ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่า 30-50% ของมะเร็งทั้งหมดสามารถป้องกันได้ การป้องกันเป็นวิธีการที่คุ้มค่าที่สุดในระยะยาวปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมีมากมาย เช่น การสูบบุหรี่การดื่มแอลกอฮอล์ การไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย อาหารน้ำหนักเกิน โรคอ้วน การติดเชื้อ มลภาวะเป็นพิษ สารก่อมะเร็งจากที่ทำงาน (occupational carcinogens) และรังสี ฯลฯ
ควันบุหรี่มีสารต่างๆ ถึง 7,000 กว่าชนิด อย่างน้อยมี 250 ชนิด ที่เป็นอันตราย และอย่างน้อย 69 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ทั่วโลกการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับที่หนึ่งที่สามารถป้องกันได้ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง บุหรี่ทำให้ในแต่ละปีมีคนตายกว่า 8 ล้านคน จากมะเร็งและโรคอื่นๆ ประมาณ 80%ของประชาชน 1,100 พันล้านคน ที่สูบบุหรี่ อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง
แอลกอฮอล์เป็นสารที่มีพิษ มีผลทางด้านจิตและเป็นสารเสพติด เป็นสารที่อยู่เป็นกลุ่มที่หนึ่ง (group one) ของสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer, IARC) แอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับมะเร็ง 7 ชนิด คือมะเร็งหลอดอาหาร ตับ ลำไส้ใหญ่ เต้านม ปาก pharynx, larynx แอลกอฮอล์ทำให้เกิดมะเร็งถึง 740,000 รายต่อปี และหนึ่งใน 20 ของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมมาจากการดื่มแอลกอฮอล์
ในยุโรป การดื่มแอลกอฮอล์เพียง light to moderate (น้อยถึงปานกลาง) ก็ยังเกี่ยวข้องกับการเกิด 23,000 รายใหม่ของมะเร็งในปี ค.ศ.2017 หรือ 13.3% ของมะเร็งทั้งหมดที่เกิดจากแอลกอฮอล์ และเป็น 2.3% ของมะเร็ง 7 ชนิดที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ครึ่งหนึ่งของทั้งหมด (11,000 ราย) เป็นมะเร็งเต้านมในหญิง ประมาณมากกว่า 1 ใน 3 ของมะเร็ง (8,500 ราย) เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์แบบ light เท่านั้น
ประเด็น คือ ดื่มน้อยแค่ไหนก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่ยิ่งดื่มมากยิ่งมีความเสี่ยงมาก ในปี 2016 มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 400,000 ราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาย
โรคอ้วน และน้ำหนักเกิน เกี่ยวข้องกับมะเร็งหลายชนิด เช่น หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ เต้านม endometrium (ผนังมดลูก) และไตการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และการกินอาหารเพื่อสุขภาพ จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงได้ การที่มีน้ำหนักเกินเป็นสาเหตุของการเกิด 3.4% ของมะเร็งในปี พ.ศ.2012 รวมทั้ง 110,000 ราย ของมะเร็งเต้านม
การติดเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ B, C, human papilloma virus (HPV หรือเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก) เป็นสาเหตุถึง 25% ของมะเร็งในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง แต่ปัจจุบันนี้มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและเชื้อ HPV แล้ว ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของตับและปากมดลูกได้อย่างดียิ่ง
มลภาวะเป็นพิษนอกจากอาคาร (ambient air pollution)ทำให้มีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (ก่อน 70 ปี-premature deaths) ถึง 4.2 ล้านคน ในปี 2016 และประมาณ 6% มาจากมะเร็งปอด นอกจากนั้นยังมีอีกประมาณ 4 ล้านคนที่ตายก่อนวัยอันควรจากอากาศที่เป็นพิษภายในบ้าน (household air pollution) ซึ่งมาจากการหุงหาอาหาร จากพลังงานที่ไม่สะอาด เช่น ไม้ ถ่านหิน kerosene ฯลฯ ในบ้าน
สารก่อมะเร็งจากอาชีพ ทำให้เกิดมะเร็งปอด, mesothelioma(เยื่อหุ้มปอด) ซึ่งมาจากการได้รับ asbestos และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
รังสีทุกชนิดทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้ รวมทั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งแบบ “solid” บางชนิด ความเสี่ยงเกิดขึ้นถ้าไปถูกรังสีตอนอายุยังน้อย หรือได้รับรังสีในปริมาณที่มาก ultraviolet (UV) ซึ่งก็คือแสงแดด เป็นสารก่อมะเร็งในคน ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง เช่น basal cell carcinoma (BCC), squamous cell carcinoma and melanoma การหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดมากเกินไป การใช้ sunscreen การใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม เป็นวิธีการป้องกันที่ดีการใช้เครื่อง UV ก็ยังอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
โดยสรุปมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของชาวโลกเป็นอันดับที่ 2 คือ 9.6 ล้านคน หรือ 1 ใน 6 ของการเสียชีวิตในปี 2020 ในผู้ชาย มะเร็งปอด ต่อมลูกหมาก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร และตับ พบได้บ่อยสุด ในหญิง เต้านม ลำไส้ใหญ่ ปอด ปากมดลูก ไทรอยด์ พบได้บ่อยสุด
หนึ่งในสามของโรคมะเร็ง มาจากการสูบบุหรี่ การมีดัชนีมวลกาย (BMI, body mass index) ที่สูงไป การดื่มแอลกอฮอล์ การกินผักผลไม้ ออกกำลังกาย น้อยไป
การติดเชื้อ HPV และไวรัสตับอักเสบเป็นสาเหตุของมะเร็งถึง 30% ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง
ฉะนั้น การป้องกันจึงเป็นการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุด ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ออกกำลังกาย กินผักผลไม้มากๆ ไม่กินหวาน เค็ม มัน ดูแลตนเองไม่ให้น้ำหนักเกิน ไม่ให้อ้วน พุงไม่โตเกินเกณฑ์ ระวังการติดเชื้อ HBV, HCV, HPV ด้วยการฉีดวัคซีน มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย (ป้องกันเชื้อ HBV, HCV, HPV) พยายามไม่โดนแดดมากไป ระวังอากาศที่เป็นพิษ ฯลฯ และเมื่อถึงเกณฑ์ตามที่แพทย์แนะนำ ควรไปตรวจคัดกรองหาโรคในระยะเริ่มแรก เช่น เต้านม ปากมดลูก ลำไส้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีอาการ ฯลฯ เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที
การป้องกันเป็นการดูแลสุขภาพที่ดีกว่า คุ้มค่ากว่า เป็นแล้วจึงรักษาครับ
นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี