คอนแทคเลนส์ … คืออะไร ? เลนส์หรือวัสดุที่ไปสัมผัสบริเวณกระจกตา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะ
หน้าที่สำคัญของคอนแทคเลนส์ 1.การถ่ายเทออกซิเจน เพื่อไปเลี้ยงกระจกตา คอนแทคเลนส์ควรซึมผ่านออกซิเจนได้ดี 2.ไม่เป็นที่หมักหมมหรือดูดซับของเสียหรือคราบโปรตีนที่มากับน้ำตา
สิ่งที่ส่งผลต่อความสบายในการสวมใส่ 1.วัสดุ สารที่ชอบน้ำจะซึมผ่านออกซิเจนได้ดี ดังนั้นคอนแทคเลนส์จึงแช่ในน้ำ 2.การออกแบบ ( Design ) ขอบบาง โค้งลงแนบกับดวงตา และอยู่ใต้เปลือกตาพอดี
ใส่คอนแทคเลนส์ ต้องเริ่มต้นอย่างไร ? 1.แนะนำพบจักษุแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะพิจารณาข้อบ่งใช้ ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง ให้คำแนะนำการในการดูแลที่ถูกต้อง ตรวจค่าสายตา ค่าความโค้งกระจกตา โรคร่วม เพื่อแนะนำคอนแทคเลนส์ที่เหมาะกับแต่ละคน 2.ก่อนใช้ควรตรวจสอบ โดยตรวจสอบใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ของ อย. ดูวันหมดอายุสถานะใบอนุญาตร่วมด้วย 3.ควรพบจักษุแพทย์ปีละครั้ง หลังจากใช้คอนแทคเลนส์ต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบวิธีการใช้ การดูแล และผลข้างเคียง หากถ้ามีปัญหาก่อนควรรีบมาพบแพทย์ทันที 4.ความโค้งและกว้างหรือเส้นผ่านศูนย์กลางของคอนแทคเลนส์ แตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ 5.คอนแทคเลนส์ตามท้องตลาด ที่ไม่ได้มาตรฐานต้องระวัง อาจทำให้เกิดสูญเสียการมองเห็นได้
ชนิดคอนแทคเลนส์ ที่ขายทั่วไป ชนิดนิ่ม เป็น polymer ชอบน้ำ ใส่สบาย แบ่งได้อีกหลายชนิดย่อย เช่นรายวัน รายเดือน และ ชนิดแข็ง / กึ่งนิ่มกึ่งแข็ง จะคงตัวเกาะกับกระจกตาได้นาน แก้ไขสายตาได้คมชัด อายุการใช้งานนานกว่าแต่น้ำน้อยกว่าแบบนิ่ม
ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัสดุ ตาแห้ง ควรใช้วัสดุ Silicone Hydrogel ส่วน ภูมิแพ้ดวงตา / เยื่อบุตาอักเสบ จะมีสารเยื่อเมือกออกมามากกว่าคนปกติ ทำให้มีคราบโปรตีนสะสมมาก ควรใช้คอนแทคเลนส์แบบระยะเวลาสั้น เช่น รายวัน
ข้อดีของคอนแทคเลนส์ สวยงาม คล่องตัว เห็นภาพกว้างไม่เป็นฝ้า ใช้ได้กับค่าสายตา 2 ข้าง ที่ต่างกันมาก
กระจกตาโค้งผิดปกติ เช่น โรคกระจกตา ผ่าตัด อุบัติเหตุ และ ข้อเสียของคอนแทคเลนส์ ต้องปรับตัว ต้องใส่ใจดูแล ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
ใครใช้คอนแทคเลนส์ได้บ้าง ? ส่วนใหญ่ใช้ได้ หากไม่แน่ใจให้ถามจักษุแพทย์ โดยควรมีความต้องการที่อยากจะใส่คอนแทคเลนส์เพื่อแก้ไขสายตา สามารถดูแล รักษาความสะอาดได้ แต่ต้องระมัดระวังในบางกลุ่ม เด็ก คนท้อง โรคทางตาเช่น ตาแห้ง เปลือกตาอักเสบ ต้อเนื้อ ต้อลม โรคทางกาย เช่น ภูมิแพ้ ภูมิต้านตนเอง เบาหวาน ที่ยังควบคุมโรคไม่ได้ แนะนำว่าจะใส่คอนแทคเลนส์ ควรมาพบแพทย์ จะได้ทราบว่าตนมีข้อห้ามหรือข้อควรระวังหรือไม่
ถาม-ตอบ
ถาม : คอนแทคเลนส์รายวัน รายเดือน แบบไหนดีกว่ากัน ?
ตอบ : “ The shorter The better ” ระยะสั้นคงจะดีกว่าเพราะเปลี่ยนได้บ่อยๆ ทำให้ตาสัมผัสสิ่งสกปรกที่มาเกาะลดลง
ถาม : ใช้อะไรล้างคอนแทคเลนส์ ?
ตอบ : น้ำเกลือแค่ชะล้างแต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์สามารถฆ่าเชื้อได้ แต่ก็มีอายุการใช้งาน ในการฆ่าเชื้อ ระวังการใช้แช่ทิ้งไว้นานๆ ฤทธิ์ฆ่าเชื้อจะหมดไป ต้องดูแลและเปลี่ยนสม่ำเสมอ
ถาม : ก่อนวัดสายตาต้องถอดคอนแทคเลนส์กี่วัน ? เพื่อได้ค่าสายตาที่ถูกต้องแม่นยำ
ตอบ : ขึ้นกับว่าใช้แว่นตอนไหน หากใช้แว่นหลังถอดคอนแทคเลนส์ สามารถวัดได้เลย แต่ถ้ามีการอักเสบ ต้องให้การอักเสบหายก่อน หรือเลนส์ชนิดแข็ง / กึ่งแข็งกึ่งนิ่ม แนะนำรอ 24 ชม.
ถาม : คอนแทคเลนส์รายวันนำมาใส่เป็นรายเดือนได้มั้ย ?
ตอบ : ไม่ควรนำคอนแทคเลนส์รายวันมาใช้เป็นรายเดือน เพราะนอกจากจะอันตราย ยังไม่สบายตา เนื่องจากคอนแทคเลนส์รายวันออกแบบมาเพื่อใช้ 1 วัน พอใช้ไปนานๆ ยิ่งมีคราบเมือก โปรตีนมาเกาะ เวลากะพริบจะมีการแตกตัวของน้ำตาเร็ว ไม่เคลือบตา จะทำให้แสบตา เห็นภาพไม่ชัด
ข้อควรระวัง ! อายุใช้งานคอนแทคเลนส์นับวันจากที่เราเปิดใช้ ไม่ได้ขึ้นกับจำนวนวันที่เราใส่ หากหมดอายุต้องเปลี่ยนทันที
บรรยายโดย รศ.พญ.อติพร ตวงทอง, นพ.สุวิช รัตนศิรินทรวุธ
จัดทำโดย นศพ.ปิยาพัชร จารุนิภากุล
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี