั้งอาณานิคม 13 แห่งบนแผ่นดินแห่งนี้สำเร็จ

อังกฤษไม่ได้ปกครองอาณานิคมอย่างเป็นธรรม ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวอาณานิคมกับแผ่นดินใหญ่ตลอดมาจนกลายเป็นปัญหาสะสมบ่มเพาะความคับแค้นโดยตลอดแถมปกครองอาณานิคมแบบทวงบุญคุณ เพราะรัฐบาลอังกฤษนั้นคิดว่าอาณานิคมเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะอังกฤษ จึงจำเป็นต้องทดแทนบุญคุณ โดยการเอื้อผลประโยชน์ให้อังกฤษเพียงฝ่ายเดียว นั่นคือชาวอาณานิคมจะต้องผูกขาดการค้ากับอังกฤษเท่านั้น ห้ามค้าขายกับชาติอื่นเด็ดขาด อีกทั้งยังต้องปลูกพืชตามที่อังกฤษต้องการ ห้ามผลิตสินค้าแข่งกับอังกฤษ ที่สำคัญ เมื่อประเทศแม่ผลิตอะไรมาขาย  ชาวอาณานิคมก็ต้องซื้อทั้งหมด สรุปง่ายๆคืออาณานิคมทั้ง 13 แห่งถูกรัฐบาลอังกฤษมัดมือชกนั่นเอง

ในปี ค.ศ.1764 รัฐสภาอังกฤษออกกฎหมายสำคัญ 2 ฉบับที่ส่งผลกระทบต่อชาวอาณานิคม นั่นคือกฎหมายน้ำตาลและกฎหมายเงินตรา  หลักใหญ่ใจความสำคัญของกฎหมายน้ำตาลคือ การหาเงินเข้ากองทัพอังกฤษ โดยต้องการให้ชาวอาณานิคมหยุดลักลอบค้าขายกับสเปนและฝรั่งเศส สาระสำคัญของกฎหมายน้ำตาลคือ เก็บกาษีอ้อย น้ำตาล และกากน้ำตาลที่นำเข้าอาณานิคม แถมยังให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่อังกฤษในการตรวจค้นเรือสินค้า คลังสินค้า หรือร้านค้าของชาวอาณานิคมที่ต้องสงสัยว่าค้าขายกับสเปนและฝรั่งเศส

ส่วนสาระสำคัญของกฎหมายเงินตราคือ การออกกฎให้ชาวอาณานิคมใช้ทองคำหรือเงินซื้อสินค้าจากอังกฤษเพื่อจับจ่ายใช้สอยแทนการใช้ธนบัตร สร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรงแก่บรรดาชาวอาณานิคม เนื่องจากชาวอาณานิคมไม่มีทองคำหรือเงินมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าของพวกอังกฤษ

กระนั้นชาวอังกฤษยังสร้างความโกรธแค้นให้ชาวอาณานิคมไม่หยุดหย่อน ด้วยการออกกฎหมายใหม่อีก 2 ฉบับในปีรุ่งขึ้นคือ ปี ค.ศ.1765  กฎหมายทั้งสองฉบับนั้นคือ กฎหมายอากรแสตมป์และกฎหมายเลี้ยงดูทหารอังกฤษ  จุดมุ่งหมายสำคัญของกฎหมายทั้งสองฉบับก็ไม่ต่างกับการออกกฎหมายฉบับก่อนหน้า นั่นคือต้องการนำเงินของชาวอาณานิคมไปสนับสนุนกองทัพเรืออังกฤษ

หลักสำคัญของกฎหมายแสตมป์คือบังคับให้ชาวอาณานิคมต้องติดอากรแสตมป์ของอังกฤษในธุรกิจและสินค้าทุกประเภท  ส่วนกฎหมายเลี้ยงดูทหารอังกฤษนั้นชื่อตัวบทกฎหมายก็ชัดเจนอยู่แล้วว่านำไปเลี้ยงดูปูเสื่อทหารอังกฤษ โดยกำหนดว่าให้ชาวอาณานิคมจัดหาที่พักพร้อมอาหารให้แก่ทหารอังกฤษที่เข้าไปประจำการในอาณานิคม

กฎหมายทั้ง 4 ฉบับสร้างความโกรธแค้นแก่ชาวอาณานิคมอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะในส่วนของกฎหมายแสตมป์ มีการรวมตัวกันของชาวอาณานิคมที่นิวยอร์กเพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อกษัตริย์จอร์จที่ 3 ให้ยกเลิกกฎหมายฉบับนี้   พร้อมทั้งทวงสิทธิในการส่งตัวแทนจากอาณานิคมเข้ารัฐสภาในอังกฤษ ความไม่พอใจขั้นรุนแรงเช่นนี้ทำให้เกิดการรวมกลุ่มชาวอาณานิคมที่เรียกตัวเองว่า “บุตรแห่งเสรีภาพ” หรือ Son of Liberty

บุตรแห่งเสรีภาพประท้วงอย่างรุนแรงด้วยการเผาอากรแสตมป์และทำร้ายชาวอาณานิคมที่สนับสนุนอังกฤษ  การประท้วงนี้มีแนวร่วมเกิดขึ้นมากมาย  พ่อค้านิวยอร์ก บอสตัน และฟิลาเดลเฟียรวมตัวกันไม่ซื้อสินค้าจากอังกฤษ สุดท้ายทางการอังกฤษต้องยกเลิกกฎหมายแสตมป์ไปในปีเดียวกันนั้นเอง

ต่อมาในปี ค.ศ.1766 มีการออกกฎหมายอีกฉบับคือ กฎหมายทาวน์เซน ที่ตั้งชื่อตามรัฐมนตรีกระทรวงการคลังในเวลานั้นคือ ชาร์ล ทาวน์เซน ผู้ต้องการรีดนาทาเร้นชาวอาณานิคมมากขึ้นเพื่อนำเงินมาสู่อังกฤษ หลักสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ เก็บภาษีสินค้าจำเป็นที่นำเข้ามาในอาณานิคม สินค้าเหล่านี้คือเครื่องอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เช่น ชา กระดาษ แก้ว สี และตะกั่ว  เงินภาษีที่เก็บได้ก็ให้นำไปจ่ายข้าหลวงอังกฤษในอาณานิคมนั่นเอง นอกจากนี้ยังให้อำนาจข้าหลวงและเจ้าหน้าที่อังกฤษในการตรวจค้นทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ร้านค้า คลังสินค้าหรือเรือสินค้า หากสงสัยว่ามีสินค้าหนีภาษีซ่อนอยู่

ชาวอาณานิคมเจอกฎหมายกดขี่ข่มเหงหลายฉบับติดต่อกันมาหลายปีก็ทนไม่ได้ จึงต่อต้านอังกฤษอย่างชัดเจน เริ่มต้นที่อาณานิคมบอสตันประกาศว่าจะไม่ซื้อสินค้าจากอังกฤษ จากนั้นอาณานิคมอื่นๆ ก็ประท้วงด้วยการไม่ซื้อสินค้าของอังกฤษเช่นกัน

ต่อมารัฐบาลอังกฤษยกเลิกกฎหมายทาวน์เซน แต่กลับออกกฎหมายใบชา ปี ค.ศ. 1770 มาแทน ซึ่งกฎหมายใบชานี้เก็บภาษีใบชาที่นำเข้าอาณานิคม  ชาวอาณานิคมเลยใช้วิธีการเลี่ยงด้วยการซื้อสินค้าจากอังกฤษ แต่ไม่ยอมซื้อใบชาจากอังกฤษ แล้วหันไปซื้อใบชาจากดัทช์แทนเรื่องนี้สร้างความตึงเครียดระหว่างกันเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “บอสตัน ที ปาร์ตี้” (Boston Tea Party)ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.1773 ชาวอาณานิคมบอสตันราว 100 คนปลอมตัวเป็นอินเดียนแดงบุกขึ้นเรือสินค้า 3 ลำของรัฐบาลอังกฤษ จากนั้นโยนหีบใบชา 342 หีบทิ้งทะเลความไม่พอใจของชาวอาณานิคมทำให้เกิดการรวมตัวกันของอาณานิคม 12 แห่ง ขาดไปเพียงอาณานิคมจอร์เจียเท่านั้น ทั้ง 12 อาณานิคมร่วมประชุมกันที่ฟิลาเดลเฟีย และการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นบันไดขั้นแรกที่นำไปสู่การปฎิวัติในเวลาต่อมา

จากนั้นมีการประชุมสภาแห่งทวีปครั้งที่ 2 ที่ฟิลาเดลเฟีย แต่หนนี้ชาวอาณานิคมลงความเห็นตรงกันว่าควรแยกตัวออกจากอังกฤษ โดยทั้งสิบสามอาณานิคมจะรวมตัวกันเป็นสมาพันธ์อาณานิคม จากนั้นก็มีการส่งข่าวถึงชาวอาณานิคมทุกคนให้ร่วมมือ และจัดตั้งกองกำลังแห่งทวีปขึ้นเพื่อต่อสู้กับอังกฤษ  มีจอร์จ วอชิงตันเป็นผู้บังคับบัญชาการกองกำลังแห่งทวีป

ในปี ค.ศ.1776  ฝรั่งเศสและสเปนตัดสินใจเป็นพันธมิตรร่วมรบอังกฤษกับฝ่ายอาณานิคมอย่างลับๆ จอร์จ วอชิงตันจึงส่งกองกำลังแห่งทวีปไปขุดสนามเพลาะที่เนินเขาดอร์เชสเตอร์ไฮทส์ เพราะสามารถบุกโจมตีท่าเรือบอสตันได้ จากนั้นก็ระดมยิงเรืออังกฤษเสียหายเป็นจำนวนมาก ทำให้นายพลอังกฤษถึงกับถอยร่นไม่เป็นกระบวน ทั้งแม่ทัพและทหารสองหมื่นกว่าคนหนีตายไปนิวยอร์ก ทิ้งข้าวของไว้เกลื่อนท่าเรือ  ยกนี้ทางฝ่ายกองกำลังแห่งทวีปหรือฝ่ายอาณานิคมเป็นฝ่ายชนะ

สภาอาณานิคมตั้งคณะกรรมการร่างคำประกาศเอกราช (  The Declaration of Independence) มีเบนจามิน แฟรงคลิน  จอห์น อดัม โรเจอร์ เชอร์แมน  ฟิลิป ลิฟวิงสโตน  และโทมัส เจฟเฟอร์สัน เป็นคนร่างคำประกาศเอกราช  แต่โทมัส เจฟเฟอร์สันเป็นคนร่างประกาศฉบับนี้เป็นส่วนใหญ่

จากนั้นก็นำเสนอต่อสภาอาณานิคมและมีผลบังคับใช้วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1776  สภาอาณานิคมประกาศว่าอาณานิคมทั้ง 13 แห่งไม่ขึ้นต่ออังกฤษอีกต่อไป แยกตัวออกเป็นประเทศโดยสมบูรณ์ ใจความสำคัญท่อนหนึ่งของประกาศเอกราชกลายเป็นวาทะที่มีชื่อเสียงและนิยมนำมาอ้างอิงจนกระทั่งปัจจุบัน นั่นคือ

“เราถือว่าความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งประจักษ์แจ้งอยู่ในตัวเอง นั่นคือมนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน พระผู้สร้างได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพและการแสวงหาความสุข”

ประโยคนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในประโยคที่รู้จักกันดีที่สุดในภาษาอังกฤษ เป็นคำที่มีอำนาจและผลกระทบมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน

อังกฤษปกครองอเมริการวมทั้งสิ้น 169 ปี คือตั้งแต่ปี ค.ศ1607-1776 หรือรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 จนถึงพระเจ้าเจมส์ที่ 3   หลังประกาศเอกราชในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1776 และลงนามในสนธิสัญญาปารีส 1783  นับจากนั้นเป็นต้นมา โลกก็รู้จักดินแดนแห่งนี้ว่า “สหรัฐอเมริกา”

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:53 น. น่ากังวล! 'กอบศักดิ์' ชี้ 2 ปัญหาใหญ่ฉุดเศรษฐกิจไทย แม้ จีดีพี ไตรมาสที่ 1 สวยหรู
09:47 น. ระทึกเช้านี้! นักเรียนวิ่งกระเจิง ไฟไหม้อาคาร'มัธยมวัดหนองจอก' ดับเพลิงรุดเข้าควบคุม
09:26 น. 'สรุเดช'เผย เฟ้นหาผู้สมัครเกรด A-B ภาคเหนือตอนบน มั่นใจเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 เขต
09:26 น. 'อ.คมสัน'กางกฎหมายฟันธง! 'ทักษิณ'หนีแน่ๆ ชี้ถ้าติดคุกน่าจะอยู่จนตายไม่ได้ออก
09:05 น. กอบกู้ชื่อเสียง หรือยืนข้างคนผิด? 'วิรังรอง'ชี้ทางสว่างผู้ตรวจการแผ่นดิน ปมชั้น 14
ดูทั้งหมด
พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ
หนาวทั้งบาง! ‘ดิเรกฤทธิ์’ชี้หากราชทัณฑ์ไร้หลักฐานปมชั้น 14 คาดคนผิดรับโทษเพียบ
ประวัติศาสตร์! ไทยพลิกนรกโค่นจีน3-2คว้าตั๋วฟุตซอลโลก
ชีวิตครอบครัวพัง! อดีตเมียพลทหารขับไรเดอร์เผย เลิกกันเพราะผัวขอยืมเงินเอาไปปิดยอดส่งนาย
ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 16​ ​พฤษภาคม​ ​2568
ดูทั้งหมด
สติพระ
เงินทอน
อย่าให้เศรษฐกิจย่อยยับ คามือ ‘นายกฯ ชินวัตร’
‘แพทองโพย’ทัวร์อังกฤษผลาญเงินหลวง
บุคคลแนวหน้า : 20 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ระทึกเช้านี้! นักเรียนวิ่งกระเจิง ไฟไหม้อาคาร'มัธยมวัดหนองจอก' ดับเพลิงรุดเข้าควบคุม

'สรุเดช'เผย เฟ้นหาผู้สมัครเกรด A-B ภาคเหนือตอนบน มั่นใจเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 เขต

2 สาวโอเกะเพิ่งเลิกงานขับรถกลับบ้านพุ่งชนแบริเออร์พัง 12 อันยอมรับเมาเหล้า

'เผ่าภูมิ'โชว์สถิติรัฐบาล'อิ๊งค์' GDP โตกว่า 3% ติดต่อกัน 3 ไตรมาส ครั้งแรกในรอบ 7 ปี

กรรมของเหมียว! เครือข่ายอาชญากรรม‘คอสตาริกา’ใช้‘แมว’ลอบนำยาเสพติดเข้าเรือนจำ

‘บิ๊กป้อม’เดินเซชนราวบันไดวัดโพธิ์ได้รับบาดเจ็บ ตรวจเบื้องต้นไม่รุนแรง

  • Breaking News
  • น่ากังวล! \'กอบศักดิ์\' ชี้ 2 ปัญหาใหญ่ฉุดเศรษฐกิจไทย แม้ จีดีพี ไตรมาสที่ 1 สวยหรู น่ากังวล! 'กอบศักดิ์' ชี้ 2 ปัญหาใหญ่ฉุดเศรษฐกิจไทย แม้ จีดีพี ไตรมาสที่ 1 สวยหรู
  • ระทึกเช้านี้! นักเรียนวิ่งกระเจิง ไฟไหม้อาคาร\'มัธยมวัดหนองจอก\' ดับเพลิงรุดเข้าควบคุม ระทึกเช้านี้! นักเรียนวิ่งกระเจิง ไฟไหม้อาคาร'มัธยมวัดหนองจอก' ดับเพลิงรุดเข้าควบคุม
  • \'สรุเดช\'เผย เฟ้นหาผู้สมัครเกรด A-B ภาคเหนือตอนบน มั่นใจเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 เขต 'สรุเดช'เผย เฟ้นหาผู้สมัครเกรด A-B ภาคเหนือตอนบน มั่นใจเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 เขต
  • \'อ.คมสัน\'กางกฎหมายฟันธง! \'ทักษิณ\'หนีแน่ๆ ชี้ถ้าติดคุกน่าจะอยู่จนตายไม่ได้ออก 'อ.คมสัน'กางกฎหมายฟันธง! 'ทักษิณ'หนีแน่ๆ ชี้ถ้าติดคุกน่าจะอยู่จนตายไม่ได้ออก
  • กอบกู้ชื่อเสียง หรือยืนข้างคนผิด? \'วิรังรอง\'ชี้ทางสว่างผู้ตรวจการแผ่นดิน ปมชั้น 14 กอบกู้ชื่อเสียง หรือยืนข้างคนผิด? 'วิรังรอง'ชี้ทางสว่างผู้ตรวจการแผ่นดิน ปมชั้น 14
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กางเกงยีนส์ลีวายในกองทอง

กางเกงยีนส์ลีวายในกองทอง

13 พ.ค. 2568

ฝรั่งตื่นทอง

ฝรั่งตื่นทอง

6 พ.ค. 2568

หลอนลอยทะเล

หลอนลอยทะเล

29 เม.ย. 2568

สามเหลี่ยมปีศาจ

สามเหลี่ยมปีศาจ

22 เม.ย. 2568

ลูกผู้ชายชื่อไอ้วัวนั่ง

ลูกผู้ชายชื่อไอ้วัวนั่ง

15 เม.ย. 2568

หญิงวิปริตแห่งนิวออลีนส์

หญิงวิปริตแห่งนิวออลีนส์

8 เม.ย. 2568

ครอบครัวขวัญผวา

ครอบครัวขวัญผวา

1 เม.ย. 2568

ศึกนอกศึกในที่ทำให้ดูแตร์เตตกสวรรค์

ศึกนอกศึกในที่ทำให้ดูแตร์เตตกสวรรค์

25 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved